WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 21-4-2020May

CP All (CPALL) คาดกำไร 1Q63 ชะลอลงเล็กน้อย

Results Preview

ประเด็นการลงทุน

คาดกำไรสุทธิ 1Q63 ลดลง 2% YoY เนื่องจาก SSSG ของร้านเซเว่นฯ ลดลงเป็น -3% และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจาก TFRS16 แต่คาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นยังเพิ่มขึ้น และ SSSG ของแม็คโครเพิ่มเป็น +7% ทำให้ยอดขายรวมยังเติบโตได้ เรายังเชื่อว่า CPALL เป็นหนึ่งในบริษัทที่ผลประกอบการมีเสถียรภาพ ฐานะการเงินแข็งแกร่ง และพร้อมฟื้นตัวหลังการระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย แนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย (DCF, WACC 7.2%, LTG 4%) เท่ากับ 87 บาท

คาด SSSG ร้านเซเว่นฯ -3% แต่แม็คโคร +7%

คาดว่า SSSG 1Q63 ของร้านเซเว่นฯ ลดลงมาที่ -3% (เทียบกับ +3.1% ใน 1Q62 และ 0% ใน 4Q62) เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว และการระบาดของโควิด-19 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงและปิดเทอมเร็วขึ้น แม้ร้านเซเว่นฯ ซึ่งอยู่ในแหล่งชุมชนที่อยู่อาศัยมียอดซื้อสินค้าต่อใบเสร็จเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 แต่ไม่สามารถชดเชยจำนวนลูกค้าเข้าร้านที่ลดลง อย่างไรก็ดี เราคาดว่ายอดขายรวมของ CPALL ยังเติบโต 6% YoY เนื่องจากคาดว่ามีจำนวนร้านเซเว่นฯ เพิ่มขึ้น 700 สาขา YoY และ ยอดขายของ MAKRO เติบโตจากการที่ผู้บริโภคตุนสินค้า ทำให้คาดว่า SSSG เพิ่มเป็น +7%

คาดกำไรสุทธิ 1Q63 ลดลง 2% YoY

เราประเมินอัตรากำไรขั้นต้นของ CPALL เพิ่มขึ้น 35bps YoY เป็น 22.7% เนื่องจากสินค้าพร้อมรับประทาน และเครื่องดื่ม All Café ซึ่งมีอัตรากำไรสูง ขายได้ค่อนข้างดี ขณะที่บุหรี่ซึ่งอัตรากำไรต่ำ มียอดขายลดลง ในด้านค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดร้านและความปลอดภัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อีกทั้งค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจาก TFRS16 โดยรวมแล้วเราคาดกำไร 1Q63 ลดลง 8% QoQ และ 2% YoY เป็น 5,671 ล้านบาท

กำไรมีแนวโน้มลดลงใน 2Q63

แนวโน้มกำไร 2Q63 ลดลง โดยเฉพาะในเดือน เม.ย. คาดว่า SSSG ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งโดยปกติจะเป็นช่วงที่มีการเดินทางท่องเที่ยวจำนวนมากซึ่งช่วยเพิ่มยอดขายของร้านเซเว่นฯ ที่อยู่ในปั้มน้ำมันและในพื้นที่ท่องเที่ยว การงดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งเคอร์ฟิวช่วงเวลา 22.0004.00 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. แม้ว่าเป็นช่วงเวลาที่มีลูกค้าไม่มาก แต่ก็มีผลกระทบส่วนหนึ่งต่อยอดขาย อย่างไรก็ดี CPALL ยังมีกระแสเงินสดแข็งแกร่ง EBITDA ประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาทต่อปี   และ วงจรเงินสด -40 วัน อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนต่ำกว่า 1 เท่า

ความเสี่ยง: อากาศเย็นหรือฝนตกมากกว่าปกติ / รายได้เคาน์เตอร์เซอร์วิสชะลอ / การลงทุนของ MAKRO ในต่างประเทศ / การปิดสาขาหรือลดเวลาเปิดสาขาจากโควิด-19

