- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 27 April 2020 10:50
- Hits: 2877
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 27-4-2020
กลยุทธ์การลงทุน วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563
นักลงทุนน่าจะใหัความสำคัญกับการติดตามประเด็นเรื่องการผ่อนคลายกฎเกณฑ์สำหรับควบคุม Covid-19 ในประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการผ่อนคลายอาจทำได้ไม่มาก อีกทั้งราคาหุ้นก็ได้ปรับขึ้นรอรับมาตรการดังกล่าวไปแล้ว จึงเชื่อว่ามีโอกาสปรับฐานต่อ แนะนำปรับพอร์ตโดยขายทำกำไร BAM และนำเงินเข้าลงทุนใน BTSGIF เพิ่ม สำหรับหุ้น Top Picks เลือก EA (FV@B 49) และ STA (FV@B 14) SET Index1,258.78 เปลี่ยนแปลง (จุด) -13.75 มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 68,705
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนตลอดวัน จากการขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆเพิ่มเติมทําให้เห็นแรงขายทํากําไรออกมาเป็นระยะ บวกกับความไม่แน่นอนในเรื่องมาตรการผ่อนคลาย Lockdown ในช่วงต้นเดือนหน้าว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน จึงทำให้ตลาดหุ้นปิดในแดนลบที่ระดับ 1258.78 จุด ลดลง 13.75 จุด หรือ -1.08% มูลค่าการซื้อขาย 6.86 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ GULF(-3.18%) GPSC(-4.15%) BGRIM(-4.89%) TOP(-3.66%) กลุ่มขนส่งเช่น AOT(-2.49%) BEM(-1.62%) BTS(-0.91%) และกลุ่มธ.พ. อาทิ BBL(-1.44%) KBANK(-2.21%) SCB(-2.19%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น AWC(-4.16%) HMPRO(-3.68%) และ PTTGC(-3.92%) เป็นต้น
ความสนใจหลักในช่วง 1-2 วันนี้ คงอยู่ที่เรื่องแนวทางผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ Covid-19 เพื่อสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ครอบคลุมพื้นที่ใด และ ธุรกิจอะไร ซึ่งจากการประเมินข้อมูลที่เปิดเผยออกมาจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าน่าจะเห็นการผ่อนคลายมาตรการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเบื้องต้นจะเริ่มผ่อนคลายในพื้นที่สีเขียว แต่ยังต้องมีข้อปฎิบัติที่รัดกุมในการเปิดให้บริการแต่ละกลุ่มธุรกิจ ซึ่งน่าจะเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างจำกัด ทั้งนี้เป็นไปได้ที่จะเห็นการทยอยเปิดตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. 2563 ส่วนพื้นที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งยังถือเป็นพื้นที่สีแดง เป็นไปได้ที่อาจเริ่มเห็นการผ่อนคลายในช่วงต้นเดือน มิ.ย.2563 สำหรับการตอบสนองของราคาหุ้น ฝ่ายวิจัยประเมินว่า SET Index ได้ดูดซับความคาดหวังดังกล่าวไปแล้ว
หากไม่มีการประกาศการผ่อนคลายที่มากกว่าคาด หรือ ออกมาผ่อนคลายน้อยกว่าคาด ก็น่าจะทำให้มีโอกาสเห็นภาพ Sell on fact ตามมาได้ โดยภาถพรวมจึงเชื่อว่า SET Index ยังอยู่ในช่วงการปรับฐานในระยะสั้น สำหรับประเด็นอื่นที่ต้องติดตามได้แก่ การประกาศ GDP Growth ในงวด 1Q63 ของหลายประเทศในยุโรป ซึ่งคาดว่าจะเห็นการชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยที่บางประเทศอาจเข้าเงื่อนไขการภาวะถดถอย (Technical Recession) กล่าวคือมีขนาดของ GDP ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาที่ผ่านมา 2 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นแรงกดดันสำหรับตลาดหุ้น