- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 17 April 2020 11:32
- Hits: 2216
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 17-4-2020
กลยุทธ์การลงทุน
ความหวังเชิงบวกในเรื่องยาต้าน Covid-19 รวมกับโอกาสที่จะเห็นการผ่อนคลายให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น น่าจะหนุนให้ SET Index วันนี้มีโอกาสปรับตัวกลับขึ้นมา อย่างไรก็ตามในสัปดาห์หน้ามีปัจจัยที่ต้องติดตาม 2 เรื่องคือ การต่อหรือไม่ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุน Top Picks เลือก DCC (FV@B 2.28) จากจุดเด่นเรื่องเงินปันผลและกำไรที่โตสวนเศรษฐกิจ DOHOME (FV@B 7.90) ซึ่งคาดว่าจะถูกนำเข้าคำนวณใน SET100
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวลงตลอดวัน หลังจากที่ปรับตัวขึ้นกว่า 23% จากจุดต่ำสุด ณ 13 มี.ค.63 จึงทำให้เห็นแรงขายทำกำไรของนักลงทุนออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งประเด็นกดดันมาจาก COVID-19 ที่ยังคงแพร่กระจายไปทั่วโลก จนทำให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคย่อตัวเป็นส่วนมากเช่นเดียวกันตลาดหุ้นไทยปิดในแดนลบที่ระดับ 1,200.15 จุด ลดลง 35.95 จุด หรือ -2.91% มูลค่าการซื้อขาย 5.96 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(-6.34%) PTTEP(-5.43%) GULF(-4.73%) TOP(-5.77%) กลุ่มธ.พ.ช่น BBL(-4.31%) SCB(-2.49%) KTB(-3.67%) และกลุ่มอสังหาฯ อาทิ AMATA(-5.38%) CPN(-7.65%) LH(-4.05%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น SCC(-2.79%) PTTGC(-8.33%) และ AOT(-1.37%) เป็นต้น
เริ่มเห็นโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในเรี่องการคิดค้นยาต้านไวรัส บวกกับแนวคิดที่จะเปิดให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้นในสหรัฐ ผลักดันให้ Down Jones Future เช้านี้ดีดตัวขึ้นไปมากวก่า 850 จุด ซึ่งน่าจะส่งผลเชิงบวกต่อตลาดหุ้นในภุมิภาคเอเซียรวมถึงตลาดหุ้นไทย สำหรับสถานการณ์ในบ้านเรา มีประเด็นที่ต้องติดตามอยู่ 2 เรื่อง เริ่มจากสถานการณ์เรื่องการระบาดของ COVID-19 ที่พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมีจำนวนลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้เกิดกระแสเรียกร้อยให้รัฐบาลพิจารณาผ่อนคลายมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดไปหลายส่วน ซึ่งในประเด็นี้ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าจะเห็นความชัดเจนขึ้นในสัปดาห์หน้า
โดยวันอังคารที่ 21 เม.ย.63 มีการประชุม ครม. ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีมติให้ต่ออายุการใข้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ที่จะหมดอายุ 30 เม.ย.63 ออกไปหรือไม่ ซึ่งหากไม่ต่ออายุก็จะตามมาด้วยการผ่อนคลายในเรื่องมาตรการควบคุมลง ในกรณีนี้น่าจะสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับการผ่อนคลาย อย่างเช่น ศูนย์การค้า บินเทิง และ อาหาร ซึ่งเป็นไปได้ที่จะเห็นแรงซื้อเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มดังกล่าวขึ้นมา อีกประเด็นหนึ่งที่น่าติดตามได้แก่ ผลประกอบการ 1Q63 ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะเริ่มเห็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ประกาศผลประกอบการออกมาเป็นกลุ่มแรก และตามด้วยภาค Real Sector จากการประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้น คาดว่าจะเห็นการลดลงของฐานกำไรสุทธิรวมของบริษัทจดทะเบียนอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับ 1Q62 ที่มีกำไรสุทธิรวม 2.66 แสนล้านบาท และ 4Q62 ที่มีกำไรสุทธิรวม 2.24 แสนล้านบาท และจากการประเมินภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เชื่อว่ามีโอกาสที่จะเห็นฐานกำไรสุทธิในงวด 1Q63 ปรับตัวลดลงราว 40% YoY ซึ่งหากมีการปรับตัวลดลงแรงดังกล่าว ก็อาจเป็นการเปิดให้เห็น Downside ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ของบริษัทจดทะเบียนอีกครั้งหนึ่ง ถือเป็นแรงกดดันสำหรับ SET Index กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ไม่มีการปรับพอร์ต ส่วนหุ้น Top Picks ก็ยังเลือก DCC และ DOHOME ตามเดิม
