WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
ปัจจัยต่างประเทศมีน้ำหนักในเชิงบวกต่อ SET Index แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของ Fund Flow ที่ยังไม่ไหลเข้าภายใต้สถานการณ์การเมืองปัจจุนัน ทำให้ Upside น่าจะถูกจำกัดอยู่ในช่วง 1655 – 1660 จุด ตัวเลือการลงทุนในช่วงนี้เน้นไปที่หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคาปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมัน และหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนออกจากตราสารหนี้ Top picks ตัวแรกเลือก PTTGC(FV@B79) ซึ่งได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น อีกทั้งให้ Dividend Yield เกิอบ 6% ต่อปี และยังคงชอบ CK([email protected])      
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …  ตลาดหุ้นไทยแกว่งทรงตัวตลอดวัน
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index แกว่งทรงตัวในกรอบ (-6,+6) จุดตลอดวัน จนทำให้ปิดที่ระดับ 1646.18 จุด เพิ่มขึ้น 1.96 จุด (+0.12%) มูลค่าการซื้อขาย 2.69 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มค้าปลีกอย่าง CPALL(+1.33%) MAKRO(+4.41%) BJC(+0.50%) กลุ่มเช่าซื้ออย่าง  KTC(+6.99%) MTC (+0.52%) แต่มีกลุ่มที่กดดันตลาด คือกลุ่มพลังงานอย่าง EGCO(-2.04%) PTT(-0.52%) PTTEP(-0.39%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง CPF(-0.96%) BAY(-1.99%) 
ตลาดหุ้นไทยเช้านี้น่าจะได้แรงหนุนจาก Sentiment เชิงบวกจากปัจจัยในต่างประเทศ นำโดยทิศทางของการเจรจาสหรัฐฯ-จีน ที่มีแนวโน้มเชิงบวกต่อเนื่อง ขณะราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งน่าจะขับเคลื่อนให้หุ้นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี ซึ่งช่วงที่ผ่านมาเกิดรายการ Short Sell ขึ้นเป็นจำนวนมาก มีโอกาสดีดตัวกลับขึ้นมา ส่วนปัจจัยด้านการเมืองในประเทศ โดยภาพใหญ่ไม่เห็นความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม แต่ดูเหมือนว่าเกิดกระแสความร้อนแรงเพิ่มขึ้นเป็นจุดๆ ซึ่งน่าจะส่งผลทำให้ Fund Flow ยังไม่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยในช่วงเวลานี้ คาด SET Index มี Upside จำกัดอยู่ที่บริเวณ 1655 – 1660 จุด หุ้น Top picks PTTGC(FV@B79) และ CK([email protected])      
ต่างประเทศสัปดาห์นี้ให้น้ำหนัก ECB meeting  Fed Minute
การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนในปลายสัปดาห์ที่แล้ว ยังมีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง   โดยสหรัฐ-จีนขยายระเวลาการเจรต่อไปอีก 1 เดือน  โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปอย่างเร็วคือช่วง เดือน พ.ค.-มิ.ย. เชื่อว่าสหรัฐ-จีนจะมีท่าทีที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง เพราะทั้งสองต่างได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง  ล่าสุด จีนประกาศปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเหลือ 13% จากเดิม 15% เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือ กล้องดิจิทัล  อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ วันนี้  เพื่อกระตุ้นการค้าที่ชะลอลง ขณะที่ประเด็น  Brexit ในอังกฤษที่ยังไม่เห็นแนวโน้มจะได้ข้อสรุป   ล่าสุด คือ สหภาพยุโรปเสนอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี  แต่อังกฤษต้องการขยายระยะเวลาออกไปถึงสิ้นเดือน  มิ.ย. จากเดิม คือ 22 พ.ค.   
ปัจจัยต่างประเทศสัปดาห์นี้ให้น้ำหนัก 9 เม.ย. 2562 IMF ออกรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2562-2563 และ 10 เม.ย. การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดยังคงดอกเบี้ยต่ำ 0% แต่อาจส่งสัญญาณนโยบายในอนาคตเพิ่มเติม และสหรัฐรายงาน Fed Minute คาดว่าทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐปีนี้น่าจะทรงตัว จากเดิมคาดขึ้น 2 ครั้ง 
น้ำมันดูไบยืนบริเวณ 70 เหรียญฯ สะสม PTTEP, PTT, PTTGC 
ราคาน้ำมันดิบโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและทำจุดสูงสุดในรอบ 1 ปี ผลจาก Supply ที่คาดจะหายไป คือ 