ส่วนการประชุมธนาคารกลางในสัปดาห์นี้ซึ่งประกอบด้วย Fed, BOJ และ ECB คาดว่ายังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยให้ความสำคัญกับการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในช่วงเวลานี้ จะให้ความสำคัญกับากรพักเงินไว้ในจุดที่ปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นหุ้นปันผล หรือหุ้น Laggard โดยวันนี้แนะนำให้ขายทำกำไร BAM ซึ่งมีกำไรมากกว่า 26% และนำเงินเข้าพักไว้ใน BTSGIF สำหรับหุ้น Top Picks เลือก EA และ STA ตามเดิม
สัปดาห์นี้หลายประเทศประกาศ GDP น่าจะเห็นสัญญาณ Recession ชัดเจนขึ้น
ตลอดสัปดาห์นี้เชื่อว่าตลาดจะให้น้ำหนัก 2 ประเด็นสำคัญ คือ
การประชุมธนาคารกลางสำคัญทั่วโลก คือ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) วันที่ 27 เม.ย. 2563, ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันที่ 29-30 เม.ย. 2563 และธนาคารกลางยุโรป (ECB) วันที่ 30 เม.ย. 2563 โดยตลาดคาดธนาคารกลางต่างๆ น่าจะคงอัตรานโยบายไว้ ภายหลังจากที่ปรับลงมาแล้วในช่วงที่ผ่านมา
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ให้น้ำหนักในสัปดาห์นี้
ดังที่ ASPS นำเสนอมาตลอดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2563 หลายประเทศจะหดตัว และเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Technical Recession) ซึ่งเป็นภาวะที่ GDP หดตัว %qoq ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 ไตรมาสขึ้นไปโดยประเมินว่า GDP งวด 1Q63 ที่จะออกมาในสัปดาห์นี้ ประเทศที่ติดลบ จะนับ Recession เลย คือ อิตาลี และฝรั่งเศส GDP Growth %qoq ของแต่ละประเทศ
ที่มา: Bloomberg
รอสัญญาณผ่อนคลาย Covid-19 เพิ่มกิจกรรมเศรษฐกิจ แต่คงทำได้ไม่มาก
สถานการณ์ COVID-19 ที่เห็นสัญญาณดีขึ้น คือ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ล่าสุด เมื่อวานี้เพิ่ม 15 ราย (แม้วันเสาร์พุ่งขึ้น 53 ราย แต่เป็นผลจาก 42 ราย เป็นแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสงขลา ซึ่งภาครัฐขยายพื้นที่การตรวจ จึงพบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น) จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ และจำนวนผู้รักษาหายใหม่ของไทย โดยตลาดให้น้ำหนัก ในวันนี้การประชุมสำคัญของรัฐบาล คือ ประชุมร่วม ศบค. และฝ่ายความมั่นคง โดยมีประเด็นสำคัญคือ
พิจารณาต่อ อายุ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ หรือไม่ โดยฝ่ายความมั่นคงเสนอ ต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ออกไปอีกอย่างน้อย 1 เดือน และคงมาตรการเคอร์ฟิว 4 ทุ่ม-ตี4 ต่อไป
การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด รวมถึงการเปิดธุรกิจ ต้นเดือน พ.ค. หากจากท่าทีของรัฐบาล ASPS เชื่อว่ารัฐบาลจะมีการเปิดดำเนินธุรกิจ บางส่วน และเปิดอย่างระมัดระวัง คือ Social Distancing เว้นระยะห่างการเช้าไปใช้บริการธุรกิจ รวมเปิดให้บางจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดที่ควบคุม COVID-19 ได้ดี
ASPS คาดว่าจะบวกต่อกิจกรรมเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัด คือ
1.) Zonning หรือ จังหวัดที่เปิดให้กลับตามปกติ ราว 30 จังหวัด ที่เปิดก่อน เป็นจังหวัดที่มีผลต่อการขยายตัวต่อเศรษฐกิจน้อย ขณะที่จังหวัดสำคัญ พื้นที่สีแดง อาทิ ภูเก็ต , กรุงเทพฯ ยังอยู่ในช่วงติดตามสถานการณ์ ซึ่งคาดว่าจะเห็นการเปิดอย่างเร็ว 1 มิ.ย.
