WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
“กังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย ธนาคารลดดอกเบี้ย”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : AP (จากถือเป็นซื้อ), PPS (จากซื้อเป็นถือ)
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -0.78 จุด ปิดที่ 1619.45 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นขึ้นที่ 71.2 พันล้านบาท ดัชนีฯกลับมาปรับลงจากช่วงแรกบวกแรงไปทำยอดสูงสุดที่ 1640.92 จุด ซึ่งสหรัฐเลื่อนจัดเก็บภาษีจีน โดยมีแรงขายมากในหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากทยอยปรับลดดอกเบี้ย 0.25% กังวลกระทบกำไร ผู้ซื้อสุทธิคือรายย่อย 3.4 พันล้านบาท และสถาบัน 2.1 พันล้านบาท ส่วนขายสุทธิเป็นต่างชาติ 4.0 พันล้านบาท โบรกเกอร์ 1.5 พันล้านบาท ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติซื้อสุทธิลดเป็น 37.2 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์คือ
# ปัจจัยสำคัญ: ลบ จาก Inverted Yield Curve คือ ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวต่ำกว่าระยะสั้น เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอ ล่าสุด จีน เยอรมันมีตัวเลขเศรษฐกิจไม่ดี กังวล Brexit ธนาคารไทยทยอยปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ลบถ้วนหน้ามากกว่า 1% ดัชนีความกังวลไปถึง 22.10 จุด ส่วนแรงถ่วงด้านบวกคือ จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย บาทกลับมาแข็ง และดัชนีกลับมาถูกลง
# ระยะสั้นคาด SET-เป็นไปลบ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอ ธนาคารปรับลดดอกเบี้ย คาดมีแรงขายเข้ามา โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ แต่อาจมีการรีบาวด์ระหว่างวัน ติดตามแรงขายหุ้นธนาคาร หลังปรับลดดอกเบี้ย แต่หลักทรัพย์ได้ประโยชน์คือ อสังหาฯ เช่าซื้อ และหุ้นมีหนี้เงินกู้มาก ดอกเบี้ยจะลด เช่น TRUE กลยุทธ์คือ ซื้อสะสม เมื่ออ่อนตัว แนวรับที่ 1610-1600 จุด แนวต้านเป็น 1630-1640 จุด สำหรับการลงทุนทยอยซื้อสะสมเมื่ออ่อนตัว ส่วนเป้าหมายดัชนีระยะยาวอาจมีการปรับลง หลังประกาศงบ 2Q62 ส่วนกลุ่มหลักทรัพย์ที่แนะนำเป็น Domestic Play พื้นฐานดี แต่หาจังหวะทยอยสะสมได้ คือ พาณิชย์- CPALL, BJC รับเหมาก่อสร้าง- CK,STEC,SEAFCO นิคมฯ-AMATA, ROJNA, WHA ท่องเที่ยว- MINT ขนส่ง AOT สื่อสาร- ADVANC ไฟแนนซ์- KKP,TISCO, TCAP และสื่อ- VGI กลุ่มการแพทย์- เน้นหลักทรัพย์ขนาดกลาง คือ CHG และ RJH
# Stock Pick Today : CPN แนวโน้ม 2H62 สดใสขึ้นกว่า HoH รายได้การโอนคอนโดจะสูงขึ้น โดยเฉพาะ 4Q62 ที่มาก มีแผนขายสินทรัพย์เพิ่มเข้า CPNREIT ในจำนวน 1-2 โครงการ ข้อดี เกิด unlock value มีกำไร และเงินทุนไปขยายธุรกิจใหม่ได้อีก แนะนำซื้อ แต่ปรับราคาพื้นฐานใหม่ลงบ้าง หลังปรับประมาณการลงสะท้อน 2Q62 ราคาพื้นฐานใหม่เป็น 71.00 บาท ประเมินด้วยวิธี DCF คาดว่าการลงทุนใหม่ๆ จะเกิดประโยชน์ในระยะยาว ส่วนการเปิดโครงการศูนย์การค้าใหม่คือวิลเลจ ก็จะยังเป็นไปตามกำหนดการเดิมคือ เดือน ส.ค.หรือ ก.ย.นี้
 
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบ {แม้“ปิดลบเล็กน้อย” แต่ก็ถอยจากตำแหน่งสูงสุดมาไกลพอควร, และยังเคลื่อนไหวใต้“SMA10วัน”ต่อเนื่อง (โดยถูกกดดันจาก“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่สามารถลุ้นรีบาวด์ฯสั้นๆ(ทั้งก่อนลง/หรือหลังลงแล้ว)ได้ (มีสภาวะ Oversold ในกราฟรายวัน ในระดับที่มีนัยสคัญ“หนุน”) แนวต้าน (กรณี“ขึ้น”ก่อน) 1630 (หรือ 1640) จุด {แนวรับย่อย“1610 / 1600”จุด} สำหรับหุ้นที่มีโอกาสทำ New High เข้ามาใหม่คือ CPF หุ้นที่ยังอยู่ในลิสต์ คือ SCC,BBL,KBANK,PTT,COM7,DIF หุ้นที่หลุดลิสต์ คือ EPCOหุ้นที่ควร Take Profit คือ - 
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
 
