- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 23 April 2020 14:24
- Hits: 1654
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 23-4-2020
กลยุทธ์วันนี้ >> Short-term Trading//Accumulate and DCA on Dip
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงกว่า 20 จุดในช่วงเช้าจากบรรยากาศการลงทุนที่เป็นลบ แต่มีแรงซื้อเข้ามาหนาแน่นในช่วงบ่ายและทำให้ดัชนีพลิกกลับมาปิดบวกได้ 8.89 จุด ณ ส้นวัน กลุ่มที่ถ่วงตลาดคือกลุ่มพลังงานและธนาคาร ขณะที่กลุ่มที่หนุนคือกลุ่มโรงไฟฟ้า สื่อสารฯ และอาหาร แรงซื้อมาจากนักลงทุนรายย่อยและบัญชีบล. 1.6 พันลบ.และ 1.1 พันลบ.ตามลำดับ ขณะที่แรงขายยังอยู่ในฝั่งนักลงทุนต่างชาติอีก 2.8 พันลบ. (และ Short Index Futures 4.3 พันสัญญา) ส่วนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิบางๆ
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET Index จะแกว่งตัว Sideways Up โดยมีโอกาสขึ้นทดสอบ High เดิม 1,270-1,273 จุดโดยได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่เริ่ม Stabilize อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ต้องตามคืนนี้คือตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯที่คาดว่าจะเพิ่มอีก 4.3 ล้านคน รวมถึงสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ว่าจะแย่ลงหรือไม่หลังหลายประเทศเริ่มทยอยผ่อนปรนการ Lockdown ขณะที่ด้าน SET Index ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 20% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเรามองว่ารับความคาดหวังเชิงบวกต่างๆไปมากพอสมควร ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานและกำไรบริษัทจดทะเบียนตามไม่ทันโดยให้จับตาผลประกอบการ 1Q20 ฝั่ง Real Sector ที่จะทยอยประกาศหนาแน่นขึ้นในสัปดาห์หน้า โดยหากอิง 2020PER ปัจจุบันที่ 16.7 เท่าถือว่าค่อนข้างแพง ทำให้เรายังมอง Upside ของดัชนีค่อนข้างจำกัด ระยะสั้นจึงแนะนำเพียง Trading เล่นรอบ ขณะที่ระยะกลาง-ยาวยังให้รอการพักตัวจึงจะเป็นจังหวะสะสมหุ้นรอบใหม่ กลยุทธ์ : ระยะสั้นเน้น Trading เล่นรอบ//ระยะกลาง-ยาวรอทยอยสะสมและทำ DCA ในช่วงตลาดปรับฐาน หุ้นเด่นเดือน เม.ย. : BCH, BEM, CPALL, RBF, SFLEX
หุ้นเด่นวันนี้: OSP
- แนะนำซื้อ ปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 46 บาท จาก 40 บาท
- คาดกำไร 1Q20 +10% Q-Q, +2% Y-Y แทบไม่ถูกกระทบจาก COVID-19 ส่วนแบ่งตลาดของ M-150 เพิ่มขึ้นทั้งที่ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังแทบไม่โต สินค้ากลุ่ม Personal care ได้อานิสงส์จากการตุนสินค้า และส่วนแบ่งกำไรจาก C-Vitt ดีต่อเนื่อง
- แนวโน้ม 2Q20 โตแรง Y-Y เพราะฐานต่ำปีก่อนและต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับลง (ปรับสูตรน้ำตาล ค่าเชื้อเพลิง) กำไรจะเร่งตัวใน 2H20 เมื่อขยายกำลังผลิต C-Vitt แล้วเสร็จ
- คาดกำไรทั้งปี +20% Y-Y โตใกล้เคียง CBG เราปรับเพิ่ม Target PE ให้เท่ากันเป็น 35 เท่า ราคาเป้าหมายจึงถูกปรับขึ้น
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากภูมิภาคแต่ลดลงเหลือ US$296ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากไต้หวันและไทย US$124ล้านและ US$85ล้าน ตามลำดับ และไม่มีประเทศใดมีเม็ดเงินไหลเข้า แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะไหลออกบางๆหรือพลิกมาไหลเข้าจากราคาน้ำมันดิบที่เริ่มกลับมาปกติมากขึ้น ส่วนสถานการณ์ COVID-19 ต้องจับตาผลลัพธ์หลังการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ของหลายๆประเทศ
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) คลังแบ่งกู้ 1 ล้านลบ.ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน โดย 6 แสนลบ.จะกู้ในปีงบประมาณ 2563 เมื่อรวมกับแผนก่อหนี้เดิม 8.94 แสนลบ. รวมเป็น 1.497 ล้านลบ. หนี้สาธารณะต่อ GDP สิ้นปีนี้เป็น 51.8% ปีหน้าเป็น 58.0% ยังอยู่ในกรอบ 60% ยังไม่เสียวินัยการเงินการคลัง ล้อตแรก 7 หมื่นลบ. จะกู้จากแบงก์ในประเทศ เปิดประมูล 29 เม.ย. เพื่อให้ทันเบิกจ่าย 5,000 บาทสำหรับ 14 ล้านคนได้ทันภายในต้น พ.ค.
