- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 01 November 2019 15:25
- Hits: 2524
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ไม่มั่นใจเจรจาการค้า น้ำมันปรับลง รอตัวเลขจ้างงาน”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : SYNEX (จาก Fully Valued เป็นซื้อ)
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -0.34 จุด ปิดที่ 1601.49 จุด มูลค่าการซื้อขายปานกลางเป็น 64.5 พันล้านบาท ดัชนีด้อยกว่าภูมิภาค มีแรงขายทำกำไรในช่วงท้ายตลาด หลังจีนประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิตและบริการที่ด้อยลง และเฟดไม่เร่งลดดอกเบี้ยในอนาคต ขณะที่รอติดตามเจรจาการค้าและผลประกอบการไตรมาส 3 ซื้อสุทธิรายเดียวคือ สถาบัน ขายสุทธิหนักเป็นต่างชาติ ตั้งแต่ต้นเดือนถึงปัจจุบันต่างชาติขายสุทธิเพิ่มเป็น 7.8 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์คือ
# ปัจจัยสำคัญ: ไม่แน่ใจเจรจาการค้า น้ำมันปรับลด รอตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร ปัจจัยลบคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (MPI) ทั้งสหรัฐและจีนยังย่อตัว เฟดลดดอกเบี้ย แต่ครั้งต่อไปไม่รีบ รอดูตัวเลขเศรษฐกิจ ทองคำ และพันธบัตรปรับขึ้น เข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัย เศรษฐกิจไทย ก.ย.ชะลอตัว ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านปรับลง ปัจจัยบวกคือ กรมที่ดินคาดใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ 1 พ.ย.62
# ระยะสั้นคาด SET- มีโอกาสแกว่ง Sideway Down ADVANC แม้กำไรแกร่ง แต่ ARPU ทรงตัว q-o-q อาจกดดันราคาหุ้น แต่แนะนำทยอยซื้อ การประชุม กนง.คาดลดดอกเบี้ย สัปดาห์หน้า กรมที่ดินคาดเริ่มใช้มาตรการกระตุ้น 1 พ.ย. ติดตามราชกิจจาฯจะออกมาทันหรือไม่ แต่ดีกว่าไปเริ่ม 1 ม.ค.63 เพราะจะดึงโอนล่าช้า การลงทุนยังเน้นหุ้น Defensive ปันผลสูง และ Domestic Play หลังเศรษฐฺกิจชะลอ คาด SET ซื้อขายในกรอบ 1580-1620 จุด แนวต้านเป็น 1610-1620 จุด แนวรับอยู่ที่ 1590-1560 จุดStop Loss ต่ำกว่า 1600 จุด การเข้าเก็งกำไรควรเข้าไว-ออกไว กลยุทธ์ คือ เลือกลงทุนทยอยสะสม เป็นรายกลุ่มและรายตัว (Selective) ตาม Themeเป้าหมายดัชนีปีนี้ 1680 ปีหน้า 1725 จุด หุ้นได้ประโยชน์มาตรการรัฐ-CPALL,BJC,AMATA,WHA,CK,STEC ดอกเบี้ยขาลง- DIF, CRYSTAL, TPRIME, WHART,MTC, SAWAD ปันผลสูง- KKP,TISCO,AP,ORI หุ้น DEFENSIVE- ADVANC,BTS,BEM ได้ประโยชน์ IMO 2020- TOP ตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัว รัฐกระตุ้นท่องเที่ยว-AOT,ERW,MINT กลุ่มการแพทย์ 3Q ฤดูกาลดีที่สุดในรอบปี อากาศผันผวนสูง - CHG,RJH,RPH
# Stock Pick Today : DREIT คาดว่าจะดีดตัวกลับมาได้หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวไทยกลับมาลดลงตามสหรัฐ Yield Spread สูงขึ้น ข้อดีกองทุนมีรายได้Fixed อยู่ที่ 429 ล้านบาท (รวมมัลดีฟส์) คงที่ไปถึงปี 2574 (อีก 12 ปีข้างหน้า) และคงที่ 224 ล้านบาทไปถึงปี 2583 (รายได้จากโรงแรมเดิม คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ หัวหิน ไม่เป็นคงที่เหลือแต่ของมัลดีฟส์) แต่ก็ถือว่ามีความมั่นคงสูงมาก คาดการณ์อัตราผลตอบแทนปันผลปีนี้และปีหน้าสูงเป็นปีละ 6.8% แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 7.80 บาทราคาปิดมีส่วนเพิ่มอีกถึง 20%
การวิเคราะห์ทางเทคนิค: ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators กลับมาให้ภาพ(ที่ยัง)ลบเล็กๆ {“ปิดลบเล็กน้อย”ใต้“SMA10วัน” (โดยยังถูกกดดันจาก“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่ง”แบบให้น้ำหนักกับการลง แต่“ค่าบวก”(มี“Oversold”ในกราฟรายนาที“หนุน”) จะช่วยให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1610 (หรือ 1620) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1600” (แนวรับย่อย “1590 – 1580 / 1550” จุด)} หุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคทำ New High เข้ามาใหม่คือ ESSO,SISB,COM7,M ที่ยังอยู่ใน List คือ DIF,CHG,BEM,JMT,BCH,RPH หุ้นหลุด List คือ AMATA,PTT หุ้นอยู่ในพื้นที่ Take Profit คือKBANK,PTTGC
