WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 10-4-2020Asia Plus Group Holding

กลยุทธ์การลงทุน

เงื่อนไขการปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC ออกมาแย่กว่าที่คาด ซึ่งน่าจะสร้างแรงกดดันต่อหุ้นในกลุ่มพลังงานวันนี้ ส่วนผลกระทบจาก Covid-19 ต่อเศรษฐกิจเห็นชัดขึ้นเป็นลำดับเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขอัตราการว่างงานทั้งในสหรัฐฯ และไทย ซึ่งอยู่ในระดับสูง ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำ องค์ประกอบดังกล่าวคาดสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ให้เข้าสู่ช่วงปรับฐาน วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต Top Picks เลือก LH (FV@B 11.10) และ INTUCH (FV@B 82.50)

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย จับสัญญาณวันนี้

วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวขึ้นตลอดวัน จากประเด็นจํานวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงจากวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังรอการประชุม OPEC ว่าจะไปในทิศทางไหน จึงทำให้ตลาดย่อตัวลงและปิดตัวในแดนบวกที่ระดับ 1,210.48 จุด เพิ่มขึ้น 4.71 จุด หรือ +0.39% โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 8.36 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มอสังหาฯได้แก่ LH(+3.57%) CPN(+0.57%) AWC(+8.21%) กลุ่มสื่อสารเช่น ADVANC(+1.87%) INTUCH(+1.08%) TRUE(+2.55%) และกลุ่มค้าปลีกอย่าง อาทิ CPALL(+1.61%) BJC(+2.47%) RS(+3.31%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น GULF(+1.19%) BTS(+2.54%) และ KTC(4.42%) เป็นต้น

เงื่อนไขการลดกำลังการผลิตของ OPEC ออกมาเป็นลักษณะขั้นบันได โดยเริ่มจากการตัดลดกำลังการผลิตสูงสุด 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน แล้วค่อยๆ ลดระดับการปรับลดกำลังการผลิตลงมาตามช่วงระยะเวลา ถือเป็นผลสรุปของการประชุมที่ดูแย่กว่าที่คาดส่งผลทำให้เกิดแรงขายทำกำไรในราคาน้ำมันออกมา ซึ่งน่าจะส่งแรงกดดันมายังราคาหุ้นในกลุ่มพลังงาน และขยายวงมายัง SET Index ต่อเนื่อง ส่วนประเด็นเรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 พบว่ามีเห็นผลกระทบเชิงลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจชัดเจนมากขึ้น โดยในสหรัฐฯ พบว่าจำนวนผู้ของรับสวัสดิการว่างงาน (Initial Jobless Claim) ล่าสุดอยู่ที่ 6.6 ล้านคน ทำให้ตัวเลขสะสมช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับสูงถึง 16.6 ล้านคน ซึ่งมีนัยสำคัญต่อทิศทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานับจากนี้ สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยแม้จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดต่ำลง แต่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เบาบาง จนถึงหยุดนิ่งในหลายอุตสาหกรรม ก็ทำให้ถูกคาดหมายว่าจะตัวเลขอัตราการว่างงานขึ้นไปสูงกว่า 18% ในช่วงกลางปี 2563 นี้

ขณะที่ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ปรับตัวลดลงไปต่อเนื่อง โดยล่าสุด CCI ที่ดำเนินการสำรวจโดย หอการค้า ลดลง 20% จากเดือนที่ผ่านมา สู่ระดับที่ต่ำสุดในรอบ 21 เดือน ภายใต้สภาวะแวดล้อมดังกล่าวทำให้เชื่อว่า SET Index ที่ปรับตัวขึ้นนับจากช่วงปลายเดือน มี.ค.2563 ที่ผ่านมา มีโอกาสที่ต้องเข้าสู่ช่วงปรับฐานอีกครั้ง แต่ไม่น่าจะลงไปต่ำกว่า 1100 จุด สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามจากนี้ไป คือการเดินหน้าปฎิบัติตามมาตรการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ประกาศออกไป โดยความสนใจอยู่ที่ กรอบเวลาที่จะเห็นเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบอย่างมีนัยสำคัญ และ เป้าหมายของการใข้จ่ายเงินว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจเพียงใด สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต โดยน้ำหนักหลักของพอร์ตให้พักอยู่ในหุ้นปันผลสูง Top Picks วันนี้เลือก LH และ INTUCH

