- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 21 April 2020 11:40
- Hits: 1177
บล. เอเชีย พลัส กรุ๊ป โอลดิ้งส์: บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 21-4-2020
กลยุทธ์การลงทุน
วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563
มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่รัฐบาลต้องต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 1 เดือน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมการระบาดของ Covid-19 ส่วนการผ่อนคลายเพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถเปิดดำเนินการได้อาจน้อย หรือช้ากว่าที่คาด กรณีดังกล่าวประกอบกับ Valuation ของ SET Index ที่เริ่มเต็ม อาจทำให้เห็นแรงขายทำกำไร แนะนำปรับพอร์ตโดยขาย SF และเข้าลงทุนใน RATCH ส่วน Top Picks เลือก RATCH (FV@B 75) และ DOHOME (FV@B 7.90) SET Index 1,266.40 เปลี่ยนแปลง (จุด) 27.16 มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 67,298
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเด่นกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน จากจํานวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นในระดับตํ่าลงเรื่อยๆ บวกกับความคาดหวังเชิงบวกในเรื่อง การผ่อนคลายมาตรการการควบคุมตาม พรก.ฉุกเฉิน อนุญาติให้ภาคธุรกิจสามารถกลับมาดําเนินธุรกิจในประเทศตามปกติได้ อาทิ ศูนย์การค้า เป็นต้น จึงทำให้ตลาดหุ้นปิดในแดนบวกที่ระดับ 1,266.40 จุด เพิ่มขึ้น 27.16 จุด หรือ +2.19% มูลค่าการซื้อขาย 6.72 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(+2.92%) PTTEP(+3.27%) GULF(+5.11%) GPSC(+3.16%) กลุ่มขนส่งช่น AOT(+5.98%) BEM(+2.79%) BTS(+2.68%) THAI(+6.43%) และกลุ่มธ.พ. อาทิ BBL(+3.48%) KBANK(+4.55%) SCB(+3.61%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น BJC(+10.06%) CRC(+5.97%) และ CPF(+2.80%) เป็นต้น
ประเมินจากสถานการณ์แวดล้อม เชื่อว่ารัฐบาลยังน่าจะมีความจำเป็นที่ต้องขยายระยะเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีกอย่างน้อย 1 เดือน เนื่องจากยังมีความจำเป็นต้องอาศัยอำนาจบางประการตาม พ.ร.ก.ดังกล่าวฯ เช่นการกำหนดเวลาเคอร์ฟิว หรือการปิดพรมแดน เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการระบาดของ Covid-19 ส่วนการทยอบเปิดดำเนินการของภาคธุรกิจ คาดทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยทยอยเปิดในบางพื้นที่ตามระดับความเสี่ยง ตั้งแต่ 1 พ.ค. จนถึง 1 มิ.ย. โดยกำหนดให้เปิดในกิจการที่ไม่ทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มคนมากนัก และ สามารถกำหนดมาตรการในการป้องกับการติดต่อของโรคได้ หากออกมาตามแนวทางดังกล่าวอาจอยู่ในระดับการผ่อนคลายที่น้อยกว่านักลงทุนคาดหวัง จึงอาจทำให้เห็นแรงขายทำกำไรออกมาในบางกลุ่มอุตสาหกรรม ส่วน SET Index ซึ่งวานนี้ปรับตัวขึ้นมาเหนือ 1266 จุด ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้โดยอ้างอิงค่า PER 17.4 เท่า บน Market Earning Yielfd Gap 5% นับเป็นระดับที่มีความเสี่ยงต่อการที่จะถูกขายทำกำไรออกมาเช่นกัน
สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามต่อเนื่องในช่วงนี้ ได้แก่ การประกาศผลประกอบการ 1Q63 ซึ่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เริ่มทยอยประกาศออกมาแล้ว โดยผลส่วนใหญ่ออกมาสูงกว่าคาด เหตุเพราะการปรับปรุงรายการเงินนำส่ง FIDF ย้อนหลังไปจนถึงต้นปี 2563 ขณะที่การปรับลดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลูกค้าตามเหตุปัจจัยดังกล่าวเกิดชึ้นในงวด 2Q63 แต่อย่างไรก็ตามยังเห็นกาตั้งสำรองหนี้สูญ ในระดับที่ค่อนข้างสูง สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จะทยอยประกาศตามกันออกมา คาดว่าหลายกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีฐานกำไรอยู่ในภาวะชะลอตัว เฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี, กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม, กลุ่มขนส่ง ซึ่งน่าจะทำให้ภาพรวมของกำไรบริษัทจดทะเบียน 1Q63 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับ 1Q62 ซึ่งมีกำไรสุทธิรวม 2.66 แสนล้านบาท หรือ 4Q62 ซึ่งมีกำไรสุทธิรวม 2.24 แสนล้านบาท กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำให้ปรับพอร์ตการลงทุน โดยขายทำกำไรหุ้น SF และนำเงินเข้าลงทุนใน RATCH ส่วน Top Picks เลือก DOHOME และ RATCH
ประชุม ครม. วันนี้ คาดยังต้องต่ออายุ พรก. ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 1 เดือน
วันนี้ตลาดให้น้ำหนักการประชุม ครม. โดยยังคงติดตามประเด็นสำคัญ คือ
1.การพิจารณาการต่ออายุ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดต่างๆ โดยเบื้องต้น คาดว่าจะมีการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ออกไปอีกอย่างน้อย 1 เดือน เนื่องจากมาตรการควบคุมบางมาตรการต้องในอำนาจของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เช่นการประกาศ Curfew เป็นต้น รวมถึงการบินสนามบิน และการปิดพรมแดน คาดว่าจะยังคงมีอยู่เช่นกัน
- การพิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุมในแต่ละพื้นที่ คาดจะดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้
- • กลุ่ม 1: จังหวัดที่ไม่มีผู้ติดเชื้อในช่วง 14 วัน รวม 32 จังหวัด ได้แก่ น่าน, กำแพงเพชร, พิจิตร, สิงห์บุรี, อ่างทอง, ชัยนาท, บึงกาฬ, ตราด, ระนอง, จันทบุรี, เพชรบูรณ์, แพร่, มหาสารคาม, มุกดาหาร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, สุโขทัย, อุทัยธานี, กาฬสินธุ์, ชัยภูมิ, นครนายก, นครพนม, พังงา, สกลนคร, สตูล, หนองบัวลำภู, อำนาจเจริญ, อุดรธานี, พิษณุโลก, แม่ฮ่องสอน, ลพบุรี, สระบุรี จังหวัดในกลุ่มนี้คาดจะให้ธุรกิจกลับมาเปิดได้ราววันที่ 1 พ.ค. 2563
- • กลุ่ม 2: จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อในช่วง 14 วันล่าสุด และสามารถหาความเชื่อมโยงของผู้ติดเชื้อแต่ละรายได้ รวม 38 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, ปทุมธานี, เชียงใหม่, นราธิวาส, กระบี่, กาญจนบุรี, ขอนแก่น, ชุมพร, เชียงราย, ตรัง, ตาก, นครปฐม, นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, นครสวรรค์, บุรีรัมย์, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา, พะเยา, พัทลุง, เพชรบุรี, ระยอง, ราชบุรี, ลำปาง, ลำพูน, เลย, ศรีสะเกษ, สงขลา, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สุพรรณบุรี, สุราษฎร์ธานี, สุรินทร์, หนองคาย, อุตรดิตถ์, อุบลราชธานี จังหวัดในกลุ่มนี้คาดจะให้ธุรกิจกลับมาเปิดได้ราวช่วงกลางเดือน พ.ค. 2563
