WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน    
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ยังไม่เห็นปัจจัยที่จะทำให้ SET Index ดีดตัวกลับขึ้นไปในระยะสั้น โดยต่างประเทศน้ำหนักยังอยู่ในทางลบ นำโดยประเด็นเรื่องการเจรจา สหรัฐฯ-จีน และ Brexit ส่วนในประเทศยังเป็นช่วงรอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ กลยุทธ์การลงทุนวันนี้แนะนำให้ขายทำกำไรหุ้นพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ราคาปรับขึ้นมาจนเต็มมูลค่า และให้เพิ่มความระมัดระวังในกลุ่ม Property Fund /REIT ส่วน Top Picks เลือก TTCL (FV@ 12.50), EASTW (FV@B 15.20) และ BJC (FV@B61)
 
        SET Index    1,706.49
        เปลี่ยนแปลง (จุด)    -11.48
        มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)    55,571
            
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …ทยอยปรับตัวลงตลอดวัน
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวลงตลอดวัน จากที่ไม่มีปัจจัยบวกหนุนนำตลาดฯเพิ่มเติม ทำให้ Upside ค่อนข้างจำกัด จนปิดที่ระดับ 1706.49 จุด ลดลง 11.48 จุด (-0.67%) มูลค่าการซื้อขาย 5.55 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดคือ กลุ่มธ.พ.เช่น BBL(-1.62%) KBANK(-1.43%) SCB(-1.10%) กลุ่มพลังงานเช่น GPSC(-5.30%) TOP(-1.08%) BANPU(-1.38%) EA(-0.96%) และกลุ่มอาหารเช่น CPF(-0.91%) CBG(-0.63%)  OSP(-2.68%) MINT(-0.62%)  รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง BTS(-3.20%) SCC(-1.36%) และ BDMS(-0.80%) เป็นต้น 
ปัจจัยในต่างประเทศว่าด้วยเรื่อง การประชุม Fed , การเจาจาการค้าสหรัฐฯ-จีน และ กระบวนการ Brexit ยังคงมีอิทธิพลต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น ส่วนปัจจัยในประเทศ ยังเป็นเรื่องการรอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และผลประกอบการ 2Q62 ที่จะประกาศออกมา ขณะที่ยังมีประเด็นเพิ่มเติมในส่วนของมาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะใช้เพื่อดูแลค่าเงินบาท และ หนี้ครัวเรือนในประเทศ จากปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวข้างต้นโดยภาพรวมถือว่ายังไม่มีน้ำหนักที่จะทำให้ SET Indexปรับตัวขึ้นไปได้ต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องอยู่ในภาวะของการปรับฐานต่อไป แต่ก็ยังเชื่อว่าที่บริเวณ 1700 จุด จะทำหน้าที่รองรรับแรงกดดันดังกล่าวไว้ได้ สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ ฝ่ายวิจัย แนะนำให้ขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มอสังหาฯ เนื่องจากเห็นว่าราคาหุ้นปัจจุบันมี Expected Return ที่ค่อนข้างต่ำ อีกทั้งยังมีแรงกดดันจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการที่ชะลอตัวในงวด 2Q62 รวมถึงมาตรการต่างๆ ที่จะออกมาจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะมีผลต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัย ทั้งนี้หุ้นที่ราคาเต็ม Fair Value หรือ เหลือ Upside ที่จำกัดมากๆ เมื่อเทียบกับ Fair Value ได้แก่ AP, LPN, ORI, PSH, SIRI และ SPALI นอกจากนี้ยังให้ใช้ความระมัดระวังสำหรับการลงทุนใน Property Fund / REIT ในส่วนของกองฯ ที่ถือครองสิทธิการเช่า (Leasehold) ที่ราคาหุ้น ซื้อขายโดยมี Premium เหนือ NAV ระดับสูง มีอายุการเช่าสินทรัพย์ลดลงไปมาก และให้ Dividend Yield ที่ต่ำ สำหรับพอร์ตการลงทุนวันนี้มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย โดยลดน้ำหนัก BBL ลงจาก 15% เหลือ 10% และนำส่วนที่ลด 5% ไปเพิ่มใน BJC เนื่องจากเห็นว่ามีโอกาสฟื้นตัวกลับได้เร็วกว่า