Siam Commercial Bank (SCB TB) คาดผลดำเนินงานไตรมาสหน้าอ่อนตัว

คงประมาณการกำไร ชอบ BBL มากกว่า

แม้ผลประกอบการไตรมาส 1/63 คิดเป็น 35% ของกำไรปี 63 แต่เรายังคงประมาณการเนื่องจากคาดว่ารายได้จะลดลงและการตั้งสำรองจะสูงขึ้นในไตรมาส 2/63 เป็นต้นไป SCB ประกาศยกเลิกโครงการซื้อหุ้นคืนและมุ่งเน้นสนับสนุนลูกค้าในภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ คงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 70 บาท (P / BV ปี 63 ที่ 0.57 เท่า ROE 8.2%) เราชอบ BBL (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 130 บาท) มากกว่า SCB เนื่องจากงบดุลแข็งแกร่งกว่าและความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำกว่า

ผลประกอบการไตรมาส 1/63 ดีกว่าคาดจาก NIM ที่ดีขึ้น

SCB รายงานกำไรสุทธิ 9.2 พันล้านบาท (กำไรต่อหุ้น 2.72 บาท) ในไตรมาส 1/63 ทรงตัว YoY และเติบโต 68% QoQ เนื่องจากการลดค่าธรรมเนียม FDIF 23bp ในปี 2563-2564 สินเชื่อลดลง 1.4% YoY และ 0.9% QoQ เนื่องจากการชำระคืนเงินกู้ของลูกค้าองค์กร (-5% YoY) ผลจากการใช้มาตรฐานบัญชีฉบับที่ 9 ทำให้ NII เพิ่มขึ้น 2.2 พันล้านบาทจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของสินเชื่อจำนองที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ non-NII ลดลง 700 ล้านบาทจากค่าธรรมเนียมการตัดจำหน่ายตลอดระยะเวลาการให้สินเชื่อ นอกจากนี้ ธนาคารบันทึกดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงหลังจากการลดค่าธรรมเนียม FIDF 23bp ส่งผลให้ NIM สูงขึ้น 3.57% ในไตรมาส 1/63สูงกว่าที่เราคาดไว้ 44bp เราคาดว่า NII จะลดลงเนื่องจากธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 40bp ในไตรมาส 2/63

คุณภาพสินทรัพย์ไม่สะท้อนการระบาดของไวรัสในไตรมาส 1/63

SCB บันทึกเงินตั้งสำรองที่ 9.7 พันล้านบาท (ต้นทุนเครดิต 185bp) เพิ่มขึ้น 79% YoY ในไตรมาส 1/63 NPL ลดลง 2% QoQ มาอยู่ที่ 8.4 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/63 ในขณะที่อัตราส่วน NPL ลดลง 4bp QoQ เป็น 3.99% เนื่องจากผลกระทบจาก Covid-19 เมื่อปลายเดือนมีนาคม ยอดขาย NPL อยู่ที่ 4.5 พันล้านบาท NPL coverage เพิ่มขึ้น 6bp QoQ เป็น 140% โปรดทราบว่า SCB ขาย NPL ได้ 4.5 พันล้านบาทในไตรมาส 1/63 เทียบกับ 6.7 พันล้านบาทในไตรมาส 1/62 เราคาดว่าผลการดำเนินงานที่แท้จริงจะมาพร้อมกับคุณภาพสินทรัพย์ที่แย่ลงและรายได้ที่ลดลงในไตรมาส 2/63

คาดความต้องการสินเชื่อดีขึ้น NIM และ Non-NII ไตรมาส 2/63 ลด

เราเชื่อว่าความต้องการสินเชื่อจะดีขึ้นจากโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและการเปลี่ยนจากหุ้นกู้ชองภาคธุรกิจเป็นสินเชื่อธนาคาร NIM จะลดลงจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง 40bp ขณะที่ non-NII ลดลงเนื่องจากการขายประกันผ่านธนาคารและการขายกองทุนรวมลดลง คุณภาพสินทรัพย์จะแย่ลงเนื่องจากรัฐบาลได้ปิดเมืองใหญ่ ๆ ในช่วงปลายเดือนมีนาคม เราคาดว่าธนาคารจะตั้งสำรองที่สูงแม้ว่าจะมีมาตรการที่ผ่อนคลายของ ธปท.ในการจัดประเภท NPL และการตั้งสำรอง ทั้งนี้ ธนาคารจะปรับเป้าหมายทางการเงินปี 2563 หลังจากที่รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/63 ในเดือนกรกฎาคม