แสงสว่างปลายอุโมงค์เกิดขึ้น หลังโอกาสพบยาต้าน COVID-19 หนุนตลาดหุ้นโลก
ตลาดหุ้นเอเซียเช้านี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้น (ดัชนี KOSPI เกาหลีใต้ +2.8%, Nikkei ญี่ปุ่น +2.5% ฯลฯ และ ดัชนีDowjones Futures +3.3%) โดยมีปัจจัยหนุนสำคัญมาจาก STAT News นิตยสารด้านสุขภาพสหรัฐ รายงานผลการทดสอบยา Remdesivir (ยาต้านไวรัส COVID-19 ของบริษัท Gilead Sciences สหรัฐ ซึ่งผลการทดลองยาอยู่ใน Phase 3 สามารถใช้รักษาผู้ป่วยติด COVID-19 จนหายดีได้)
รายงานผลการทดสอบยาต้านไวรัส COVID-19 ที่เห็นพัฒนาการดีดังกล่าวดังกล่าว ถือเป็นกระแสบวกและสามารถกลบ Sentiment ลบที่ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะ รายงานจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลก และรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในรายประเทศออกมาชะลอตัว ดังนี้
จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก COVID-19 ล่าสุด รวมกันอยู่ที่ 2.17 ล้านราย ผู้ติดรายเพิ่มขึ้น 9.4 หมื่นรายเมื่อวานนี้ โดยสหรัฐมีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก คิดราว 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อทั่วโลก รองลงมาคือ ประเทในยุโรป อาทิ สเปน, อิตาลี ฯลฯ (ปัจจุบันผู้ติดเชื้อ ประเทศพัฒนาแล้ว สหรัฐ ยุโรป อังกฤษ ญี่ปุ่น ฯลฯ รวมกันคิดราว 80%ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด อีก 20% ผู้ติดเชื้อประเทศกำลังพัฒนา หลักๆ คือ เอเซีย)
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐ (Initial Jobless Claims) เพิ่มขึ้นอีก 5.2 ล้านราย ถือเป็นการเพิ่มขึ้นสะสมรวมกัน 5 สัปดาห์ จะทำให้สหรัฐมียอดผู้ขอสวัสดิการกว่า 21.6 ล้านราย
โดยรวม ASPS ประเมินว่า SET Index จะได้รับ Sentiment เชิงบวก ซึ่งสอดคล้องกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค และให้น้ำหนักเช้านี้ 9 โมง ทางการจีนจะรายงาน GDP Growth งวด 1Q63 ตลาดคาด -6.5%yoy จากงวด 4Q63 ที่ขยายตัว 6% (IMF คาด GDP Growth จีนปี 2563 เหลือ 1.2%yoy) หากออกมาติดลบน้อยกว่าคาด หรือขยายตัว เชื่อว่าจะเป็นอีกปัจจัยนึงหนุนต่อตลาด
สัปดาห์หน้า ลุ้นการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ในประเทศ
สัปดาห์หน้าตลาดหุ้นไทย เชื่อว่าประเด็นสำคัญที่ให้น้ำหนัก คือ วันอังคาร 21 พ.ค.จะเป็นวันที่ รัฐบาลพิจารณา ต่อหรือไม่ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ รวมถึงพิจารณาว่าจะอนุญาตให้สถานประกอบการต่าง ๆ กลับมาเปิดร้านได้ตามปกติ โดย ASPS คาดว่าเริ่มมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะผ่อนคลายในบางมาตรการจากปัจจัยสนับสนุน
- • สถานการณ์ไวรัส COVID-19 มีสัญญาณดีขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เมื่อวานนี้เพิ่มขึ้นจำนวน 29 ราย ซึ่งลดลงจากช่วงปลายเดือน มี.ค. 2563 ที่พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยสูงถึงวันละกว่า 120 ราย ส่งผลให้ปัจจุบันไทยมีนผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสม 2,672 ราย ประกอบกับจำนวนผู้รักษาหายต่อวัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่อวัน โดยล่าสุดจำนวนผู้รักษาหายมี 96 ราย มากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่ 29ราย ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างรักษา (Active case) ของไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