ตลาดรอผล Fed, ญี่ปุ่นพร้อมใช้นโยบายผ่อนคลายเพิ่ม
ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงดอกเบี้ยที่ -0.1% ตามตลาดคาด และยังคงวงเงิน QQE ที่ 80 ล้านล้านเยนตามเดิม อย่างไรก็ตาม BOJ ส่งสัญญาณมีโอกาสใช้นโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติมจากปัจจุบันหลังจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวล่าช้า เห็นได้จาก  BOJ ปรับลด GDP Growth ญี่ปุ่นปี 2562 ลงเหลือ 0.7%yoy จากเดิมคาด 0.8% แต่ยังคงปี 2563 ที่ 0.9% และปรับลดเงินเฟ้อปี 2562 ลงเหลือ 1.0%yoy จากเดิมคาด 1.1% และปี 2563 ลงเหลือ 1.4%yoy จากเดิมคาด 1.3%
ขณะที่วันนี้ตลาดหุ้นยังคงรอผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) (ทราบผลราวกลางดึกคืนนี้) ซึ่งจากผลสำรวจของ Bloomberg พบว่า ตลาดเชื่อมั่น 100% ว่า Fed จะลดดอกเบี้ยในรอบนี้ จากดอกเบี้ยปัจจุบันที่ 2.5% (82% คาดจะลดราว 0.25% อีก 18% คาดจะลด 0.5%) ซึ่งหาก Fed ปรับลดดอกเบี้ยตามตลาดคาดจริง จะเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 10 ปี 7 เดือน 
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าประเด็นดังกล่าวน่าจะสะท้อนไปในราคาหุ้นพอสมควรแล้ว สะท้อนได้จากทั้ง Dow Jones และ SET Index ต่างปรับตัวเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน พ.ค. 2562 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันราว 4.8% และ 3.5% ตามลำดับ ดังนั้นหากผลประชุม Fed ออกมาเป็นไปตามตลาดคาด เชื่อว่าตลาดหุ้นอาจจะปรับเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากนัก หรืออาจจะถูกเทขายทำกำไร (Sell on Fact) ได้ แต่หากเกิดกรณีตรงข้าม คือ Fed ยังไม่ลดดอกเบี้ยในรอบ ก.ค. สวนทางกับที่ตลาดคาด อาจส่งผลให้ตลาดผิดหวังและมีโอกาสปรับฐานลงได้ 
ธปท.ลดวงเงินออกพันธบัตรระยะสั้น เดือน ส.ค. หนุนเงินบาทอ่อนค่า
ค่าเงินบาท/ดอลลาร์ ล่าสุดยังแกว่งบริเวณ 30.6-30.8  บาท/ดอลลาร์นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.-ปัจจุบัน และเคยแข็งค่าต่ำสุดที่ 30.3 บาทเมื่อวันที่ 1 ก.ค. โดยรวมปัจจุบันเงินบาทยังถือว่าแข็งค่ามากสุดในภูมิภาค และหากนับตั้งแต่ต้นปีแข็งค่าราว 5%ytd    ทั้งนี้เงินบาทเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่  31.5 บาทดอลลาร์ ต่ำกว่าสมมติฐานที่   ASPS คาดปี 2562 ที่ 32 บาท) 
ทั้งนี้เงินบาทที่ชะลอการแข็งค่าเนื่องจาก ธปท.เริ่มออกมาตรการสกัดกั้น 
    ครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 มิ.ย คือ ลดวงเงินออกพันธบัตรระยะสั้น เดือน ก.ค. 
    ครั้งที่ 2 คือ วันที่ 12 ก.ค. 1.ลดยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลบาทของต่างชาติ (Non-Resident) เหลือ 200 ล้านบาทต่อราย จากปัจจุบันกำหนดที่   300  ล้านบาท มีผลตั้งแต่ 22 ก.ค. 2562 เป็นต้นไป 2.เพิ่มความเข้มงวดรายงานการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ (ให้รายงานชื่อผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง) ให้เริ่มรายงานตั้งแต่งวดเดือน ก.ค. 2562 เป็นต้นไป
    ล่าสุดวานนี้ ครั้งที่ 3 ลดวงเงินออกพันธบัตรระยะสั้นของเดือน ส.ค. (รายละเอียดดังรูป)ส่งผลให้ปริมาณพันธบัตรระยะสั้นในตลาดตราสารหนี้มีน้อยลง ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรในพันธบัตรระยะสั้นได้น้อยลง 
 
