- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 28 October 2019 23:18
- Hits: 2425
บล.บัวหลวง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
เมื่อวานศุกร์...อีกครั้งของวันแดงเดือด: หุ้นโรงไฟฟ้าถูกขายหนักเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ เป็นหุ้นกลุ่มเดิมที่ไม่ได้เหนือความคาดหมาย อย่าง รับเหมา ปิโตร โรงกลั่น กดดันให้ดัชนีฯหลุดจุดตัดขาดทุน 1,610 จุด ลงมา ปิด 1,593 จุด
วันนี้ คาดรีบาวด์ แต่ระวัง : หลังหลุด 1610 จุด แล้ว คาดว่ามีโอกาสที่ดัชนีฯจะลงต่อได้อีกขา เพื่อทดสอบ หรือสร้างฐานแถว 1550/1540 จุด กลยุทธ์ แนะนำ กระชับพอร์ตก่อน รอให้ฝุ่นเริ่มจาง ค่อยเข้าเก็บหุ้น สัปดาห์นี้ คาดต้นสัปดาห์ตลาดหุ้นไทยยังคง เผชิญแรงขาย ต่อเนื่องจากวันศุกร์ (Force sell) และหุ้นนำลง คาดได้แก่ ปิโตร โรงกลั่น ธนาคาร โรงไฟฟ้า รับเหมา (คือ หุ้นที่ลงแรงเมื่อ 2 วันทำการที่ผ่านมา)
สำหรับปัจจัย ที่ทำให้ตลาดลงแรงผิดคาด หลุด 1,610 ลงมา คือผิดหวัง และ กังวลกับ ผลการดำเนินงานของหุ้นตัวอื่น ที่อาจจะแย่ตาม "ธนาคาร" ซึ่งธนาคารเป็นตัวแทนของอีกหลายธุรกิจที่เชื่อมโยง
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเร่งให้เกิดการถือเงินสดเพื่อรอความชัดเจน ในอีกหลายประเด็น ได้แก่ ผลประชุมเฟด 30-31 ต.ค., การลดดอกเบี้ยของ กนง. 6 พ.ย., MSCI Rebalance เดือน พ.ย., การพบกันระหว่าง ปธน.จีน สหรัฐฯ 16-17 พ.ย. เป็นต้น
What to watch
(+/-) สำหรับ งบ 3Q ที่จะประกาศสัปดาห์สุดท้ายของเดือน (28-31 ตค.) คาดมี SCC PTTEP HMPRO THCOM ADVANC INTUCH ดูคาดการณ์
(+/-) สหรัฐตัดสิทธิ์ GSP ไทย : ในข้อเท็จจริงแล้ว บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น อย่าง TU CPF และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีใครที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ผ่านสิทธิ์ GSP เลยมาก่อน ดังนั้น จึงไม่ได้กระทบต่อพื้นฐาน แต่ ในมุมมองกลยุทธ์ เรามองว่า ในห่วงโซ่ทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจ จะได้รับผลกระทบจากการตัดสิทธิ์ครั้งนี้แน่ไม่มากก็น้อย ซึ่งจะมีผลต่อความเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยให้ลงไปได้อีก
(+/-): ปัจจัยหลักที่ตลาดรอ ความชัดเจน : หลายเรื่องคาดทำให้ นลท.หยุดการซื้อหุ้นกลับในช่วงนี้ (บางส่วนอาจขายเพื่อรอให้ชัดเจนเสียก่อน)
1. เฟด ลดดอกเบี้ย และสัปดาห์หน้า กนง.ลดตาม: การประชุม เฟด 30-31 ตค. คาดเฟดลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% เหลือ 1.5-1.75% นอกจากนี้ ยังมีความคาดหวังว่าจะมีรายละเอียด เรื่องการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติม จากรายงานประชุม เฟด เมื่อ 11 ตค.ที่ผ่านมาด้วย และประชุม กนง. 6 พย.คาด ลดดอกเบี้ยลง 0.25% เหลือ 1.25% ซึ่งการลดดอกเบี้ยลง จะส่งในระหว่างสัปดาห์นี้ จะมีผลต่อความคาดหวังเชิงบวกหุ้นสินเชื่อบุคคล / และผลเชิงลบต่อกลุ่มธนาคาร
2. การพบกันระหว่าง ปธน.จีน-สหรัฐฯ บนเวที APEC 16-17 พย. (ว่าจะมี ทางออกของปัญหาสงครามการค้าหรือไม่)
3. รายงานงบ 3Q19 (โอกาสเห็นงบ ดีกว่าคาด หรือ แย่กว่าคาด และการขายหลังงบออก หรือ Sell on fact)
