- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 05 April 2019 15:31
- Hits: 1142
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคล่าสุดลดมากกว่าคาด กังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า แต่อาจชดเชยจากปัจจัยภายนอก หลังราคาน้ำมันดิบเข้าใกล้ 70 เหรียญฯ/บาร์เรล หนุนให้เกิด stock gains ในกลุ่มพลังงาน (PTTGC, TOP, IRPC, PTT) และหนุนกำไร 1Q62 ดีขึ้นจาก 4Q61 และหุ้นส่งออกไก่ (GFPT, TFG, CPF) ได้รับผลบวกจากยุโรปเพิ่มโควต้านำเข้าจากไทย 2.2% ทำให้ดัชนีแกว่งตัว 1640-1660 กลยุทธ์ฯ ให้น้ำหนักหุ้น Global เพิ่มมากขึ้น Top picks PTTGC(FV@B79) และ TFG([email protected]) วันนี้เพิ่ม CK([email protected]) หลังการก่อสร้างเชื่อม 3 สนามบินเดินหน้า
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ … SET Index แกว่งตัวในแดนลบตลอดวัน
วานนี้ SET Index แกว่งตัวในแดนลบตลอดวันจนทำให้ปิดที่ระดับ 1644.22 จุด ลดลง 4.84 จุด (-0.29%) มูลค่าการซื้อขาย 3.45 หมื่นล้านบาท จากความกังวลต่อเศรษฐกิจในประเทศที่คาดว่าจะชะลอตัวลง โดยหุ้นกลุ่มที่กดดันตลาด คือ พลังงาน PTT(-0.52%) PTTEP(-0.78%) BANPU(-1.81%) อสังหาฯ LH(-1.83%) CPN(-1.68%) และค้าปลีก COM7(-1.08%) CPALL(-0.99%) ROBINS(-1.72%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่ MINT(-1.95%) BDMS(-0.99%)
ปัจจัยในประเทศยังคงให้น้ำหนักต่อปัญหาการเมืองในประเทศ ซึ่งกดดันดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เพราะจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้าหมายถึงการพิจารณางบประมาณปี 2563 ที่จะเริ่ม ต.ค. ปีนี้ ล่าช้า และแผนกระตุ้นการบริโภคในประเทศผ่านนโยบายประชานิยมฯ ที่ประกาศในช่วงหาเสียง ทั้งการจ่ายเงินผ่านบัตรประชารัฐ การขึ้นค่าแรงงาน กดดัน GDP Growth ปี 2562 อาจจะต่ำกว่าที่ ASPS คาดไว้ที่ 3.4% แต่อาจชดเชยจากหุ้นที่อิงเศรษฐกิจภายนอก หลังราคาน้ำมันดิบที่เข้าใกล้ 70 เหรียญฯ/บาร์เรล หนุนให้เกิด stock gains ในกลุ่มพลังงาน (PTTGC, TOP, IRPC, PTT) และหนุนกำไร 1Q62 ดีขึ้นจาก 4Q61 และหุ้นส่งออกไก่ (GFPT, TFG, CPF) ได้รับผลบวกจากที่ยุโรปเพิ่มโควต้านำเข้าจากไทย 2.2% ทำให้ดัชนีแกว่งตัว 1640-1660 กลยุทธ์ฯ ให้น้ำหนักหุ้น Global เพิ่มมากขึ้น Top picks PTTGC(FV@B79) และ TFG([email protected]) วันนี้เพิ่ม CK([email protected]) หลังการก่อสร้างเชื่อม 3 สนามบินปลดล๊อค และพร้อมเดินหน้า
อินเดียลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ปีนี้ ตอกย้ำสิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว กดดันให้วัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของโลกใกล้สิ้นสุด หลังจากสหรัฐส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปี 2562 เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ชะลอชัดเจน และเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับฝั่งเอเซียวานนี้ ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงครั้งที่ 2 ของปีนี้ ตามที่ตลาดคาด 0.25% เหลือ 6.0% หลังจากที่ปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรก (ในรอบ 1 ปี 6 เดือน) ราว 0.25% ไปเมื่อต้นเดือน ก.พ. 2562 เพราะเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวต่ำ ล่าสุด 2.57% ในเดือน ก.พ. 2562 ซึ่งต่ำกว่าเงินเฟ้อเป้าหมาย ที่ 4% และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนที่จะเข้าสู่เลือกตั้งของอินเดีย ในช่วง 11 เม.ย. –19 พ.ค. 2562
