WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 8-5-2020ASP

กลยุทธ์การลงทุน      

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ความคาดหวังเรื่องการปรับลดดอกเบี้ยกลับมาอีกครั้ง หลังตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญส่งสัญญาณลบมากกว่าที่คาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อติดลบ สภาพดังกล่าวน่าจะตีความเป็นบวกต่อ SET Index กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำให้ปรับพอร์ตโดย Cut Loss หุ้น RS ออก และนำเงินเข้าลงทุนเพิ่มใน BCP และ PTT หุ้น Top Picks เลือก BCP (FV@B 22), DCC (FV@B 2.28) และ STA (FV@B 14) นอกจากนี้ยังสามารถทำ Pair Trade ได้ 2 คู่ คื่อ BTSGIF-BTS และ BCP-BCPG

       SET Index   1,257.98

       เปลี่ยนแปลง (จุด)   -20.65

       มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)   56,253

          

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย จับสัญญาณวันนี้

วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงตามตลาดหุ้นทั่วโลก หลังขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆนอกเหนือจากจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นเพียง 3 ราย อีกทั้งเริ่มเข้าสู่ช่วงประกาศงบไตรมาส 1Q63 จึงทำให้ตลาดหุ้นผันผวนเป็นพิเศษและปิดตัวในแดนลบที่ระดับ 1257.98 จุด ลดลง 20.65 จุด หรือ -1.62% มูลค่าการซื้อขาย 5.62 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(-2.14%) PTTEP(-1.79%) RATCH(-1.15%) GULF(-1.29%) กลุ่มธ.พ.เช่น BBL(-4.23%) KBANK(-3.76%) SCB(-1.49%) และกลุ่มอสังหาฯ อาทิ AWC(-0.96%) CPN(-5.21%) LH(-10.27%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น AOT(-1.65%) BDMS(-3.40%) และ BJC(-5.26%) เป็นต้น

ผลกระทบจาก Covid-19 ต่อภาพรวมเศรษฐกิจที่ทำให้ อัตราการว่างงานสูงขึ้น โดยสหรัฐฯคาดว่าจะขึ้นไปสูงกว่า 16% มากว่าระดับที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการเงินรอบที่ผ่านมา และยังมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศติดลบสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะเงินฝืด สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้เกิดความคาดหวังว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับเข้าสู่ขาลงได้อีกครั้งหนึ่งในช่วง 2H63 แม้ว่าปัจจุบันหลายประเทศจะมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายวิ่งเข้าใกล้ 0% แล้วก็ตาม สำหรับในส่วนของประเทศไทย เดิมเราคาดหมายว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ในระดับทรงตัวบริเวณ 0.75% แต่เมื่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกถูกคาดหมายว่าจะปรับตัวลดลงขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็อยู่ในแดนลบโดยเดือน เม.ย.63 ติดลบ 2.99% ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลง แต่น่าจะเป็นการปรับลดลงในช่วง 2H63 หลังจากผ่านช่วงระดมเงินทุนตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทไปแล้ว สำหรับผลกระทบต่อ SET Index หากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย หากคงระดับ Market Earning Yield Gap เป้าหมายไว้ที่ 5% ตามเดิม ก็จะทำให้ PER เป้าหมายปรับสูงขึ้น 0.7-0.8 เท่า ส่งผลทำให้เป้าหมาย SET Index ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 1264 จุด อีก 5058 จุด

สำหรับประเด็นที่อยู่ในความสนใจของตลาดฯ วันนี้ น่าจะเป็นเรื่องแนวทางในการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด Covid-19 ซึ่งมีความเป็นได้ที่จะเห็นการกลับมาเปิดให้บริการของกิจการขนาดใหญ่อย่างศูนย์การค้า ในช่วงกลางเดือน พ.ค.63 แม้จะยังไม่สามารถทำไห้บรรยากาศ และ ปริมาณธุรกิจกลับมาที่เดิมได้ แต่ก็เชื่อว่าจะสร้าง Sentimetn เชิงบวกให้กับตลาดฯ ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าวน่าจะทำให้ SET Index วันนี้ ดีดตัวกลับขึ้นไปได้ สำหรับกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำให้ปรับพอร์ต โดย Cut Loss หุ้น RS ออก และ ให้นำเงินเข้าลงทุนเพิ่มใน BCP และ PTT อย่างละเท่าๆ กัน ส่วนหุ้น Top Picks วันนี้เลือก 3 บริษัทเดิมคือ BCP, DCC และ STA นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยยังได้แนะนำให้ใช้กลยุทธ์ Pair Trade ในหุ้น 2 ชุด คือ 1) Long หุ้น BTSGIF พร้อมๆ กับ Short (ยืมหุ้นมาขาย) BTS แลชุดที่ 2) Long หุ้น BCP และ Short BCPG ไปพร้อมๆ กัน