4. MSCI rebalances การเพิ่ม นน.หุ้นจีน ครั้งที่ 3 ในเดือน พย.ตามแผนของปีนี้ที่จะให้มีการเพิ่ม นน.หุ้นจีน และรวมคำนวณหุ้นซาอุฯ ใน MSCI EM เป็นครั้งแรก (กลัวหุ้นตกเหมือนเดือน พค. และ กย.ที่หุ้นในภูมิภาค รวมไทย ถูกเบียด นน.ลง)
หุ้นแนะนำวันนี้
PRM แนวรับ 8/7.9 แนวต้าน 8.5 Stop loss 7.7
Weekly port
เพิ่ม PRM
รายงานวันนี้
กลุ่มขนส่ง (ภาคพื้นดิน) หุ้นปลอดภัยที่มีปัจจัยหนุน
คาดกำไร 3Q19 ของ BEM ที่ 831 ล้านบาท (ลดลง 8%YoY เพราะการรับรู้ค่าใช้จ่ายของรถไฟฟ้าสายสีน้าเงินส่วนต่อขยาย แต่เพิ่มขึ้น 17%QoQ เพราะปัจจัยฤดูกาลของทางด่วนช่วยหนุน) สำหรับ BTS เราคาดกำไร 2Q19 (Jul-Sep) ที่ 817 ล้านบาท (โต 81%YoY จากธุรกิจขนส่งที่ดีขึ้น แต่ลดลง 18%QoQ เพราะไตรมาสก่อนหน้ากำไรของ U-City สูงเป็นพิเศษ) หุ้นรถไฟฟ้าทั้ง 2 นี้ มีความ defensive ในตัวเอง ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหนุนจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง
มุมมองพื้นฐาน: นักวิเคราะห์เราแนะนำ ซื้อ ทั้ง BTS (ราคาเป้าหมาย 15 บาท) และ BEM (ราคาเป้าหมาย 12.6 บาท) และให้มุมมองว่า BTS มีปัจจัยหนุนในระยะสั้นคือโอกาสที่บริษัทร่วมทุนจะชนะการประมูลสนามบินอู่ตะเภา
มุมมองกลยุทธ์: ด้วยลักษณะธุรกิจที่เป็น defensive เรามองว่าราคาหุ้น BEM และ BTS จะแข็งกว่าตลาด นักลงทุนที่มีอยู่แล้วแนะ let profit run หากจะหาจังหวะซื้อ แนะทยอยสะสมบริเวณแนวรับทางเทคนิค
กลุ่มอาหาร สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้ทำการประกาศเพิกถอนสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสินค้า (GSP)
CPF และ TU: กุ้งและปลาหมึกส่งออกจากไทยไม่เคยได้รับ GSP จากประเทศสหรัฐฯ ส่งผลให้ธุรกิจกุ้งส่งออกของทั้ง CPF และ TU จากประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐฯ ไม่ได้รับผลกระทบทางลบใดๆ
ณ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กุ้งของ CPF ที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐฯ คิดเป็น 0.3% ของยอดขายรวมของ CPF ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของ TU (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกุ้งส่งออก ตามมาด้วยปลาทูน่าและปลาหมึก) ที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐฯ คิดเป็น 17% ของยอดขายรวมของ TU
ถึงแม้ว่าการเพิกถอน GSP ข้างต้นจะครอบคลุมปลาทูน่าสคิปแจ็ค แต่ TU ยืนยันว่าบริษัทไม่เคยได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี GSP สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ TU ส่งออกจากประเทศไทยไปยังสหรัฐฯ เลยแม้แต่รายการเดียวในอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นการเพิกถอน GSP ข้างต้นจึงไม่ได้ส่งผลกระทบทางลบใดๆ ต่อ TU ทั้งสิ้น
KSL: ในส่วนของ KSL ได้รับผลกระทบน้อยมากเช่นเดียวกัน โดย KSL ส่งออกน้ำตาลไปยังประเทศสหรัฐฯ คิดเป็นประมาณ 1 พันตันต่อปี หรือคิดเป็นเพียงแค่ 0.1% ของวอลุ่มส่งออกน้ำตาลของ KSL ต่อปีซึ่งอยู่ที่ 9 แสนตันในปี 2018 ปริมาณยอดส่งออกน้ำตาลไปที่สหรัฐฯ ของ KSL ที่ 1 พันตันต่อปีคิดเป็น 7-8% ของโควต้ารวมของทั้งประเทศไทยที่สามารถส่งออกน้ำตาลไปยังประเทศสหรัฐฯ ได้ซึ่งอยู่ที่ 1.4 หมื่นตันต่อปี
