- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 28 October 2019 23:16
- Hits: 2143
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : Need to KNOW
Need to KNOW
ปัจจัยต่างประเทศ ปัจจัยในประเทศ
- ทรัมป์สั่งกองทัพสหรัฐปฎิบัติการบุกโจมตีหัวหน้ากลุ่ม IS ในซีเรีย แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าหัวหน้ากลุ่ม IS เสียชีวิตหรือไม่
- รัสเซียกล่าวหาสหรัฐลักลอบขนส่งน้ำมันจากตอ.ของซีเรีย โดยได้รับการคุ้มกันจากบ.ด้านการทหาร และกองกำลังปฎิบัติการพิเศษทั้งนี้ต้นทุนน้ำมันที่ลักลอบนำออกมาอยู่ที่ 38 US$/bbl
+/- ราคาน้ำมันอาจพุ่งถ้าความไม่สงบในตะวันออกกลางรุนแรงขึ้น ซึ่งการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบเป็นบวกกับกลุ่มก๊าซ & น้ำมัน(หุ้นเด่น PTTEP) แต่เป็นลบกับเศรษฐกิจโดยรวม
- กำไรภาคอุตสาหกรรมของจีนงวด 9M62 ลดลง -2.1%YoY(เฉพาะเดือนก.ย. -5.3%YoY) สะท้อนเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง ทางIMF ปรับคาดการณ์ GDP Growth จีนปี 62 เป็น 6.1% ปีหน้า 5.8%
+ ECB เริ่มทำ QE ตั้งแต่พ.ย.62 ที่ 2 หมื่นล้านยูโร/เดือน ไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด และคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.5% (มติ 24 ต.ค.)
+ ประชุม FED 30 ต.ค.นี้...โอกาสที่จะลดดอกเบี้ย 0.25% อยู่ที่90.4% คาดเดินหน้าขยายงบดุลต่อเนื่อง หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว แต่อัตราเงินเฟ้อยังไม่สูง
+ ประชุม BOJ 31 ต.ค.62 โอกาสที่จะลดดอกเบี้ย 64.2% (ปัจจุบันอยู่ที่ -0.1%) เพราะศก.ซบเซาอยู่แล้วแล้วยังเจอน้ำท่วมหนักอีกด้วย
+ ทรัมป์คาดจะลงนามข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนช่วง16-17 พ.ย.62 ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดงานประชุมเอเปค ประเทศชิลี
• ติดตาม Brexit ว่า EU จะตัดสินใจเลื่อน deadline Brexit ออกไปจาก 31 ต.ค.62 ไปเป็น 31 ม.ค.63 หรือไม่
- เมื่อ 25 ต.ค.62 สหรัฐประกาศตัด GSP สินค้าส่งออกไทย 573รายการ (40% ของจำนวนสินค้าที่ได้ GSP) มีผล 25 เม.ย.63สินค้าไทยจะถูกเก็บภาษีเพิ่มเฉลี่ย 4.5% ทางก.พาณิชย์คาดต้นทุนส่งออกไทยเพิ่ม 50.33 ล้านUS$ คิดเป็น 0.01% ของมูลค่าส่งออกรวม แต่ผลกระทบอาจจะมากกว่านี้เพราะปริมาณส่งออกไปสหรัฐน่าจะลดลงจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น
• TU ระบุบริษัทไม่ถูกกระทบอย่างที่กังวลกัน เพราะอาหารทะเลและอาหารสัตว์ที่ TU จำหน่ายในสหรัฐ ไม่มี GSP อยู่แล้ว
• ASIAN ได้รับผลกระทบแต่ไม่รุนแรง เพราะสินค้าส่งออกหลักไม่ได้อยู่ในพิกัดที่ถูกตัด GSP อย่างไรก็ตาม ธุรกิจถูกกระทบจากบาทแข็ง จึงแนะนำ Fully Valued