2.) ธุรกิจที่ผ่อนปรนให้เปิด พบว่า หลักๆ คือ ห้างสรรพสินค้า ร้านมือถือ ฯลฯ เท่านั้นซึ่งถือว่า น้อยกว่าคาดผลต่อตลาดหุ้น ASPS ประเมิน Sentient เชิงบวกเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า Set index ที่ปรับตัวขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 13 มี.ค.หรือเพิ่มราว 31.3% ได้สะท้อนความคาดหวังว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาดำเนินงานตามปกติ มาในระดับหนึ่งแล้ว ทำให้มีโอกาสถูก Take profit
สหรัฐตัดสิทธิ GSP ไทย 1.3 พันล้าน$ มีผล 25 เม.ย. ประเด็นเดิม กระทบไทยจำกัด
25 เม.ย. 2563 เป็นวันที่สหรัฐมีผลตัดสิทธิพิเศษภาษีศุลกากร (GSP) ไทย มูลค่าส่งออกสินค้าที่ถูกตัดสิทธิรอบนี้รวมกันราว 1.3 พันล้านเหรียญ รวม 573 สินค้า หลักๆ คือ สินค้าอาหารทะเล, พาสต้า, ถั่ว น้ำผลไม้, เคมีภัณฑ์, อุปกรณ์เครื่องครัว, เหล็กแผ่น เป็นต้น ถือเป็นประเด็นเดิมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ปลายเดือน ต.ค.2561 มูลค่าการส่งออกไปสหรัฐ ผ่านการใช้สิทธิ และไม่ใช้สิทธิ GSP
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, ASPS
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และบริษัทจดทะเบียนในตลาด ดังที่ ASPS เคยนำเสนอมาตลอด คือ กระทบน้อยมาก แต่จะกระทบคือ
- ผู้ส่งออกสินค้าใน 573รายการดังกล่าวจะกลับมาเผชิญต้นทุนภาษีจากสหรัฐเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 4.5% (จากเดิมไม่เสียภาษี) จะทำให้สินค้าไทยแพงขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออกอาจผลักภาระ ทำให้ราคาสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
- กระทรวงพาณิชย์คาดมูลค่าส่งออกสินค้ากลุ่มที่โดนตัดสิทธิ GSP จะลดลงราว 30 ล้านดอลลาร์เหรียญ คิดราว 0.1% ของการส่งออกไปสหรัฐ หรือราว 0.01% ของยอดส่งออกรวมทั้งหมดของไทยไปทั่วโลก
- บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในตลาดแถบจะไม่กระทบ ยกเว้น CPF ซึ่งกระทบจำกัดมาก เนื่องจากมีส่วนรายได้จากการส่งออกเกี๊ยวกุ้ง ซึ่งสัดส่วนเพียงแค่ 1%ของรายได้รวม
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสิทธิ GSP พบว่ายังเหลือสินค้าที่ไทยยังได้รับสิทธิ GSP อีก 912 สินค้า วงเงิน 3.1 พันล้านเหรียญฯสหรัฐ ซึ่งมีโอกาสที่สหรัฐจะตัดสิทธิในอนาคต สินค้าหลักๆในครั้งนี้ คือ ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศมีมูลค่ามากสุด 4.8% รองลงมาคือ ถุงมือยาง 4.8% (STAจะกระทบ หากถูกกตัดสิทธิในรอบนี้), อาหารปรุงแต่ง, เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์, เลนส์แว่นตา, ชิ้นส่วนระบบส่งกำลังยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังต้องติดตาม
เหตุการณ์ Sell in May มีโอกาสซ้ำรอยอดีต ชอบ BTSGIF EA
ความคาดหวังกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดำเนินการถูกสะท้อนในตลาดหุ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว หลังจากที่ SET Index ฟื้นตัวขึ้นมาเร็วและแรงกว่า 30% จากจุดต่ำสุดของปี จนใกล้เคียงกับระดับเป้าหมายทางพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยประเมิน 1264 จุด (ระดับ P/E ที่ 17.4 เท่า) ทั้งยังต้องเผชิญกับงบไตรมาส 1/63 ที่มีโอกาสหดตัวแรง ถ่วงดัชนีตลาดหุ้นให้มีโอกาสย่อตัวลง เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น
ขณะเดียวกันปัญหาโควิดที่ยังอยู่ อาจเป็นการตอกย้ำให้เกิดเหตุการณ์ “Sell in May” ซ้ำรอยในอดีตที่เดือน พ.ค. ตลาดหุ้นไทยมักจะปรับตัวลงแรงเสมอ เฉลี่ยลดลงราว 2% และเป็นการปรับตัวลงถึง 8 ปี ใน 10 ปี
ผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยย้อนหลัง 10 ปี
โดยมีปัจจัยหลักๆอยู่ 3 ปัจจัยที่มักจะเกิดขึ้นซ้ำๆ ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ Sell in May อยู่เสมอ
