WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะที่ขาดแรงหนุนจาก Fund Flow ทั้งในส่วนของนักลงทุนต่างชาติ และ นักลงทุนสถาบันในประเทศ ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานยังไม่มีปัจจัยบวกที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ยังรอผลการเจรจาสหรัฐ-จีน รวมถึงอยู่บนความคาดหวังจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed คาด SET Index ยังผันผวน โดยมีบริเวณ 1600 จุด เป็นแนวรับสำคัญหุ้น Top Pick วันนี้เลือก JWD ([email protected]) และ MAJOR (FV@B 33)
ย้อนรอยตลาดหุ้นวันวาน…จับสัญญาณวันนี้
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวลงตลอดวัน จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้ง PMI ภาคการผลิตและบริการออกมาต่ำกว่าคาดและความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง จึงกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงไทย จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1605.96 จุด ลดลง 4.73 จุด (-0.29%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 3.78 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTTEP(-2.10%) BGRIM(- 0.58%) GULF(-0.63%) กลุ่มธ.พ. เช่น SCB(-1.30%) KBANK(-1.33%) BBL(-1.78%) และ กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL(-0.92%) BJC(-1.44%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัว อย่างเช่น SCC(-0.25%) และ BDMS(-0.84%) และ เป็นต้น
เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจนลงมาอยู่ที่บริเวณ 30.40 – 30.50 บาท/USD ทำให้เริ่มเห็นการส่งสัญญาณความกังวลออกมาจาก ธปท. ซึ่งน่าจะนำไปสู่การหามาตรการต่างๆ ออกมาแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นมาตรการที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย เช่นการกระตุ้นให้เอกชนนำเงินออกไปลงทุน หรือ ให้มีการนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้น และจนถึงจุดนี้ก็ยิ่งทำให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้มาตรการดอกเบี้ยเข้าช่วย โดยการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในรอบการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งของปีนี้ การส่งสัญญาณดังกล่าวออกมา อย่างน้อยเชื่อว่าน่าจะทำให้เห็นการชะลอการแข็งค่าของเงินบาทไปได้ระดับหนึ่ง เพื่อรอความชัดเจนของมาตรการต่างๆ หรือดีไปกว่านั้นอาจทำให้เห็นการอ่อนค่าลงได้บ้าง สำหรับผลกระทบต่อตลาดหุ้น ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว ฝ่ายวิจัยประเมินว่าน่าจะทำให้อยู่ในภาวะที่ไม่มี Fund flow จากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาหนุนตลาด (เนื่องจากโอกาสที่จะเกิด FX Loss มีค่อนข้างมากสำหรับเม็ดเงินใหม่ที่จะไหลเข้ามา) นอกจากนี้ในอีกฟากหนึ่งก็ยังเห็นเม็ดเงินจากนักลงทุนสถาบันในประเทศไหลออกมากขึ้น โดยหากดูพฤติกรรมการซื้อขายในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (4 ก.ย. – 4 ต.ค.2562) พบว่านักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยมากถึง 1.48 หมื่นล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติก็ขายสุทธิ 1.71 หมื่นล้านบาท ทำให้ SET Index ในช่วงเวลาดังกล่าวปรับลดลง 52.68 จุด ภาวะดังกล่าวเชื่อว่าจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ ทำให้คาดว่า SET Index น่าจะผันผวนโดยมีบริเวณ 1600 จุด เป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1625 จุด กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้หุ้นที่เลือกจะมีองค์ประกอบของหุ้นปันผล ที่มีความเสี่ยงต่ำอยู่เป็นหลัก และเสริมด้วยหุ้นที่มีความโดดเด่นด้านการเติบโตเป็นบางส่วน วันนี้ไม่มาการปรับพอร์ต ส่วนหุ้น Top Picks เลือก MAJOR และ JWD