- IMF ลดคาดการณ์ GDP Growth ของไทยปีนี้ลงเป็น +2.9%และปี 63 เป็น +3.0% และคาดเงินเฟ้อปีนี้ 0.8%
•/- ธปท.รายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือนก.ย. คาดว่าจะยังซบเซาจากส่งออกติดลบ การบริโภคขยายตัวจำกัด การลงทุนเติบโตไม่มาก แต่เสถียรภาพเศรษฐกิจดี
+ มีโอกาสที่กนง.จะลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม 6 พ.ย.62 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศต้องการแรงกระตุ้นต่อเนื่อง..ซึ่งดอกเบี้ยต่ำเป็นบวกกับหุ้นปันผลสูงและกลุ่ม REITs
+/- ผลประกอบการ 3Q62F ของ Real Sectors…ซึ่งสิ่งที่ควรระวังคือ Sell on Fact เมื่อผลประกอบการจริงออกมา
กลยุทธ์การลงทุน หุ้น Top Picks รายสัปดาห์
สรุปภาพรวม : น้ำหนักปัจจัยค่อนไปทางลบ ในประเทศ ลุ้นการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 63 วาระ 2-3, ผลประกอบการ3Q62 ที่อ่อนแอลง YoY และสหรัฐเริ่มจัดการไทยด้วยการตัด GSPสินค้าส่งออก 573 รายการ ภายนอก กังวลความขัดแย้งในตะวันออกกลาง การประท้วงในฮ่องกงที่มีสหรัฐเกี่ยวข้องด้วย, การชะลอตัวของศก.โลกชัดเจนขึ้นใน 4Q62 แต่ตลาดก็มีปัจจัยหนุนเรื่องดอกเบี้ยต่ำโดยคาดว่า FED และกนง.จะลดดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมปลายต.ค.และต้นพ.ย.นี้ ส่วน Brexit ก็น่าจะเลื่อนไปเป็นปลายม.ค.63
กลยุทธ์ : Selective Buy โดยเน้นหุ้นธุรกิจมั่นคง, Defensive, หุ้นที่จ่ายปันผลได้ดีและสม่ำเสมอ
การวิเคราะห์เทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเป็นลบ การซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวกเท่านั้น ค่าลบไม่เล่น แนวต้านระยะสั้น 1600,1610-1620 แนวรับกรณีอ่อนต่ออยู่ในพื้นที่ 1590-1580, 1570, 1550หุ้นพื้นฐานเดน่ สำหรับสัปดาห์นี้ ประกอบด้วย
CPALL - ยอด SSSG ของ 7-11 และ MAKRO เป็นบวกได้ 2-5% ซึ่งดีกว่ากลุ่ม จากการปรับ Product Mixed และมีรายได้บริการเพิ่มมาร์จิ้นดีจาก Economy of scale การลงทุนต่างประเทศหนุนการเติบโตในระยะยาว…ราคาพื้นฐาน 92.50 บาท
DREIT – กองทุนมั่นคง จากมีรายได้ Fixed จากสปอนเซอร์ (กลุ่มดุสิตธานี) ราว 429 ล้านบาท/ปีไป 12 ปีข้างหน้า ซึ่งเฉพาะส่วนนี้ก็จะให้ Dividend Yield ได้กว่า 6% แล้ว ให้ราคาพื้นฐาน 7.55 บาท
TISCO – กำไรสุทธิปี 62F-63F จะเติบโตจำกัด เพราะธนาคารระวังเรื่องการปล่อยสินเชื่อใหม่ แต่ธุรกิจก็มั่นคง เงินกองทุนแข็งแกร่งและมี ROE สูง คาดปันผลไว้ที่ 5 บาท/หุ้น/ปี คิดเป็น Yield 5% ต่อปี จ่ายปีละ 1 ครั้ง ให้ราคาพื้นฐาน 102 บาท
***หุ้น Top Picks สัปดาห์ก่อนคือ BBL, CPALL, RJH ให้ Return เฉลี่ย -2.2% ซึ่งใกล้กับ SET Index ที่ -2.3%***
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค– [email protected]