    อิหร่าน(กำลังการผลิตน้ำมันราว 2.65 ล้านบารร์เรล/วัน หรือราว 8.7% ของกำลังการผลิตทั้งหมดในกลุ่ม OPEC) โดยที่สหรัฐมีแนวโน้มเข้มงวดมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มขึ้น  หลังจากการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน ล่าสุดเมื่อ  5 พ.ย.2561 แม้ห้ามทุกประเทศซื้อขายน้ำมันกับอิหร่าน  แต่ยกเว้น 8 ประเทศ คือ จีน, อินเดีย, กรีซ, อิตาลี, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, ตุรกี และเกาหลีใต้  แต่รอบนี้อาจจะห้ามทุกประเทศค้าขายกับอิหร่าน  
    ในลิเบีย (ผลิตน้ำมันราว 1.2 ล้านบารร์เรล/วัน หรือราว 3%)  เกิดสงครามกลางเมืองที่รุนแรงตั้งแต่กลางสัปดาห์ที่แล้ว ระหว่างฝั่งรัฐบาลและฝั่งทหาร ซึ่งพยายามทำรัฐประหาร  ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 35 ราย และบาดเจ็บ 80 ราย และสถานที่สำคัญเสียหาย อาทิ สนามบิน 
    กลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน Opec และ Non-Opec มีแผนยืดระยะเวลาในควบคุมการผลิตน้ำมัน จากเดิมที่กำหนดไว้กลางปี 2562 เป็นสิ้นปี 2562   (ตามข้อตกลง OPEC และ Non OPEC  ทำสัญญาล่าสุด ธ.ค. 2561 จะตัดลดการผลิตถึงกลางปี 2562 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน)
สอดรับกับความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ลดลงจากผลของสงครามการค้า    แต่ช่วงสั้นผ่อนคลาย หลังจากวันศุกร์ที่ผ่านมา มีการรายงานดัชนีชี้น้ำเศรษฐกิจสำคัญๆของสหรัฐ ผู้บริโภคน้ำมันอันดับ 1 ของโลกราว 21% ขยายตัวแข็งแกร่ง คือ ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 1.96 แสนราย มากกว่าตลาดคาดที่  1.75 แสนราย หนุนให้อัตราการการว่างงานในเดือนเดียวกัน ทรงตัวที่ 3.8% (ระดับที่ Fed ตั้งเป้าไว้)  โดยรวมให้ราคาน้ำมันดูไบล่าสุด  69 เหรียญฯต่อบาร์เรล  (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ 63 เหรียญฯ) ใกล้เคียงสมมติฐาน ASPS คาด 65 เหรียญในปี 2562และ 70 เหรียญฯนับจากปี 2563 เป็นต้นไป) และหากราคาน้ำมันสูงกว่าสมมติฐานของ ASPSทุกๆ 5 เหรียญฯ จะหนุน Fair Value ของ PTTEP(FV@B178) ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 10 บาท และ PTT(FV@B56)เพิ่มขึ้นราว 4 บาท     
และราคาน้ำมันที่สูงดังกล่าว ทำให้ค่าเฉลี่ยน้ำมันงวด 1Q62  66 เหรียญฯต่อบาร์เรล เทียบกับ 57 เหรียญฯ ใน 4Q61 หรือราว 10 เหรียญฯ  น่าจะทำให้เกิด Stock gain ในธุรกิจโรงกลั่น-ปิโตรเคมี (PTTGC, TOP และ IRPC) พลิกจากที่ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันงวด 1Q62 ซึ่งจะหนุนกำไรสุทธิโดยรวมของกลุ่มฯ ดีขึ้นจากงวด 4Q61 รวมถึง PTT จะได้อานิสงส์ด้วยเพราะถือหุ้นในบริษัทเหล่านี้  
เตรียมขยายฟรีวีซ่า ช่วยหนุนการท่องเที่ยว
ททท. เตรียมเสนอขยายมาตรการยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่า หรือ Visa on Arrival (VOA) จำนวน 2,000 บาท/คน สำหรับ 20 ประเทศ (อาทิ จีน และ อินเดีย) และ 1 เขตเศรษฐกิจ (ไต้หวัน) เพิ่มขึ้นอีก 6 เดือน จากเดิมสิ้นสุด 30 เม.ย. 2562 เป็น 31 ต.ค. 2562 ถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อกลุ่มการท่องเที่ยว/โรงแรม คาดช่วยกระตุ้นจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาไทย ช่วง 2Q62 – 3Q62 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากเทศกาลสงกรานต์ (12 – 16 เม.ย.) ที่เป็นเทศกาลสำคัญของไทย ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงสงกรานต์เพิ่ม 8% yoy อยู่ที่ 546,000 คน รวมถึงการขยายเวลาของมาตรการ Visa on Arrival ที่มีโอกาสผ่านมติ ครม. ในเร็วๆนี้  โดยรวมคาดนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2562 เติบโต 5% yoy ที่ 40 ล้านคน (2M62 เติบโต 3%yoy อยู่ที่ 7.3 ล้านคน)
เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวมากสุด อย่าง ERW ([email protected]) เป็นหุ้นเด่น จากโครงสร้างรายได้กว่า 97% มาจากธุรกิจโรงแรม รวมถึงมีพอร์ตโรงแรมครอบคลุมทุกระดับราคา ขณะที่คาดการณ์กำไรปกติปี 2562 โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ จากการเก็บเกี่ยวผลลงทุนโรงแรมใหม่ ตามด้วย MINT(FV@B47) มีจุดเด่นจากการกระจายตัวของฐานธุรกิจโรงแรมและอาหารทั้งในและต่างประเทศ 
การเมือง ไม่คืบหน้าในภาพใหญ่ แต่เกิด Hot Spot สร้างความร้อนแรงบางจุด