มุมมองพื้นฐาน: จากการวิเคราะห์ธุรกิจและสัดส่วนรายได้ข้างต้น พื้นฐานมองว่าผลกระทบต่อกำไรจะจำกัด และคงคำแนะนำ ซื้อ ในเชิงพื้นฐานสำหรับ CPF และ TU
มุมมองกลยุทธ์: เรามองว่าราคาหุ้นจะถูกกระทบจากประเด็นดังกล่าว แม้ว่าพื้นฐอนมองว่ากนะทบกำไรจำกัดก็ตาม ดังนั้นกลยุทธ์แนะ หลีกเลี่ยง
TRUE คาดครึ่งหลังกำไรหลักยังเป็นบวกต่อเนื่อง
เราประเมินกำไรสุทธิ 3Q19 ที่ 7.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,407% YoY และ 598% QoQ หากไม่รวมกำไรจากการขายสินทรัพย์เข้า DIF คาดกำไรหลักจะอยู่ที่ 620 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 74% YoY แต่ลดลง 32% QoQ โดยเราคาดกำไรหลักจะเติบโต YoY จากรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้น และการควบคุม SG&A (โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายทางการตลาดและค่า Subsidy)
มุมมองพื้นฐาน: ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมากว่า 26% จากจุดสูงสุดในเดือน ก.ค. คาดเป็นผลจากความกังวลเรื่องการแข่งขันหลังจากมีการออกโปรโมชั่น fixed-speed unlimited อีกครั้ง อย่างไรก็ตามเรามองว่าเป็นแค่ระยะสั้น และภาพการแข่งขันโดยรวมนั้นดีขึ้นในปี 2019 เรายังคงคำแนะนำ ซื้อเก็งกำไร ราคาเป้าหมาย 7.90 บาท
มุมมองกลยุทธ์: กำไรที่โดดเด่นจากการขายสินทรัพย์เข้า DIF อยู่ในความคาดหวังของตลาดอยู่แล้ว เรามองว่างบรอบนี้ตลาดจะ focus ที่กำไรหลัก (ที่ไม่รวมกำไรพิเศษ) ซึ่งจากที่นักวิเคราะห์เรามองว่าจะโตได้ YoY นั้นเป็นสัญญาณที่ดีของธุรกิจ ปัจจุบันราคาหุ้นอยู่ในโครงสร้างขาลง แนะรอซื้อบริเวณ 4.70-4.80 บาท (และเผื่อ stop loss 4.50 บาท)
หุ้นมีข่าว
ECON 0/-
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กรณีสหรัฐฯตัดสิทธิทางภาษีศุลกากรทางการค้า (GSP) สินค้าไทยบางรายการที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 เม.ย.63 นั้น ปัจจุบันนี้สหรัฐฯให้สิทธิ GSP สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ รวมทั้งหมดราคา 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไทยไม่ได้ใช้สิทธิเต็มตามจำนวนที่ให้สิทธิ โดยใช้สิทธิแค่ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ส่งออกไปในทุกวันนี้
ซึ่งประเด็นของการจากตัด GSP หมายความว่าต่อไปนี้สินค้าของไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ จำนวนยอดขายรวมกัน 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ นั้นจะต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ จากเดิมที่ไม่ต้องเสียภาษี ภาษีที่ต้องเสียตก 4-5% โดยประมาณ ซึ่งทั้งหมดนี้หมายความว่าต่อไปนี้สินค้าไทย ที่จะส่งไปขายสหรัฐฯจะต้องมีภาระภาษีแทนที่จะไม่ต้องจ่ายภาษี ซึ่งภาระทางภาษีแต่ละปี เมื่อคำนวณแล้วตกประมาณ 1,500 ถึง 1,800 ล้านบาท/ปี
ส่วนกรณีที่ไทยแบน 3 สารเคมีอันตรายก่อนหน้านี้ เท่าที่ติดตามไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการถูกตัดสิทธิ GSP ครั้งนี้สิ่งที่ไทยทราบเป็นทางการ คือ เกี่ยวกับประเด็นแรงงาน สรุปว่าสิ่งที่สหรัฐฯอ้างในการตัดสิทธิ GSP ไม่เกี่ยวกับการแบน 3 สารเคมีอันตรายแต่อย่างใด (ที่มา อินโฟเควสท์)
ECON