- • การคงมาตรการการควบคุมเป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปี 2563 และกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อย และกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้มีกระแสกดดันจากภาคธุรกิจ, เอกชนที่เรียกร้องให้ผ่อนคลาย สอดคล้องกับมุมมองของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ล่าสุดได้ปรับลดประมาณการ GDP ไทยปี 2563 ลง โดยปรับลดเป็น -4.2% (ช่วงคาดการณ์ -4.9% ถึง -3.4%) เพราะระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ธุรกิจหลายแห่งได้รับความเสียหาย และจำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราว ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้ามองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของรัฐจะสามารถช่วยประคองเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง โดยประเมินว่าเงินกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าสู่ระบบทุกๆ 1 แสนล้านบาท จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 0.7% ดังนั้นมาตรการกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 7%
โดยรวม ASPS ประเมินหากมีการผ่อนคลายจริง ASPS ประเมินว่าจะเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทยและหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้อง อาทิ ห้างสรรพสินค้า และ Modern Trade เลือก DCC (FV@B 2.28) ซึ่งจากจุดเด่นเรื่องเงินปันผลและกำไรที่โตสวนเศรษฐกิจ DOHOME (FV@B 7.90) คาดว่าจะถูกนำเข้าคำนวณใน SET100 ในรอบที่จะถึง
คาดกำไร 1Q63 ดรอปแรง เน้นหุ้น Domestic Demand ชอบ DCC DOHOME
SET Index ฟื้นขึ้นเกือบครึ่งเหลือติดลบเพียง 24%ytd จากจุดต่ำสุดช่วงกลางเดือน มี.ค. 2563 ติดลบถึง 39% ในยามที่ไร้ Fund Flow หนุน เนื่องจากต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยกว่า 1.4 แสนล้านบาทytd ต่อจากนี้คงต้องกลับมาให้น้ำหนักในเรื่องของผลประกอบการหลัก เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงประกาศ Earning Season เริ่มต้นจากกลุ่ม ธ.พ. ในสัปดาห์หน้า ฝ่ายวิจัยคาดว่าน่าจะดรอปลงอย่างมีนัยฯ มีรายละเอียดใน Sector หลักๆ ดังนี้
กลุ่มปิโตรเคมี ภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 1Q63 คาดปรับตัวลดลงมีนัยฯจากงวด 4Q63 กดดันหลังจากกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมีที่ต้องเผชิญกับผลขาดทุนสุทธิ จากการบันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันตามราคาน้ำมันดิบ ณ สิ้นงวด 1Q63 ที่ปรับตัวลดลงจากสิ้นงวด 4Q62 ราว 25-30 เหรียญฯต่อบาร์เรล รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่ากว่า 2.5 บาท/เหรียญฯ ทำให้มีการบันทึกขาดทุนจาก Fx ในระดับสูง ขณะที่ผลการดำเนินงานปกติก็ยังย่ำแย่จากทั้งค่าการกลั่น และ spread ปิโตรเคมี ที่ตกต่ำ แต่ทั้งนี้คาดผลการดำเนินงานกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมีในงวด 1Q63 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี 2563 จากนี้ไปน่าจะพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในทิศทางขาขึ้นสำหรับช่วงที่เหลือของปี
กลุ่มน้ำมัน PTTEP มีทิศทางกำไรจากการดำเนินงานปกติจะทำระดับสูงสุดในงวด 1Q63 แม้คาดจะลดลง 25.7%qoq ก็ตาม เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มปรับตัวลงในเดือน มี.ค. ดังนั้นจึงยังรับผลบวกจากราคาน้ำมันที่สูงในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ประกอบกับราคาขายก๊าซฯจะมี lag-time จากราคาน้ำมันราว 3-6 เดือน ดังนั้น ราคาขายก๊าซฯจะทยอยปรับตัวลงในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งสัดส่วนการผลิตก๊าซฯของ PTTEP อยู่สูงถึง 70% ดังนั้นจึงเป็นแรงกดดันกำไรที่สำคัญ ขณะที่ในส่วนของ PTT นั้นถือเป็น holding company ที่มีทั้งธุรกิจน้ำมันและโรงกลั่นปิโตรเคมี คาดทิศทางกำไรจะทำระดับต่ำสุดในงวด 1Q63 แต่จากนั้นน่าจะประคองตัวได้ในช่วงที่เหลือของปี