TISCO Financial Group (TISCO TB) คุณภาพสินทรัพย์แข็งแกร่ง ปันผลดี

ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำ จากการตั้งสำรองสูง

เราเชื่อว่ามาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อที่ระมัดระวังในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง นอกจากนี้ TISCO จะได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในแง่ของต้นทุนเงินทุนที่ลดลง คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 84 บาท (P / BV ปี 2563 ที่ 1.7 เท่า ROE 16.3%) หุ้น TISCO จะขึ้น XD เงินปันผลที่ 7.75 บาท/หุ้นในวันที่ 27 เม.ย. คิดเป็นอัตราเงินปันผลตอบแทน 9.6% เรามองว่าอัตราเงินปันผลที่ดีและนโยบายการตั้งสำรองที่ระมัดระวังจะจำกัดความเสี่ยงขาลง  

กำไรไตรมาส 1/63 พลาดเป้า ขณะที่ PPoP ดีกว่าคาด

กำไรลดลง 14% YoY และ 20% QoQ เป็น 1.48 พันล้านบาท (กำไรต่อหุ้น = 1.85 บาท) ในไตรมาส 1/63 ต่ำกว่าประมาณการของเรา 9% จากการตั้งสำรองพิเศษ ผลประกอบการไตรมาส 1/63 คิดเป็น 23% แต่ PPoP เพิ่มขึ้น 25% YoY และคิดเป็น 30% ของประมาณการปี 2563 ของเรา สินเชื่อลดลง 1% YoY และ 2% QoQ นำโดยสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อฟลอร์แพลนหดตัวตามการบริโภคในประเทศที่อ่อนแอ ขณะที่สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์เติบโต 3.4% QoQ เนื่องจากกลยุทธ์การขยายเครือข่าย NIM เพิ่มขึ้น 36bp QoQ เป็น 4.56% สาเหตุหลักมาจากผลตอบแทนสินเชื่อที่สูงขึ้นจากการเพิ่มของสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และต้นทุนเงินทุนที่ลดลงจากการลดค่าธรรมเนียม FDIF ขณะที่ Non-NII ลดลง 4% YoY และ 24% QoQ เนื่องจากค่าธรรมเนียมการทำประกันผ่านธนาคารลดลงและเป็นผลขาดทุนจากการทำตลาดเนื่องจากมูลค่าหุ้นลดลง OPEX ลดลง 14% YoY เนื่องจาก TISCO มีการบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์พนักงานในไตรมาส 1/62

ตั้งสำรองอย่างระมัดระวังสะท้อนความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์

TISCO บันทึกตั้งสำรองที่ 1.05 พันล้านบาท (ต้นทุนเครดิต 1.75%) ในไตรมาส 1/63 ซึ่งรวมถึงสำรองปกติ 472 ล้านบาท สำรองพิเศษ 840 ล้านบาทและสำรองส่วนเกินโอนกลับจำนวน 262 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2562 TISCO มีเงินสำรองส่วนเกิน 2.1 พันล้านบาทและจะทยอยโอนกลับในระยะเวลา 2 ปี (262 ล้านบาทต่อไตรมาส) จากกำหนดเดิม 5 ปี อัตราส่วน NPL เพิ่มขึ้นเป็น 2.56% จาก 2.40% ในไตรมาส 4/62 ในขณะที่ NPL coverage เพิ่มขึ้น 6bp QoQ เป็น 190%

คาดตั้งสำรองจะลดลงสู่ระดับปกติตั้งแต่ไตรมาส 2/63

ผู้บริหารระบุว่าการตั้งสำรองพิเศษส่วนใหญ่เป็นเพราะการคาดการณ์ล่วงหน้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงเป็น -5% (จาก +2%) ในปีนี้ โดยคาดกันว่าเงินตั้งสำรองจะลดลงสู่ระดับปกติที่ 80bp จากไตรมาส 2/63 เป็นต้นไป ธนาคารจะคงรักษาอัตราการจ่ายเงินปันผลที่สูงไว้เนื่องจากระดับเงินทุนยังคงสูงที่ระดับ 17% ของเงินกองทุนชั้นที่ 1

