WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
Daily Trading Focus
“บอนด์ยิลดิ์สหรัฐดีขึ้น จีนผ่อนคลายสงครามการค้า”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : BH (จากถือเป็น Fully Valued)
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -4.32 จุด ปิดที่ 1665.12 จุด มูลค่าการซื้อขายปานกลางที่ 62.7 พันล้านบาท ดัชนีฯผันผวนสูง และเราปรับลงสวนทางกับเพื่อนบ้านที่รีบาวด์ ปัจจัยสำคัญคือ จีนกำหนดเงินหยวนอ่อนมากกว่า 7 เหรียญต่อดอลลาร์ MSCI ลดน้ำหนักไทย และกำไร 2Q62 ไม่สดใส โดยเฉพาะ IVL ผู้ซื้อสุทธิคือต่างชาติ 935 ล้านบาท รายย่อยซื้อเล็กน้อย ส่วนขายสุทธิเป็นโบรกเกอร์ และสถาบัน ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติซื้อสุทธิเป็น 46.6 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์คือ
# ปัจจัยสำคัญ: บวกจากบอนด์ยิลด์สหรัฐเพิ่ม จีนผ่อนคลายสงครามการค้า บอนด์ยิลด์เพิ่มเกิน 1.7% คลายกังวลเศรษฐกิจถดถอย และจีนกลับมานำเข้าสินค้าเกษตรสหรัฐ และมีภาวะการค้า ก.ค.ดีกว่าคาด ดาวโจนส์พุ่ง ราคาน้ำมันกลับมาปรับขึ้น หลังคาดโอเปกลดกำลังการผลิต ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิวันแรกตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้เขียวถ้วนหน้า และดัชนีความกังวลลดลงเหลือ 16.91 จุด ด้านแรงฉุดมาจาก MSCI ลดน้ำหนักไทย หลังให้จีนเพิ่ม ผลประกอบการ 2Q62ไทยออกมาค่อนไปทางน้อยกว่าคาด และดาวโจนส์ล่วงหน้าเช้านี้ปรับลง
# ระยะสั้นคาด SET-บวกจากปัจจัยต่างประเทศดีขึ้น ทั้งบอนด์ยิลด์ และจีน อาจยังมีโมเมนตัม เก็งกำไรหุ้นได้ประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐและเก็งกำไรผลประกอบการรายตัว กลยุทธ์ คือ ซื้อสะสม แนวต้านเป็น 1675-1685 จุด แนวรับที่ 1660-1640 จุด สำหรับการลงทุนทยอยซื้อสะสม เป้าหมายดัชนีระยะยาวเป็น 1750 จุด ด้วย P/E ที่ 17.4 เท่า (Median+1 SD) กลุ่มหลักทรัพย์ที่แนะนำเป็น Domestic Play พื้นฐานดี แต่หาจังหวะทยอยสะสมได้ คือ พาณิชย์-CPALL, BJC รับเหมาก่อสร้าง- CK,STEC,SEAFCO นิคมฯ-AMATA, ROJNA, WHA ท่องเที่ยว- MINT ขนส่ง AOT สื่อสาร- ADVANC ไฟแนนซ์- KKP,TISCO,TCAP และสื่อ- VGI กลุ่มการแพทย์- เน้นหลักทรัพย์ขนาดกลาง คือ CHG และ RJH
# Stock Pick Today : CHG คาดกำไรสุทธิ 2Q62F จะต่ำสุดในรอบปี 62 แล้วค่อยดีขึ้นใน 2H62 โดยคาดการณ์ Core profit 2Q62F ไว้ที่ 113 ล้านบาท (-36%YoY, -37%QoQ) เพราะมีค่าใช้จ่ายเปิดโรงพยาบาลใหม่ และมีสำรองผลตอบแทนพนักงาน 17 ล้านบาท หากไม่นับกำไรหลักเป็น 130 ล้านบาท ส่วนในปี 63โรงพยาบาลใหม่จะช่วยหนุนการเติบโตเพราะทำกำไรได้แล้ว คาดอัตราเติบโตกำไรหลักปีนี้และปี 63 เป็น +7%/+15% ตามลำดับ ราคาพื้นฐานเป็น 2.70 บาทประเมินด้วยวิธี DCF
 
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบ {“ปิดลบ”ใต้“SMA10วัน” (โดยถูกกดดันจาก“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่หากรักษา“ค่าบวก”ได้ (เป็น“แรงหนุน”เดิม ของสภาวะOversold + Divergenceในกราฟรายนาที) จะทำให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1675 (หรือ 1680 – 1685) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1665” (แนวรับย่อย “1660 – 1650 / 1640”จุด}สำหรับหุ้นที่มีโอกาสทำ New High เข้ามาใหม่คือ SCCC,GPSC,BCPG,CPALL หุ้นที่ยังอยู่ในลิสต์ คือ SCC,BBL,KBANK,BCH,PLANB,BGRIM,GFPT,RJH หุ้นที่หลุดลิสต์ คือ KKP,JMT,CHAYO หุ้นที่ควร Take Profit คือ - 
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
 