- • กลุ่ม 3: จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อในช่วง 14 วันล่าสุด รวม 38 จังหวัด แต่ไม่สามารถหาความเชื่อมโยงของผู้ติดเชื้อแต่ละรายได้ รวม 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, ชลบุรี, นนทบุรี, ภูเก็ต, สมุทรปราการ, ปัตตานี, ยะลา จังหวัดในกลุ่มนี้คาดจะให้ธุรกิจกลับมาเปิดได้ราววันที่ 1 มิ.ย. 2563
อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายผ่อนคลายข้างต้นจะอนุญาตในบางธุรกิจก่อนเท่านั้น เช่น ร้านอาหาร, ร้านตัดผม, ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น และเป็นที่สังเกตว่าจังหวัดที่อยู่กลุ่ม 1 มักจะเป็นเมืองรองเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่จังหวัดที่เป็นเมืองหลัก ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม 2 และ 3 ซึ่งอาจจมองได้ว่า การผ่อนคลายในระยะแรกๆ อาจช่วยประคองเศรษฐกิจได้จำกัด
จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมที่น้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้ข้างต้น ASPS จึงคาดว่าน่าจะเป็นเพียง Sentiment บวกเฉพาะหุ้นที่ได้รับประโยชน์เพียงบางกลุ่มเท่านั้น เช่น DCC (FV@B 2.28), DOHOME (FV@B 7.90) และอาจส่งผลให้ SET Index ถูกขายทำไร (Take Profit) ได้ ภายหลังจากที่ SET Index ฟื้นตัวมากว่า 30% จากจุดต่ำสุดที่ 969.08 จุด และหากนับตั้งแต่ต้นปี SET Index ติดลบเพียง 22.4%ytd
ราคาน้ำมันดิบ WTI Future เดือน พ.ค. ปรับตัวลดลงมีที่ -37.6 เหรียญฯ
ราคาน้ำมันดิบปิดวานนี้ปรับตัวลงทุกตลาด โดยเฉพาะดัชนี้อ้างอิงในสหรัฐฯ WTI ที่ปรับตัวลดลงมีนัยฯมาอยู่ที่ -37.6 เหรียญฯต่อบาร์เรล หรือลดลง -306%dod เพราะเป็นการซื้อขายวันสุดท้ายของราคาน้ำมัน Future เดือน พ.ค. จึงต้องมีการปิด position ซึ่งอาจมีการเก็งกำไรก่อนหน้ามากเกินไป ทำให้มีความผันผวนสูง ซึ่งเป็นลักษณะของการซื้อขาย Future ทั่วไป
ASPS ถือเป็น sentiment เชิงลบช่วงสั้นต่อกลุ่มน้ำมัน เพราะเป็นการปรับตัวลดลงแรงเป็นประวัติการณ์ แต่ทั้งนี้ในวันนี้การซื้อขายน้ำมันดิบอ้างอิง WTI ก็จะเปลี่ยนเป็นการซื้อขายด้วยสัญญาใหม่ของเดือน มิ.ย. ซึ่งราคาล่าสุดเช้านี้ก็กลับมาอยู่ในกรอบปกติ 21-22 เหรียญฯต่อบาร์เรล อีกทั้งหากพิจารณาราคาปิดน้ำมันดิบอ้างอิงตลาดอื่นๆ อาทิ Brent และ Dubai พบว่าการปรับตัวลดลงยังคงอยู่ในกรอบปกติตาม
โดยเบื้องต้นฝ่ายวิจัยยังคงอิงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2563 ที่ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ภายใต้ YTD ที่ 47.5 เหรียญฯ) แต่หากมีการปรับลดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบลดลงทุก 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในระยะยาว จะกระทบมูลค่าพื้นฐาน PTTEP และ PTT ราว 10-12 และ 2-3 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ
สำหรับคำแนะนำการลงทุนในหุ้นกลุ่มน้ำมันทั้ง PTT และ PTTEP นั้น ในภาพระยะยาวยังคงแนะนำซื้อ ด้วยมูลค่าพื้นฐานที่ 42 และ 100 บาทต่อหุ้น แต่ในช่วงสั้นนั้นราคาหุ้นอาจยังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงจากความต้องการใช้ที่หดตัวอย่างรุนแรง ดังนั้นการเข้าลงทุนอาจต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น หาจังหวะเข้าลงทุนเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัว
ติดตามยอดส่งออก นำเข้า ไทยเดือน มี.ค.
