- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 11 November 2019 17:57
- Hits: 1463
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สงครามทางการค้ายังคลุมเครือ บวกกับ Moody’s ลดมุมมอง Credit Rating อังกฤษ ที่ Aa2จาก Stable เป็น Negative กดดันค่าเงินสหรัฐฯแข็งค่า (จากปอนด์อ่อนค่าลง) ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ถือเป็นอุปสรรคต่อ Fund Flow ที่จะไหลเข้าตลาดหุ้นไทย กลยุทธ์เน้นลงทุนหุ้นผลประกอบการเด่น Top picks คือ STPI ([email protected]), EA(FV’63@B56) และวันนี้ขออนุญาตขายทำกำไร MCS (กำไร 11%) แล้วลงทุนใน CPALL(FV’63@B100) แทน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนในกรอบ 10 จุด จากที่ยังขาดปัจจัยหนุนและมีปัจจัยกดดันอย่าง MSCI EM ที่เพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นจีน (China A Shares) ส่งผลตลาดหุ้นไทยมีโอกาสถูกเบียดให้มีสัดส่วนลดลง จนทำให้ปิดระดับ 1637.85 จุด ลดลง 3.03 จุด (-0.18%) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขาย 5.03 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มสื่อสารได้แก่ ADVANC(-0.86%) INTUCH(-0.37%) DTAC(-0.79%) กลุ่มพลังงานเช่น PTT(-1.09%) PTTEP(-0.40%) GULF(-0.58%) แต่ได้แรงหนุนจากกลุ่มธ.พ.เช่น KBANK(+0.99%) KTB(+0.60%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวอย่างเช่น AOT(+0.31%) และ MTC(+2.08%) เป็นต้น
ประเด็นสงครามจีน-สหรัฐเฟส 1 ยังมีทิศทางกลับไปกลับมา ว่าจะมีการสงบศึก ในวันที่ 3 ธ.ค. 62 ที่กรุงลอนดอนหรือไม่? อีกประเด็นคือ ทาง Moody’s ปรับลดมุมอง Credit Rating อังกฤษ ที่ Aa2จาก Stable เป็น Negative ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์อ่อนลงแรง ในทางกลับกันส่งผลให้ค่าเงินสหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งแรงเสริมที่สำคัญ หนุนให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าขึ้น หลังทาง ธปท. ออก 4 มาตรการควบคุมการแข็งค่าของค่าเงินบาท ถือเป็นอุปสรรคต่อ Fund Flow ที่จะไหลเข้าตลาดหุ้น ส่วนประเด็นในประเทศ สัปดาห์นี้เป็นการประกาศงบการเงินงวด 3Q62 ที่เหลือ คิดเป็นสัดส่วนราว 59% ของ Market Cap. บริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนเน้นเลือกหุ้นที่มีผลประกอบการงวด 3Q62 เด่น และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ยังคงชอบ EA(FV’63@B56) ผลประกอบการงวด 3Q62 ดีกว่าคาด เติบโต 32%YoY และ 16%QoQ และคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นทำจุดสูงสุดของปีในไตรมาสที่ 4, STPI ([email protected]) ถูกคัดเข้าดัชนี MSCI Global Small Cap. อีกทั้งผลประกอบการงวด 3Q62 คาดจะพลิกกลับมามีกำไรสุทธิได้ราว 500-600 ล้านบาท จากการได้รับเงินชดเชยจากคดีความในต่างประเทศ และสุดท้ายวันนี้ขออนุญาติขายทำกำไร MCS หลังถือมาราว 3 สัปดาห์ ทำกำไรให้พอร์ตจำลอง 11% ไปลงทุนหุ้นหนึ่งใน