- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 September 2019 20:56
- Hits: 5038
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ >> Selective Buy on Dip//Maintain Domestic Defensive and Dividend Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงต่อเนื่องหลังตัวเลขส่งออกเดือน ส.ค. ออกมาแย่กว่าคาดทำให้ยังคงมีแรงขายออกมาในหุ้นขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากดัชนีปรับตัวลงแรงติดต่อกันหลายวันก่อนหน้า ทำให้เริ่มมีแรงซื้อกลับมาเข้ามาและทำให้ปิดลบแคบลงเหลือ 4.46 จุด ณ สิ้นวัน แรงขายส่วนใหญ่ยังคงมาจากสถาบันในประเทศราว 1.3 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อย 368 ลบ. (แต่ Long Index Futures สูงถึง 1.37 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET Index จะแกว่งตัว Sideways หลังจากที่ปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วัน ตลาดยังคงขาดปัจจัยหนุนใหม่โดยประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามคือพัฒนาการของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนโดยเฉพาะการเจรจาที่จะเกิดขึ้นในเดือนหน้า ส่วนปัจจัยในประเทศสัปดาห์นี้จับตาการประชุมกนง.ซึ่งคาดว่าจะยังคงดอกเบี้ยที่ 1.50% หลังจากลดดอกเบี้ยเดือนก่อน เรายังมองจังหวะการอ่อนตัวของดัชนีหากลงทดสอบระดับ 1,600-1,620 จุดยังมองเป็นโอกาสสะสมหุ้น Domestic Defensive และ Dividend Play โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยต่ำ
กลยุทธ์ : ทยอยสะสมหุ้นที่ปรับลงแรงแต่พื้นฐานยังแกร่ง//พอร์ตหลักยังเน้นลงทุนใน Domestic Defensive และ Dividend Play
หุ้นเด่นเดือน ก.ย. : BCH, BJC, EPG, INTUCH, TCAP
หุ้นเด่นวันนี้: TMB
- แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมายปีหน้า 2.18 บาท
- วันนี้มีประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง TMB (14.00 น.) และ TCAP (10.00 น.) เพื่อขออนุมัติการรวมกิจการของสองธนาคาร รับโอนกิจการของ TBANK และเพิ่มทุน (ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระของ 2 บริษัทเห็นว่าเหมาะสมและผู้ถือหุ้นควรอนุมัติ)
- หากผู้ถือหุ้นอนุมัติ (ซึ่งคาดว่าอนุมัติ) จะทราบราคาเพิ่มทุนเร็วๆนี้ ความชัดเจนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจะช่วยปลดล็อกราคา TMB ให้กลับสู่พื้นฐาน เราคาดกำไร New TMB ปีหน้าที่ 1.8-2.2 หมื่นลบ.ยังไม่รวม synergy ที่น่าจะใช้เวลา 1-2 ปี คิดเป็น EPS 0.21 บาท BVPS 2.18 บาทและ ROE 10% หุ้นไม่ควรต่ำกว่า BVPS
Fund Flow เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$126ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไต้หวัน US$168ล้าน ขณะที่ไหลออกจากอินโดนีเซีย US$59ล้าน ส่วนไทยมีเม็ดเงินไหลออก US$12ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาค ตลาดกังวลว่าการเจรจาระหว่างจีนและสหรัฐว่าจะล้มเหลว
ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) ส่งออก ส.ค. อ่อนแอ ถ้าไม่รวมทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป ส่งออกจะ -10% Y-Y หดตัวแรงที่สุดในปีนี้ ตลาดที่ชะลอลงมากคือ ตลาดอาเซียน (-46% Y-Y) CLMV (-23% Y-Y) ญี่ปุ่น (-22% Y-Y) สินค้าที่หดตัวแรงได้แก่น้ำมันสำเร็จรูป สินค้าเคมี ข้าว ยานยนต์และชิ้นส่วน จากผลของสงครามการค้าและความไม่แน่นอนของ Brexit สำหรับส่งออกรวมทุกสินค้า 8M19 -2.2% Y-Y ถ้าให้ส่งออกทั้งปีทรงตัวเท่าปีก่อน สี่เดือนที่เหลือต้องส่งออกเดือนละ US$2.17 หมื่นล้าน ซึ่งท้าทายมาก
