WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 8-4-20

Asia Plus Group Holding

กลยุทธ์การลงทุน

การปรับตัวขึ้นแรงของ SET Index วานนี้ อาจนำมาซึ่งแรงขายทำกำไรในระยะสั้น โดยหลังจากนี้จะเป็นช่วงที่ต้องรอผลของการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ประกาศออกมา ซึ่งต้องใช้เวลา ฝ่ายวิจัยยังคงเป้าหมาย SET Index ไว้ที่ 1264 จุด สำหรับปี 2563 วันนี้แนะนำปรับพอร์ตโดยขายทำกำไร GULF และนำเม็ดเงินไปลงทุน TFG และ INTUCH ส่วน Top Picks เลือก TFG (FV@B 4.80), INTUCH (FV@B 82.50) และ CENTEL (FV@B 21)

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย จับสัญญาณวันนี้

วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นตลอดวัน จากประเด็นจํานวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงในหลายประเทศ ทั้ง สหรัฐฯ และไทย รวมถึงมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 จากภาครัฐฯ 1.68 ล้านล้านบาท(หรือคิดเป็น 10%ของ GDP) จึงทำให้ตลาดปิดตัวในแดนบวกที่ระดับ 1,214.95 จุด เพิ่มขึ้น 76.11 จุด หรือ +6.68% โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 9.89 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(+7.75%) PTTEP(+9.81%) GULF(+9.09%) GPSC(+14.04%) กลุ่มขนส่งเช่น AOT(+15.00%) BTS(+14.77%) BEM(+8.55%) และกลุ่มค้าปลีกอย่าง อาทิ CPALL(+2.88%) CRC(+14.41%) HMPRO(+12.96%) BJC(+7.19%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น CPN(+12.35%) SCB(+9.26%) และ SCC(+5.11%) เป็นต้น

SET Index วานนี้ปรับตัวขึ้นแรง ตอบรับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากผลกระทบของ COVID-19 ทั้งนี้โดยภาพรวของมาตรการชุดนี้มีขนาดของเม็ดเงินที่ใช้ใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ราว 2 ล้านล้านบาท และเป็นมาตรการที่ครอบคลุมทั้งทางด้านภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real Sector) และภาคการเงิน แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยเห็นการการดีดตัวกลับดังกล่าวของ SET Index เป็นการปรับตัวขึ้นที่แรงเกินไป และอาจนำมาซึ่งแรงขายทำกำไรระยะสั้น เหตุเพราะ มาตรการดังกล่าวยังต้องผ่านกระบวนการอีกมากพอสมควรกว่าที่จะเห็นเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ อีกทั้ง ยังมีผลข้างเคียงจากการออกมาตรการดังกล่าวที่ต้องแบกรับ เช่นเรื่องของวินัยทางการคลัง

โดยหลังจากการก่อหนี้เพื่อนำเงินมาใช้ตามมาตรการดังกล่าว จะทำให้อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ปรับเข้าใกล้ 60% ซึ่งเท่ากับว่าช่องว่างที่หากจำเป็นต้องใช้การก่อหนี้ในอนาคตจะเหลือน้อยลง อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของปริมาณเงินในระบบที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลทำให้เงินบาทอ่อนค่า ต่อ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับนักลงทุนต่างชาติ และอาจทำให้ Fund Flow ต่างชาติยังไม่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในวันนี้เป็นเรื่องการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน มี.ค.2563 ซึ่งติดลบ 0.54% ซึ่งภายใต้สถานการณ์เงินเฟ้อดังกล่าว อาจเป็นการเปิดช่องให้ กนง. สามารถพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในอนาคตได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อ SET Index เนื่องจากทำให้ Market Earning Yield Ga[ ขยายกว้างขึ้น ซึ่งหากคงเป้าหมาย Yield Gap ไว้เท่าเดิมก็น่าจะมีผลทำให้ค่า PER สามารถปรับขึ้นไปสูงขึ้นได้ โดยทุกๆ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ที่ปรับลดลง จะทำให้ค่า PER สูงขึ้น 0.7-0.8 เท่า กลยุทธ์การลงทุน วันนี้ แนะนำปรับพอร์ตโดย ขายทำกำไร GULF น้ำหนัก 10% และนำเงินเข้าลงทุนใน TFG และ INUCH อย่างละ 5% หุ้น Top Picks เลือก TFG, INTUCH และ CENTEL

