WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 22-4-2020ASP

กลยุทธ์การลงทุน      

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

คาด SET Index ปรับฐานราคาต่อ เหตุเพราะ Upside เมื่อเทียบกับเป้าหมายทางพื้นฐานเหลือจำกัด ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นภาพรวมเศรษฐกิจ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในงวด 1Q63 ต่อเนื่อง 2Q63 เป็นลบ วันนี้แนะนำปรับพอร์ตโดยให้ขายทำกำไรใน CPF และ LH และย้ายเงินเขาลงทุนใน STA และ DIF สำหรับหุ้น Top Picks เลือก RATCH (FV@B 75) และ STA (FV@B 14)

       SET Index   1,252.92

       เปลี่ยนแปลง (จุด)   -13.48

       มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)   58,677

          

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย จับสัญญาณวันนี้

วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวลงตลอดวันตามตลาดหุ้นในภูมิภาค จากช่วงที่ผ่านมาหลายตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาแรงและเร็ว ขณะที่ประเด็นกดดันยังคงมีอยู่ อาทิ การแพร่ระบาด COVID-19 เป็นต้น จึงทำให้ตลาดหุ้นปิดในแดนลบที่ระดับ 1252.92 จุด ลดลง 13.48 จุด หรือ -1.06% มูลค่าการซื้อขาย 5.86 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มธ.พ.ได้แก่ BBL(-6.72%) KBANK(-6.28%) SCB(-2.79%) KTB(-1.80%) กลุ่มขนส่งเช่น AOT(-2.42%) BEM(+2.79%) BTS(-6.09%) BEM(-1.63%) และกลุ่มพลังงาน อาทิ PTT(-3.55%) PTTEP(-3.48%) IRPC(-4.55%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น BJC(-3.43%) CPN(-3.02%) และ CPALL(-0.76%) เป็นต้น

การเลื่อนกำหนดพิจารณาว่าจะขยายอายุ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ออกไปหรือไม่ เป็นสัปดาห์หน้า ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ความคาดหวังว่าจะเห็นการผ่อนคลายมาตรการควบคุมเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นมีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งทำให้เกิด Sentiment เชิงลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ โดยล่าสุดได้มีการประกาศตัวเลขการส่งออกเดือน มี.ค.63 ออกมาพบว่าดีกว่าคาด และทำให้การส่งออก 1Q63 เป็นบวก 0.9% แต่ก็ยังน่าจะทำให้ภาพรวม GDP Growth งวด 1Q63 ยังคงติดลบในระดับสูงราว 7% และอาจมีแนวโน้มที่หดตัวต่อเนื่องในงวด 2Q63 ส่วนผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในงวด 1Q63 ส่วนที่ประกาศออกมาแล้วได้แก่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ พบว่ามีกำไรสุทธิสูงกว่าที่คาด เหตุเพราะต้นทุนทางการเงินที่ลดลงหลังทางการปรับลดสัดส่วนการส่งเงินให้กองทุนฟื้นฟูฯ(FIDF) ลง อย่างไรก็ตามในกลุ่มอุตสาหกรรรมอื่นๆ เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมียังอยู่ในภาวะที่อาจเห็นการปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ผลจากราคาน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงรุนแรง สำหรับประเด็นอื่นที่น่าสนใจเป็นเรื่องของ Fund Flow เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิมาต่อเนื่องในตลาดหุ้นไทย โดยพบว่า นับจากช่วงที่ SET Index ปรับตัวลลงไปจุดต่ำสุดบริเวณ 969 จุด จนถึงปัจจุบัน นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิกว่า 5.6 หมื่นล้านบาท โดยมีต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ SET Index 1140 จุด ซึ่งหากคำนวนอัตราผลตอบแทนจนถึงที่ระดับดัชนีปัจจุบัน พบว่าอยู่ที่ 10% ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นแรงขายทำกำไรทยอยออกมาได้ โดยภาพรวมวันนี้คาดว่า SET Index น่าจะปรับฐานลงได้ต่อ กลยุทธ์การลงทุน แนะนำให้ปรับพอร์ตการลงทุน โดยขายทำกำไรในหุ้น CPF จากภาวะที่ราคาหมู และ ไก่ ปรับลดลงแรง และนำเงินเข้าลงทุนใน STA ด้วยน้ำหนักเท่ากัน พร้อมกันนี้ให้ขายทำกำไร LH หลังบริษัทในกลุ่มได้แก่ LHFG ประกาศผลขาดทุนในงวด 1Q63 สร้างแรงกดดันต่อผลประกอบการ LH แล้วย้ายเงินลงทุนไปพักใน DIF ซึ่งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนหุ้น Top Picks เลือก STA และ RATCH

สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศดีขึ้น แต่ในอาเซียนความเสี่ยงยังสูง

ประชุม ครม. วานนี้มีมติเห็นชอบสำคัญ คือ ให้ขยายจำนวนผู้รับเงินเยียวยาจากรัฐ เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 คนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน จากเดิมกำหนดไว้ 9 ล้านคน เพิ่มเป็น 14 ล้านคน โดยรวมจะมีเม็ดเงินใส่เข้าระบบจากมาตรการดังกล่าวราว 2.1 แสนล้านบาท

ส่วนประเด็น การพิจารณาต่ออายุ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ หรือไม่ และ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด รวมถึงการเปิดธุรกิจ   จะมีการพิจารณาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า 28 เม.ย. 2563 ASPS ความคาดมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ออกไปอีกอย่างน้อย 1 เดือน และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมเพื่อให้ธุรกิจกลับมาเปิดดำเนินการได้คาดจะดำเนินการอย่างระมัดระวัง และค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากมีปัจจัยหนุนจาก จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ของไทย ล่าสุดวานนี้ พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นเพียง 19 ราย ส่งผลให้ปัจจุบันไทยมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสม 2,811 ราย

อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศอาเซียนอื่นๆ กลับยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ อินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 1,479 ราย รวมเป็น 20,080 ราย, สิงคโปร์เพิ่มขึ้น 1,111 ราย รวมเป็น 9,125 ราย, ฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น 140 ราย รวมเป็น 6,599 ราย, มาเลเซียเพิ่มขึ้น 57 ราย รวมเป็น 5,482 ราย เป็นต้น กระต้นความกังวลว่าภูมิภาคอาเซียนอาจกลายเป็นศูนย์กลางการระบาดแห่งใหม่ได้ จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ประเทศในอาเซียน

ที่มา: Bloomberg

ส่งออกเดือน มี.ค. ดีกว่าคาด แต่ภาพรวม GDP Growth คาดติดลบรุนแรง

ยอดส่งออก เดือน มี.ค. 2563 มีมูลค่า 2.24 หมื่นล้านเหรียญ พลิกกลับมาขยายตัว 4.2%yoy (สูงสุดรอบ 8 เดือนและดีกว่าตลาดคาดที่ -5.8%) ขณะที่นำเข้า ขยายตัว 7.25%yoy โดย ASPS ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการส่งออก ดังนี้

  • •   ส่งออก เดือน มี.ค. ฟื้นตัวจากการส่งออกบางสินค้า เช่น ทองคำขยายตัว 215.2%, อาวุธและยุโธปกรณ์ขยายตัว 1,129% โดยเป็นการส่งคืนภายหลังเสร็จสิ้นการฝึก, คอมพิวเตอร์ขยายตัว 17.6%, เครื่องปรับอากาศขยายตัว 8.1%, น้ำตาลขยายตัว 17.5%, ไก่สดแช่แข็งขยายตัว 7.5% เป็นต้น
  • •   สินค้าสำคัญที่หดตัวเดือน มี.ค. เช่น ยานยนต์หดตัว 28.7%, สินค้าเกี่ยวกับน้ำมันหดตัว 17.4% ราคาน้ำมันโลก, ยางพาราหดตัว 24.7%, อาหารทะเลกระป๋อง หดตัว 6% จากปัญหา Supply chain ตามผลกระทบของไวรัส COVID-19 ทำให้มีการลดการผลิตลง และการ Lock down ประเทศ
  • •   หากหักสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน, ทองคำ และอาวุธออก จะพบว่าการส่งออกไทยเดือน มี.ค. 2563 ขยายตัว 2.1%yoy
  • •   ตลาดส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่หดตัว เช่น ยุโรปหดตัว 14.8%, ญี่ปุ่นหดตัว 2.8%, จีนหดตัว 4.8%, อินเดียหดตัว 26.3% ขณะที่บางประเทศขยายตัวได้ เช่น สหรัฐขยายตัว 43% เพราะมีการอาวุธและยุโธปกรณ์คืนกลับ แต่หากหักออกจะขยายตัว 19.5% และอาเซียนขยายตัว 5% เป็นต้น ส่วนหนึ่งเกิดจากจีนปิดประเทศ เพราะไวรัส COVID-19 ทำให้ประเทศอื่นๆหันมานำเข้าสินค้าจากไทยแทน