(+) กลุ่มเครื่องดื่มน่าสนใจ เราคาดกำไรปกติ 1Q20 ที่ 1,716 ลบ. -5% Q-Q, +10% Y-Y สองบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จำกัด คือ OSP, CBG ซึ่งทำให้กำไรโตแรงกว่ากลุ่ม โดย OSP โตจากตลาดในประเทศ ส่วน CBG โตจากตลาดส่งออก (CLMV) ส่วน ICHI, TACC กระทบบ้างจากลูกค้าที่เข้าร้านสะดวกซื้อน้อยลง แต่คุมต้นทุนและลดโปรโมชั่นช่วย ส่วน SAPPE มีปัญหาเฉพาะตัวคือภาษีสรรพสามิต Functional Drink เพราะยังปรับสูตรไม่เสร็จ แนวโน้ม 2Q20 ลดลง Q-Q แต่ยังโตดี Y-Y แต่กำไรจะเร่งตัวขึ้นใน 2H20 เรายังให้น้ำหนัก Overweight หุ้นเด่นเป็น OSP (เป้า 46 บาท) และ CBG (เป้า 107 บาท) เพราะกำไรเติบโตโดดเด่นกว่ากลุ่มมาก
(+) GFPT สถานการณ์ดูดีกว่าที่เคยคาด แม้ประสบปัญหาไฟไหม้สายการผลิตตั้งแต่ปลายปีก่อน และถูกกระทบจาก COVID-19 แต่ส่งคำสั่งซื้อไปให้บริษัทร่วมช่วยผลิต ทำให้กำไรปกติ 1Q20 น่าจะทำได้ 282 ลบ. -8% Q-Q, +23% Y-Y แนวโน้ม 2Q20 อาจชะลอเพราะราคาชิ้นส่วนไก่ในประเทศเริ่มอ่อนตัวลงตาม demand แต่มีเงินเคลมประกันเข้ามาช่วย กำไรจะกลับมาฟื้นใน 2H20 เมื่อส่งออกได้หลัง COVID-19 คลี่คลาย ส่วนสายการผลิตคาดฟื้นฟูเสร็จ 1Q21 เลื่อนจากเดิมที่เป็น 4Q20 ยังคาดกำไรปีนี้ -7.5% Y-Y และกลับมาโตปีหน้า +13% Y-Y คงเป้า 12.5 บาท ปรับคำแนะนำเป็นซื้อ จากถือ
(0) EPG เราคาดกำไรสุทธิ 4Q20 (ม.ค.-มี.ค. 2020) 203 ลบ. -5% Q-Q, +81% Y-Y จากฐานต่ำผิดปกติในปีก่อน แต่กำไรระดับนี้ถือว่าไม่สดใส เพราะ 2 ใน 3 ของธุรกิจ (Aeroklas, EPP) ถูกกระทบจาก COVID-19 และกำลังซื้อที่อ่อนแอ ทำให้กำไรปี 2020 (สิ้นสุด มี.ค. 2020) น่าจะจบที่ 1 พันลบ. +12% ผลกระทบจะมากขึ้นในปี 2021 (สิ้นสุด มี.ค. 2021) เราปรับกำไรลง 10% เหลือโต 6% (เดิม +11%) ปรับเป้าลงเป็น 7.6 บาท จาก 8 บาท ยังแนะนำซื้อลงทุน
(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 456.94 จุด ปิดที่ 23,475.82 จุด จากราคาน้ำมันปรับขึ้น หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทวีตข้อความขู่ว่าจะโจมตีเรือปืนอิหร่านทุกลำของอิหร่าน หากก่อให้เกิดอันตรายต่อเรือสหรัฐ นอกจากนี้ หนุนจากความคาดหวังว่าสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจะอนุมัติมาตรการเยียวยาวงเงิน 4.84 แสนล้านดอลลาร์เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและโรงพยาบาลในวันพฤหัสบดีนี้ รวมถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งที่ออกมาดีกว่านักวิเคราะห์คาด
(+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก จากการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน และความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงรุกทั่วโลก ขณะที่นักลงทุนติดตามผลการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรป (EU) ในวันพฤหัสบดีนี้ เกี่ยวกับการใช้งบประมาณระยะยาวร่วมกันเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(+) ตลาดเอเชียปรับขึ้น ตามทิศทางของตลาดดาวโจนส์ และการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน
(+) ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปรับขึ้น 2.21 ดอลลาร์ หรือ 19.1% ปิดที่ 13.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและอิหร่าน หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ทวีตข้อความว่าจะยิงเรือปืนของอิหร่านทุกลำ หากก่อให้เกิดอันตรายต่อเรือสหรัฐ รวมถึงได้แรงหนุนจาก EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 15 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 12.9 ล้านบาร์เรล
(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 50.5 ดอลลาร์ หรือ 2.99% ปิดที่ 1,738.3 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1042.46 / +9.07
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
23 เม.ย. - เกาหลีใต้: 1Q20 GDP
- สหรัฐ: Markit US Manufacturing PMI (เม.ย.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (เม.ย.)
25 เม.ย. - ไทย: ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (มี.ค.)
27 เม.ย. - ฮ่องกง: ส่งออก-นำเข้า (มี.ค.)
28 เม.ย. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
29 เม.ย. - สหรัฐ: 1Q20 GDP
Contact person : Jitra Amornthum Register : 014530
Contact person : Veeravat Virochpoka Register : 047077
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web