WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน    
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562
แรงขายกดดันตลาดหลักมาจากนักลงทุนสถาบันในประเทศ ซึ่งในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีน่าจะมี Fund Flow จากการซื้อ LTF ไหลเข้า จึงมีโอกาสที่จะเห็นแรงซื้อกลับ ส่วนปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน น้ำหนักอยู่ที่ผลกระทบจากการที่ถูกสหรัฐฯ ตัด GSP แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ถือเป็นตัวเร่งให้รัฐต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง อีกทั้งเพิ่มโอกาสที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Top Picks เลือก CPN (FV@B 92) และ AMATA ([email protected])
    SET Index    1,593.28
    เปลี่ยนแปลง (จุด)    -27.69
    มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)    76,699
            
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ซึ่งถือว่าปรับตัวแรงเป็นอันดับ 2 ของปีนี้ จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1593.28 จุด ลดลง 27.69 จุด (-1.71%) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขาย 7.66 หมื่นล้านบาท โดยปรับตัวลงทุก Sector ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานที่กดดันตลาดฯกว่า 7 จุดเช่น BGRIM(-0.48%) GPSC(-3.76%) TOP(-4.49%) RATCH(-3.37%) กลุ่มค้าปลีกเช่น CPALL(-3.09%) BJC(-3.52%) DOHOME(-4.72%) และกลุ่มขนส่งเช่น AOT(-2.24%) BTS(-1.47%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวเช่น SCC(-3.01%) IVL(-6.42%) และ BH(-7.05%) เป็นต้น
การปรับตัวลดลงแรงของ SET Index ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จนหลุดระดับ 1600 จุด หากพิจารณาจากตัวเลขการซื้อขายแยกตามประเภทนักลงทุน พบว่านักลงทุนที่ขายสุทธิหลักได้แก่ สถาบันในประเทศโดย 2 วันทำการล่าสุดขายสุทธิออกไปกว่า 7.04 พันล้านบาท ขณะที่นักลงทุนกลุ่มอื่น ๆ ซื้อสุทธิทั้งหมด โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 4.29 พันล้านบาท ส่วนสาเหตุของการขายน่าจะเป็นความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่จะประกาศออกมาในช่วงสัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่ถูกคาดหมายว่าจะชะลอตัว ไม่ว่าจะเป็น SCC หรือ PTTEP แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยเห็นว่าด้วย Valuation ของตลาดหุ้นไทยที่ค่อนข้างถูกกล่าวคือมีค่า PER ต่ำกว่า 16 เท่า อีกทั้ง ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายนักลงทุนสถาบันจะมี Fund Flow ไหลเข้าจากการซื้อ LTF จึงมีโอกาสที่จะเห็น แรงซื้อหุ้นกลับมาได้ ส่วนประเด็นแวดล้อมทางปัจจัยพื้นฐาน เรื่องใหญ่ที่สุดน่าจะเป็นเรื่อง การที่สหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP สินค้านำเข้าจากไทย 573 รายการ ซึ่งแม้จะถูกคาดหมายว่าจะมีผลกระทบต่อยอดส่งออกของไทยไม่มากราว 0.01% ของยอดส่งออกรวม แต่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเปราะบาง และขาดแรงกระตุ้น น่าจะเป็นตัวเร่งให้ภาครัฐต้อง ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง รวมถึงการพิจารณาของ กนง. ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบที่เหลือของปีนี้ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงพอร์การลงทุนไว้ตามเดิม บนความเชื่อว่า หุ้นแต่ละตัวในพอร์ตล้วนมีปัจจัยบวกหนุน และมีโอกาสดีดตัวกลับได้ค่อนข้างดีหากสถานการณ์ที่กระทบภาพรวมของตลาดคลี่คลาย ส่วนหุ้น Top Picks เลือก CPN และ AMATA
สหรัฐตัดสิทธิ GSP ไทยจะมีผล 25 เม.ย.63  กระทบส่งออกไทยจำกัด