 

COVID-19 ไทย ตัวเลขยังเพิ่มน้อย แต่รัฐยังคุมเข้มการควบคุมโรค  

สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมเพิ่มขึ้นอีก 78,306 ราย ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 1,426,109 ราย โดยจำนวนผู้ติดเชื้อในบางประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยลง เช่น สหรัฐมีผู้ติดเชื้อ 396,223 ราย (เพิ่มขึ้น 8%), สเปนมีผู้ติดเชื้อ 141,942 ราย (เพิ่มขึ้น 4%), อิตาลีมีผู้ติดเชื้อ 135,586 ราย (เพิ่มขึ้น 2%), เยอรมนีมีผู้ติดเชื้อ 107,663 ราย (เพิ่มขึ้น 4%) เป็นต้น และที่สำคัญ คือ ในจีน จำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มทรงตัว โดยจำนวนผู้ติดเชื้อล่าสุด ทรงตัว   82,718 ราย ทำให้สถานการณ์ในจีนเริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้หลายส่วนจีนเริ่มกลับมาดำเนินการตามปกติกันมากขึ้นเห็นได้จากผลสำรวจของ Bloomberg ที่พบว่ามีจีนการกลับมาทำงานเป็นปกติแล้วราว 90-95%

ขณะที่ไทย มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก 38 ราย ส่งผลให้ปัจจุบันไทยมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 รวม 2,258 ราย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อของไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่มากนัก (ช่วงปลายเดือน มี.ค. ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 120 ราย) แต่มาตรการต่างๆยังคงมีความเข้มข้นสูง เช่น มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ได้แก่ การห้ามออกนอกเคหะสถาน (Curfew), การเลื่อนเวลาปิดสนามบินไปจนถึงวันที่ 18 เม.ย. 2563 (เดิมกำหนดถึง 6 เม.ย. 2563), การเลื่อนเปิดเทอมของสถานศึกษาเป็นวันที่ 1 ก.ค. 2563 (เดิมเปิดเทอมวันที่ 16 พ.ค. 2563) เป็นต้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ขยายจำนวนผู้ได้รับเงินชดเชย 5,000 บาท จาก 3 ล้านคน เป็น 9 ล้านคน และขยายช่วงวลารับเงินจาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน เป็นต้น ซึ่งมาตรการต่างๆดูเหมือนจะไม่สอดคล้อง (Divergence) กับจำนวนผู้ติดเชื้อของไทย แสดงถึงความเสี่ยงที่ยังมีอยู่ในระยะข้างหน้า

 

มาตรการฟื้นฟู 1.9 ล้านล้านบาท แต่ต้องแบกภาระในระยาว

ที่ประชุม ครม. อนุมัติมาตรการเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 วงเงินรวมราว 1.9 ล้านล้านบาท หรือราว 10%ของ GDP ตามที่นำเสนอ Market talk ฉบับวานนี้ แต่มีความชัดเจนในรายละเอียดเพิ่มขึ้นหลักๆ