ภาพใหญ่ของสถานการณ์การเมืองในช่วงหลังจากการเลือกตั้งจนปัจจุบัน ถือว่าไม่ได้มีความคืบหน้ากล่าวคือ ยังอยู่ในช่วงที่ยังไม่สามารถประกาศจำนวน ส.ส. ที่แต่ละพรรคจะได้อย่างแน่นอนไม่ได้ ทำให้ขั้นตอนต่อๆ ไปในการระบุตัวบุคคลที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ การจัดตั้งรัฐบาลยังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจน โดยคาดหวังว่าจะเห็นความชัดเจนและการเดินหน้าของกระบวนการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้งหลัง 9 พ.ค. 2562 ซึ่ง กกต. จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. อย่างเป็นทางการ สำหรับประเด็นที่เคลื่อนไหวรายวันในช่วงนี้มี 3 เรื่องหลักคือ
การประกาศให้เลือกตั้งใหม่ โดยปัจจุบัน กกต. อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องร้องเรียน โดยหากเห็นว่ามีความไม่ถูกต้อง ก็อาจสั่งการให้ดำเนินการบางอย่างเช่น การนับคะแนนใหม่  การจัดการเลือกตั้งใหม่ในบางหน่วยเลือกตั้ง หรือการ ให้ใบเหลือง (จัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งเขต โดยผู้สมัครเป็นชุดเดิม) หรือ ให้ใบส้ม (จัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งเขต แต่ผู้สมัครจากพรรคที่ถูกพิจารณาว่ากระทำความผิดถูกตัดสิทธิ์รับการเลือกตั้ง) กรณีดังกล่าวทำให้จำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรคที่คาดว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กกต. ได้สั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ในบางหน่วยเลือกตั้ง วันที่ 21 เม.ย.2562 และคาดว่า ในช่วงจากนี้ไปจะเห็นการประกาศให้ดำเนินการอื่นๆ เพิ่มเติม โดยอาจให้ใบเหลือง หรือ ใบส้ม ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งเขต ซึ่งต้องติดตามต่อไป
การคำนวน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ จนถึงปัจจุบันยังมีกระแสความไม่ชัดเจนเรื่อง สูตรการคำนวน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ (Party List) โดยสูตรที่มีการนำเสนอจากฝ่ายต่างๆ ปัจจุบันมี 3 สูตร แต่อย่างไรก็ตามในที่สุด กกต. มีหน้าที่ต้องตีความกฎหมายและสรุปว่าจะใช้สูตรการคำนวนเป็นอย่างไร ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยเห็นว่า ไม่ว่าจะใช้สูตรใด ในเบื้องต้นหากความร่วมมือระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ไม่เปลี่ยนขั้ว คะแนนเสียงที่แต่ละฝ่ายได้ ก็ยังอยู่ในช่วงฝ่ายละ 246 – 254 เสียง ซึ่งยังคงเป็นเสี่ยงที่ไม่อาจทำให้รัฐบาลใหม่ที่ตั้งขึ้นมามีเสถียรภาพได้
กระแสอื่นๆ นอกจากทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระแสอื่นๆ ที่ถือเป็น Hot Spot ทางการเมือง เช่น กรณีที่เกิดขึ้นกับ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  รวมถึงการเคลื่อนไหวของลูกพรรคการเมืองต่างๆ ที่อาจมีความเห็นแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้หากพิจารณาโดยภาพรวมแล้วเชื่อว่า ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าว ยังไม่น่าที่จะทำให้เห็น Fund Flow ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทย และน่าจะทำให้ SET Index ถูกจำกัด Upside อยู่ในช่วง 1655 – 1660 จุด
เก็บภาษีดอกเบี้ยจากกองทุนตราสารหนี้ ดีต่อกองทุนอสังหาฯและหุ้น High Yield
หลังจากที่ ครม.เห็นชอบแก้กฎหมายจัดเก็บภาษีในอัตรา 15% จากผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ปัจจุบันผ่านความเห็นชอบสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน แต่ยังคงมีข้อยกเว้น ไม่เรียกเก็บภาษีดังกล่าวจากกองทุน RMF และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฝ่ายวิจัยได้ศึกษาถึงผลกระทบดังกล่าวต่อทิศทางการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุน อันเนี่องจากมากประเด็นดังกล่าว
เริ่มต้นฝ่ายวิจัยทำการศึกษาจากเงินลงทุนจากกองทุนรวมทั้งหมดในประเทศไทย พบว่า ณ สิ้นปี 2561 มีกองทุนรวมที่ถูกบริหารจาก บลจ.ทั้งหมด 1649 กองทุน มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิรวม 5.06 ล้านล้านบาท โดยเงินลงทุนหลักๆ อยู่ในกองทุนตราสารหนี้มากสุด คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 50% ของเงินลงทุนทั้งหมด หรือมีมูลค่ากว่า 2.56 ล้านล้านบาท ประเด็นดังกล่าวน่าจะสร้าง Sentiment เชิงลบให้กับกองทุนตราสารหนี้พอสมควร
 