กลุ่มธ.พ. ถือเป็นครั้งแรกกับการเริ่มใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 โดยฝ่ายวิจัยคาดงวด 1Q63 กำไร 5 ธนาคาร (BBL, KBANK, SCB, KKP และ TISCO) รวมกันอยู่ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท ลดลง 21% YoY แรงกดดันจาก ธ.พ. ขนาดใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวมกัน 4 ครั้ง ตั้งแต่ช่วง 2H62 ประกอบมองค่าใช้จ่ายสำรองฯ (ECL) ทั้ง ธ.พ. ขนาดใหญ่และ ธ.พ. ที่เน้นสินเชื่อรถยนต์ มีแนวโน้มสูงขึ้น จากการตั้งสำรองตาม TFRS 9 ที่พิจารณาถึงความเสี่ยงของลูกหนี้ในอนาคต (Looking Forward) ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้ดูสดใสนัก ภาพรวมหากกำไร 1Q63 เป็นไปตามคาดจะคิดเป็นสัดส่วน 26% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ที่ 1.47 แสนล้านบาท หดตัว 27% yoy
กลุ่มขนส่งทางอากาศ ประเมินกำไร 1Q63 ของกลุ่มขนส่งทางอากาศ จะลดลงอย่างมีนัยฯ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลกระทบหลักคาดว่าจะมาจากปริมาณความต้องการเดินทางที่ลดลง โดยเฉพาะช่วงดังกล่าวที่มีการระบาดโรค COVID-19 อย่างหนักในประเทศจีนและอิตาลี สะท้อนจากจำนวนผู้ใช้บริการเส้นทางในประเทศและเส้นทางต่างประเทศของ AOT ที่ลดลง 35.5%yoy และ 22.7% ซึ่งประเมินกระทบต่อกำไร AOT งวดบัญชี 2Q63 (เท่ากับไตรมาส 1 ปีปฏิทิน) ลดลง 54% ขณะที่สายการบินคาดว่าจะพลิกจากกำไรใน 1Q62 มาเป็นขาดทุนทุกราย โดยหลักจากผลกระทบการปิดสนามบินทั้งเดือน เม.ย. 64 ประเมินรายได้ 2Q63 ทั้งอุตสาหกรรม ลดลงไม่น้อยกว่า 35%-40% ขณะที่ด้านต้นทุน แม้ทุกรายจะควบคุมเข้มงวด แต่ไม่น่าจะลดลงไม่ทันต่อรายได้ ทั้งนี้หากสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายได้ใน 2Q63 คาดว่าจะเห็นผลประกอบการกลุ่มค่อยๆ ลดลง yoy ในอัตราช้าลง และฟื้นตัวในปี 2564
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ปกติช่วงไตรมาส 1 ถือเป็นไฮซีซั่นของการขายวัสดุก่อสร้าง แต่หลายปัจจัยลบที่เกิดขึ้นในปีนี้ทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว ภัยแล้ง รวมไปถึงปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้ผลประกอบการโดยรวมของกลุ่มฯ น่าจะออกมาไม่สดใส โดย SCC คาดกำไรหดตัวลงแรง 29%YoY อยู่ที่ 8,311 ล้านบาท เพราะนอกจากธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจะได้รับผลกระทบดังกล่าวแล้ว ธุรกิจปิโตรเคมียังมี Spread ของผลิตภัณฑ์ที่ลดลงด้วย ส่วน SCCC คาดกำไรปรับตัวลง 21%YoY เหลือ 875 ล้านบาท โดยหุ้นที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ TASCO จาก Demand การใช้ยางมะตอยที่ลดลงทั้งในและต่างประเทศ และยังมี Stock loss มหาศาลจากการดิ่งลงอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันดิบและยางมะตอย ทำให้งวด 1Q63 มีโอกาสพลิกเป็นขาดทุน มีเพียง DCC ที่คาดจะเห็นกำไรเติบโต 6%YoY อยู่ที่ 324 ล้านบาท จากการขายสินค้าพรีเมียมในกลุ่มกระเบื้องแผ่นใหญ่ได้มากขึ้นและยังได้รับผลบวกจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลงมามาก
เบื้องต้นฝ่ายวิจัยการทำ Earnning Preview ไป 26 บริษัท (สัดส่วน 28% ของ Market Cap. ทั้งตลาด)คาดกำไรสุทธิไตรมาส 1 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด คิดเป็น 20% ของทั้งปี ถือเป็นอุปสรรคต่อประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2563 ที่ 7.8 แสนล้านบาท รวมถึงเป็นการเปิด Dowside ตลาด
อย่างไรก็ตามภาพรวมสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ในไทยเห็นสัญญาณดีขึ้นต่อเนื่อง พิจารณาจาก ผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง จึงทำให้มีกระแสแนวคิดจากภาคเอกชนและรัฐบาลเรื่องการผ่อนคลายมาตรการการควบคุมตาม พรก.ฉุกเฉิน โดยให้น้ำหนัก สัปดาห์หน้า วันที่ 21 เม.ย. จะเป็นวันที่รัฐบาลพิจารณาต่อหรือไม่ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งหากพิจารณาอนุญาติให้สถานประกอบการต่างๆในประเทศกลับมาเปิดร้านได้ตามปกติบ้างในบางส่วน อาทิ ศูนย์การค้าและสถานบันเทิง เป็นต้น ประเมินว่าจะเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทย แนะนำให้น้ำหนักกับหุ้นค้าขายในประเทศเป็นหลัก (Domestic Demand) ชอบ DCC และ DOHOME เป็น Top picks ของวันนี้
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web