  1. พ.ร.ก. กู้เงิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท (52.6% ของวงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท) จะมีผลบังคับใช้ภายใน เม.ย. 2563 คาดจะเริ่มจัดหาเงินทุนในเดือน พ.ค. 2563 หลักๆ การจัดเงินรัฐกำลังพิจารณาจะมาจากการกู้เงินจากสถาบันในประเทศเป็นหลัก, ออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ   หากจะกู้ต่างประเทศ คาดจะมาจากธนาคารพัฒนาเอเซีย(ADB) มิใช่ IMF โดยเม็ดเงินที่ใช้แบ่งเป็น
  • •   วงเงิน 6 แสนล้านบาท หลักๆมุ่งไปที่ดูแลสาธารณสุข, เยียวยาประชาชน อาทิ มาตรการแจกเงิน 5 พันบาท/คน รวม 9 ล้านคน โดยขยายระยะเวลา 6 เดือน จากเดิม 3 เดือน และมาตรการเยียวยาเกษตรกร
  • •   วงเงิน 4 แสนล้านบาท ครอบคลุมโครงการดูแลเศรษฐกิจในพื้นที่ชุมชน และสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับพื้นที่
  1. พ.ร.ก. ให้อำนาจ ธปท. ออก Soft Loan เพื่อดูแลภาคธุรกิจ SMEs วงเงิน 5 แสนล้านบาท (26.3% ของวงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท) เงินทุนไม่ได้มาจากการกู้ แต่นำเงินที่มีในระบบเศรษฐกิจมาใช้
  • •   สินเชื่อใหม่ 5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท
  • •   ให้ธนาคารพาณิชย์ และ (Specialized Financial Institutions : SFIs) อาทิ ธนาคารออมสิน, ธอส., EXIM, ธกส. พักชำระหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย 6 เดือน ให้ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท
  • •   ปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) จากเดิม 0.46% เหลือ 0.23% ของฐานเงินฝาก เป็นระยะเวลา 2 ปี
  1. ออก พ.ร.ก. ดูแลเสถียรภาพภาคการเงินวงเงิน 4 แสนล้านบาท (21.1% ของวงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท) ด้วยการตั้งกองทุนรวม Corporate Bond Liquidity Stabilization Fund (BSF) และให้ ธปท. ซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าว
  2. ปรับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 คือ ตัดลดงบประมาณของหน่วยงานต่างๆมาเติมในงบกลาง คาดจะมีวงเงินราว 8 หมื่นล้านบาท - 1แสนล้านบาท คาดว่าจะนำมาใช้ต้นเดือน มิ.ย. 2563

และยังมีมาตรการอื่นอาทิ การยืดพักชำระหนี้ SMEs ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยออกอีก 6 เดือน และการปรับลดเงิน FIDF Fee ที่เรียกเก็บจากสถาบันการเงิน เหลือ 0.23% จาก 0.46% เป็นต้น

(+) ASPS ประเมินว่าเม็ดเงินโดยรวมที่ออกมาถือว่ามากพอและครอบคลุมที่จะพยุงเศรษฐกิจไทยปี 2563 ไม่ให้ติดลบไปมากกว่าดังที่นำเสนอในช่วงก่อนหน้า   อย่างไรก็ยังให้น้ำหนัก Timeline ระยะเวลาการพิจารณาการจัดหาเงินทุน 1.9 ล้านล้านบาทจะเป็นไปตามที่วางไว้หรือไม่   โดย พรก. มิติ้งผ่านรัฐสภา ขณะที่การตัดลดงบประมาณ 10% จะต้องเข้าพิจารณาในสภา ในช่วงปลายเดือน 22 พ.ค. และจะมีผล มิ.ย.

(-) อีกทางหนึ่งเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อ

1.ภาระหนี้รัฐบาลในอนาคต   หลักๆ คือ รัฐบาลการกู้ทำให้ต้องแบกภาระหนี้ในระยาว โดยเฉพาะหนี้สาธารณะต่อ GDP โดยปัจจุบันอยู่ที่ 6.9 ล้านล้านบาท หรือ 42% /GDP   (หากรัฐมีการกู้เงินเต็ม 100% รัฐคาดทำให้หนี้สาธารณะ/ GDP ปรับขึ้นมาอยู่ 57% ใกล้กับเพดานหนี้ตามกฎหมายที่ตั้งไว้ไม่เกิน 60% ล่าสุด กระทรวงการคลัง จะขอขยายเพดานหนี้ชั่วคราวเกิน 60%)