Nonfarm Payrolls สหรัฐต่ำกว่าที่ตลาดคาด หนุนโอกาสลดดอกเบี้ย
ตลาดหุ้นโลกวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับฟื้นตัว หลังจากสหรัฐรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจด้านตลาดแรงงานพบว่า ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) เดือน ก.ย. 2562 อยู่ที่ 1.36 แสนราย และต่ำกว่าที่ตลาดคาด 1.4 แสนราย ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกันลดลงเหลือ 3.5% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี จาก 3.7% ในเดือนก่อน
โดยรวม Nonfarm Payroll ที่ต่ำกว่าคาด หนุนความคาดหวังธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ลงเหลือ 1.75% ในรอบการประชุม 29-30 ต.ค. 2562 สอดคล้องกับผลสำรวจของ Bloomberg ล่าสุดโอกาสลดดอกเบี้ยของ Fed ในเดือน ต.ค. 2562 ยังมีอยู่สูงถึง 72.9%
การคาดการณ์ทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐดังกล่าว ทำให้ Dollar Index มีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยวันศุกร์ที่ผ่านมา Dollar Index อ่อนค่า 0.06% และอ่อนค่า 0.86% จากจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2562 ที่ กดดันให้ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่า 0.39% และหากนับตั้งแต่ต้นปี เงินบาทแข็งค่ากว่า 6.5%ytd (แข็งค่ามากสุดในภูมิภาค)
ขณะที่ปัจจัยอื่นๆที่ให้น้ำหนักในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันที่ 10 ต.ค. รายงานการประชุม (Fed Minute) ของการประชุมเดือน ก.ย.  ให้น้ำหนักการส่งสัญญาณดอกเบี้ยอย่างไร และในวันเดียวกันสหรัฐจะรายงานเงินเฟ้อเดือน ก.ย. (ทราบผลราวช่วงค่ำตามเวลาไทย) ตลาดคาด 1.7%yoy ทรงตัวจากเดือน ส.ค. แต่หากเงินเฟ้อออกมาต่ำคาด อาจเป็นแรงกดดันให้ Fed ลดดอกเบี้ยมากขึ้นได้ และ 10-11 ต.ค. 2562 ให้น้ำหนักการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่กรุง Washington, DC ว่าการเจรจาจะมีทิศทางใด
ธปท.เตรียมออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทแข็งค่า ปลายปี ....  
แนวโน้มเงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่า  ล่าสุด แกว่งตัวอยู่ที่  30.4-30.5 บาท/ดอลลาร์  นับตั้งแต่ต้นปีแข็งค่าราว 6.1%ytd (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี-ปัจจุบัน (ytd)อยู่ที่ 31.33 บาท/ดอลลาร์ VS. สมมติฐาน ASPS คาด  32 บาท/ดอลลาร์)  หากเงินบาทที่   30.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปี 2562 จะทำให้เฉลี่ยทั้งปี 2562 อยู่ที่ 31.1 บาท ต่ำกว่าสมมติฐาน กระทบต่อภาคส่งออกไทย(ราว 68%ของGDP)
โดยล่าสุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาจากบทสัมภาษณ์ผู้ว่า ธปท.นายวิรไท สันติประภพ เผยกับ Rueter ว่า
    หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าประมาณการ พร้อมใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย (ตรงกับที่ ASPS คาดว่ามีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง 0.25% อยู่ที่ 1.25% ในการประชุมที่เหลือ 2 ครั้ง 6 พ.ย. และ 18 ธ.ค.