 
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Company Guide : AP (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 7.90)
PPS (ถือ -ราคาพื้นฐาน 0.70)
Flash Note : AMATA (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 26.00)
BCP (ถือ -ราคาพื้นฐาน 33.00)
BJC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 57.00)
BTS (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 13.00)
CENTEL (ถือ -ราคาพื้นฐาน 35.00)
CHG (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 2.70)
CK (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 30.00).
COM7 (ถือ -ราคาพื้นฐานทบทวน)
CPF (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 35.00)
DIF (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 19.40)
ERW (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 7.30)
HUMAN (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 10.90)
KCE (Fully Valued -ราคาพื้นฐาน 15.20)
MODERN (Fully Valued -ราคาพื้นฐาน 3.40)
NWR (Fully Valued -ราคาพื้นฐาน 0.68)
ORI (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 9.60)
QH (ถือ -ราคาพื้นฐาน 3.20)
SEAFCO (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 10.63)
STEC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 31.00)
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สหรัฐ : กลับมากังวล Inverted Yield Curve
# ตลาดพันธบัตรสหรัฐส่งสัญญาณถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเกิดภาวะinverted yield curve เมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอยู่สูงกว่าพันธบัตรระยะยาว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 1.630% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีอยู่ที่ระดับ 1.623%
 
-จีน-เยอรมัน: ตัวเลขเศรษฐกิจอ่อนลง
# สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค.ขยายตัว 4.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 17 ปี ขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่า GDP ไตรมาส 2 หดตัวลง0.1% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2561
 
-อังกฤษ: กลับมากังวลเรื่อง Brexit
# นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายท่ามกลางความกังวลที่ว่า อังกฤษอาจจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป(Brexit) โดยไร้ข้อตกลง
 
+ สหรัฐ: ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดปรับเพิ่มขึ้น
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่า ดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการดีดตัวของราคาน้ำมัน แม้ว่าราคาสินค้าทุน และรถยนต์ปรับตัวลง
 
- ดาวโจนส์: ปรับลงแรง กังวลเศรษฐกิจชะลอ
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,479.42 จุด ร่วงลง 800.49 จุด หรือ -3.05% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,840.60 จุด ลดลง 85.72 จุด หรือ -2.93% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,773.94 จุด ดิ่งลง 242.42 จุด หรือ -3.02%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 800 จุดเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) หลังจากตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะinverted yield curve หรือภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอยู่สูงกว่าพันธบัตรระยะยาว ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนที่ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 17 ปี และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเยอรมนีที่หดตัวลงในไตรมาส 2
 
 
- น้ำมัน: ปรับลง สต็อคน้ำมันเพิ่ม กังวลเศรษฐกิจชะลอ
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 1.87 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 55.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. ดิ่งลง 1.82 ดอลลาร์ หรือ 3% ปิดที่ 59.48 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 3% เมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 นอกจากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยยังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อตลาดน้ำมัน
 
- ทองคำ: ปรับขึ้นดี หลังตลาดหุ้นดิ่ง
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 13.70 ดอลลาร์ หรือ 0.9% ปิดที่1,527.80 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐทรุดตัวลงอย่างหนัก รวมทั้งความวิตกกังวลที่ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มถดถอย หลังจากจีนและเยอรมนีเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ
 
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนก.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนส.ค. จากเฟดนิวยอร์ก,ดัชนีการผลิตเดือนส.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนส.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมิ.ย.
 
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
-/+ ธนาคารพาณิชย์ต่างพากันปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ
# SCB-BBL ประกาศปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR-MOR มีผล 15 ส.ค. จากก่อนหน้าคือ KBANK และ KTB
# ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร SCB กล่าวว่า ธนาคารมีเจตนารมย์ที่จะช่วยลดภาระต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของลูกค้าเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อย เพื่อสนับสนุนการปรับตัวต่อความท้าทายจากสภาวะเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า จึงขานรับทิศทางนโยบายดอกเบี้ยของคณะกรรมนโยบายการเงิน (กนง.)
# ผลกระทบ: แม้ความจริงผลกระทบต่อผลกำไรกลุ่มธนาคารจะไม่มาก เพราะปรับลดเพียง 0.25% แต่ความกังวลด้านSentiment มีมากกว่า เราคาดว่าปัจจัยลบนี้จะเกิดขึ้นไปอีกระยะ เพราะบรรดาธนาคารที่เหลือจะทยอยปรับลดตามมาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียเปรียบในแง่การแช่งขัน
 
+ กระทรวงการคลังได้จัดเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นแพ็คเกจไว้แล้ว เตรียมเข้าสู่พิจารณา 16 ส.ค.นี้
# รมว.คลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้จัดเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นแพ็คเกจไว้แล้ว เพื่อจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ในวันที่ 16 ส.ค.นี้ โดยยืนยันว่ามาตรการที่ได้เตรียมไว้นี้จะเพียงพอต่อการรับมือความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยไม่ให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงกว่าที่ควรจะเป็น
 
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!