ASPS คาดว่าจะทำให้ในอนาคต รัฐบาลอาจจะเผชิญข้อจำกัดจากเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ดังกล่าว รวมถึง ต้นทุนจากอัตราต่อดอกเบี้ยในการกู้เงิน ซึ่งจะมีผลต่อฐานะการคลัง และการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2564 เป็นต้นไป และน่าจะมีผลต่ออันดับ Credit rating ของไทย ล่าสุด เดือน มี.ค. สถาบันจัดอันดเครดิตเรทติ้ง Fitch ปรับลดมุมมองเครดิจตไทยลงมาอยู่ที่     Stable จากเดิม Positive และคงอันดับเครดิตเรทติ้ง BBB+    

2.) เงินบาท จากความกังวลดังกล่า วคาดจะทำให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าในอนาคตอีก ล่าสุดอยู่ที่ 32.8 บาท อ่อนค่าราว 9.57%นับตั้งแต่ต้นปี   ซึ่งจะมีผลอุปสรรค ทำให้ Fund Flow ชะลอการไหลเข้าในอนาคต

 

เงินเฟ้อ มี.ค. ติดลบ เปิดโอกาส กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 2563 หดตัว 0.54%yoy แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี 9 เดือน จากราคาสินค้ากลุ่มพลังงานหดตัวแรง 11.14% ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลง (ราคาน้ำมันดิบดูไบเดือน ก.พ. 2563 ลดลงเฉลี่ย 49%yoy) จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ความต้องการใช้น้ำมันจึงลดลงตาม รวมถึงสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดิอาระเบียกับรัสเซีย

ขณะที่ราคาสินค้ากลุ่มอื่นๆแม้ยังเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง เช่น ข้าวและแป้งเพิ่มขึ้น 7.68% (เดือน ก.พ. 7.77%), เนื้อสัตว์ 1.78% (เดือน ก.พ. 2.44%), เคหสถาน 0.09% (เดือน ก.พ. 0.22%) เป็นต้น โดยรวมทำให้เงินเฟ้อ 3M63 ขยายตัวเฉลี่ย 0.41%

อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงข้างต้น ส่งผลให้กระทรวงพาณิชย์ปรับลดประมาณอัตราเงินเฟ้อไทยปี 2563 เป็น (-1%)-(-0.2%) หรือเฉลี่ย -0.6% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Net Interest Rate) ซึ่งคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยลบอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็น 1.35% (อิงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.75% และอัตราเงินเฟ้อ -0.6%) หนุนให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้งในปีนี้ (ตามสมุติฐานของฝ่ายวิจัยฯ ASPS) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีก หากมีความจำเป็น

โดยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลกระทบต่อ Vauation ของตลาดฯ 2 ส่วน คือ

        ผลกระทบต่อประมาณการกำไรกลุ่ม ธ.พ. (แต่ฝ่ายวิจัยได้รวมไว้ในสมมุติฐานแล้ว) โดยทุกๆ การปรับลดดอกเบี้ยลงทุกๆ 0.25% จะส่งผลต่อประมาณการกำไรราว 5 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยฯได้ปรับสมมุติฐานกำไรของกลุ่ธ.พ.ฯในปี 2563 ลง โดยใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% อยู่แล้ว จึงทำให้ไม่กระทบต่อ EPS 63F ที่ 72.62 บาท/หุ้น

       การลดดอกเบี้ยนโยบายทำให้ Market Earning Yield gap ขยายกว้างมากขึ้น โดยฝ่ายวิจัยฯ ASPS ประเมินทุกๆการลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จะส่งผลต่อค่า PER ประมาณ 0.8 เท่า หรือ ผลักดัน SET Index ราว 58 จุด จึงทำให้เป้าหมายปลายปี 63 ของ SET Index ปรับขึ้นจาก 1264 จุด กลายเป็น 1322 จุด

ตลาดหุ้นฟื้นแรง แต่ทางข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนแฝงอยู่

