- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 10 October 2014 16:42
- Hits: 2352
บล.บัวหลวง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
ลงสลับรีบาวด์
วันนี้คาด ลงสลับรีบาวด์ แนวรับ 1,550 จุด แนวต้าน 1,565 จุด คงแนะกระชับพอร์ต หรือใช้เม็ดเงินจำกัดในการเก็งกำไร
กลยุทธ์ระยะสัปดาห์ ใครที่ขายกระชับพอร์ตตามคำแนะนำแล้ว คงแนะนำใช้เม็ดเงินจำกัดในการเก็งกำไร หุ้นไทยได้ปรับซิ๊กแซกลง อังคาร-พุธ (ตามคาด) และ คงคาด พฤ-ศุกร์ ลุ้นเด้งสั้น ส่วนสัปดาห์หน้า คาด Sideways ออกด้านข้างถ้ายังยืนเหนือ 1,540/1,530 จุด ได้ (กรณีที่ต่ำกว่า 1,530 จุด ต้องระวังการปรับลงต่อเนื่อง จากปัจจัยทางเทคนิค)
กลยุทธ์เล่นรอบระยะเดือน (ตค.) คาดช่วงครึ่งแรกของเดือน หุ้นกลุ่ม ค้าปลีก โรงพยาบาล ขนส่ง สื่อสารฯ (หุ้น Low Beta) ที่ปรับลงมาก่อนหน้า Outperform ตลาด ส่วนกลุ่ม พลังงาน ปิโตรฯ แบงก์ คาด Underperform และแนะนำซื้อเก็งกำไรหุ้นกลาง-เล็ก ที่มีข่าวบวกหนุน / คาดการปรับฐานรอบนี้ แนวรับ 1,530 จุด (Error 1,510/1,490 จุด)
หุ้นแนะนำ TFD (Initiated Buy TP 8.3 บ.) และเก็งกำไรหุ้นร้อน MAX (Stop loss 0.98 บาท กระแสข่าวผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไล่เก็บหุ้นเพื่อเปลี่ยนธุรกิจ)
BLS รายงานพื้นฐานวันนี้ (ดูรายละเอียดฉบับเต็ม)
(+) TFD เราเริ่มต้นแนะนำซื้อ ด้วยราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 8.30 บาท อิง PE ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 15x ปัจจัยหนุนราคาหุ้น จะมาจากผลการดำเนินงานที่พลิกกลับมามีกำไร คาดอย่างช้า 4Q14 จากการรับรู้รายได้จากโครงการคอนโด 15 Sukhumvit residences ได้ราว 75% ของ backlog ปัจจุบันซึ่งมีอยู่กว่า 2,000 ล้านบาท และผลการดำเนินงานในปี 2015 คาดว่าจะเติบโตก้าวกระโดดเป็น 598 ล้านบาท พลิกจากไม่มีกำไรในปีก่อนหน้า จากการขายที่ดินนิคม 170 ไร่ และ รายได้คอนโดฯ ส่วนที่เหลืออีก 1.4 พันล้านบาทจะทยอยโอนปีหน้า
(+) Preview กำไร 3Q14 กลุ่มแบงก์ คาดกำไรรวม 5.38 หมื่นล้านบาท เติบโต 6% y-y และ 3.7% q-q โดยแบงก์ที่กำไรเด่นรอบนี้สุด คือ KTB KBANK BBL TMB และ SCB ส่วนกำไรลดลง y-y ได้แก่ TISCO KKP TCAP และ BAY
(+) PTTGC คงคำแนะนำ ซื้อ 83 บาท พื้นฐานดีแต่ราคาหุ้นลงแรง 24% YTD จน PE ปี 2014-15 เทรดที่ 9 และ 8 เท่าตามลำดับ (ค่าเฉลี่ย PE ระยะยาวอยู่ที่ 10 เท่า) แม้ PX เป็นขาลง แต่ผลิตภัณฑ์ปิโตรตัวอื่นยังมีกำไรดี โดยราคา HDPE (Spot) ตอนนี้อยู่ที่ $734/ตัน (ราคาหุ้นตอนนี้ลงจน Implied price อยู่ที่ $450/ ตัน) และคาดกำไรหลัก 3Q14 ไม่รวมขาดทุนสต็อก จะยังเติบโต q-q
(+) SAMTEL ประกาศเซ็นงาน CUTE กับ AOT เป็นทางการ คาดมูลค่างานราว 2.28 พันล้านบาทเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งเราใส่ไว้ประมาณการแล้ว คงคำแนะนำ ซื้อ TP 24 บาท
หุ้นมีข่าว
(+) WHA HEMRAJ TFD มีกระแสข่าว M&A: TFD นักลงทุนรายใหญ่ซื้อยกล็อตหุ้นราว 40 กว่าล้านหุ้น
(+) SST คาดมีดีลซื้อกิจการเพิ่ม
(+) TRC คาดจะมีการเซ็นงานเตาเผาเพิ่ม และ มีการประกาศงานซ่อมท่อก๊าซ PTT (เรากำลังอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการ มีแนวโน้มปรับขึ้น)
(+) ECF ข่าวเซ็นสัญญาสิทธิในการผลิตสินค้าเฟอร์นิเจอร์ลิขสิทธิ์การ์ตูนดังจากต่างประเทศ (เราอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการ กำไรมีแนวโน้มปรับขึ้น)
(+) IFEC สภาอุตสาหกรรมยื่น รมว.พลังงาน กลับไปใช้ระบบ Adder แบบเดิม และขอปรับ adder พลังงานลมขึ้นเป็น 4.5 บ.จาก 3.5 บ. สำหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ส่วนโรงไฟฟ้าขยะขอ adder 3.5 บ. นาน 10 ปี (จาก 7 ปี) เนื่องจาก Fleet in tariff ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง / อยู่ระหว่างรอ ผู้ถือหุ้น อนุมัติขายหุ้นเพิ่มทุน PP และ RO คาดปลายเดือนนี้ประชุม ผถห.