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Company Guide : BH (Fully Valued -ราคาพื้นฐาน 153.00)
IVL (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 48.00)
TEAMG (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 2.47)
Flash Note : ANAN (คำแนะนำทบทวน -ราคาพื้นฐานทบทวน)
BCP (ถือ -ราคาพื้นฐาน 33.00)
GFPT (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 20.10)
VGI (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 10.76)
WHA (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 4.92)
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ สหรัฐ : อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่เริ่มมีเสถียรภาพ
# นักลงทุนขานรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐที่เริ่มมีเสถียรภาพ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวสู่ระดับ 1.753% เมื่อคืนนี้ หลังจากที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2559 เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สืบเนื่องมาจากความกังวลที่ว่าการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะส่งกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
 
+ จีน: กำหนดอัตราค่ากลางเงินหยวนในระดับสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด
# จีนกำหนดอัตราค่ากลางเงินหยวนเมื่อวานนี้ที่ระดับ 7.0039 หยวนต่อดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้นั้น ยังช่วยให้นักลงทุนคลายจากความกังวลที่ว่า จีนอาจใช้ค่าเงินหยวนเป็นเครื่องมือในการทำสงครามการค้ากับสหรัฐ
 
+ จีน: ตัวเลขการค้า ก.ค.ดีกว่าคาด
# มีปัจจัยบวกจากข้อมูลการค้าที่สดใสของจีน โดยสำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานว่า ยอดนำเข้าเดือนก.ค.ปรับตัวลง 5.6% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะร่วงลง 9.0% ขณะที่ยอดส่งออกเดือนก.ค.ดีดตัวขึ้น 3.3%ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 2.0%
 
+ สหรัฐ: ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยล่าสุดและมีผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 8,000 ราย สู่ระดับ 209,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะทรงตัวที่ระดับ 215,000 ราย ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่าสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งทรงตัวในเดือนมิ.ย. หลังจากรายงานเบื้องต้นในเดือนที่แล้วว่าเพิ่มขึ้น 0.2%
 
-/+ ดาวโจนส์: ทะยาน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีเสถียรภาพและคลายวิตกเงินหยวน
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,378.19 จุด พุ่งขึ้น 371.12 จุด หรือ +1.43% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดดที่2,938.09 จุด เพิ่มขึ้น 54.11 จุด หรือ +1.88% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,039.16 จุด เพิ่มขึ้น 176.33 จุด หรือ +2.24%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ (8 ส.ค.) โดยได้ปัจจัยบวกจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่เริ่มมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ การที่จีนได้กำหนดอัตราค่ากลางเงินหยวนในระดับสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดเมื่อวานนี้ ยังช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และยังเป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มอุตสาหกรรมดีดตัวขึ้นด้วย เนื่องจากบริษัทหลายแห่งในกลุ่มนี้ได้เข้าไปลงทุนจำนวนมากในประเทศจีน
 
+ น้ำมัน: ปรับขึ้น โอเปกอาจปรับลดกำลังการผลิตอีก
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 1.45 ดอลลาร์ หรือ 2.8% ปิดที่ 52.54 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญานํ้ามันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 1.15 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 57.38 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (8 ส.ค.) ขานรับการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) อาจปรับลดกำลังการผลิตลงอีก หลังมีรายงานว่า ซาอุดีอาระเบียกำลังหารือกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่ดิ่งลงในระยะนี้
 
• ทองคำ: ปรับลง เข้าหาตลาดหุ้น
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 10.10 ดอลลาร์ หรือ 0.66% ปิดที่1,509.50 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (8 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นกว่า 300 จุดโดยได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเริ่มมีเสถียรภาพ
 
• ติดตามตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
# ส่วนในวันนี้ ทางการสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค. ในเวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย
 
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+/- สนค. กระทรวงพาณิชย์คาด การลดดอกเบี้ยของ กนง. แรงกดดันค่าเงินบาทจะลดลง
# ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวานนี้ (7 ส.ค.) ทำให้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ และไทยกลับไปสู่ใน 0.5 ซึ่งเท่าช่วงก่อนที่ FED จะลดอัตราดอกเบี้ย 2.0 - 2.25% (1 ส.ค.62) โดยประเมินว่าแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทลดลง และเงินบาทน่าจะเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนตัวลงจากขณะนี้ ประกอบกับมาตรการเพื่อเฝ้าระวังเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นที่ออกมาก่อนหน้านี้ จะเป็นอีกกลไกหนึ่งเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินให้สอดคล้องกับสภาพ
 
ปัจจัยพื้นฐานทาเศรษฐกิจ
# ผลกระทบ: แต่หลังจาก กนง.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง เงินบาทกลับมาแข็งค่าเล็กน้อย ตรงข้ามกับที่ควรจะเป็น คาดว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่ง ต้องติดตามระยะต่อไป ว่ากลไกนี้จะบรรลุผลมากขึ้นได้หรือไม่
 
-ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย ก.ค.62 ปรับตัวลง
# ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.ค.62 ปรับตัวลดมาอยู่ที่ระดับ 41.5 จากเดิมที่ระดับ 43.1 ในเดือนมิ.ย.62 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 66 เดือน โดยพบว่าครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจและการครองชีพของตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ ค่าใช้จ่าย รวมถึงภาระหนี้สิน
 
-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค.62 ปรับลงเป็นเดือนที่ 5 แล้ว
# ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค.62 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 75.0 จาก 76.4 ในเดือน มิ.ย.62 เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และต่ำสุดในรอบ 22 เดือน จากความกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจ
 
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!