วันนี้ปัจจัยในประเทศอีกประเด็น คือ ตลาดให้น้ำหนักรายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศ เดือน มี.ค. คือ ยอดส่งออก(X) Consensus คาดติดลบ 7%yoy และยอดนำเข้า(M)คาดติดลบ 10%yoy เป็นประเด็นที่ต้องติดติดตาม
ทั้งนี้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 ASPS ยังคงมุมมองเดิมจะเข้าสู่ภาวะ Recession (GDP หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 2 ไตรมาส) โดยคาด GDP ทั้งปี 2563 จะติดลบ 1.4% อย่างไรก็ตามรอการประกาศ GDP 1Q63 จากสภาพัฒน์ฯ วันที่ 18 พ.ค.2563
เบื้องต้น ASPS ได้ประมาณการณ์ GDP ไทยงวด 1Q63 โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อิงจาก Leading Economics Indicator ของไทย ในช่วง 2M2563 จะออกมาติดลบ 8-8.9% ถือเป็น Downside ต่อประมาณการร์ GDP ปี 2563 ที่ปัจจุบันคาด -1.4% เนื่องจาก ASPS ยังมีมุมมองงวด 2Q63 คาดจะเป็นงวดที่ GDP จะติดลบมากที่สุด และน่าจะเป็น Bottom ของปี และคาดจะกลับค่อยๆดีขึ้นในงวดไตรมาส 3 เป็นต้นไป
Leading Economics Indicator ของไทย งวด 1Q2562 เทียบกับ 2M2563
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกจิการคลัง, ASPS รวบรวม
คาดการณ์ GDP Growth งวด 1Q2563
ที่มา : ASPS
ตลาดหุ้นไทยขึ้นแรง แต่ยังไร้ Fund Flow หนุน
นับตั้งแต่จุดต่ำสุดของ SET Index ณ วันที่ 13 มี.ค. 63 จนถึงปัจจุบัน ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาเรื่อยๆ แทบไม่ได้พักหายใจกว่า 30.7% ขณะที่แรงขับเคลื่อนมาจากนักลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียว คือ พอร์ตโบรกเกอร์ซื้อสุทธิ 3.3 พันล้านบาท, รายย่อย 1.6 หมื่นล้านบาท และนักลงทุนสถาบันฯ ซื้อสุทธิสูงถึง 5.47 หมื่นล้านบาท มูลค่าซื้อขายสุทธิสะสมของสถาบัน-ต่างชาติ กับ SET Index (13 มี.ค.63-ปัจจุบัน)
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS
อย่างไรก็ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนียังไม่ค่อยแข็งแรงนัก เนื่องจากต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นไทยกว่า 7.4 หมื่นล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ยอดขายสุทธิตั้งแต่ต้นปี 2563 ราว 3 เดือนกว่าๆ สูงถึง 1.44 แสนล้านบาท (ซึ่งเป็นระดับที่สูงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายสุทธิจากต่างชาติปี 2561 ซึ่งมากสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2.82 แสนล้านบาท)
ดังนั้นยามที่ตลาดยังขาด Fund Flow หนุนถือเป็นความเสี่ยงต่อตลาดที่อาจจะถูกขายทำกำไรออกมาได้ในบางจังหวะ ดังนั้นกลยุทธ์เน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว แนะนำ 2 บริษัท คือ
DOHOME(FV @ 7.90) เนื่องจากมีแนวโน้มจะกลับมาเปิดกิจการได้เร็วๆนี้ เนื่องจากมีสัดส่วนสาขาใหญ่ถึง 90% ที่มีโอกาสจะกลับมาเปิดได้ในระยะที่ 1 (ต้นเดือน พ.ค.) 1 สาขา ที่จังหวัดอุดรธานี และระยะที่ 2 (กลางเดือน พ.ค.) อีกกว่า 8 สาขา อาทิ ที่โคราช อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ ฯลฯ นอกจากนี้หุ้น DOHOME ยังเป็นหุ้นที่มีโอกาสเข้าคำนวณในดัชนี SET100 ในรอบที่จะถึงสูง