0 (0) ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า กรณีที่สหรัฐอเมริกาจะตัดสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสินค้า (GSP) ของไทยในอีก 6 เดือน โดยอ้างว่าประเทศไทยไม่สามารถแก้ปัญหาแรงงานให้เป็นไปตามหลักสากลได้นั้น ยืนยันว่าการดำเนินการคุ้มครองแรงงานของกระทรวงแรงงานเป็นไปและสอดคล้องตามหลักมาตรฐานสากล โดยกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลคุ้มครองแรงงานทุกคน เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์และความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน (ที่มา: อินโฟเควสท์)
TU
0 (0) นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป เปิดเผยว่า กรณีที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกาประกาศเพิกถอนสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสินค้า (GSP) สำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศไทยไปยังสหรัฐฯหลายรายการ ซึ่งครอบคลุมถึงสินค้าอาหารทะเลจากไทยบางรายการด้วยนั้น ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบกับการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากสินค้าอาหารทะเลหรืออาหารสัตว์ที่ไทยยูเนี่ยนจำหน่ายในสหรัฐฯ ไม่ได้อยู่ภายใต้ GSP ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน (ที่มา: อินโฟเควสท์)
โรงแรม
0/+ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำงานกมธ.การสื่อสารฯ ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประชุม กมธ.การสื่อสารฯ ได้พิจารณา ศึกษากรณีผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวได้รับความเดือดร้อน จากการเรียกเก็บค่าดำเนินการของบริษัทสำรองที่พักออนไลน์ ในอัตราร้อยละ 10-20 โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการเจ้าของกิจการโรงแรม เข้าให้ข้อมูล พบว่า ผู้ประกอบการมองว่าการเรียกเก็บค่าดำเนินการที่จะต้องชำระในอัตราประมาณ ร้อยละ 20 ของรายได้ในการสำรองห้องพัก เป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการ และกลุ่มบริษัทสำรองที่พักออนไลน์ส่วนใหญ่มีสำนักงานใหญ่อยู่ต่างประเทศ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า รายได้ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการได้ดำเนินการเสียภาษีหรือไม่ (ที่มา เดลินิวส์)
CPF TFG TU
0/- แบน 3 สารพิษเคมีเกษตรบานปลาย หลังกระทรวงเกษตรฯสหรัฐทำหนังสือถึง "ประยุทธ์" ขอชะลอการแบน "ไกลโฟเซต" พร้อมขู่กระทบการค้ากากถั่วเหลือง-ข้าวสาลี-กาแฟ-องุ่น-แอปเปิล เพราะมีการใช้ในพืชเหล่านี้ ร้อนถึงสมาคมอาหารสัตว์-น้ำมันถั่วเหลือง เต้น กลัวขาดวัตถุดิบ เสียหายหลายแสนล้าน (ที่มา ประชาชาติธุรกิจ)
GUNKUL
+ ใกล้ปิดดีลซื้อโซลาร์ฟาร์มในประเทศเวียดนาม 60 เมกะวัตต์ คาดเดือนหน้าจบ หนุนจำนวนเมกะวัตต์ในพอร์ตเพิ่ม พร้อมเจรจาลูกค้ารับงานโซลาร์รูฟท็อปต่อ (ที่มา: ทันหุ้น)
CK
+ รอลุ้นรับงานก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท (ที่มา: ข่าวหุ้น)
Trend Forecasting
SET Index ปิด 1,593.28 (-1.71%) มูลค่าการซื้อขาย 7.6 หมื่นล้านบาท
แนวโน้มระยะสั้นมอง
SET Index แนวรับ 1,580 แนวต้าน 1,600/ SET100 รับ 2,320 ต้าน 2,350 BSET100 รับ 10.40 ต้าน 10.50 / BMSCITH รับ 11.55 ต้าน 11.70
หัวข้อ: สองหุ้น Hot แบงค์&โรงไฟฟ้า....เล่นผิดฟอร์มแบบนี้ต้องระวังหรือไม่!
