- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 13 April 2020 11:47
- Hits: 2390
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 13-4-2020
กลยุทธ์การลงทุน
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563 จำนวนผู้ติดเชื่อ COVID-19 ในประเทศที่ลดต่ำลง ทำให้ Sentiment ดูผ่อนคลายมากขึ้น โดยเริ่มเห็นข้อเสนอให้เตรียมผ่อนปรนเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ถือเป็นปัจจัยบวกสำหรับตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ตามเม็ดเงินที่เข้ามาขับเคลื่อนยังมาจากนักลงทุนในประเทศเป็นหลักทำให้ Upside ของตลาดยังจำกัด แนะนำปรับพอร์ต โดยขายทำกำไร SEAFCO และ TFG แล้วนำเงินไปลงทุนเพิ่มใน RS หุ้น Top Picks เลือก LH (FV@B 11.10) และ RS (FV@B 13) … สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ
SET Index 1,228.03
เปลี่ยนแปลง (จุด) 17.55
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 53,796
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวขึ้นตลอดวัน จากมาตรการบรรเทา COVID-19 ที่ผ่านความเห็นของ ครม. วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท อีกทั้งการแพร่ระบาด COVID-19 ในประเทศยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง จึงทำให้ตลาดปิดตัวในแดนบวกที่ระดับ 1,228.03 จุด เพิ่มขึ้น 17.55 จุด หรือ +1.45% โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 5.37 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(+0.70%) GULF(+5.00%) GPSC(+3.41%) BGRIM(+2.87%) กลุ่มค้าปลีกเช่น CPALL(+1.58%) CRC(+7.09%) BJC(+2.41%) และกลุ่มอสังหาฯอย่าง อาทิ AMATA(+4.07%) AWC(+5.36%) CPN(+10.23%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น MTC(+13.38%) KTC(+9.32%) และ AOT(+0.88%) เป็นต้น
นับเป็นครั้งแรกที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการซื้อขายในวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ ถือเป็นการร่วมมือร่วมใจในการที่เราจะผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ไปด้วยกัน ทั้งนี้หากพิจารณาจากสถานการณ์ภาพรวมทั่วโลกก็ยังถือว่ามีความรุนแรงอยู่มากโดยทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ และจำนวนผู้เสียชีวิตยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับในส่วนของประเทศไทย ต้องถือว่าเห็นสัญญาณในเชิงบวกเพิ่มขึ้นมาหลังการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตั้งแต่ 26 มี.ค.2563 พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่มีแนวโน้มลดลง ขณะที่ผู้เสียชีวิตก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมา ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเคอร์ฟิว ที่ผ่อนคลายให้หลายกลุ่มอาชีพที่หลากหลายมากขึ้นสามารถออกจากที่พักอาศัยในช่วง 4 ทุ่มถึงตี 4 นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นข้อเสนอให้ผ่อนปรนมาตรการควบคุมอื่นๆ เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น อันเป็นการลดผลกระทบในทางเศรษกิจอันเนื่องมาจาก COVID-19 ลง พัฒนาการของเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัจจัยบวกสำหรับตลาดหุ้นไทย แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของแรงขับเคลื่อนตลาดหุ้น ยังนาจะมาจากแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศเป็นหลัก
จึงน่าจะทำให้การปรับตัวขึ้นไปของ SET Index ยังอยู่ภายใต้กรอบที่จำกัด และอาจมีแรงาขายทำกำไรสลับออกมาในบางช่วงเวลา สำหรับประเด็นอื่นๆที่ต้องติดตามในช่วงนี้ ได้แก่เรื่องของ การออกมาปรับประมาณการ World GDP Growth ของ IMF ในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะเห็นตัวเลข World GDP Growth ปี 2563 ที่ติดลบ ทั้งนี้ประเมินจากสถานาการณ์ช่วงหน้านี้ ซึ่ง WTO ออกมาคาดการณ์ว่าจะติดลบ 2 – 8% กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำปรับพอร์ต โดยขายทำกำไรในหุ้น SEAFCO และ TFG ซึ่งมีอยู่อย่างละ 5% ของพอร์ตการลงทุน และให้นำเม็ดเงินเข้าลงทุนใน RS ด้วยน้ำหนักราว 10% ส่วนหุ้น Top Picks วันนี้เลือก LH และ RS