TMB Bank (TMB TB) กำไรถูกกดดันในไตรมาสหน้า

ลดคำแนะนำเป็น ถือชอบ BBL มากกว่า

เราคงประมาณการกำไรไม่เปลี่ยนแปลง แม้ผลประกอบการไตรมาส 1/63 จะไม่สะท้อนผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19 และการปิดเมืองต่างๆ คาดว่าต้นทุนสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นและรายได้ดอกเบี้ยสุทธิน่าจะลดลงในไตรมาส 2-3 ปรับลดคำแนะนำเป็น ถือราคาเป้าหมาย 1.0 บาท (P/BV ปี 2563 ที่ 0.5 เท่า ROE 7.6%) เราชอบ BBL (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 130 บาท) มากกว่า TMB เนื่องจากงบดุลแข็งแกร่งกว่าและความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำกว่า

กำไรไตรมาส 1/63 ดีกว่าคาด NIM ดีขึ้นและควบคุมต้นทุนได้ดี

TMB รายงานกำไรสุทธิ 4.2 พันล้านบาทในไตรมาสนี้ ดีกว่าที่เราคาด 42% เนื่องจาก NIM ที่ดีกว่าคาด กำไรไตรมาส 1/63 คิดเป็น 37% ของกำไรในปี 2563 ของเรา สินเชื่อขยายตัว 1% QoQ หนุนโดยสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อรายย่อยที่แข็งแกร่ง NIM เพิ่มขึ้น 72bp QoQ เป็น 3.13% เทียบกับที่เราคาด 2.84% เนื่องจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่สูงขึ้นจากสินเชื่อเช่าซื้อ ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (TFRS9) คิดเป็น 20bps และการลดต้นทุน FIDF อีก 23bp ขณะที่ Non-NII เพิ่มขึ้น 15% QoQ หนุนโดยค่าธรรมเนียมประกันผ่านธนาคารจากธุรกิจเช่าซื้อ ขณะที่ OPEX มีการจัดการที่ดี โดยมีการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน สาขาและการตลาดลง

ตั้งสำรองเพิ่มเพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต

TMB บันทึกการตั้งสำรองที่ 4.8 พันล้านบาท (ต้นทุนสินเชื่อ 136bp) โดยมีตั้งสำรองเพิ่มอีก 1 พันล้านบาทในไตรมาส 1/63 เพื่อรองรับแนวโน้มในอนาคตที่ไม่แน่นอน ซึ่งสูงกว่าที่เราคาด 6% อัตราส่วน NPL เพิ่มขึ้น 42bp QoQ เป็น 3.14% ขณะที่ NPL coverage ลดลง 15bp QoQ เป็น 106% ในไตรมาส 1/63 ผบห.ระบุว่าอัตราส่วนสำรองต่อหนี้เสียของ TMB ต่ำกว่าธนาคารอื่น เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อมีหลักประกันมีมูลค่าที่สูงและสินเชื่อไม่มีหลักประกันมีสัดส่วนต่ำ โดย TMB ตัดหนี้เสีย 2.4 พันล้านบาทและขายหนี้ 2.8 พันล้านบาทในไตรมาสนี้เพื่อลดความเสี่ยงหนี้เสียของงบดุลในอนาคต

ความคืบหน้าโครงการบรรเทาหนี้

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเชื่อว่าวิกฤติปัจจุบันไม่เหมือนกับวิกฤติในเอเชียเมื่อปี 2540 ที่ธนาคารขาดสภาพคล่องและขาดเงินทุน โดยระดับเงินทุนและงบดุลของระบบธนาคารในขณะนี้แข็งแกร่งกว่ามาก ผบห.คาดการณ์ว่าเงินทุนของธนาคารจะลดลง 2ppts ภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ธนาคารคาดว่าผู้กู้ที่ขอเข้าโครงการบรรเทาหนี้อาจจะมีสัดส่วนถึง 25% ของบัญชีสินเชื่อ ซึ่งจะกดดันรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากไตรมาส 2/63 เป็นต้นไป

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!