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Company Guide : ADVANC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 266.00)
COM7 (ถือ -ราคาพื้นฐาน 27.25)
LPN (Fully Valued -ราคาพื้นฐาน 4.10)
SYNEX (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 8.70)
Flash Note : RPH (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 8.40)
Turnover List Watch : คาด GPSC มีโอกาสสูงติด Cash Balance 6 สัปดาห์ ระวังการเข้าเก็งกำไร
In the News: ธปท.เผยเศรษฐกิจไทย เดือน ก.ย. 62 และ Q3/62 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
-เจรจาการค้า: นักลงทุนวิตกกังวลและสับสนต่อสัญญาณที่ขัดแย้งกันในเรื่องการเจรจาการค้า
# นักลงทุนวิตกกังวลและสับสนต่อสัญญาณที่ขัดแย้งกันในเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า เจ้าหน้าที่จีนมีความไม่มั่นใจเกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าในระยะยาวกับสหรัฐ ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ทวีตข้อความเมื่อวานนี้ว่า เขาจะประกาศสถานที่ซึ่งเขาจะลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกกับผู้นำจีนในอีกไม่ช้า หลังชิลีถอนตัวเจ้าภาพเอเป็ก หลังมีเหตุประท้วงรุนแรง
• ญี่ปุ่น : BOJ มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
# ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในการประชุมวันนี้ โดยได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และคงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวไว้ใกล้ระดับศูนย์ พร้อมกับคงโครงการซื้อสินทรัพย์จำนวนมากเอาไว้เช่นกัน
-สหรัฐ: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ร่วงเป็น 43.2 ในเดือนต.ค. ต่ำสุดนตั้งแต่ ธ.ค.58
# MNI Indicators เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก ร่วงลงสู่ระดับ 43.2 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2558 จากระดับ 47.1 ในเดือนก.ย. โดยดัชนี PMI เขตชิคาโกถือเป็นดัชนีชี้นำที่สำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งคำนวณจากการผลิต, คำสั่งซื้อใหม่, การจ้างงาน และข้อมูลเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าของซัพพลายเออร์
-จีน: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการเดือนต.ค.อ่อนลงไปอีก
# สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนต.ค. อยู่ที่ระดับ49.3 ลดลงจากระดับ 49.8 ในเดือนก.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 49.8
# ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนต.ค.อยู่ที่ระดับ 52.8 ร่วงลงจากระดับ 53.7 ในเดือนก.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 53.6
# ทั้งนี้ ดัชนีที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนอยู่ในภาวะหดตัว และหากดัชนีเคลื่อนไหวเหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว
# ผลกระทบ: เศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบทางลบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ล่าสุดมีข่าวว่าผู้บริหารทางจีนจะมีการพูดคุยกันกับทางสหรัฐผ่านทางโทรศัพท์ในวันศุกร์และการเจรจายังไปได้ด้วยดี ต้องติดตามการลงนามสหรัฐ-จีนในเฟส 1ว่ายังจะทันการประชุมเอเปคหรือไม่ ธนาคารชาติหลายประเทศได้มีการลดดอกเบี้ย และผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อประคองเศรษฐกิจไม่ให้ยิ่งตกต่ำ
+/- เฟด : ปรับลดดอกเบี้ยตามคาด แต่ไม่ส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยเร็ว
# คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติ 8-2 เสียง ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงอีก 0.25%สู่ระดับ 1.50-1.75% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ โดยเฟดระบุว่า ตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการปรับตัวขึ้นในระดับปานกลาง
# อย่างไรก็ดี เฟดส่งสัญญาณพักวงจรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ โดยแถลงการณ์จากการประชุมครั้งนี้ เฟดได้ถอดประโยคสำคัญออก ซึ่งระบุว่า "เฟดจะดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" โดยประโยคดังกล่าวได้ปรากฎในแถลงการณ์เฟดนับตั้งแต่การประชุมในเดือนมิ.ย.