    ประเด็นเงินบาทที่แข็งค่า ทำให้เตรียมจะออกมาตรการผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนเงินทุนไหลออกก่อนสิ้นปี 2562 อาทิ  การขยายเพดานให้นักลงทุน (คาดในประเทศ) ให้ไปลงทุน ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น  เช่น ลงทุนกองทุนรวม  เป็นต้น   
โดย ASPS พบว่ามาตรการในอดีตที่ ธปท.เคยออกและมีทิศทางเดียวกัน คือต้นปี 2556 ออกมาตรการแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ  (ดังรูป)  
แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศปี 2556 สนับสนุนเงินทุนไหลออก
 
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
ASPS คาดว่าในครั้งนี้น่าจะมีลักษณะคล้ายๆ หรือผ่อนคลายมากกว่าในปี 2556 แต่เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวน่าจะชะลอการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงสั้นเท่านั้นได้ และไม่น่าเพียงพอ   ตราบที่วัฎจักรดอกเบี้ยโลกยังเป็นขาลง  โดยคาดว่า ธปท. มีโอกาสเดินหน้าออกมาตรการที่มีลักษณะ Interest  คือ การลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้ง รวมถึงมาตรการ  Non –Interest  (ดังรูป) คือ แถบสีเหลืองขึ้นไป ถึงจะเพียงพอหยุดการแข็งค่าของเงินบาท   
มาตรการดูแลค่าเงินบาท (Non –Interest)  
 
ที่มา : ASPS
SET ยังขาดแรงหนุนจากนักลงทุนสถาบันและต่างชาติ
ความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวยังกดดันตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงติดต่อกัน 4 เดือน ราว 7.18% (1 ก.ค. – 4 ต.ค. 2562)  จนปัจจุบันมูลค่าการซื้อขายเริ่มเบาบางลงเหลือ 3.7 หมื่นล้านบาท (ค่าเฉลี่ยในปี 2562ytd 5.3 หมื่นล้านบาทต่อวัน) และยังขาดแรงขับเคลื่อนหลัก จากทั้งนักลงทุนต่างชาติ และสถาบันในประเทศ
เริ่มจากต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยติดต่อกันมา 3 เดือน (1 ส.ค. – 4 ต.ค. 2562) มูลค่า 7.14 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งอาจเป็นการขายทำกำไร เนื่องจากหากนำผลตอบแทนของ SET Index เคยขึ้นทำจุดสูงสุดของปีที่ 1747.53 จุด (ณ 1 ก.ค. 62) เท่ากับ 11.7% มาบวกกับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินท้องถิ่นเทียบกับเงินสกุลเงิน USD เกินกว่า 6% ได้ผลตอบแทนรวมเกือบสุงสุดในภูมิภาคที่ราว 18% เป็นรองเพียงประเทศจีนเท่านั้น
มูลค่าซื้อขายสะสมสุทธิตั้งแต่ต้นปีของนักลงทุนสถาบันและต่างชาติ (ytd)
 
ที่มา: SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
ขณะที่ความคาดหวังเม็ดเงินลงทุนใหม่จะเข้ามาลงทุนค่อนข้างจะจำกัด เนื่องจากค่าเงินบาทไทยยังอยู่ในโซนแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปี ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อ Fund Flow รวมถึงจากสถิติในอดีต พบว่า ในเดือน ต.ค. ต่างชาติมักจะสัลบซื้อสลับขายเฉลี่ยหุ้นไทย (ย้อนหลัง 10 ปี) ราว 7.54 พันล้านบาท (ขายสุทธิ 5 ใน 10 ปี)
ส่วนนักลงทุนสถาบันฯขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องในช่วง 1 – 2 เดือนนี้ (1 ก.ย. – 4 ต.ค. 2562) ราว 1.48 หมื่นล้านบาท สังเกตได้ว่าแรงขายดังกล่าวมากกว่าเม็ดเงินที่นักลงทุนสถาบันฯกว่า 10 บลจ. มีสิทธิจองซื้อหุ้น IPO AWC ที่ 1.06 หมื่นล้านบาทอีก ส่วนเม็ดมีที่ขายเกินส่วนหนึ่งอาจเป็นความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงการยกเลิกกองทุน LTF อย่างไรก็ดีปัจจุบันเริ่มเห็นความคืบหน้าจากการยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน LTF คือ กรมสรรพากรกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษารูปแบบกองทุนลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีแทน LTF ที่กำลังจะสิทธิสุดลงในปลายปีนี้ ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะพิจารณาข้อเสนอของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ที่ลดวงเงินลงทุนที่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเหลือไม่เกิน 30% แต่ต้องไม่เกิน 2.5 แสนบาท/ปี และต้องลงทุนเป็นเวลา 7 ปีปฏิทิน มาแทน ซึ่งฝ่ายวิจัยฯทำการประเมินไว้ว่าเม็ดเงินที่เคยซื้อ LTF ปีละ 6-7 หมื่นล้านบาท จะลดลงเกือบครึ่ง และยังมีเงินทุนที่ครบกำหนดขายคืนพร้อมรอขายอีกราว 1.8 แสนล้านบาท
กลยุทธ์เน้นลงทุนในหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งที่ได้ประโยชน์จาก หากเปลี่ยนมาใช้กองทุน SEF แทน ชอบ JWD มากสุดในวันนี้
24 หุ้นที่มีโอกาสถูกกองทุนเพิ่มน้ำหนัก หากมีกองทุน SEF มาแทน LTF
      
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS
กลยุทธ์ ชอบหุ้นปันผล MAJOR และหุ้นได้ประโยชน์ LTF ใหม่ JWD
ตลาดหุ้นไทยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเข้าใกล้แนวรับบริเวณ 1600-1610 จุด ทำให้การเคลื่อนไหวในระยะสั้นมีแนวต้านบริเวณ 1640 จุด ขณะที่ปัจจัยรบกวน จากทั้งภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนของการเจรจาทางการค้าระหว่างสรัหฐกับจีน รวมถึงการขาดแรงขับเคลื่อนจาก Fund Flow ทำให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ ได้ทำการคัดเลือกหุ้นที่น่าจะเป็นทางเลือกในการลงทุนในยามที่ตลาดมีผันผวนสูง โดยแนะนำหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งปันผลเยี่ยม และผ่านเงื่อนไขทั้งมี Dividend Yield>4% ต่อปี, Upside > 10% และฝ่ายวิจัย แนะนำ “ซื้อ” ได้ผลลัพธ์ 10 บริษัท ดังนี้
 
ที่มา: SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
จากตารางข้างต้น ฝ่ายวิจัยฯ แนะนำหุ้นปันผลเด่น ที่มีปัจจัยบวกรอบด้าน อย่าง MAJOR([email protected])  เนื่องจากเข้าสู่หน้าไทยและต่างประเทศ บวกกับอานิสงค์จากมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ ผลักดันกำไรเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside เปิดกว้างกว่า 40% และมี PER62F ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง-1S.D จึงยังเป็นโอกาสเข้าลงทุน
และอีกหนึ่งหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯ ยังคงชื่นชอบ และมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว หากเปลี่ยนมาใช้กองทุน LTF เป็น SEF คือ JWD([email protected]) ในส่วนของปัจจัยพื้นฐาน หนุนจากทั้งธุรกิจร่วมทุน อาทิ Transimex, Bokseng, PPSP และ CJ Logistics เป็นต้น และธุรกิจรับฝากสินค้า ผ่านการขยายการจัดเก็บสินค้าชนิดใหม่ที่เฉพาะทางมากขึ้น อย่างการให้บริการจัดเก็บประเภท Healthcare และการให้บริการจัดเก็บสิ่งของล้ำค่า/งานศิลปะ ด้วยกำไรที่คาดจะเติบโตต่อเนื่องเป็นขั้นบันได ทำให้ฝ่ายวิจัยมีแนวโน้มเพิ่มประมาณการกำไรปี 2563 ขึ้นจากเดิม 412 ล้านบาท (+19%YoY) โดยจะพิจารณาอีกครั้งหลัง JWD ประกาศงบ 3Q62 ส่วนปี 2562 เบื้องต้นยังคงเดิมที่ 345 ล้านบาท (+37%YoY)  ถือเป็นโอกาสเข้าลงทุน
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!