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(0) IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก โดยปรับลดการเติบปี 2015 ลงจาก 4% เหลือ 3.8% ปีนี้คาดโต 3.3% โดยกลุ่มประเทศพัฒนาคาดปี 2015 โต 2.3% จาก เดือน กค.คาดว่าจะโต 2.4% ส่วนตลาดเกิดใหม่คาดปี 2015 โต 5% (ปรับลงเพียงเล็กน้อย) ส่วนจีนคงคาดปี 2014-15 โต 7.4 และ 7.1% ตามลำดับ / MS มองประเด็นการขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงของ IMF ว่าเป็นตัวเลขที่ Laggard โดย MS คาดเศรษฐกิจโลกปี 2015 ขยายตัว 3.5% ดังนั้น MS ไม่มีแนวโน้มจะปรับลดคาดการณ์
(-) เมื่อวานนี้ประธาน ECB แถลงเศรษฐกิจยุโรปเผชิญภาวะชะลอตัว
(-) วานนี้ US ตัวเลขขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ +2.87 แสนราย (ไม่ลดลง โดยทรงตัวตั้งแต่ปลายเดือน กย. สะท้อนภาวะการจ้างงานที่อ่อนแอตรงข้ามกับตัวเลข Unemployment ที่ออกมาก่อนหน้า)
(0) วานนี้ยอด Wholesale inventory (สค.) +0.7% ดีกว่าคาด +0.3% (จาก 0.1% m-m)
(+) วันศุกร์ US Import price (กย.)คาด -0.6% จาก -0.9%
หุ้นในกระแส
(+) กำไร 3Q14 เติบโตสูง แนะ CPF
(-) กำไรสุทธิ 3Q14 มีแนวโน้มแย่กว่าคาด TOP PTTGC (ขาดทุนสต็อกน้ำมัน, PX ขาลง)
(+) กระแสข่าว M&A: SST IFEC TFD
(+) สัปดาห์หน้าออกจาก Cash balance ACD DIMET EMC EVER GENCO SST TAKUNI
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด
สนช.ผ่านร่างพ.ร.บ.โอนกลับบำเหน็จบำนาญแบบเดิม คาดมีผลธ.ค.นี้
กบข.เตรียมรับสมาชิกลาออก หลังสนช.ผ่านร่างพ.ร.บ.โอนกลับรับระบบบำเหน็จบำนาญแบบเดิมได้ คาดลาออก 2 แสนคน คืนเงิน 4 หมื่นล้าน ยันไม่มีปัญหาสภาพคล่อง เปิดให้สมาชิกก่อนปี 2540 ตัดสินใจได้ถึงมิ.ย. 2558 พร้อมจ่ายคืนครึ่งหลังปีหน้า (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
พม่าขอ 30 วันอนุมัติแผนอิตันไทย ลงทุน'ทวาย'เฟสแรก 3 หมื่นไร่
"ปรีดิยาธร "มั่นใจโครงการทวายเดินหน้าต่อเนื่องได้หลังนายกฯ เยือนพม่า ส่งผลดีต่อการลงทุน พร้อมปรับกลไกเร่งทำงาน ลดความซ้ำซ้อน ด้าน "ไอทีดี" ส่งแผนพัฒนาด้านเทคนิครัฐบาลพม่าพิจารณาเฟสแรก 3 หมื่นไร่ คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน คาดใช้เวลาพัฒนา 3 ปี เงินลงทุนรวม 3 หมื่นล้าน ระบุรัฐบาลไทยจะต้องสนับสนุนซอฟต์โลน ให้กับโครงการ ส่วนปัจจัยหลักของความสำเร็จอยู่ที่รัฐบาลพม่า (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
เสนอปรับโครงสร้างยาง ข้าวใช้งบ 1.3 แสนล้านบาท
CMNT> (ต่อ1) รอบด้านตลาดหุ้น - บล.บัวหลวง
แหล่งข่าวในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จะเสนอโครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าวและยางพาราในวงเงินประมาณ 1.3 แสนล้านบาท สำหรับปรับปรุงการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ มีความสมดุลระหว่างผลผลิต ความต้องการในประเทศและการส่งออก ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี เริ่มเดือน พ.ย.นี้ (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)
หุ้นไทยแพงต่างชาติเมิน
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงผลการจัดงานโรดโชว์ "Thai Forum" ณ กรุงนิวยอร์ก สหรัฐ ว่า นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ที่ลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกกว่า 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีความมั่นใจในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และสนใจสอบถามถึงหุ้นกู้เอกชนและพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงินเหรียญสหรัฐ หากรัฐบาลจะกู้เงินเพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน แต่เมินตลาดหุ้นไทย เหตุมูลค่าแพง (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)
SME สต๊อกบวมถ้วนหน้า