มาตรการต่างๆ จัดเต็มเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ จากปัญหา COVID-19 ทั้งในส่วนของมาตการทางการเงิน ที่หลายๆ ประเทศลดดอกเบี้ยจนอยู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมอัดฉีด QE เข้าสู่ระบบการเงินมากกว่าในอดีตที่ผ่านๆ มา (รายละเอียดในบทวิเคราะห์ Market Talk วันที่ 7 เม.ย. 63) นอกจากนี้ยังมีมาตรการทางการคลังที่ช่วยเยียวยาผลกระทบต่างๆ แบบจัดเต็ม (ตามหัวข้อก่อนหน้า) ซึ่งมาตราการต่างๆ เหล่านี้ช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นหลายๆประเทศ ฟื้นตัวขึ้นมาเร็วและแรงในช่วงเวลาสั้นๆ

เปรียบเทียบผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี(YTD) ของตลาดหุ้น EM และ DM

ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS

อาทิ ตลาดหุ้นสหรัฐ (ดัชนี S&P500) ฟื้นขึ้นมาเกือบครึ่งทางจากจุดต่ำสุดในปีนี้ที่ -32.2% เหลือ -17.7%ytd เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยเคยทำจุดต่ำสุดที่ 969.08 จุด ณ วันที่ 13 มี.ค. 63 ลดลง -38.7% แล้วฟื้นตัวขึ้นมาเร็วจนปัจจุบันเหลือ -23.1%ytd เท่านั้น

อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวขึ้นมาเร็วกว่า 25% จากจุดต่ำสุดของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ ไม่ว่าจะมาจากความคาดหวังในมาตรการต่างๆที่ออกมา รวมถึงการเพิ่มสภาพคล่อง อย่างไรก็ตามยังมีความขัดแย้งระหว่างมาตรการการป้องกัน COVID-19 ที่เข้มงวดขึ้น กับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ลดลง (Divergence) รวมถึงยังมีความเสี่ยงจากมาตรการกระตุ้นในอนาคตอาจลดลง หาก COVID-19 ลากยาว เนื่องจากจัดเต็มแล้วในตอนนี้

กลยุทธ์การลงทุน ตลาดหุ้นที่ฟื้นมาแรง รวมถึงความเสี่ยงข้างหน้ายังมี การเลือกหุ้นลงทุนต้องพิถีพิถันมากขึ้น แนะเลือกลงทุนในหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง แต่กลับปรับฐานลงมาแรงกว่าตลาดมาก Top Pick ยังชื่นชอบ CENTEL, INTUCH และเพิ่ม TFG อีก 1 บริษัทในวันนี้ มีรายละเอียดพื้นฐานดังนี้

TFG ([email protected]) แนวโน้มกำไรสุทธิปี 2563-64 จะเติบโต 21.8% yoy และ 9.4% yoy จากปัญหาสุกรขาดแคลนในภูมิภาคเอเชีย จากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร โดยเฉพาะในประเทศจีนและเวียดนาม หนุนราคาสุกรในเวียดนามเฉลี่ยงวด 1Q63 อยู่ที่ 7.5 หมื่นดอง/กก. เพิ่มขึ้นถึง 14.7% qoq และ 61.3% yoy ส่งผลให้ธุรกิจสุกรในเวียดนาม (2% ของรายได้รวม) ฟื้นตัวชัดเจน เพราะฟาร์มของ TFG ไม่ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ธุรกิจสุกรในไทย (25% ของรายได้รวม) ก็ได้รับผลบวกจากการค้าขายสุกรตามชายแดนมากขึ้น หนุนราคาสุกรเฉลี่ยงวด 1Q63 อยู่ที่ 70 บาท/กก. เพิ่มขึ้นถึง 19.4% qoq และ 0.4% yoy ขณะที่ธุรกิจไก่ (57% ของรายได้รวม) ก็ได้ผลบวกจากตลาดส่งออกไก่ยังเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดส่งออกไก่ไปจีน

กำหนด Fair value ปี 2563 เท่ากับ 4.80 บาท อิงวิธี DCF (WACC 7.13%) ราคาหุ้นมี Valuation น่าสนใจ โดยมีค่า PER ปี 2563 เพียง 10 เท่า และสามารถคาดหวัง Div Yield เฉลี่ยได้ราว 4% ต่อปี (จ่ายปีละ 2 ครั้ง)

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!