Top Pick ใน Monthly Report อย่าง CPALL(FV’63@B100) ; เนื่องจากราคาปรับฐานลงมาเยอะ สวนทางกับแนวโน้มการเติบโตตั้งแต่งวด 3Q62 ที่คาดเติบโต 9.3% สูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส และเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องถึงปีหน้า จากธุรกิจบริการใหม่ หนุนรายได้ค่าธรรมเนียม เช่น ธุรกรรม Banking Agent, บริการรับส่งพัสดุ และบริการพื้นที่เช่าจอโฆษณาจาก PLANB เป็นต้น
ตลาดหุ้นโลกขึ้นผันผวนจาก สหรัฐ-จีนอีกครั้ง
ตลาดหุ้นโลกสัปดาห์นี้เชื่อว่ามีโอกาสผันผวน โดยประเด็นที่น่าจะมีอิทธิพลต่อการลงทุนหลักๆ
Trade war สหรัฐ-จีน ตลาดกลับมาสับสนอีกครั้ง หลังจากวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่า ตนยังไม่ได้ตอบตกลงว่าสหรัฐจะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน สวนทางกับความเห็นของทีมรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ (คือ ทีมงานทำเนียบขาว และกระทรวงพาณิชย์จีน) เผยว่าเห็นตรงกันที่จะทยอยยกเลิกภาษีอัตราเฉลี่ย 25% ที่ดำเนินมารวม 4 รอบตั้งแต่กลางปี 2561 (คาดจะค่อยๆยกเลิกเป็นรอบๆ) โดยให้น้ำหนัก 12 พ.ย. ประธานาธิบดีทรัมป์จะมีการแถลงที่ สมาคมเศรษฐศาสตร์ ที่ New York ให้น้ำหนักว่าจะมีให้รายละเอียดของการเจรจาการค้าสหรัฐกับจีนเพิ่มเติมอย่างไร ซึ่งน่าจะเป็นสัญญาณทิศทางของการเจรจาเซ็นสัญญาสงบศึกทางการค้าเฟส 1 ของทั้ง 2 ประเทศ ในการประชุม NATO ที่กรุง London ในวันที่ 3 ธ.ค. 2562
ความไม่แน่นอนข้างต้น ทำให้ ASPS ยังคงมุมมอง Trade war จะยังคงมีอยู่จนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงปลายปี 2563 ซึ่งเป็นประเด็นทำให้ตลาดผันผวน
การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐในอนาคต คือ 13 พ.ย.เงินเฟ้อสหรัฐเดือน ต.ค. ตลาดคาด 1.7%yoy ทรงตัวจากเดือน ก.ย. และในวันเดียวกันคำกล่าวสุนทรพจน์ของนาย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ต่อสภาคองเกรส จะมีการส่งสัญญาณนโยบายการเงินในอนาคตอย่างไร ทั้งนี้ในการประชุม Fed ครั้งล่าสุด Fed ได้ส่งสัญญาณชะลอการลดดอกเบี้ยไปจนถึงกลางปี 2563
Credit rating ของสถาบันจัดอันดับสำคัญ อาทิ Moody โดยล่าสุด คือ อังกฤษ Moody ได้ปรับลดความน่าเชื่อถือหนี้ภาครัฐของสหราชอาณาจักร คือปรับลดมุมมองเป็น Negative จากเดิม Stable และระดับ Credit rating ประเทศอยู่ที่ Aa2 เนื่องจากประเด็น Brexit เป็นประเด็นกดดันจากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าแรง
โดยรวมทั้ง 3 ประเด็นหนุนให้ Dollar index ยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า ขึ้นอยู่ที่ 98.35 จุด จากจุดต่ำสุด ส่งผลให้ค่าเงินในแถบเอเซียอยู่ในทิศทางอ่อนค่า โดยเฉพาะเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่า หลังจาก กนง.ได้ลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้งในปีนี้อยู่ที่ 1.25% และออกมาตรการชะลอค่าเงินบาทแข็งค่า เป็นปัจจัยชะลอ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย