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาประเด็นเรื่องสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ระยะสั้นมีสัญญาณผ่อนคลาย หลังจากทั้ง 2 ฝั่งส่งสัญญาณอาจจะเซ็นสัญญาสงบศึกชั่วคราวเฟสที่ 1 ระหว่าง 16-17 พ.ย. 2562 ในการประชุม  APEC  ที่ประเทศชิลี   อย่างไรก็ตามวันศุกร์ที่ผ่านมาสหรัฐกลับเดินหน้ากีดกันการค้ากับไทย(ไทยส่งออกไปสหรัฐเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ราว 11.2% ของตลาดส่งออกไปทั่วโลกในปี 2561   รองจากจีน)   กล่าวคือ สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ(USTR) เผยการระงับสิทธิภาษีศุลกากร (GSP)กับไทย 573 สินค้ามูลค่าสินค้าราว  1.3  พันล้านเหรียญ หลักๆ คือ  สินค้าอาหารทะเล, พาสต้า, ถั่ว น้ำผลไม้ อุปกรณ์เครื่องครัว ,เหล็กแผ่น (ดังตาราง)
การตัดสิทธิ GSP ของสหรัฐจะมีผลใน  6 เดือนข้างหน้าคือ  25 เม.ย.63  โดยสหรัฐอ้างเหตุผลในการตัดสิทธิมาจากการที่ประเทศไทยล้มเหลวในการจัดสิทธิที่เหมาะสมให้กับแรงงานสากล ซึ่งเป็นการตัดสิทธิตามหลังตุรกีที่สหรัฐตัดสิทธิ เมื่อ พ.ค.62และ ตามมาด้วย สหรัฐตัดสิทธิกับอินเดีย  5 มิ.ย.62  ซึ่งอ้างเหตุผลไม่เปิดตลาดให้สหรัฐ
ผลกระทบการส่งออก สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) ประเมินว่า กรณีการตัดสิทธิ GSP สหรัฐดังกล่าว  คาดต้นทุนภาษีนำเข้าจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ยราว 4.5%  และคาดจะทำให้ สินค้ากลุ่มที่โดนตัดสิทธิมีมูลค่าส่งออกลดลงราว 30 ล้านดอลลาร์เหรียญราว  0.1% ของการส่งออกไปสหรัฐ(ไทยส่งออกไปสหรัฐราว 2.8 หมื่นล้านเหรียญในปี 2561) หรือกระทบราว  0.01%ของยอดส่งออกรวมทั้งหมดของไทยไปทั่วโลก
ทั้งนี้หากพิจารรณาในอดีต ไทยเคยถูกตัดสิทธิ GSP คือ ปี  2558 จากยุโรป  แต่พบว่ายอดส่งออกไปยุโรปกลับไม่ลดลง คือ ส่งออกไปยุโรปปี 2558 อยู่ที่  2.3 หมื่นล้านเหรียญ ขณะที่ปี 2561 อยู่ที่ 2.8 หมื่นล้านเหรียญ บ่งชี้ว่าไม่กระทบมากนัก
โดยสรุปความเสี่ยงดังกล่าวประกอบกับทิศทางเงินบาทที่ยังแข็งค่าราว 7% ล่าสุดอยู่ที่  31.8 บาท/ดอลลาร์     เป็นการตอกย้ำว่าหุ้นกลุ่มสินค้าส่งออกต้องหลีกเลี่ยง   และทำให้  ASPS เชื่อมั่นว่ารัฐบาลยังจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มเติม ทั้งมาตรการคลัง รวมถึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินผ่านการลดดอกเบี้ย คาดหวัง กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.5% ในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้ง คือ 6 พ.ย. และ 18 ธ.ค.  โดยให้น้ำหนักรอบ พ.ย.มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยฯลง
Sector เกษตร, ส่งออกอาหาร, ยานยนต์ กระทบจำกัดสหรัฐฯตัดสิทธิ GSP ไทย
Sector ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสิทธิ GSP ของสหรัฐ  คือกลุ่มส่งออก  
กลุ่มเกษตรและอาหาร ฝ่ายวิจัยได้สอบถามข้อมูลไปยังบริษัทจดทะเบียนหุ้นที่เกี่ยวข้อง พบว่าไม่ได้รับผลกระทบจากการตัดสิทธิ GSP โดย TU(FV@B23) ; ปัจจุบัน ไม่ได้สิทธิ GSP จากสินค้า (ทูน่า กุ้ง อาหารสัตว์เลี้ยงและอื่นๆ) ที่ส่งออกไปสหรัฐฯ อยู่แล้ว เช่นเดียวกับ   เช่นเดียว CPF(FV@B35) ;  ที่ไม่ได้สิทธิ GSP จากการส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ
ขณะที่ STA(FV@B13) ก็ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะยางพาราและถุงมือยาง ไม่เสียภาษีในการส่งออกไปสหรัฐ ส่วน KSL([email protected])  แม้ว่าสินค้าประเภทน้ำตาลและน้ำเชื่อมจะโดนตัดสิทธิ GSP แต่ปัจจุบัน KSL (และประเทศไทย) ส่งออกน้ำตาลไปสหรัฐฯ น้อยมาก เพียง 1 พันตัน/ปี คิดเป็นเพียง 0.1% ของรายได้รวม โดยลูกค้าหลักของ KSL คือประเทศในแถบเอเชีย อาทิ จีนและอินโดนีเซีย      