สัดส่วนการลงทุนในกองทุนรวมทั้งหมดในประเทศไทย ณ สิ้นปี 2561
 
ที่มา SEC, ฝ่ายวิจัย ASPS
หากวิเคราะห์เจาะลึกลงไป พบว่า ในปี 2561 ด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่อยู่ในระดับต่ำราว 1.50 - 1.75% เป็นอีกส่วนหนึ่งที่กดดันให้นักลงทุนลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนการลงทุนสูงสุด อย่าง กองทุนรวมตราสารหนี้ลงมาถึง 7.5% เมื่อเทียบกับปี 2560 และมีการย้ายเม็ดเงินดังกล่าวมาลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า อย่าง กองทุนรวมหุ้น (สัดส่วนการลงทุนเพิ่มขึ้น 4.4%) และกองทุนอสังหาฯ (สัดส่วนการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกว่า 36.8%)
 
การเติบโตในปี 2561 ของกองทุนในแต่ละประเภท
 
ที่มา SEC, ฝ่ายวิจัย ASPS
 
หนุนทำให้หุ้นในกลุ่ม PF&REIT ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปี 2561 กว่า 7% (SET ลดลง 10.8%) และในปีนี้หุ้นในกลุ่ม PF&REIT ยัง Outperform ตลาดฯต่อเนื่อง ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีก 9% (SET ลดลง 10.8%)
จากประเด็นการเก็บภาษี แม้ทำให้ผลตอบแทนจากกองทุนตราสารหนี้ลดลงไปบ้าง และน่าจะทำให้มีเม็ดเงินบางส่วน เคลื่อนไปหาสินทรัพย์อื่นที่สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า อย่าง หุ้นปันผลสูง และกองทุนอสังหาฯ เป็นต้น โดยหุ้นทั้ง 2 ประเภทยังเหมาะกับการลงทุนในช่วงที่ตลาดเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเมืองสูง และมีมูลค่าซื้อขายที่เบาบางเช่นนี้ โดยฝ่ายวิจัยฯ คัดเลือกสินทรัพย์ หรือหุ้นที่น่าสนใจลงทุนดังนี้
1.    กองทุนอสังหาฯ ประเภท Free Hold ที่มีปันผลมากกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม 4.86% และมีสภาพคล่องสูง
 
หมายเหตุ ข้อมูล ณ 4 เม.ย. 62
2.    หุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งปันผลสูง รวมถึงหุ้นน้ำมันที่ราคายัง Laggard อยู่มาก 
 
ทั้ง 2 กลยุทธ์น่าจะเป็นทางเลือกลำดับต้นๆ ที่จะได้รับประโยชน์จากการเรียกเก็บภาษีดอกเบี้ยกองทุนรวมตราสารหนี้ และยังถือเป็นที่พักเงินชั้นดียามตลาดที่มีความไม่แน่นอนสูง
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!