Earning play...เน้นลงทุนหุ้นเติบโตดี
เข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายของการรายงานผลประกอบการงวด 3Q62 นับถึงค่ำวันศุกร์ที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียนประกาศงบแล้ว 141 บริษัท คิดเป็น 41% ของ Market Cap. ทั้งตลาด มีกำไรสุทธิรวม 1.16 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับงวด 2Q62 และงวด 3Q61 เฉพาะบริษัทที่รายงานงบแล้ว พบว่ากำไรลดลง 2.8%QoQ และ 15.0%YoY ตามลำดับ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเป็นรายหุ้นจะพบว่า ยังมีบริษัทที่มีผลประกอบการโดดเด่น และมีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดขาดปัจจัยหนุนใหม่ เชื่อว่าน้ำหนักการลงทุนน่าจะเกาะกระแส earning play จึงแนะนำลงทุนในหุ้น CPALL (FV@B 100) ดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังมีอีก 3 หุ้น คือ
STPI (FV@B 8.30) หนุนหลักจาก 3 ปัจจัย คือ 1) เป็นหุ้นที่ได้เข้าคำนวณในดัชนี MSCI 2) งวด 3Q62 จะพลิกกลับมามีกำไรสุทธิได้ราว 500-600 ล้านบาท จากการได้รับเงินชดเชยจากคดีความในต่างประเทศ 715 ล้านบาท และ3) ราคาน้ำมันที่สามารถยืนเหนือ 60 เหรียญฯ/บาร์เรล ทำให้บริษัทในธุรกิจพลังงานกลับมาพิจารณาลงทุนมากขึ้นจากที่ชะลอการลงทุนมาหลายปีก่อนหน้า ปัจจุบันมีโครงการที่ STPI เข้าไปร่วมประมูล มูลค่าเกือบ 2 แสนล้านบาท โดยงาน High potential ที่ STPI คาดหวังในช่วงสั้นๆ มี 4 โครงการ ประกอบด้วยงานโรงกลั่น 2 โครงการ และ LNG Module 2 โครงการ ซึ่งโครงการของไทยออยล์ น่าจะรู้ผลเร็วที่สุดในปีนี้ โดยที่ STPI เข้าไป Bid ทั้งหมด 9 packages มูลค่า 8-9 พันล้านบาท คาดว่าจะได้รับงาน 2-3 พันล้านบาท ส่วนโครงการอื่นๆน่าจะรู้ผล 1Q63 เป็นต้นไป ขณะที่ราคาหุ้นผ่านการปรับฐานลงมาแรง จน Upside เปิดกว้าง 35% จึงเป็นโอกาสเข้าซื้อเก็งกำไร
EA (FV’63@B 56.00) กำไรสุทธิ 3Q62 เท่ากับ 1.67 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.4%qoq สูงกว่าคาดเล็กน้อย เป็นผลจากกำไรปกติที่เติบโตจากโรงไฟฟ้าพลังลม ส่วน 4Q62 คาดกำไรปกติเติบโตต่อ QoQ มาอยู่ที่ราว 1.8-1.9 พันล้านบาท ทำระดับสูงสุดของปีนี้ในรายไตรมาส หลังโรงไฟฟ้าโซลาร์ (รวม 278 MW) ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ย 80% (สูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังลมซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ย 60%) จะกลับมาผลิตไฟได้สูงขึ้นตามฤดูกาลหลังหมดฤดูฝน ราคาหุ้นช่วงที่ผ่านมาได้ผ่านการปรับฐานสะท้อนปัจจัยกระทบต่างๆไปในระดับหนึ่งแล้วจนมี upside ที่จูงใจกว่า 25%