 
 
โดยรวม ASPS เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งให้เงินบาทอ่อนค่าในช่วงสั้น และน่าจะทำให้ Fund Flow ชะลอการไหลเข้าเนื่องจากไม่ได้กระทบต่อผลตอบแทน (Return) ของนักลงทุนโดยตรง   แต่เชื่อว่าในระยะกลาง-ยาวเงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่าต่อ จากปัจจัยแวดล้อมคือ วัฎจักรดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาลง โดยเฉพาะในสหรัฐและยุโรป หลังธนาคารกลาง 2 ประเทศยังส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
 
ถึงเวลา ขายทำกำไรหุ้น อสังหาฯ
นับจากต้นปี 2562 เป็นต้นมาดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวขึ้นไปกว่า 7.5% ซึ่งถือว่า Outperform ตลาดฯ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Dividend Yield ที่ดึงดูดใจ อีกทั้งผลประกอบการ 1Q62 ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าที่นักลงทุนคาดหมาย อย่างไรก็ตามด้วยระดับราคาหุ้นปัจจุบัน พบว่าหลายบริษัทราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมาสูงกว่า Fair Value แล้ว หรือบางบริษัทราคาหุ้นปรับขึ้นมาจนเหลือ Upside เมื่อเทียบกับ Fair Value จำกัดมาก ทำให้ภาพรวมของหุ้นในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาที่อยู่อาศัยปัจจุบันอยู่ในภาวะที่มีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expected Return) ที่ค่อนข้างต่ำ สำหรับสถานการณ์ทางปัจจัยพื้นฐาน ณ ปัจจุบันพบว่ามีหลายปัจจัยที่กำลังเข้ามาสร้างแรงกดดันต่อราคาหุ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากมาตรการ LTV ที่มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 เม.ย.62 ส่งผลทำให้ทั้ง Presale และยอดโอนกรรมสิทธิ์ ในงวด 2Q62 ลดลงทั้ง YoY และ QoQ ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อผลประกอบการ 2Q62 ที่จะประกาศออกมาให้เห็นการชะลอตัว อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมให้กับหุ้นในกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยก็คือ การเดินหน้าควบคุมระดับสินเชื่อครัวเรือนของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยล่าสุดเตรียมนำเกณฑ์ การกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio, DSR) โดยจะมีการกำหนดมาตรฐานกลางที่ชัดเจนสำหรับสถาบันการเงินที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายบุคคล ซึ่งความเข้มงวดดังกล่าวอาจทำให้การปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยมีมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นผลโดยตรงต่อความสามารถในการรับโอนกรรมสิทธ์ของลูกค้า และมีผลต่อเนื่องมายังการบันทึกรายได้จากการขายของผู้ประกอบการ
ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่ Expected Return จำกัด ผลประกอบการ 2Q62 ที่กำลังจะประกาศออกมาชะลอตัว และ กฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่อาจสร้างแรงกดดันต่อผลประกอบการ การกำหนดกลยุทธ์สำหรับการลงทุนในหุ้นอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลานี้ ฝ่ายวิจัยจึงให้ลงทุนด้วยน้ำหนักที่น้อยกว่าตลาด (Underweight) โดยนักลงทุนควรขายทำกำไรในหุ้นที่ ไม่มี Upside หรือ Upside เมื่อเทียบกับ Fair Value จำกัด ซึ่งประกอบด้วย AP, LPN,ORI, PSH, SIRI และ SPALI ส่วนหุ้นที่สามารถถือลงทุนได้ควรให้ Dividend Yield ที่สูงกว่า 6% ซึ่งที่โดดเด่นที่สุดคือ LH([email protected])
งบประมาณปี 2563 เริ่มเบิกจ่ายอย่างเร็ว คือ ก.พ.2563
ความเสี่ยงประเด็นนึงที่ ASPS นำเสนอมาตลอดคือ งบประมาณปี 2563 ที่ส่อแววล่าช้า ล่าสุด หลังจากวานนี้ที่ประชุม ครม. ได้รับทราบปฎิทินงบประมาณใหม่ โดยขั้นตอนถัดไป วันนี้ 31ก.ค. สำนักงบประมาณจะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณางบประมาณปี 2563 จะมีการเพิ่ม/คงงบประมาณปี 63 จากเดิมที่  3.2  ล้านล้านบาท และขาดดุลงบประมาณราว 4.5 แสนล้านบาท ( ASPS คาดมีโอกาสที่จะเพิ่มวงเงินงบประมาณปี 2563 เนื่องจากเพื่อรองรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ)  และจะส่งให้ ครม.อนุมัติวงเงินผ่านหรือไม่คือ  6 ส.ค.  ขณะที่ขั้นตอนเสนอเข้าสู่สภาเพื่ออนุมัติรวมทั้ง  3 วาระ (ดังรูปด้านล่าง)
 
