- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 22 July 2019 16:29
- Hits: 3496
บล.กรุงศรี : Money Wizard
Daily Strategy
" สะสมรายตัว "
ตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์: SET Index ปรับตัวขึ้นแรง +11.66 จุด (+0.68%) ปิดที่ระดับ 1,735 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6.2 หมื่นล้านบาท หลัง Fitch Ratings ปรับมุมมอง (Outlook) ประเทศไทยขึ้นเป็นเชิงบวก ประกอบกับประธานเฟดสาขานิวยอร์กหนุนให้ FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อรองรับเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงซื้อในกลุ่ม FOOD, ICT และ CONS ส่วนนักลงทุนต่างชาติพลิกเป็นขายสุทธิ 870 ล้านบาท รวมถึง Net Short TFEX จำนวน 9,073 สัญญา และขายสุทธิ ในตลาดพันธบัตร 104 ล้านบาท
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้: เรามีมุมมองเป็นกลางคาด SET แกว่งตัว 1,725 - 1,745 จุด โดยภาวะตลาดมีแรงหนุนจากคาดการณ์ FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 30 - 31 ก.ค. รวมถึง Fitch Rating เพิ่มมุมมองประเทศไทยขึ้นเป็น Positive อย่างไรก็ตามแรงฉุดจากสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ตึงเครียดขึ้น หลังอิหร่านเข้ายึดเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษ ประกอบกับปัจจัยการเมืองภายในหลังศาลรธน.รับคำร้องความเป็นรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ ไว้พิจารณาแต่ไม่ต้องหยุดปฎิบิติหน้าที่ รวมถึง Fund Flow ต่างชาติพลิกกลับเป็นฝั่งขายซึ่งจะกดดันต่อภาวะการลงทุนให้มีความผันผวน
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
- กลุ่มที่คาดว่างบ 2Q19 จะเติบโตขึ้น (PTTEP, EA, BGRIM, GPSC, CKP, CPF, GFPT, TFG, CPALL, MTC, THANI, VGI, PLANB, MINT, VNT, WORK, MAJOR, JMT, PRM)
- กลุ่มขนส่งทางเรือ (PSL, TTA) อานิสงส์ค่าระวางเรือปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 5 ปีล่าสุด 2,170 จุด
- หุ้นปันผลครึ่งปีเด่น (INTUCH, ADVANC, KKP, TCAP, LH, QH)
หุ้นแนะนำวันนี้: AMATA (ปิด 24.1 ซื้อ/เป้า Consensus 26.5 บาท) ได้ Sentiment บวกจากภาพการเมืองที่ชัดเจนรัฐบาลใหม่เตรียมแถลงนโยบายในช่วงวันที่ 25-26 ก.ค. คาดเดินหน้า EEC ต่อ ขณะเดียวกันสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐยังหนุนให้เกิดเงินทุนเคลื่อนย้ายจากจีนมาไทยเพื่อเลี่ยงปัญหา Trade war มากขึ้น, TU (ปิด 19.5 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 21.4 บาท) คาดผลกำไร 2Q19 เติบโตโดดเด่นจากต้นทุนทูน่าที่ลดลงราว 38%yoy ส่งผลให้ GPM รวมของ TU น่าจะสูงขึ้นจาก 13.8% ใน 1Q19 ไปเป็น 16% ซึ่งผลบวกดังกล่าวจะส่งผลดีต่อเนื่องไปจนถึง 3Q19 KSS report วันนี้: EPG (ปิด 7.15 ถือ /เป้าใหม่ 6.70 เดิม 5.5)
ประเด็นสำคัญวันนี้:
(+) กลุ่มธุรกิจน้ำมัน - สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางจะช่วยพยุงราคาน้ำมันดิบ WTI ไม่ให้ต่ำกว่าระดับ 55$/bbl : สัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้นในกลุ่มธุรกิจน้ำมันปรับตัวลงหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 เดือนที่ระดับ 55.4$/bbl เนื่องจากผลของพายุเฮอร์ริเคนในอ่าวเม็กซิโกไม่ได้รุนแรงอย่างที่วิตก ขณะที่สต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐลดลงน้อยกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็สัปดาห์นี้เราคาดว่าราคาน้ำมันดิบน่าจะฟื้นตัวและน่าจะเป็น