- ดัชนีหุ้นสหรัฐ: ปรับลง กังวลต่อทิศทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 27,046.23 จุด ลดลง 140.46 จุด หรือ -0.52% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่3,037.56 ลดลง 9.21 จุด หรือ -0.30% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,292.36 จุด ลดลง 11.62 จุด หรือ -0.14%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (31 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อทิศทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากทั้งสองฝ่ายได้ออกมาส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกัน นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของภาคการผลิตทั้งในสหรัฐและจีน ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในคืนนี้
• สหรัฐ: ติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร
# นักลงทุนจับตากระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ในวันนี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งคาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค.จะเพิ่มขึ้นเพียง 85,000-89,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 136,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.6% จาก 3.5% ในเดือนก.ย.
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจประกาศสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในคืนนี้ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนต.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนต.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนต.ค.
- น้ำมัน: WTI ปรับลง กังวลน้ำมันล้นตลาด กังวลเจรจาการค้า
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 88 เซนต์ หรือ 1.6% ปิดที่ 54.18 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 38 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 60.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (31 ต.ค.) ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด หลังจากมีรายงานว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นในเดือนต.ค. และสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่งขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศษฐกิจจีน และความไม่มั่นใจต่อการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
- ทองคำ: ปรับขึ้น หลังดอลลาร์สหรัฐมีการอ่อนค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 18.1 ดอลลาร์ หรือ 1.21% ปิดที่1,514.8 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (31 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างสหรัฐและจีน นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุด
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+/• อสังหาริมทรัพย์: กรมที่ดินประกาศใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ 1 พ.ย.62
# กรมที่ดินประกาศใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ 1 พ.ย.62 สำหรับการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง บ้านต่ำกว่า3 ล้านบาท
# ผลกระทบ: เป็นบวก หากราชกิจจานุเบกษาออกมาเร็ว ข้อดีคือ ไม่เกิดภาวะการชะลอโอน เพราะจะช่วยประหยัดให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยได้ กำไรของผู้ประกอบการ 4Q62 ก็จะกระทบน้อย เนื่องจากหากเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาฯล่าช้า เช่นไปเริ่ม 1 ม.ค.63 ก็จะเกิดผลลบได้ สำหรับหลักทรัพย์ที่ทำบ้านต่ำกว่า 3 ล้านบาท เช่น LPN, SPALI, PSH, AP และ ORI เป็นต้น
-เศรษฐกิจไทย : ก.ย. 62 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่อง
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงเศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน 2562 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัว ขณะที่เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวตามรายจ่ายลงทุน และภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและอินเดียเป็นสำคัญ
-ธปท.คาดการขยายตัว GDP 3Q62 อาจไม่ได้ตามเป้าหมาย
# ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการประเมินตัวเลขล่าสุดการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2562 มีแนวโน้มจะไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.9% เนื่องจากการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนไม่ได้ขยายตัวตามที่คาด โดยแนวโน้มการส่งออกช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 ลดลง -2.7% หากจะทำให้การส่งออกทั้งปีได้ตามเป้าที่คาดไว้ที่ -1% การส่งออกในไตรมาส 4 จะต้องขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ส่วนจะมีผลให้เศรษฐกิจทั้งปีเป็นไปตามเป้าที่ 2.8% หรือไม่ จะต้องขอดูภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 4 อีกครั้ง
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]