- เดือน พ.ค. เป็นช่วงประกาศงบบริษัทจดทะเทียนในไตรมาสแรก หากออกมาต่ำกว่าคาดมีโอกาสที่จะถูก “Sell on fact” ได้ ยิ่งไปกว่านั้นในปีนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคาดว่ากำไรบริษัทจดทะเบียนในปีนี้น่าจะทำจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ทำให้ตลาดหุ้นในช่วงเดือน พ.ค. 63 อาจไม่คึกคักมากนัก
- เดือน พ.ค. เป็นเดือนที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติมักจะไหลออกจากหุ้นไทยมากที่สุดเฉลี่ยสูงถึง 1.65 หมื่นล้านบาท
สถิติย้อนหลัง 10 ปีของมูลค่าซื้อขายสุทธิหุ้นไทยของต่างชาติ
- เนื่องจากเดือน พ.ค. เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยขึ้นเครื่องหมาย XD และจ่ายปันผลงบปี 2562 เกือบหมดแล้ว กว่า 408 ใน 488 บริษัท (คิดเป็น 83% ของบริษัทที่ประกาศจ่ายปันผล) ทำให้นักลงทุนมีการโยกเงินกลับประเทศบางส่วน รวมถึงก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ยังได้มีการเก็งกำไรหุ้นแล้วจึงไม่มีแรงซื้อที่เข้ามาหนุนตลาด เหมือนกับเดือนที่ผ่านๆมาเปรียบเทียบจำนวนบริษัทที่จ่ายปันผลงวดปี 2562 ในแต่ละเดือน
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนยังคงเตรียมรับมือกับความผันผวนของตลาด โดยการเลือกลงทุนหุ้น Defensive ราคา Laggard อย่าง BTSGIF EA ซึ่งราคาหุ้นทั้ง 2 ยัง Laggard กว่ากลุ่ม และมี Valuation ที่น่าสนใจดังนี้
BTSGIF เป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ผันผวนต่ำ ราคายัง Laggard กว่ากลุ่มที่ปรับตัวขึ้นได้ร้อนแรงในช่วงก่อนหน้า มีความโดดเด่นทางพื้นฐานจาก ราคาหุ้น ณ ปัจุบันยังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีอยู่มากถึง 27% (Discount Book Value) พร้อมกับคาดหวังปันผลได้สูงถึง 8.8% ต่อปี (ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์)
EA ทิศทางกำไรปกติ 1Q63 คาดเติบโตได้ดีทั้ง yoy และ qoq จากโรงไฟฟ้าโซลาร์ที่จะผลิตไฟได้มากขึ้น เพราะเข้าสู่ช่วง high season และได้รับผลบวกจากภัยแล้งซึ่งคาดจะทำให้ความเข้มแสงมากกว่าปกติ รวมถึงยังรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าลมหนุมาน 260 MWe เต็มปี (เริ่มผลิตเต็มที่ตั้งแต่ช้วง 2Q62 เป็นต้นมา) หนุนภาพทั้งปี 2563 คาดกำไรปกติเติบโต 8.9%yoy มาอยู่ที่ 6.4 พันล้านบาท ทำ New High อีกครั้ง อีกทั้งเป็นหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ราคา Laggard กลุ่มฯ ถือเป็นโอกาสลงทุน
ประเด็นวิเคราะห์ : KSL
ภาพรายวัน อยู่ในแนวโน้มการฟื้นตัวขึ้น หลังจากลงไปพักฐาน แถวบริเวณ 1.40 บาท โดยปัจจุบันค่อยๆแกว่งตัวขึ้น พร้อมทั้ง Breakout กรอบ Downtrend Channel เล็กๆ ขึ้นมาอีกด้วย ทั้งนี้หากพิจารณาจากรูปแบบราคาคล้าย Cup and Handle ซึ่งรูปแบบการพักตัวก่อนปรับขึ้นรอบใหญ่ พร้อมทั้ง Volume เข้าสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 วัน แบบมีนัยสำคัญ
ดังนั้น จึงมองว่าเป็นจังหวะเหมาะสม เข้า Trading เพื่อหวังการฟื้นตัวกลับไปขึ้นไปทดแนวต้านที่เส้น EMA ระยะยาวบริเวณ 2.20 บาท ในระยะถัดไป
ประเด็นวิเคราะห์ : DELTA
DELTA แกว่งขึ้นในกรอบแคบ รูปแบบ Channel Up อย่างเห็นได้ชัด ถอยมาทีไร ก็มีแรงซื้อกลับ แต่จะเริ่มเห็นความเสี่ยงทางลงเกิดขึ้นจาก แท่งเทียนปิดเป็น Bearish Engulfing (รูปแบบกลับตัวลง)
ทั้งนี้ หากราคาหลุดแนวรับสำคัญ เส้น EMA ระยะสั้นที่ 39.00 บาทลงมาอีก มองว่ารอบการเกิด Technical Rebound รอบนี้ ได้จบลงการปรับตัวลงไปหาฐานกันใหม่ น่าจะเกิดขึ้นได้ ในระยะถัดไป ขณะที่ MACD โค้งลง ใกล้ตัด Signal Line ลงมา หากเกิดขึ้น ยิ่งเป็นเครื่องมือ สนับสนุนการถอยลง เช่นเดียวกับ Price Action ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ประเมินแนวรับถัดไปไว้ที่ 35 บาท(Low วันที่ 7 เม.ย63 )
คำแนะนำ :Short Sell ที่ 38.50 บาท เป้าหมายทำกำไรที่ 35 บาท และ Cut Loss ที่ 37.25 บาท
*หมายเหตุ: หากราคาไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนดภายใน 3 วัน แนะนำปิดสถานะเพื่อลดความเสี่ยง
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web