 โดยรวม ASPS ยังคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่ม “เท่าตลาด”  แนะนำสะสม CPF (FV@B35)และ TU (FV@B23) สำหรับการลงทุนระยะกลางถึงยาว ที่ราคาหุ้นปรับฐานจนมีค่า PER ปี 2563 เพียง 12 เท่า และยังสามารถคาดหวัง Div yields ได้ราว 3% ต่อปี
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP มีการถูกตัดสิทธิบางส่วน  ASPS  อยู่ระหว่างการสอบถามทางบริษัทจดทะเบียน   โดยคำแนะนำของกลุ่ม คือ น้อยกว่าตลาดอยู่แล้ว แนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุน  
สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปสหรัฐ เกือบ 60% ของสินค้าส่งออกทั้งหมดหลักๆคือ คอมพิวเตอร์, ผลิตภัณฑ์ยาง, อัญมณี, อาหารทะเล, รถยนต์และส่วนประกอบ, เครื่องจักรกล, เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนได้รับสิทธิ GSP กล่าวคือ เดิมไม่เสียภาษี (ตาม GSP)  หากไทยถูกตัดสิทธิต้องกลับมาจ่ายภาษีในอัตราทั่วไป
หุ้น ธ.พ. น่าจะตอบสนองประเด็นลบมาในระดับหนึ่งแล้ว
ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลงแรง 7.64% mtd โดยธ.พ.ขนาดใหญ่แต่ละบริษัทปรับตัวลดลงดังนี้ KBANK ปรับตัวลดลงราว 12.78% ตามมาด้วย SCB 8.05% KTB 5.23% และ BBL 4.9% จากความกังวลในหลายปัจจัยเสี่ยง ทั้งในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังไม่เสถียร สะท้อนได้จากช่วง 3Q62 พบว่ามูลหนี้ NPL กลุ่มฯ เร่งตัวขึ้นราว 4% จากสิ้นงวด 2Q62 คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อสุทธิ 3.26% เทียบ 3.2% ณ สิ้นงวดก่อน สาเหตุจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงกว่า 80% ของ GDP เป็นปัจจัยกดดันต่อกลุ่มสินเชื่อรายย่อยเช่นกัน ประกอบกับทิศทางของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ที่มีแนวโน้มลดลง ล่าสุด KBANK กำหนดเป้าปี 2563 ติดลบ 5 -17% จากปีก่อน ส่วนหนึ่งจากการจัดประเภทเงินลงทุน ตาม TFRS 9 คาดเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดกังวล
อย่างไรก็ตามความกังวลต่อคุณภาพสินทรัพย์ที่อาจลดลงถูกสะท้อนไปในราคาหุ้นในระดับหนึ่งแล้ว สังเกตได้จาก PBV ของกลุ่มธ.พ. ล่าสุดอยู่ที่ 0.89 เท่า ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี และต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่วิกฤตซับไพร์ม
และหากพิจารณในมุมผลตอบแทน พบว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2562 ดัชนีกลุ่มหุ้น ธ.พ. หรือ SETBANK ปรับตัวลงแรงเกือบ 18%ytd ขณะที่ SET Index เพิ่มขึ้น 1.88%ytd ทำให้กลุ่มธ.พ. มีผลตอบแทนที่น้อยกว่าตลาดหรือมี Alpha ติดลบเกือบ 20%ytd และเป็นการให้ผลตอบแทนน้อยกว่าตลาดมากที่สุดเมื่อเทียบกับในอดีต เช่น ปี 2558 เป็นปีที่กนง.มีการลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง SETBANK ลดลงมากกว่าตลาดเพียง 15% และปี 2551 เกิดวิกฤตซับไพร์ม SETBANK ลดลงมากกว่าตลาดเพียง 4% เท่านั้น ซึ่งโดยปกติผลตอบแทนตลาดและหุ้นกลุ่ม ธ.พ. มักใกล้เคียงกันเสมอ เนื่อจากกำไรจากหุ้นกลุ่ม ธ.พ. คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 21.7% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด
เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าความกังวลต่อคุณภาพสินทรัพย์ที่จะส่งผลต่อรายได้น่าจะกดดันราคาหุ้นมากเกินไป บวกกับทาง ธ.พ.ได้มีบทเรียนจากวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้น่าจะมีการเตรียมความพร้อมที่รัดกุมมากขึ้น ฝ่ายวิจัยจึงเชื่อว่าน่าจะเป็นโอกาสทยอยสะสมหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. โดยเฉพาะหากกนง.มีการลดดอกเบี้ยในเดือน พ.ย. 2562 หลังจากนั้นถือเป็นโอกาสดีในการเข้าลงทุน โดยฝ่ายวิจัยชื่นชอบ BBL มากสุดในกลุ่มฯ มี Div Yield สูงเกิน 4% ได้ประโยชน์จากมาตการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เข้าสู่ช่วงรายงานงบ 3Q62 ของกลุ่ม Real Sector ….
เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะผันผวน โดยมีประเด็นกดดันจากความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย และการรายงานผลประกอบการของกลุ่ม Real Sector ซึ่งอาจมีแรงเก็งกำไรในหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการเติบโต รวมถึงแรงขาย Sell on Fact หลังประกาศงบ สำหรับหุ้นที่มี Market Cap. ขนาดใหญ่ที่จะรายงานในวันนี้คือ SCC(Switch@B 460) ฝ่ายวิจัยฯ คาดกำไรสุทธิ 7,611 ล้านบาท ลดลง 20%YoY (แต่เติบโต 8.1%QoQ) เนื่องจากธุรกิจหลักปิโตรเคมีได้รับปัจจัยลบหลายเรื่อง ทั้ง Demand ที่ชะลอตัวจากปัญหาสงครามการค้า, เงินบาทที่แข็งค่ากระทบรายได้ส่งออก, Spread HDPE-Naphtha ที่ร่วงลงต่ำสุดในรอบ 7 ปี เหลือเพียง 456 เหรียญฯ/ตัน รวมไปถึงการหยุดซ่อมบำรุงของบริษัทร่วมในอินโดนีเซีย ขณะที่ธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ได้รับผลจากปัญหาน้ำท่วมหลายพื้นที่และความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในภาค Residential ที่ลดลง มีเพียงธุรกิจ Packaging ที่คาดกำไรยังเติบโตได้ จากการทำงบการเงินรวมกับ Fajar ซึ่ง SCC ซื้อหุ้น 55% ในเดือน มิ.ย. 62 ทำให้หลังการประกาศงบ มีความเป็นไปได้สูงมากที่ฝ่ายวิจัยจะปรับลดประมาณการกำไรปี 2562-63 ลงราว 10-15% เบื้องต้นราคาเป้าหมายมีโอกาสลดลงจาก 460 บาท ลงมาเหลือ 400-420 บาท ขณะที่เงินปันผลน่าจะลดลงเหลือเพียง 13-15 บาท/ปี ซึ่งคิดเป็น Yield ประมาณ 3.6% เท่านั้น ทำให้ความน่าสนใจของ SCC ทั้งในเชิง Capital Gain และ Dividend Yield ลดลงจึงแนะนำ Switch ไป SCCC (FV@B 269) ที่มีแนวโน้มธุรกิจดีกว่า
และในสัปดาห์นี้ยังมีการรายงานงบของ PTTEP (คาดกำไรสุทธิ 3Q62 ลดลง 26.6%qoq กดดันจากราคาขายปิโตรเลียมที่ปรับตัวลดลง) ในวันที่ 30 ต.ค.
ตามด้วย ADVANC (ประเมินกำไร 3Q62 อยู่ที่ 9.03 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.5%qoq ทำระดับสูงสุดในรอบ 13 ไตรมาส ผลจากต้นทุนดำเนินงานที่ลดลง) ในวันที่ 31 ต.ค. ขณะที่ภาพรวม Earnings Preview บริษัทอื่นๆ ฝ่ายวิจัยทำการรวบรวมและแสดงไว้ดังตารางด้านล่าง
 
        
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!