- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 29 August 2019 15:26
- Hits: 2569
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“จีน-สหรัฐขึ้นภาษี1 ก.ย.มาตรการกระตุ้นศก.ไทย 30 ส.ค.”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ +1.46 จุด ปิดที่ 1616.93 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางเป็น 46.5 พันล้านบาท ดัชนีฯ ถูกขายทำกำไรหลังทำยอดสูงสุดที่1624.27 จุด แม้ปัจจัยต่างประเทศโดยรวมยังเป็นลบ ทั้ง IYC และสงครามการค้า แต่ยังดีเริ่มงานไทยแลนด์ โฟกัส ผู้ซื้อสุทธิคือ สถาบันและ รายย่อย ส่วนขายสุทธิเป็นต่างชาติ และโบรกเกอร์ โดยต่างชาติขาย 1.2 พันลบ. ตั้งแต่ต้นเดือนถึงปัจจุบันต่างชาติขายสุทธิสูงขึ้นเป็น 52.8 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์คือ
# ปัจจัยสำคัญ: ปัจจัยต่างประเทศยังเป็นลบ แต่ไทยจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม 30 ส.ค.นี้ ความกังวลเศรษฐกิจชะลอในอนาคต พิจารณาจากInverted Yield Curve (IYC) ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องเช้านี้ และการเริ่มเก็บภาษีนำเข้าจีน-สหรัฐเริ่ม 1 ก.ย.นี้ ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ไม่สดใส ลบถ้วนหน้า อีกทั้งดาวโจนส์และน้ำมันล่วงหน้าก็ปรับลง ด้านปัจจัยบวกคือ ครม.เศรษฐกิจจะพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการลงทุนและส่งออกเพิ่ม 30 ส.ค.นี้ ราคาน้ำมันวานนี้ปรับขึ้นดี แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ก.ค.ดีขึ้นเล็กน้อย
# ระยะสั้นคาด SET- Sideways แต่ยังต้องระมัดระวังแรงขายเช่นเดิม จากปัจจัยแวดล้อมข้างต้น คาดว่าหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่จะแกว่งตัวสูง เพื่อความปลอดภัยยังเน้นหุ้น Defensive เช่น บริโภค ขนส่ง การแพทย์ หุ้นปันผลสูง รวมทั้งหุ้นกลุ่ม REITs และ IFF ยังมี Yield Spread น่าพอใจ แนะนำ ซื้อ AIMREIT,DREIT, DIF คาด SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบ 1600-1630 จุด กลยุทธ์ คือ ซื้อเล่นสั้น เข้าไว-ออกไว การลงทุนให้ทยอยสะสม แนวต้านเป็น 1620-1630 จุด ส่วนแนวรับที่ 1600-1580 จุด สำหรับการลงทุนทยอยซื้อสะสม ส่วนกลุ่มหลักทรัพย์ที่แนะนำ มีพื้นฐานแข็งแกร่ง หาจังหวะทยอยสะสมได้ คือ พาณิชย์- CPALL, BJCท่องเที่ยว- ERW,MINT ขนส่ง AOT,BEM,BTS อาหาร CPF,TU,TKN สื่อสาร- ADVANC ไฟแนนซ์- KKP,TISCO, AEONTS การแพทย์- RJH,CHG และสื่อ- VGI
# Stock Pick Today : GFPT แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 20.10 บาท อิงกับ P/E ปี 63 ที่ 16.5 เท่า ทั้งนี้คาดการณ์ว่ากำไรสุทธิปี 62-63 จะเติบโตได้ 35% และ 9%ตามลำดับ ปัจจัยที่เป็น Upside risk คือ การส่งออกไปจีนที่มีโอกาสเติบโตได้อีก ถ้าทางการจีนเปิดตลาดให้ไทยมากขึ้น และการบริโภคไก่ทดแทนหมูในช่วงที่มีอหิวาห์สุกรแอฟริกันระบาด ส่วนปัจจัยเสี่ยง คือ ความผันผวนของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์, ภาวะอุปทานไก่ล้นตลาด, ค่าเงินบาทแข็ง และมาตรการกีดกันการค้า
การวิเคราะห์ทางเทคนิค ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators ยังเป็นลบ {แม้“ปิดบวก”ก็เพียงเล็กน้อย แต่ยังอยู่”ใต้“SMA10 วัน”ต่อเนื่อง (และถูกกดดันจาก“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่ง”แบบให้น้ำหนักกับการลง แต่“ค่าบวก” (แรงหนุน“เดิม”ของสภาวะOversold ในกราฟรายนาที) อาจจะช่วยให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1620 – 1630 (หรือ 1640) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1610” (แนวรับย่อย “1600 –1580 / 1560” จุด}
สำหรับการ Scan หุ้นที่มีโอกาสทำ New high ที่เข้ามาใหม่เป็น ROJNA,BCPG,TQM,PRM,JWD ที่ยังคงอยู่ใน List ได้แก่ COM7,SISB,RS,RJH หุ้นที่หลุด List คือ ไม่มี และที่ให้หาจังหวะTake profit GFPT,PSL,TASCO,EPG Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Industry Focus : ธนาคารพาณิชย์ - น้ำหนักลงทุน Neutral
Special Issue: หลักทรัพย์กลุ่มที่อยู่อาศัย
Company Guide : BJC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 63.00)
FPT (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 22.50)
Flash Note : DCC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 2.50)
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ช้อนซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร และราคาน้ำมันเพิ่ม ช่วยดันดาวโจนส์ปรับขึ้นดี
# นักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารอย่างคึกคัก โดยหุ้นโกลด์แมน แซคส์ พุ่งขึ้น 1.2% หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ดีดขึ้น 1.48% หุ้นเวลส์ ฟาร์โก พุ่งขึ้น 1.6% หุ้นเจพีมอร์แกน เชส เพิ่มขึ้น 1% หุ้นซิตี้กรุ๊ป เพิ่มขึ้น 1.1% หุ้นแบงก์ ออฟอเมริกา พุ่งขึ้น 1.44%
# หุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ดีดตัวขึ้น 1.6% เมื่อคืนนี้ อันเนื่องมาจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 5 สัปดาห์ โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล เพิ่มขึ้น 0.7% หุ้นเชฟรอน เพิ่มขึ้น 0.8% หุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จีพุ่งขึ้น 6.1% หุ้นเดวอน เอนเนอร์จี พุ่งขึ้น 2.7% หุ้นมาราธอน ปิโตรเลียม เพิ่มขึ้น 2.2% หุ้นอ็อคซิเดนเชียล ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น 1.8% หุ้นฮัลลิเบอร์ตัน พุ่งขึ้น 4% และหุ้นโคโนโคฟิลิปส์ ปรับตัวขึ้น 1.9%
- สหรัฐ-จีน: สงครามการค้ายังดำเนินต่อไป
# นักลงทุนยังคงจับตาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ขณะที่ใกล้ถึงวันอาทิตย์นี้ที่ทั้งสองฝ่ายมีกำหนดปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกัน โดยสหรัฐจะเรียกเก็บภาษี 15% ต่อสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่จีนประกาศเก็บภาษี 5-10% ต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐวงเงิน 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ในการเก็บภาษี 2 รอบ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ย. และ 15 ธ.ค.
- สหรัฐ: ยังกังวล IYC (Inverted Yield Curve)
# นักลงทุนยังจับตาตลาดพันธบัตรสหรัฐอย่างใกล้ชิด หลังจากตลาดพันธบัตรยังคงเกิดภาวะ inverted yield curve หรือภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าอัตราผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอย
+ ดาวโจนส์: ปรับขึ้น หุ้นธนาคารและพลังงานช่วยหนุน
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,036.10 จุด พุ่งขึ้น 258.20 จุด หรือ +1.00% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,887.94 จุด เพิ่มขึ้น 18.78 จุด หรือ +0.65% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,856.88 จุด เพิ่มขึ้น 29.94 จุด หรือ +0.38%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (28 ส.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากหุ้นดังกล่าวร่วงลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบอย่างไรก็ดี นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งตลาดพันธบัตรสหรัฐที่ส่งสัญญาณถึงแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอย
+ น้ำมัน: เพิ่มขึ้น หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 85 เซนต์ หรือ 1.6% ปิดที่ 55.78 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 98 เซนต์ หรือ 1.7% ปิดที่ 60.49 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (28 ส.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบลดลงมากที่สุดในรอบ 5 สัปดาห์ ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของอุปสงค์น้ำมัน
+ทองคำ: ปรับลง หลังตลาดหุ้นและดอลลาร์สหรัฐดีขึ้น
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 2.7 ดอลลาร์ หรือ 0.17% ปิดที่1,549.10 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (28 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐดีดตัวขึ้น นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังส่งผลให้สัญญาทองคำมีความน่าดึงดูดน้อยลง
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจประกาศสัปดาห์นี้
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้และอยู่ในความสนใจของนักลงทุน ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2562 (ประมาณการครั้งที่ 2), ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนก.ค., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล(PCE) เดือนก.ค., การใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนก.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+ ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ค.62 ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย m-o-m
# สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ค.62 ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากปัจจัยสนับสนุนด้านอุปสงค์จากการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัวได้ในรอบ 5 เดือน ประกอบกับการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้จากเดือนก่อนหน้าในเครื่องชี้เศรษฐกิจบางรายการ ด้านอุปทานมีการขยายตัวในภาคการเกษตรและภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างใกล้ชิดต่อไป
+ คาดว่ามาตรการชิม ช็อป ใช้ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น
# โฆษกสศค. คาดว่ามาตรการชิม ช็อป ใช้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ผลักดันออกมา โดยมีวงเงินดำเนินการ 2 หมื่นล้านบาท จะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทย (GDP) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.1-0.2%
+ ครม.เศรษฐกิจจะพิจารณามาตรการกระตุ้นการลงทุน ส่งออก ท่องเที่ยว 30 ส.ค.นี้
# ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ 30 ส.ค. นี้ จะพิจารณามาตรการกระตุ้นลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) และมาตรการกระตุ้นการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ พร้อมเตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเร่งนัดการลงทุนภาครัฐให้ ครม.เศรษฐกิจพิจารณาราวกลางเดือน ก.ย.62
+ ไทยอาจได้ประโยชน์จากอังกฤษ Brexit แบบไร้ข้อตกลง
# อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เชื่อว่าการออกจากสมาชิกอียูของสหราชอาณาจักรแบบไม่มีข้อตกลงจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทย ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองขององค์กรการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ที่ประเมินว่าจะเป็นผลบวกต่อไทย เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการส่งออก และจะสามารถช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในสหราชอาณาจักรได้เพิ่มขึ้นถึง 3,930 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 107% ของการส่งออกไปสหราชอาณาจักร
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]