(0) คาด กนง.คงดอกเบี้ยที่ 1.5% ใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.25% เพื่อให้เวลากับดอกเบี้ยที่เพิ่งลดไปเมื่อ ส.ค. และมาตรการของรัฐทำงานก่อน เงินบาทน่าจะแข็งค่าต่อ ที่น่าติดตามคือครั้งนี้ถึงรอบทบทวนประมาณการศก. ล่าสุด ธปท.คาด GDP ปีนี้ +3.3% จากส่งออกที่ +0% ซึ่งเป็นมุมมองที่ค่อนข้างบวก
(+) กลุ่มแบงก์มีประเด็นหนุนจากการคงดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มเติมจากประเด็นบวกจาก TFRS 9 ที่ให้แบงก์กลับสำรองส่วนเกินได้ใน 5 ปีข้างหน้า แม้เราจะไม่ได้คาดว่าแบงก์จะกลับสำรองทันทีแต่มาตรฐานนี้ก็ทำให้แบงก์มีมูลค่าแฝงเพิ่ม และแม้ว่าสินเชื่อยังไม่ฟื้นโดย 8M19 +1.2% YTD แต่ Valuations ก็ถูกที่สุดในรอบ 10 ปี และเริ่มมีสัญญาณบวกจากความคืบหน้าของงานประมูล แนะนำซื้อลงทุนระยะยาว KBANK (เป้า 190 บ), SCB (เป้า 150 บ) และแนะนำซื้อเพื่อปันผล TISCO (เป้า 116 บ), TCAP (เป้า 62 บ)
(+) DTAC เราคาดกำไรปกติ 3Q19 ที่ 1.66 พันลบ. -7% Q-Q แต่โตก้าวกระโดดจากแทบไม่มีกำไรใน 3Q18 จากรายได้ที่ทยอยฟื้นต่อเนื่อง ส่วนการประมูล 5G ใน 1H20 เชื่อว่าไม่กดดันผู้ประกอบการมากนัก เราคาดกำไรปีนี้ +146% Y-Y ปีหน้า +5% Y-Y ราคาหุ้นปรับลงเป็นโอกาสซื้อ ปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปีหน้าที่ 68 บาท
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 159.72 จุด ปิดที่ 26,935.07 จุด กดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในสัปดาห์นี้ที่อาจไม่คืบหน้า หลังจากที่เจ้าหน้าที่จีนเดินทางกลับประเทศก่อนกำหนด
(+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก หนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มน้ำมันและก๊าซ รวมถึงกลุ่มธนาคาร นอกจากนี้ หุ้นโนโว นอร์ดิสค์ ของเดนมาร์กปรับขึ้น หลังสหรัฐอนุมัติยารับประทานของบริษัทเพื่อใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน
(0) ตลาดเอเชียปรับตัวผสม ท่ามกลางการจับตาสถานการณ์การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
(0) ค่าเงินบาทแกว่งในกรอบแคบ ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 30.47 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 4 เซนต์ ปิดที่ 58.09 ดอลลาร์/บาร์เรล แม้สหรัฐรายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันลดลง แต่ถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 8.9 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,515.1 ดอลลาร์/ออนซ์ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 894.15 / +-
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
23 ก.ย. - ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (ก.ย.)
- สหรัฐ: Markit US Manufacturing PMI (ก.ย.)
- เกาหลีใต้: ส่งออก-นำเข้า 20 วันแรกของเดือน ก.ย.
25 ก.ย. - ไทย: กนง. ประชุม
26 ก.ย. - ฟิลิปปินส์: ธนาคารกลางประชุม
- สหรัฐ: 2Q19 GDP
30 ก.ย. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ส.ค.
- จีน: Official Manufacturing PMI, Caixin China PMI Mfg (ก.ย.)
Contact person : Jitra Amornthum Register : 014530
Contact person : Veeravat Virochpoka Register : 047077
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research