 
โดยรวมจาก กระบวนการพิจารณาดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่ารัฐบาลจะเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ออกมาอย่างเร็วสุด (Best case) คือต้นเดือน ก.พ.2563  ซึ่ง ASPS ยังเชื่อว่ามีความเสี่ยงที่งบประมาณอาจจะล่าช้าจากที่คาดได้  
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คือ กระทบต่อส่วนของการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ยังไม่ก่อหนี้ผูกผัน (เดิม สศค.ประเมินระบุว่าหากงบลงทุนใหม่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ในช่วง (ต.ค.-ธ.ค. 2562) จะทำให้เม็ดเงินลงทุนหายไปราว  7-8  หมื่นล้านบาท 
ผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนคือ กลุ่มรับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง และอาจเป็นผลทางบวกต่อ ค้าปลีก กล่าวคือ
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง  คาดจะได้รับ Sentiment เชิงลบ โดยเฉพาะผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่  คือ ITD, CK, STEC, UNIQ ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการลงทุนใหม่ๆที่อาจจะประมูลล่าช้า       
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง คือ TASCO([email protected]) ความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณประจำปี 2563 ดังกล่าว ทำให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 62 มีความล่าช้าตามไปด้วย จึงเชื่อว่าผลประกอบการช่วง 2H62 น่าจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วง 1H62  
กลุ่มค้าปลีก  เนื่องจากงบประมาณที่อาจเบิกจ่ายล่าช้า เชื่อว่ารัฐบาลน่าจะกลับมาเดินหน้ากระตุ้นการบริโภคที่ยังไม่ต้องใช้วงเงินในการอัดฉีดมากนัก  คือ น่าจะมุ่งไปที่ มาตรการทางภาษี เช่น ช็อปช่วยชาติ , นำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวมาลดหย่อนภาษี    และจากความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน ASPS ได้รวบรวมมาตรการของรัฐบาลที่มีโอกาสที่เป็นไปได้และเตรียมเข้า ครม. ในสัปดาห์หน้า คือ มารดาประชารัฐ, ต่อยอดบัตรสวัสดิการภาครัฐให้ครอบคลุม ,ประกันราคาสินค้าเกษตร อาทิ ยางพารา, ปาลมน้ำมัน ,ข้าวเหนียว เป็นต้น, ลดค่าครองชีพอาทิ ค่าเดินทาง เบื้องต้นรัฐบาลกำลังพิจารณา ลดราคาตั๋วเดินทางรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตเรลลิ้ง และรถฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน เป็นต้น
คาดว่ามาตรการต่างๆข้างต้นจะมีส่วนช่วยลดภาระค่าครองชีพ รวมถึงเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ประชาชนได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มค้าปลีก เช่น ROBIN(FV@B70) และ BJC(FV@B61) โดย Top Pick กลุ่มนี้คือ BJC(FV@B61)
 