CPN (FV@B 94.00) ราคาหุ้น Laggard สวนทางพื้นฐาน ขณะที่กำไรปกติ 3Q62 คาดเติบโต และต่อเนื่อง 4Q62 หนุนด้วยศูนย์การค้าใหม่ I-City มาเลเซีย และ Central Village รวมถึงทยอยโอนฯ คอนโดฯ ใหม่ 4 โครงการ มูลค่า 3.5 พันล้านบาท ตั้งแต่ 3Q62 คาดกำไรปกติปี 2562 เพิ่ม 6.4% และต่อเนื่อง 7% ปี 2563 นอกจากนี้ ยังมีแผนการสร้าง Asset แล้วนำไปขายเข้ากอง REIT เป็นการช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ล่าสุด ได้มีจำหน่ายสิทธิการเช่า 5 ศูนย์การค้า มูลค่าไม่เกิน 4.86 หมื่นล้านบาท ทำให้ CPN รับรู้กำไรพิเศษ และนำกระแสเงินสดที่ได้ไปต่อยอดการลงทุนในโครงการใหม่เพิ่มมากขึ้น
CPALL หนึ่งใน Earning play น่าลงทุน
ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า CPALL กลับมาเป็นหุ้นน่าสนใจอีกครั้ง โดยเฉพาะปัจจัยหนุนระยะสั้นล่าสุดที่ได้ บริษัทย่อย MAKRO รายงานกำไร 3Q62 ทีดีกว่าคาด เติบโต 9.2% yoy (เทียบกับฝ่ายวิจัยคาด MAKRO เติบโต 1.7%yoy) ทั้งนี้ จากกำไร MAKRO ที่คิดเป็นสัดส่วนราว 30% ของกำไร CPALL ประกอบกับ ปัจจัยหนุนเฉพาะตัวของ CPALL ในงวด 3Q62 คาดยอดขายสาขาเดิมเติบโต 2% yoy จากผลบวกโครงการแสตมป์ (โดราเอมอน) ที่มีกระแสตอบรับดีกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการจัดโปรโมชั่นแสตมป์แห่งสยามที่ผลตอบรับไม่ดีนัก บวกกับ กลยุทธ์เพิ่มมาร์จิ้น ด้วยสินค้าและเครื่องดื่มพร้อมทานที่ปกติ CPALL ทำได้ต่อเนื่อง เชื่อว่ามีโอกาสหนุนให้กำไร 3Q62 ออกมาดีกว่าที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ที่ 9.3% yoy ขณะที่ระยะถัดไปช่วง 4Q62 จากการเข้าสู่ช่วง High season ของธุรกิจ บวกกับ การเติบโตจากการขยายฐานรายได้ค่าธรรมเนียมบริการใหม่ๆ อาทิ แบงก์กิ้ง เอเยนต์ และ รับส่งพัสดุ ที่ปริมาณธุรกรรมเริ่มมีนัยฯ หลังจากขยายธุรกิจมาได้ระยะหนึ่ง เชื่อว่าจะทำให้ยังเห็นพัฒนาการกำไรเติบโตได้ต่อเนื่อง
ขณะที่ปี 2563 คาดหวังการกลับมาเติบโตสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยหลักจากหนุนจากรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจบริการ ที่มีนัยฯมากขึ้น 2 ส่วนดังกล่าว และจะมีรายได้เสริมอีกส่วนจากบริการให้เช่าพื้นที่โฆษณากับ PLANB ที่จะรับรู้เข้ามา 1 พันแห่ง ปี 2563 จะช่วยชดเชยแรงกดดันการไปต่างประเทศของ MAKRO ที่ยังมีอยู่ในปี 2563 แต่จะเปลี่ยนมาเป็นประโยชน์ต่อ CPALL จากการเก็บเกี่ยวประโยชน์นับจากปี 2564 ซึ่งจะแรงหนุนกำไร CPALL เติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยราวปีละ 17.6%
ราคาที่ปรับฐานช่วงก่อนหน้า คาดสะท้อนแรงกดดันดัชนีความเชื่อมั่น (CCI) ที่ลดลง และประเด็นลบเฉพาะตัวหุ้นกู้ด้อยสิทธิคล้ายทุน จากมาตรฐานบัญชีใหม่ โดยคาดกรณีเลวร้าย หาก CPALL ต้องเปลี่ยนมาบันทึกเป็นหุ้นกู้ปกติจะกระทบกำไรเพียง 3.5% ของประมาณการ เนื่องจากราคาปัจจุบันซื้อขายระดับ PER’63 เพียง 25.8 เท่า ใกล้เคียง PER’63 กลุ่มค้าปลีกที่ 25.5 เท่า ถือว่าไม่สอดคล้อง หากเทียบกับฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง และมีศักยภาพเติบโตสูงสุดในกลุ่ม ภาพรวมจึงแนะนำ ซื้อ และเลือกเป็น Top picks กลุ่มค้าปลีก
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