OPEC ลดกำลังการผลิตน้ำมันเป็นขั้นบันได ถือว่าแย่กว่าคาด กดดันราคาน้ำมัน

มติที่ประชุมประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ ได้ข้อสรุปตกลงปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อให้สอดคล้องกับ Demand น้ำมันโลก ซึ่งปัจจุบัน ลดลงแรงจากไวรัส COVID-19 ยังแพร่ระบาดทั่วโลก โดยแบ่งระยะเวลาดังนี้

ปรับลด 10 ล้านบาร์เรล/วัน 2 เดือน ตั้งแต่ พ.ค.- มิ.ย. 2563

ปรับลด 8 ล้านบาร์เรล/วัน 6 เดือน ตั้งแต่ ก.ค.- ธ.ค. 2563

ปรับลด 6 ล้านบาร์เรล/วัน 16 เดือน ตั้งแต่ ม.ค.2564เม.ย. 2565

ฝ่ายวิจัย ASPS มองบวก(+) แต่ในระดับที่น้อยกว่าความคาดหมาย โดยประเด็นที่ผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ ตกลงร่วมมือตัดลดการผลิตกันได้ น่าจะมีผลเพียงการจำกัด Downside ราคาน้ำมันดิบโลกไม่ให้ปรับฐานลงไปแรง   แต่ยังให้น้ำหนักในอนาคตประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ จะปฎิบัติตามข้อตกลงได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบโลกเช้านี้ได้ปรับฐานแรง WTI (-7.3%) เนื่องจากการปรับลดการผลิตน้อยกว่าที่ตลาดคาด เห็นได้จากการปรับลดเป็นลงเป็นขั้นบันไดขาลงของกลุ่มผู้ผลิตดังกล่าว

คำแนะนำลงทุนในช่วงสั้น จากราคาน้ำมันดิบโลกที่ผันผวนและปรับลงแรง ทำให้มีโอกาสสูงที่จะกดดันราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานในวันนี้ แนะนำชะลอการลงทุนออกไปก่อน ขณะที่การลงทุนในระยะยาว ยังแนะนำหาจังหวะเข้าลงทุนราคาหุ้นอ่อนตัว PTTEP (FV@B>110) และ PTT (FV@B>42)

ผลกระทบ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นตามลำดับ ทั้งตัวเลขว่างงาน และความเชื่อมั่น

สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ล่าสุด จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมเป็น 1,603,073 หลักๆ คือ สหรัฐ ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 468,566 ราย, สเปน 153,222 ราย, อิตาลี 143,626 ราย, เยอรมนี 118,235 ราย, ฝรั่งเศส 117,749 ราย เป็นต้น และไทย ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 54 ราย ส่งผลให้ปัจจุบันไทยมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 รวม 2,423 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นใน หลายประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันเศรษฐกิจของโลก โดยเฉพาะสหรัฐ วานนี้รายงาน

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน(Initial Jobless Claims) พบว่าเพิ่มขึ้นอีก 6.6 ล้านราย สูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.25 ล้านราย ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนผู้ขอสวัสดิการนับตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. รวม 3 สัปดาห์ จะทำให้สหรัฐมียอดผู้ขอสวัสดิการกว่า 16.8 ล้านราย

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน เดือน เม.ย. ลดลง 20%mom เหลือ 71 จุด (แตะระดับรอบ 9 ปี)และในวันเดียวกันธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม วงเงินรวม 2.3 ล้านล้านเหรียญ เช่น ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) แก่กิจการที่มีพนักงานไม่เกิน 1 หมื่นคน หรือมีรายได้ไม่เกิน 2.5 พันล้านเหรียญต่อปี วงเงินรวม 1 ล้านล้านเหรียญ, เสริมสภาพคล่องให้รัฐบาลท้องถิ่น (State and local governments) ผ่านการให้เงินกู้ วงเงินรวม 5 แสนล้านเหรียญ, ให้เงินกู้แก่ SMEs เพื่อให้ SMEs ยังมีเงินสดเพียงพอสำหรับการจ่ายเงินเดือนพนักงานได้ เป็นต้น