ความน่าลงทุนของกองทุนอสังหาฯ ลดลงไปมาก
เดิมกองทุนอสังหาฯมีความผันผวนต่ำ เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังในเงินปันผล มากกว่าการเปลี่ยนแปลงของราคา อย่างไรก็ตามภาวะวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง ณ ปัจจุบัน ส่งผลให้กองทุนอสังหาฯ ได้รับความนิยมสูงมาก หนุนให้ดัชนี PF&REIT ปรับตัวขึ้นมาเร็วอย่างผิดปกติในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา สังเกตได้จาก ปี 2561 PF&REIT เพิ่มขึ้น 7.08% ขณะที่ SET Index ลดลง 10.8% และ PF&REIT เดินหน้าปรับขึ้นต่อเนื่องในปี 2562 พร้อมกับทำจุดสูงสุดที่ 251.84 จุด ณ วันที่ 11 ก.ค. 62 (ปรับตัวเพิ่มขึ้น 24.29% นับตั้งแต่ต้นปี 2562 โดย SET Index ปรับตัวขึ้นเพียง 10.68% เท่านั้น)
ผลตอบแทนดัชนี PF&REIT vs SET Index (รายปี)
 
ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 11 ก.ค. 2562
ที่มา SET,ฝ่ายวิจัย ASPS
ปัจจุบันราคาหน่วยลงทุนหลายๆกองเริ่มแพง สังเกตได้จากดัชนีกลุ่มฯมีค่า Premium เมื่อเทียบกับ NAV ขึ้นไปสูงถึง 55% (ค่า Premium ย้อนหลัง 10 ปีเฉลี่ย 20%) ดังนั้นการลงทุนในกองทุนอสังหาฯในช่วงนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากหากการจ่ายเงินลงทุนในกองทุนฯที่มีราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมิน (Premium) ผลที่ตามมา คือ อัตราผลตอบแทนเงินปันผลต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และเกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากเป็นกองทุนฯประเภทที่ถือครองสิทธิการเช่า (Leasehold) เมื่อเวลาผ่านไป NAV จะลดลงต่อเนื่อง พร้อมกับกดดันราคาตลาด และเงินปันผลในระยะถัดไปลดลงตามไปด้วย
ฝ่ายวิจัยฯจึงทำการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนกองทุนอสังหาฯ ที่ได้รับความนิยม จนมี Premium สูงเกิน 30% ทั้งหมด 9 กองทุน โดยเปรียบเทียบผลตอบแทนเงินปันผลในอดีตกับปัจจุบัน และหาค่า IRR ของแต่ละกองทุนฯ พร้อมกับพิจารณาสัดส่วนการถือครองจากนักลงทุนสถาบันฯ ได้ผลลัพธ์ดังตารางทางด้านล่าง
 
 
จากตารางสรุปได้ว่า กองทุนอสังหาฯมีความคุ้มค่าในการลงทุนลดลงไปมาก โดยเฉพาะกองทุนฯที่เข้าข่ายมี Premium สูงจนมีค่า Dividend Yield อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ อีกทั้งหากคำนวณหาค่า IRR มีค่าต่ำกว่า 4% นอกจากนี้ยังได้รับความสนใจและมีสัดส่วนในการถือครองจากสถาบันฯ อยู่ในระดับสูงกว่า 5% คือ GLANDRT, CPNREIT และ IMPACT เป็นการเพิ่มความเสี่ยง เวลาสถาบันฯต้องการจ่ายเงินปันผลให้นักลงทุน อาจขายหน่วยลงทุนออกมาบางจังหวะ และหากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น อาจเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาก่อนกองทุนอสังหาฯอื่นๆ ส่งผลให้หน่วยลงทุนลดลงและมีความผันผวนมากขึ้น
“รายละเอียดที่น่าสนใจเพิ่มเติม ทั้งการวิเคราะห์รายกองทุนฯ, ความเสี่ยงหรือกับดักที่นักลงทุนต้องระวังในการลงทุน ฯลฯ สามารถติดตามได้ในบทวิเคราะห์ Quantitative Analysis ในวันนี้”
 
 
ภรณี ทองเย็น, CISA 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 
 
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!