RATCH(FV @ 75.00) เป็นหุ้นที่ผันผวนต่ำ ปันผลสูงกว่า 4% ต่อปี พร้อมทั้งยังได้รับ Sentiment เชิงบวกจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากการเข้าสู่ช่วงหน้าร้อน รวมถึงการ Work From Home นอกจากนี้บริษัทยังมีโอกาสเรียกรับซื้อไฟในส่วน IPP เพิ่มจากทาง EGATIF เนื่องจากเข้าสู่ช่วง High Season และยังไม่มีรับผลกระทบจากมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าของรัฐบาล เนื่องจาก สัดส่วนรายได้มากจาก IPP(โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่) มากกว่า 90% ซึ่งคาดช่วงหนุนกำไรงวด 2Q63 เพิ่มเติม ขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจนมี upsideเปิดกว้างกว่า 25% จากมูลค่าทางพื้นฐาน ถือเป็นโอกาสเข้าสะสม
ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท(ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ -1,829.30
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 187.99
นักลงทุนสถาบันในประเทศ 4,803.33
นักลงทุนรายย่อย -3,162.02 476.401,154.71
GPSC : เตรียมวิ่ง
ราคาล่าสุด 65.25 บาท
เปิดสถานะ 64.00 บาท
เป้าหมาย 71.00 บาท
จุดตัดขาดทุน 62.25 บาท
ประเด็นวิเคราะห์ :
GPSC ภาพรายวัน แกว่งตัวขึ้น ไต่ EMA ระยะสั้น พร้อมทั้งทำรูปแบบยก Low และ ยก High ได้ หลังจากผ่านแนวต้านที่ 64.00 บาทขึ้นมา เป็นลักษณะ Sideway Up มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมราคาหุ้นที่ผ่านมา มีการเหวี่ยงค่อนข้างแรงในระหว่างวัน จึงใช้จุดเข้า เป็นบริเวณแนวต้านเก่าที่ 64.00 บาท (EMA 10 วัน) เพื่อจำกัด Downside ประเมินว่า เป็นจุดเหมาะสมในการเข้า Trading เพื่อหวังการเกิด Technical Rebound ฟื้นแรงๆไปทดสอบอย่างน้อยๆก็ High เดิมที่ 68.50 และ เป้าหมายที่ 71 บาทในระยะถัดไป
คำแนะนำ :
รอรับ บริเวณ 64.00 บาท เป้าหมายทำกำไรที่ 71.00 บาท Cut loss 62.25 บาท
PSH : กรอบชัด
ราคาล่าสุด 10.80 บาท
เปิดสถานะ 10.50 บาท
เป้าหมาย 11.30 บาท
จุดตัดขาดทุน 10.20 บาท
ประเด็นวิเคราะห์ :
PSH ภาพราย 60 นาที เป็นการฟอร์มตัวฐานแน่นๆ เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น โดย ราคาย่อตัวลงมา ก็มีแรงซื้อกลับเข้ามาเสมอ ประเมินว่า Downside เริ่มจำกัด ราคาพร้อมที่จะปรับตัวขึ้น ในระยะถัดไป
หากวิเคราะห์จากรูปแบบการเคลื่อนตัว เป็นการแกว่งออก Sideway ในกรอบ 10.60-11.30 บาท ซึ่งปัจจุบัน ย่อตัวลงมาแถวแนวรับกรอบล่างที่ 10.50 บาทพร้อมวอลุ่มที่ซึมๆ แรงขายเริ่มจำกัด ขณะที่ MACD เคลื่อนที่เหนือแกนศูนย์ สนับสนุน โมเมนตัมเชิงบวก ทั้งนี้ประเมินแนวต้านถัดไปไว้ที่ 11.30 บาท (High วันที่ 14 เม.ย 63)
คำแนะนำ :
รอรับ บริเวณ 10.50 บาท เป้าหมายทำกำไรที่ 11.30 บาท และ Cut Loss ที่ 10.20 บาท
*หมายเหตุ: หากราคาไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนดภายใน 3 วัน แนะนำปิดสถานะเพื่อลดความเสี่ยง
**ปรับกลยุทธ์: เปลี่ยนจุดเข้าซื้อหรือจุดขาย
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web