อย่างไรก็ตาม ASPS ประเมินส่งออกไทย เดือน เม.ย. คาดจะอาจพลิกกับมาหดตัว เนื่องจากหลายประเทศมีการLockdown ประเทศตั้งแต่ ปลายดือน มี.ค. 2563 รวมถึงการเร่งนำเข้าไปในช่วงก่อนหน้า   โดยรวมทำให้ยอดส่งออกและนำเข้าเฉลี่ยงวด 1Q63 ขยายตัว 0.9% และหดตัว 1.9% ตามลำดับ

จากความเป็นไปได้ที่มาตรการควบคุมการระบาด COVID-19 จะถูกขยายออกไปอีกดังกล่าว และการกลับมาเปิดดำเนินการของธุรกิจจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงแนวโน้มการส่งออกที่ชะลอข้างต้น ASPS จึงคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Activity) ของไทยในงวด 2Q63 อาจชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับ 1Q63 ได้ เนื่องจากช่วงเดือน ม.ค. ก.พ. 2563 กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะปกติ

เบื้องต้น ASPS ได้ประมาณการ GDP ไทยงวด 1Q63 โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อิงจาก Leading Economics Indicator ของไทย ในช่วง 2M2563 ดังที่นำเสนอเมื่อวาน Markettalk จะออกมาติดลบราว 7% ถือเป็น Downside ต่อประมาณการ GDP ปี 2563 ที่ปัจจุบันคาด -1.4% เนื่องจาก ASPS ยังมีมุมมองงวด 2Q63 คาดจะเป็นงวดที่ GDP จะติดลบมากที่สุด และน่าจะเป็น Bottom ของปี และคาดจะกลับค่อยๆดีขึ้นในงวดไตรมาส 3 เป็นต้นไป

ราคาน้ำมันดิบโลก ต่ำกว่า 20 เหรียญฯ ต่ำสุดในรอบ 21 ปี

ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงปรับลงในทิศทางเดียวกัน อ้างอิงราคาน้ำมัน WTI สัญญาส่งมอบ เดือน มิ.ย. ล่าสุด แกว่งบริเวณ 13.6 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ต่ำสุดในรอบ 21 ปี)

สาเหตุที่ราคาน้ำมันดิบปรับลงยังคงมาจาก ฝั่ง Demand น้ำมัน ที่ชะลอลงจากผลกระทบ COVID-19 ทำให้หลายประเทศมีการ Lockdown ประเทศ ราว 30 ประเทศสำคัญทั่วโลก อาทิ ยุโรป, ญี่ปุ่น, สหรัฐ, ไทย ฯลฯ   ระยะเวลาในช่วง เดือน มิ.ย.- พ.ค. คือ ห้ามประชาชนเดินทางออกนอกประเทศ ฯลฯ (ล่าสุด มีหลายประเทศ จะขยาย Lock down ประเทศ อาทิ อ้างอิง IEA คาด Demand น้ำมันดิบโลก เดือน เม.ย. จะหายไป 30 ล้านบาร์เรล/วัน

ขณะที่ฝั่ง Supply น้ำมันดิบ ยังเผชิญปัญหา Over Supply แม้ที่ประชุม OPEC+ มีมติตัดลดกำลังการผลิต เดือน พ.ค. ลงราว 10 ล้านบาร์เรล/วัน และนอกประเทศ OPEC คาดจะตัดลดลงอีก 5 ล้านบาร์เรล/วัน โดยรวมจะปรับลงราว 15 ล้านบาร์เรล/วัน แต่ไม่สามารถหักล้าง Demand ที่ลดลงแรงมากกว่าไดด้

โดยเบื้องต้น ASPS ยังคงอิงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2563 ที่ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ภายใต้ YTD ราว   46 เหรียญฯ) หากมีการปรับลดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในระยะยาว จะกระทบมูลค่าพื้นฐาน PTTEP และ PTT ราว 10-12 และ 2-3 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ

คำแนะนำการลงทุนในหุ้นกลุ่มน้ำมัน PTT และ PTTEP นั้น ระยะยาวยังคงแนะนำซื้อ ด้วยมูลค่าพื้นฐานที่ 42 และ 100 บาทต่อหุ้น แต่ช่วงสั้นนั้นราคาหุ้นอาจยังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ดังนั้นการลงทุนอาจต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น หาจังหวะเข้าลงทุนเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัว

4 ปัจจัยที่ตลาดอาจถูกขายทำกำไรบางจังหวะ ชอบ STA RATCH

SET Index ณ ปัจจุบัน ปรับตัวขึ้นมาแรง หากนับตั้งแต่จุดต่ำสุดของ SET Index ณ วันที่ 13 มี.ค. 63 ให้ผลตอบแทนสูงราว 30% อยู่ที่ 1258 จุด แต่ต่อจากนี้เชื่อว่าต่อจากนี้จะมีอุปสรรคอีกหลายเรื่องที่ต้องเผชิญ คือ

SET Index ณ ปัจจุบัน เข้าใกล้เป้าหมายปี 2563 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ที่ 1264 จุด

ปัจจัยกดดันปกคลุมรอบด้าน ทั้งราคาน้ำมันที่ผันผวนมากและอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 21 ปี จากความต้องการที่หายไปชั่วขณะ, การขยายระยะเวลาการ Lock Down เมือง รวมถึงการรายงานงบงวด 1Q63 เริ่มต้นจากกลุ่มธ.พ. ที่ไม่ค่อยสดใสนัก และอาจชะลอต่อเนื่องในงวด 2Q63 รวมถึงต่อจากนี้ต้องรอการรายงานงบในกลุ่ม Real Sector ต่อ

ต่างชาติยังขายหุ้นไทยหนัก กองทุนเป็นผู้พยุงหลัก ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องกว่า 1.5 แสนล้านบาทytd และช่วงที่ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดต่างชาติขายสุทธิเข่นกันกว่า 8.0 หมื่นล้านบาท

ต้นทุนกองทุนอยู่ในระดับ SET Index 1140 จุดเท่านั้น หากวิเคราะห์ต้นทุนของสถาบันฯ เฉลี่ยจากจุดต่ำสุดของ SET ในปีนี้ ถึงปัจจุบัน พบว่า มีต้นทุนเฉลี่ยที่ถูกมาก อยู่ที่ระดับ 1140 จุด ซึ่งมีกำไรสูงถึง 10% ทำให้มีโอกาสสูงที่จะทยอยขายทำกำไรออกมาในบางจังหวะ

กลยุทธ์เน้นลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการดี เสริมด้วยปัจจัยบวกเฉพาะตัว แนะนำ 2 บริษัท คือ

STA (FV @ 14.00) แนวโน้มกำไรสุทธิปี 2563 จะฟื้นตัวโดดเด่นอยู่ที่ 813 ล้านบาท พลิกจากที่ขาดทุนสุทธิ 149 ล้านบาทในปี 2562 มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ธุรกิจถุงมือยาง (20% ของรายได้รวม) จะเติบโตชัดเจน เนื่องจากได้ประโยชน์จากการระบาดของ COVID-19 หนุนแนวโน้มปริมาณขายถุงมือยางเพิ่มขึ้นถึง 40.7% yoy ในปี 2563 และ 2) ธุรกิจยางพารา (80% ของรายได้รวม) ก็จะฟื้นตัวเช่นกัน จากการที่โรงงานแปรรูปยางในไทยหลายแห่งหยุดดำเนินการผลิตชั่วคราว ทำให้ลูกค้าหันมาซื้อยางจาก STA เพิ่มขึ้น หนุนแนวโน้มปริมาณขายยางของ STA เพิ่มขึ้นถึง 17.8% yoy ในปี 2563 นอกจากนี้ STA ก็ได้ประโยชน์จากทิศทางค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง หนุนประสิทธิภาพการทำกำไรดีขึ้น

RATCH(FV @ 75.00) เป็นหุ้นที่ผันผวนต่ำ ปันผลสูงกว่า 4% ต่อปี พร้อมทั้งยังได้รับ Sentiment เชิงบวกจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากการเข้าสู่ช่วงหน้าร้อน รวมถึงการ Work From Home นอกจากนี้บริษัทยังมีโอกาสเรียกรับซื้อไฟในส่วน IPP เพิ่มจากทาง EGATIF เนื่องจากเข้าสู่ช่วง High Season และยังไม่มีรับผลกระทบจากมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าของรัฐบาล เนื่องจาก สัดส่วนรายได้มากจาก IPP(โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่) มากกว่า 90% ซึ่งคราดช่วงหนุนกำไรงวด 2Q63 เพิ่มเติม ขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจนมี upsideเปิดกว้างกว่า 25% จากมูลค่าทางพื้นฐาน ถือเป็นกาสเข้าสะสม

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!