IMF จ่อปรับลด GDP โลกลง, ข้อสรุป OPEC ลดการผลิตเกือบ 10 ล้านบาร์เรล
สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกให้น้ำหนักประเด็นสำคัญ คือ การประชุมร่วมระหว่าง IMF กับธนาคารโลก (World Bank) ในวันที่ 14 เม.ย. 2563 ซึ่งจะมีการเผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2563 โดยคาดการณ์จะมีการปรับลด GDP Growth โลกปี 2563 ลงเป็นหดตัว สอดคล้องกับปลายสัปดาห์ก่อน องค์กรการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ซึ่งได้ปรับลด GDP Growth โลก ปี 2563 ลงเป็นหดตัว ผ่านการปรับประมาณการปริมาณการค้าโลก (World trade volume) ปี 2563 ลง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีฐาน (Base case) คาด Trade volume จะ -12.9%yoy และส่งผลให้ GDP Growth โลก -2.5%yoy ขณะที่กรณีเลวร้าย (Worse case) คาด Trade volume จะ -31.9%yoy และ GDP Growth จะโลกหดตัวแรง 8.8%yoy ซึ่งถือเป็นการติดลบมากกว่าช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ Subprime
หากพิจารณาช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ Subprimeพบว่า GDP Growth โลก หดตัว 0.1% ขณะที่ GDP Growth ไทยหดตัว 0.7% แต่ ASPS คาดว่าในประมาณการของ IMF ครั้งนี้ IMF อาจปรับลด GDP Growth โลก จนลดลงมากกว่าช่วง Subprime ได้ เพราะว่าการระบาดของไวรัส COVID-19 3
ส่วนสัปดาห์ที่แล้วประเด็นสำคัญ อีกประเด็นคือ การประชุมประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั่วโลกทั้ง OPEC+จัดการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 เม.ย. และประชุมอีกครั้งวันอาทิตย์ 13 เม.ย. เกี่ยวกับข้อตกลงการตัดลดการผลิตน้ำมัน เพื่อให้สอดคล้องกับ Demand น้ำมันโลก ซึ่งปัจจุบัน ลดลงแรงจากไวรัส COVID-19 ยังแพร่ระบาดทั่วโลก ข้อสรุปล่าสุด
- ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ รวมรัสเซีย ทำข้อตกลงจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 9.7ล้านบาร์เรล/วัน (ลดลงเล็กน้อยจากข้อสรุปเมื่อวัน พฤหัสที่ 10 ล้านบาร์เรล/วัน)
- ประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่ม โดยเฉพาะสหรัฐ แคนาดา นอร์เวย บราซิล จะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลงรวมกันราว 5 ล้านบาร์เรล/วัน
โดยรวมหมายความว่าการปรับลดการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งในและนอก OPEC ในรอบนี้ จะลดลงรวมราว 14.7 ล้านบาร์เรล/วัน หรือราว 14.7% ของการผลิตน้ำมันทั่วโลก โดยฝ่ายวิจัย ASPS มองบวก(+) เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ และนอก OPEC ตกลงร่วมมือตัดลดการผลิตกันได้ ทำให้สงคราม Price Oil จบลง จะมีผลจำกัด Downside ราคาน้ำมันดิบโลกไม่ให้ปรับฐานลงไปแรง แต่ยังให้น้ำหนักที่ต้องติดตามในอนาคตว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ จะปฎิบัติตามข้อตกลงได้หรือไม่ การลงทุนในระยะยาว ยังแนะนำหาจังหวะเข้าลงทุนราคาหุ้นอ่อนตัว PTTEP (FV@B>110) และ PTT (FV@B>42)
ตัวเลขผู้ติดเชื้อในไทยลดลง ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ดีต่อตลาดหุ้นไทยในวันสงกรานต์
- • มาตรการแจกเงิน 5 พันบาท/คน รวม 9 ล้านคน และดูแลชุมชน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท
- • Soft Loan ดูแล SMEs ของ ธปท. วงเงิน 5 แสนล้านบาท
- • ตัดลดงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ มาเพิ่มในงบกลาง วงเงิน 8 หมื่น - 1 แสนล้านบาท
- • ตั้งกองทุน Corporate Bond Liquidity Stabilization Fund (BSF) ดูแลตลาดตราสารหนี้ วงเงิน 4 แสนล้านบาท
ตลาดยังรอแรงผลักจาก Fund Flow เน้นหุ้น Laggard LH RS
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web