มาตรการอัดฉีดข้างต้น ส่งผลให้งบดุล (Balance sheet) ของ Fed เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหากนับตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค. 2562 ถึงปัจจุบัน งบดุลเพิ่มขึ้นกว่า 60% ที่ 6.13 ล้านล้านเหรียญ

ขณะที่สัปดาห์หน้าให้น้ำหนักประชุมร่วมระหว่าง IMF กับธนาคารโลก (World Bank) ในวันที่ 14 เม.ย. 2563 ซึ่งจะมีการเผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2563 ให้น้ำหนักกว่าจะมีการปรับลด GDP Growth ของโลกลงหรือไม่ อย่างไร โดยตลาดคาดว่า IMF มีแนวโน้มปรับลด GDP Growth โลกปี 2563 ลงจากขยายตัวเป็นหดตัว

CCI เดือน มี.ค. ของไทย ลดลงทำจุดต่ำสุด หวังรัฐอัดฉีดเงินกระตุ้น

เศรษฐกิจไทยปี 2563 หลายสำนักคาดจะพลิกกลับมาหดตัว 5-6% ASPS คาด -1.4%yoy หลังจากฟันเฟืองขับเคลื่อนทุกตัวชะลอลงหมด   ล่าสุด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) เดือน มี.ค. ลดลง 22%mom เหลือ 50.3 จุด (แตะระดับรอบ 21 ปี 6 เดือน) จากประชาชนมีความกังวลเรื่องการระบาดไวรัส COVID-19 ประกอบกับภาครัฐประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมการระบาด และการปิดสถานที่ต่างๆที่เสี่ยง, ภัยแล้ง

และหากอ้างอิง คาด GDP ปี 2563 ของ ธนาคารแห่งประเทศ ซึ่งคาด หดตัว 5.3%yoy   หมายความขนาด GDP จะลดลงราว 5.79 แสนล้านบาท คิดจาก Real GDP ปี 2562 ที่อยู่ที่ 10.93 ล้านล้านบาท(ดังรูป)   หากอ้างอิง ผู้อำนวยการอาวุโส นาย ดอน นาครทรรพ เผยว่าคาดการณ์ GDP ดังกล่าวไม่ได้รวมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ล่าสุดวงเงิน   1.9 ล้านล้านบาท หรือราว 10%ของ GDP เข้าไปในประมาณการณ์ หลักให้น้ำหนัก อัดฉีดเงินมุ่งไปที่ดูแลสาธารณสุขเยียวยาประชาชน อาทิ

  1. มาตรการแจกเงิน 5 พันบาท/คน รวม 9 ล้านคน โดยขยายระยะเวลา 6 เดือน
  2. มาตรการอัดฉีเงินเกษตรกร 3 หมื่นบาท/ครัวเรือน รวม 9 ล้านครัวเรือน

ดังที่ ASPS เคยนำเสนอว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะมีส่วนทำให้ GDP Growth ไทยปี 2563 ติดลบน้อยลง   อย่างไรก็ยังให้น้ำหนัก Timeline ระยะเวลาการพิจารณาการจัดหาเงินทุน 1.9 ล้านล้านบาทจะเป็นไปตามที่วางไว้หรือไม่   โดยมาตรการที่ดำเนินการผ่าน พรก. น่าจะสามารถเริ่มเห็นผลทางปฎิบัติได้ตั้งแต่เดือน พ.ค. เนื่องจากสามารถปฎิบัติงานได้ทันที่ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการออกกฎหมายทางรัฐสภา เพียงแต่เมื่อสภาฯ เปิด 22 พ.ค.2563 ต้องนำ พรก. เข้าสู่การพิจารณา แต่ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามเรื่องกรอบเวลาในการปฎิบัติจริงว่าจะเป็นไปตามคาดหรือไม่

กสทช.มีมติปรับลดอัตราการนำส่งเงินรายปี เป็นบวกต่อกลุ่มทีวีดิจิทัล

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสทช. ได้มีมติปรับลดอัตราการนำส่งเงินรายปีเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเงินค่าธรรมเนียม USO สำหรับผู้ประกอบกิจการดิจิตอลทีวีและผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงเป็นแบบขั้นบันได ดังนี้