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเอสเอ็มอีไทยจาก 1,451 ตัวอย่างทั่วประเทศ ว่า ดัชนีทุกด้านปรับลดลง ส่งผลต่อดัชนีความสามารถในการแข่งขันลดต่ำลงมาอยู่ที่ระดับ 53.5 ส่วนแนวโน้มไตรมาส 3/2557 ค่าดัชนียังลดลงต่อเนื่องมาที่ระดับ 52.4 ต่ำสุดตั้งแต่การสำรวจมาตั้งแต่ปี 2556 และน่าจะยังไม่ใช่ระดับต่ำสุดในช่วงนี้ เพราะค่าดัชนียังมีโอกาสซึมลงอีก จากแนวโน้มยอดขายยังลดลง สต๊อกสินค้าเพิ่มขึ้น (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)
ชงยุทธศาสตร์น้ำคสช.ล้มแน่ฟลัดเวย์ตะวันตก
นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่มี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ และรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน วันที่ 13 ต.ค.นี้ กรมชลประทานจะเสนอแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการทั้งประเทศ ให้ที่ประชุมพิจารณา ภายใต้กรอบวงเงินทั้งแผนมากกว่า 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยการลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์ระยะเร่งด่วน (ปีงบ 2558) ระยะกลาง (ปีงบ 2558-2560) และระยะยาวตั้งแต่ปีงบ 2561 เป็นต้นไป (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)
ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ Tel. (662) 618-1330-1
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
รายงานวันนี้
หุ้น: PTTGC คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 83.00
เราเชื่อว่าราคาหุ้นตอนนี้ต่ำเกินไปจากความกังวลการปฎิรูปนโยบายพลังงาน ในขณะที่ส่วนต่างราคา ณ ปัจจุบันกลับสูงสุดในรอบสามปี
นอกจากนี้ เรามองว่ากำไรหลักไตรมาส 3/57 ที่คาดจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งจะหนุนให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นได้อีก
โอเลฟินส์กำลังเริ่มเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้นตั้งแต่ปี 2557 และคาดจะดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงปี 2558 เนื่องจากอุปสงค์น่าจะเติบโตมากกว่าอุปทานในปีนี้และปีหน้า
ส่วนต่างราคาโอเลฟินส์กำลังปรับตัวเพิ่มขึ้น หนุนจากภาวะอุปสงค์อุปทานที่ปรับตัวดีขึ้น
นักวิเคราะห์: สุพพตา ศรีสุข, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
หุ้น: SAMTEL คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 24.00
ลงนามในสัญญา CUTE กับ AOT มูลค่า 2.28 พันล้าน ระยะเวลา 5 ปี
เป็นบวกกับ SAMTEL แต่อยู่ในประมาณการของเราแล้ว
เริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4/57 จนถึงไตรมาส 3/62
อัพไซด์จากโครงการ APPS กับ AOT เพิ่มกำไร 5-6% และราคาเป้าหมาย 3 บาทต่อหุ้นในอนาคต
มูลค่างานในมือที่เรารับรู้รายได้ปลายปีนี้อยู่ที่ 8.5 พันล้าน เพิ่มขึ้น 42% QoQ
นักวิเคราะห์: ประสิทธิ์ สุจิรวรกุล, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
กลุ่ม: ธนาคาร คำแนะนำ: เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ราคาเป้าหมาย (บาท): -
เราคาดธนาคารใหญ่ทั้ง 9 ธนาคารได้แก่ BBL, KTB, KBANK, SCB, BAY, TMB, TCAP, TISCO และ KKP จะรายงานกำไรไตรมาส 3/57 แข็งแกร่งที่ 53.8 พันล้านบาท สูงขึ้น 6.0% YoY และ 3.7% QoQ
ในกลุ่มธนาคารที่อยู่ภายใต้การวิเคราห์ของเรา เราชอบ KBANK และ SCB
เราคาด KTB, KBANK และ BBL จะรายงานกำไรเติบโตแข็งแกร่งที่สุด YoY สำหรับไตรมาส 3/57 ที่ 11.1%, 10.1% และ 6.1% ตามลำดับ หนุนโดยสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมขยายตัว อีกทั้งมีการจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ดี
คาดสินเชื่อจะเติบโตแข็งแกร่งตั้งแต่ไตรมาส 4/57 เป็นต้นไป
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลตั้งแต่ไตรมาส 4/57 เป็นต้นไป หนุนให้ธนาคารใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ SCB, KBANK และ BBL มีโอกาสในการปรับเพิ่มประมาณการกำไรสูงที่สุด
นักวิเคราะห์: สุวัฒน์ บำรุงชาติอุดม, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์