อัตราการว่างงานทั่วโลกปรับสูงขึ้นก้าวกระโดด อุปสรรคการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

ยอดส่งออก(x) จีน เดือน เม.ย พลิกกลับมาขยายตัว 3.5% ตลาดคาด -15.7% ขณะที่ยอดนำเข้าหดตัว 14.2% โดย สาเหตุที่ส่งออกจีนเดือน เม.ย. ขยายตัวเป็นผลจาก 1.)ส่งออกไปตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น แต่ตลาดยุโรป และสหรัฐ ยังหดตัว 2.) เดือน เม.ย. จีน พึ่งเริ่มเปิดเมืองทำให้ภาคการผลิตเริ่มฟื้น

โดยรวม ASPS คาดเป็น sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นระยะสั้น แต่ในระยะยาวเชื่อว่าภาคการค้าระหว่างประเทศจีนจะยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ยังไม่ฟื้นตัว

ฝั่งสหรัฐ วานนี้รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (Initial Jobless Claims) สัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นอีก 3.17 ล้านรายเป็นการเพิ่มขึ้นติกต่อกัน 7 สัปดาห์   ทำให้ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานทั้งหมดรวมกันอยู่ที่ 33.48 ล้านราย   และวันนี้ตลาดให้น้ำหนักการรายงานการจ้างงานอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน เม.ย. 2563 คาดลดลง 22 ล้านราย และจะหนุนอัตราการว่างงานเดือน เม.ย. คาดเพิ่มขึ้นเป็น 16% (สูงสุดในประวัติศาสตร์) จากเดือน มี.ค. ที่ระดับ 4.4%

กระแสดอกเบี้ยขาลง และดอกเบี้ยติดลบ กลับมาอีกครั้งใน 2H63 ดีต่อตลาดหุ้น

แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกยังมีทิศทางขาลง ผลกระทบจาก COVID-19 และบางประเทศมีการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ อาทิ ญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบ 0.1% และล่าสุด ในสหรัฐ Consensus คาดโอกาสความน่าจะเป็นที่ธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) มีโอกาสที่ปรับมาใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (Negative interest rate) สะท้อนจาก Probability ใน Bloomberg คาดอยู่ที่ 100% จะเกิดขึ้นใน เดือน ม.ค. 2564

               ขณะที่ไทย ASPS ประเมินว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยไทยมีโอกาสจะปรับลงอีก 1 ครั้งราว 0.25% แต่คาดจะเกิดขึ้นในช่วง 2H63   ล่าสุด อยู่ที่ 0.75% (ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และปีนี้ กนง.ปรับลดดอกเบี้ยฯลงไปแล้ว 2 ครั้งๆ ละ 0.25%) จากเดิมคาดการปรับลดดอกเบี้ยมีโอกาสยาก โดยมีตุผลสนับสนุนความเชื่อการปรับลดดอกเบี้ยดังนี้

เศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดจะพลิกกลับมาหดตัว ASPS คาด GDP 1Q63 จะพลิกกลับมาติดลบ สภาพัฒน์ฯจะรายงาน วันที่ 18 พ.ค.2563 และมีมุมมองงวด 2Q63 คาดจะเป็นงวดที่ GDP จะติดลบมากที่สุด และน่าจะเป็น Bottom ของปีและคาดจะกลับค่อยๆ ดีขึ้นในงวดไตรมาส 3 เป็นต้นไป ไทยมีโอกาสเกิดภาวะเงินฝืด(Deflation) ดังที่นำเสนอใน Market talk เมื่อวานนี้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง(Net Interest Rate) ซึ่งคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยลบอัตราเงินเฟ้อ คือหากกว้างขึ้น หรือเป็น + ทำให้ยังมีช่องว่างสำหรับลดดอกเบี้ยได้อีก

ที่มา: Bloomberg,

หมายเหตุ อัตราเงินเฟ้อปัจจุบันของญี่ปุ่น, สหรัฐ, อังกฤษ, มาเลเซีย และอินเดีย เป็นข้อมูลเดือน มี.ค. 63

ดอกเบี้ยฯที่ลดลงมีผลต่อตลาดหุ้น คือ ดอกเบี้ยฯลดลงทุกๆ 0.25% จะส่งผลให้ตลาดหุ้นซื้อขายบน PE ที่สูงขึ้น 0.79 เท่า การเปิด Upside ของดัชนี SET index ราว 57 จุด

Pairs Trade หนึ่งในกลยุทธ์หลบความผันผวนของตลาด

เข้าสู่ช่วงเดือน พ.ค. ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนมากขึ้น จนทำให้หุ้นหลายๆบริษัท ที่มีความเกี่ยวข้องกันทางธุรกิจ เช่น เป็นหุ้นแม่-หุ้นลูกกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ปกติราคาหุ้นมักจะมีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปในทางเดียวกันเสมอ (มีค่า Correlation สูง) แต่เมื่อราคาหุ้นเริ่มวิ่งสวนทางกัน นักลงทุนสามารถนำกลยุทธ์ Pairs Trade มาใช้ลงทุนได้ โดยการซื้อหุ้นที่คาดว่าจะ Outperform กว่า ในระยะสั้น พร้อมกับขายช็อต (Short Sale) หุ้นที่คาดว่าจะ Underperform กว่า ด้วยมูลค่าที่เท่ากัน เพื่อรอจังหวะปิดสถานะทำกำไรด้วยสถานะตรงข้าม เมื่อราคาหุ้นเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน

ยามตลาดหุ้นผันผวนเช่นนี้ ฝ่ายวิจัยฯ ทำการคัดกรองหาคู่หุ้นที่น่าทำ Pairs Trade ได้ 2 คู่ คือ

คู่ที่ 1 แนะนำ ซื้อ (Long) BCP พร้อมกับขายชอร์ต (Short Sell) BCPG หุ้นทั้ง 2 ตัวมีค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ในช่วงที่ผ่านมา สูงถึง 80% แต่ปัจจุบันราคาหุ้น BCPG ปรับตัวขึ้นมาแรงกว่า 22% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะกลับมา Underperform เมื่อเทียบกับหุ้นแม่ อย่าง BCP (ถือหุ้น BCPG อยู่ 70%) ที่ราคาปรับตัวขึ้นเพียง 6% เท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกัน (ยัง Laggard ราคาหุ้นลูกอยู่มาก) นอกจากนี้จากสถิติการทำ Back Test ระหว่าง (Long) หุ้น BCP พร้อมกับ (Short) หุ้น BCPG ย้อนหลัง 1 ปี พบว่า มีการทำ Pairs Trade ทั้งหมด 5 ครั้ง โดยให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 4 ครั้ง และมีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 4.8%

ที่มา: ASPS

คู่ที่ 2 แนะนำ แนะนำ ซื้อ (Long) BTSGIF พร้อมกับขายชอร์ต (Short Sell) BTS หุ้นทั้ง 2 ตัวมีค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ช่วงที่ผ่านมาสูงถึง 75% แต่ปัจจุบันราคาหุ้น BTS ปรับตัวขึ้นมาแรงถึง 32% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะกลับมา Underperform เมื่อเทียบกับหุ้น BTSGIF ที่ราคาปรับตัวขึ้นเพียง 8.4% เท่านั้น ขณะที่ BTSGIF มีรายได้มาจากค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นหลัก ทำให้ได้รับปัจจัยบวกจากการเริ่มกลับมาเปิดเมืองมากกว่า BTS (ถือ BTSGIF สัดส่วน 33.33%) นอกจากนี้จากสถิติการทำ Back Test ระหว่าง (Long) หุ้น BTSGIF พร้อมกับ (Short) หุ้น BTS ย้อนหลัง 1 ปี พบว่า มีการทำ Pairs Trade ทั้งหมด 6 ครั้ง โดยให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 4 ครั้ง สามารถคาดหวังผลตอบแทนได้ราว 7%

ที่มา: ASPS

เชื่อว่ากลยุทธ์ดังกล่าวน่าจะช่วยลดความเสี่ยงพร้อมกับสร้างโอกาสในการทำกำไรได้ดีในยามที่ตลาดผันผวน อย่างไรก็ตามหากราคาหุ้นทั้ง 2 เคลื่อนไหวผิดทางเกินกว่า 5% แนะนำให้ตัดขาดทุนออกไปก่อน โดยรายละเอียดอื่นๆ สามารถติดตามอ่านได้ในบทวิเคราะห์ Quantitative วันที่ 7 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา

ปรับปรุง Model พอร์ตจำลองให้ดียิ่งขึ้น

วันนี้ขออนุญาติปรับพอร์ต โดยการ Cut loss RS 10% แล้วลงทุนเพิ่มใน BCP และ PTT อย่างละ 5% ซึ่งใน Model พอร์ตจำลองจะมีเพิ่มอีก 1 เงื่อนไข คือ กำหนดจุด Cut loss หรือ Stop Profit ขึ้น โดยถ้าราคาหุ้นตัวใดตัวหนึ่งในพอร์ตจำลองปรับตัวลงมาถึงจุดดังกล่าว ให้ถือว่า Cut Loss หรือ Stop Profit ทันทีไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุนก็ตาม ซึ่งหมายความว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวมีความน่าสนใจน้อยลงและมีความเสี่ยงมากขึ้นตามลำดับ โดยให้นักลงทุนเก็บเงินสดไว้ แล้วลงทุนต่อในวันที่ฝ่ายวิจัยฯมีคำแนะนำหลักทรัพย์อื่นๆเพิ่มเติม ดูตัวอย่างได้ที่หน้าท้ายสุดของ Market Talk ทุกวันหลังจากนี้ ส่วน Top picks วันนี้เลือก BCP(FV @ 22.00) DCC(FV @ 2.28) และ STA(FV @ 14.00)

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!