ฝ่ายวิจัยมองว่าการช่วยเหลือของ กสทช. ดังกล่าวเป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มทีวีดิจิทัลซึ่งจะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนตามสัดส่วนของรายได้ทุกรอบปี โดยหากประเมินจากฐานรายได้และกำไรในปี 2562 ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ช่องที่มีแหล่งรายได้จากการขายโฆษณาทีวีดิจิทัลมากที่สุด คือ BEC ประหยัดต้นทุน 82 ล้านบาท ตามด้วย WORK ประหยัดต้นทุน 25 ล้านบาท ส่วน RS ได้รับประโยชน์เพียงเล็กน้อยเพียง 7 ล้านบาท เท่านั้น เนื่องจากแหล่งรายได้ส่วนใหญ่กว่า 60% มาจากธุรกิจพาณิชย์

ถึงแม้ต้นทุนที่ลดลงไปอาจดูไม่มาก แต่ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มทีวีดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง อีกทั้งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 แม้มาตราการควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้คนหยุดอยู่บ้านมากขึ้น แต่สื่อทีวีดิจิทัลไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ เนื่องจากเจ้าของสินค้าชะลอการใช้งบโฆษณาออกไป ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลปีนี้ยังไม่ดีนัก

อีกทั้งภาพระยะยาวยังเผชิญปัจจัยกดดันจากดิสรัปชั่นและการแข่งขันรุนแรง สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในกลุ่มนี้ อาจเล่นเก็งกำไรได้ในระยะสั้น จากราคาที่ปรับตัวลงมาก และมองว่าผลกระทบจาก COVID-19 น้อยกว่ากลุ่มสื่อนอกบ้าน ฝ่ายวิจัยชอบ RS (BUY FV@B>13) มากที่สุดในกลุ่ม จากแนวโน้มผลประกอบการฟื้นตัว

ตลาดมีโอกาสผันผวนมากขึ้น แนะสะสมหุ้นปันผลสูง ชอบ LH, INTUCH

SET Index จากนี้อาจชะลอการปรับขึ้นบ้าง เนื่องจากปรับตัวขึ้นมาเร็วและแรงจากจุดต่ำสุดในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาถึง 25% และวานนี้เริ่มเห็นแรงขายทำกำไรในช่วงบ่าย กดดัน SET Index โดยลดช่วงบวกลงจาก 33 จุด ลดลงเหลือ 4.71 จุด รวมถึงตลาดยังขาดแรงสนับสนุนจากเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ โดยนักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องกว่า 1.3 แสนล้านบาทytd และเป็นการขายสุทธิถึง 56 ใน 69 วัน

พร้อมกับภาพรวมตลาดเริ่มเห็นผลกระทบจากประเด็น COVID-19 ชัดขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ความเชื่อมันของผู้บริโภค (CCI) ในเดือน มี.ค. ลดลง 20%mom และอาจต้องในระยะเวลาที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาเชื่อมั่นเหมือนเดิม รวมถึงทางกกร. คาดว่ามีคนว่างในไทยถึง 7 ล้านคน หากการแพร่ระบาด COVID-19 ยุติในเดือน มิ.ย. 63 เป็นต้น แสดงให้เห็นภาพ COVID-19 กระทบต่อเศรษฐกิจชัดขึ้น ขณะที่ช่วงเวลาที่จะเบิกจ่ายงบประมาณได้จริงน่าจะกินเวลาพอสมควร โดยฝ่ายวิจัยฯคาดว่าน่าเบิกจ่ายได้ช่วง กลาง เดือน พ.ค.63 (ตามหัวข้อก่อนหน้านี้) ดังนั้น SET Index มีโอกาสผันผวนมากขึ้นต่อจากนี้ ดังนั้นทางเลือกลงทุนแนะนำเพิ่มน้ำหนัก หุ้นปันผลสูง ในพอร์ตการลงทุน โดยฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำ 5 หุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งปันผลสูง LH, DIF, SEAFCO, INTUCH, BAM เชื่อว่ายังคง Outperform ตลาดได้ดีในช่วงเวลาแบบนี้

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!