Sentiment บวกต่อการลงทุนของหุ้นในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน โดยมีปัจจัยหนุนหลักมาจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางที่เหมือนจะบานปลายมากขึ้น จาก 1) กองทัพสหรัฐยิงโดรนสอดแนมของอิหร่านตกในบริเวณช่องแคบเฮอร์มุส, 2)กองทัพอิหร่านยึดเรือขนส่งน้ำมันของอังกฤษ และ 3)สหรัฐเตรียมส่งกองกำลังทหารเข้าไปในซาอุฯเพื่อปกป้องและต่อสู้กับภัยคุกคามในตะวันออกกลาง
(-) ปัญหาภัยแล้งอาจจะลดทอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ : ทุกคนกำลังเฝ้ารอการแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ในช่วงวันที่ 25-26 ก.ค.19 ซึ่งคาดว่าจะมีนโยบายเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน แต่นโยบายดังกล่าวอาจจะถูกลดทอนลงจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงขึ้นและลุกลามไปในหลายพื้นที่ของประเทศ ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงลดลงต่ำสุดในรอบ 50 ปี ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักของประเทศเริ่มเห็นสัญญาณเตือนถึงระดับวิกฤติ อาจกระทบการอุปโภคบริโภคและภาคการเกษตร พื้นที่นาข้าวได้รับความเสียหายหลายแสนไร่ ชาวบ้านเริ่มปิดถนนประท้วงให้กรมชลประทานเปิดประตูน้ำบรรเทาผลกระทบในหลายพื้นที่ ปริมาณผลผลิตที่ลดลงอาจจะทำให้ราคาพืชผลเพิ่มขึ้นแต่ชาวบ้านจะไม่มีของขาย ปัจจัยเหล่านี้จะกระทบอำนาจซื้อของประชาชนและจะกระทบไปยังกลุ่มค้าปลีกโดยเฉพาะกลุ่มวัสดุก่อสร้าง อาทิ GLOBAL และ HMPRO ดังนั้นการลงทุนในหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากนโยบายรัฐ อาจจะเน้นไปที่กลุ่ม นิคมฯ (AMATA และ WHA) และกลุ่มรับเหมาฯ(CK, STEC และ SEAFCO) แทนกลุ่มค้าปลีกที่คาดว่าจะได้รับผลลบจากปัญหาภัยแล้ง
(+/-) วันนี้ติดตามกระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขส่งออกเดือน มิ.ย. Consensus คาด -5%yoy ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 : ตัวเลขการส่งออกของบ้านเรายังไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัว โดยรวมยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหา Trade war ที่ยืดเยื้อและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดย Bloomberg Consensus คาดการส่งออกของไทยเดือน มิ.ย. จะหดตัว 5%yoy เทียบกับเดือน พ.ค.ที่หดตัว 5.8%yoy นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และคาดว่าปัจจัยนี้จะยังเป็นลบกดดันให้ GDP ของไทยในไตรมาส 2 ยังชะลอตัวต่อไป
(+/-) ปัจจัยที่ต้องติดตาม - 25 ก.ค. ECB meeting และ 26 ก.ค.สหรัฐประกาศ GDP ไตรมาส 2/19:ในวันที่ 25 ก.ค.จะมีการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของยุโรป (ECB) คาดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0% ตามเดิม และวันที่ 26 ก.ค. สหรัฐประกาศ GDP ไตรมาส 2/19 Consensus คาดขยายตัว 1.8% หดตัวลงจาก ไตรมาส 1/19 ที่ขยายตัว 3.1% ปัจจัยนี้อาจหนุนให้เฟดลดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 0.25% เป็น 0.5%
นักวิเคราะห์ ปัจจัยพื้นฐาน :
อาทิตย์ จันทร์สว่าง Registration No.16475
นักวิเคราะห์ เทคนิค และ นักกลยุทธ์:
ชัยยศ จิวางกูร Registration No. 15942
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์:
ยุภาวณี เล้าตระกูลชัย
ณัฐกานต์ โพธิ์ศรี