กลยุทธ์เทคนิค:
ส่องกล้องหุ้น Hot แบงค์และโรงไฟฟ้า ปลายสัปดาห์ที่แล้วลงแรงทั้งคู่ ฉุด SET หลุด 1600 เริ่มต้นจากกราฟแบงค์ดูยาวๆรายเดือน เห็นแบบนี้ตกใจได้เลย เพราะดัชนีลงมาใกล้จุดต่ำสุดที่เคยทำไว้เมื่อปี 2016 นอกจากนี้ RSI ลงเกือบถึงจุด Oversold หากย้อนไปก็สมัย Subprime 2009 ขณะที่หุ้นโรงไฟฟ้าเพิ่งจะโดนตุ้ยลงมาเมื่อวันศุกร์นี่เอง แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ สัญญาณ Overbought และDivergence เตือนปลายทางขาขึ้น สรุป:แบงค์อาจน่ากลัวน้อยกว่าโรงไฟฟ้าที่เพิ่งเริ่มลง
มุมมองทางเทคนิค:
สรุปหุ้นแนะนำประจำสัปดาห์ 21-25 ต.ค. ดูจากโปรแกรม iTracker ภาพรวม SET -1.7% หุ้นขายตัดขาดทุน TCAP หุ้นคงเหลือ DTAC, TACC, TQM, JAS, BCH และ MAJOR ถือลุ้นต่อ ส่วนหุ้นเพิ่มสัปดาห์นี้ ได้แก่ BEM ขณะที่ MAJOR และ BCH แนะโหลดเพิ่ม BGRIM หุ้นกำไรสูงสุด 25% ถือมาระยะเวลา 1 เดือนเต็ม ได้เวลาล๊อคกำไรเสียที....
วิธีการเลือกหุ้น:
โครงสร้างตลาดเกิดความเสี่ยงหลังจากหลุด Low 1600 จุด แนะใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับภาวะขาลง ได้แก่ EMA, Stochastic, MACD, , Price pattern
*Overbought&Divergence* Utility sector
โมเดลพอร์ตทางเทคนิค:
สรุปผลตอบแทนการลงทุน Year to date +9.98% สูงกว่าตลาดที่ +3.65%
*Addition(หุ้นเพิ่ม): BEM,
*Deletion(หุ้นออก): BGRIM, CPALL, KKP, TFG, TRUE
หุ้นคงเหลือ: MTC, AOT, JMART, DTAC, MAJOR, TQM, TACC, JAS, BCH
ธนรัตน์ อิศรกุลนักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์และปัจจัยทางเทคนิค
[email protected] +662-618-1334
Track with Technical: "Save play"
BEM (BEM01C2004A)
แนวโน้ม เส้นนี้เอาอยู่
รับ 10.60
ต้าน 11.50
เหตุผล BEM ยืนยันโครงสร้างขาขึ้นปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวได้อย่างแข็งแกร่ง Stochastic แสดงสัญญาณกลับตัว
MAJOR
แนวโน้ม หุ้นสวนตลาด
รับ 25.00
ต้าน 29.00
เหตุผล สัญญาณกลับตัว Bull EMA แล้วตามมาด้วย Bull MACD คล้ายรูปในอดีตซึ่งราคาขึ้นได้ดีทีเดียว
BCH (BCH01C2001A)
แนวโน้มรูปแบบขาขึ้น
รับ 16.20
ต้าน 18.00
เหตุผล แม้ราคาปิดลง แต่หุ้นยืนเหนือเส้นแนวโน้มได้อย่างแข็งแกร่ง ยืนยันรูปแบบขาขึ้นสนับสนุนด้วย MACD> 0