นับว่าสอดคล้องกับจีนที่มีการลดอัตราเงินสดสำรอง(RRR) ไป 2 ครั้งตั้งแต่ต้นปีรวม 1% เหลือ 13.5%และในช่วงที่เหลือของปีนี้ส่งสัญญาณลด RRR อีก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากได้รับผลกระทบของสงครามการค้า เป็นการตอกย้ำว่าวงจรดอกเบี้ยโลกขาขึ้นใกล้สิ้นสุดลง ผลที่ตามมาน่าจะทำให้ไทยมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยฯ ในปี 2562 ลดน้อยลง ตราบที่เงินเฟ้อยังต่ำ 1.2% และปัญหารเมืองยังมีอยู่
การเมืองกดดันดัชนีความเชื่อมั่นฯ กดดันเศรษฐกิจใน 2H62
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) เดือน มี.ค. ซึ่งเป็น Leading Economic Indicator ปรับลดลงเป็นครั้งแรกหลังจากเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 เดือนก่อนหน้า โดยลดลง 1.7%mom จากความกังวลเศรฐกิจไทยชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบ ทั้งสงครามการค้า สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่รุนแรงในภาคเหนือ ซึ่งจะกระทบต่อการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และการเมืองจากการจัดตั้งรัฐบาลที่อาจล่าช้า และสุดท้ายการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า
ทั้งนี้หากอิงตามรัฐธรรมนูญใหม่ ASPS คาดว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่น่าจะเกิดขึ้นภายในเดือน ก.ค. 2562 แต่ถ้าล่าช้าออกไป เชื่อว่าจะกระทบต่อการพิจารณาร่างงบประมาณปี 2563 และทำให้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆในช่วง 2H62 โดยเฉพาะการเบิกจ่ายภาครัฐ, การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน และกระทบต่อการบริโภคครัวเรือน จึงถือเป็นความเสี่ยงต่อ GDP Growth มีโอกาสจะต่ำกว่าที่ ASPS ประมาณการ 3.4% (การส่งออก เติบโต 0.5% ที่เหลือการบริโภคในประเทศ และการลงทุนเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตเศรษฐกิจในประเทศ) และมีโอกาสกดดันผลการดำเนินงานหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ เช่น การลงทุนภาครัฐ-เอกชน, ธนาคาร, ส่งออก และค้าปลีก เป็นต้น
เดินหน้ารถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน เพิ่ม backlog แก่ ITD, CK
วานนี้ ครม.อนุมัติให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (CP) และพันธมิตรประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) 70%, China Railway Construction Corporation Limited 10%, CK 5%, ITD 5%, และ BEM 10% เดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่าโครงการ 2.24 แสนล้านบาท แล้ว หลังกลุ่ม CP ยอมถอน 12 ข้อเสนอนอก TOR และขั้นตอนต่อจากนี้จะเป็นการเจรรารายละเอียดข้อย่อยในกฎหมาย และพร้อมเซ็นสัญญาลงนามในลำดับถัดไป คาดในเดือน พ.ค. 62 นี้
หลังจากนี้คาดว่าจะเป็นขั้นตอนของการเซ็นสัญญา ซึ่งน่าจะตกราว พ.ค. แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการเวนคืนที่ดินบางจุดที่เป็นแนวก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทำให้คาดว่าการก่อสร้างจะเริ่มเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมน่าจะราว ต้นปี 2563 ขณะที่โครงการดังกล่าวจะเป็นมูลค่างานก่อสร้างราว 1.2 แสนล้านบาท หรือราว 53.5% ของมูลค่าทั้งหมด น่าจะเอื้อแก่ผู้รับเหมาที่เป็นผู้ร่วมทุนในครั้งทั้ง 3 รายทั้งนี้คาดจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 5 ปี นับจากเซ็นสัญญา (คาด พ.ค. 2563-67) ซึ่งพิจารณาบริษัทรับเหมาที่จดทะเบียนในตลาด 2 แห่ง พบว่า CK น่าจะมีความพร้อมมากสุดด้วย net gearing ratio ต่ำเพียง 1.2 เท่า เทียบกับ ITD จะมี net gearing ratio ที่สูง 2 เท่า
หากพิจารณด้าน Backlog พบว่า ITD มี Backlog 2 แสนล้านบาท ขณะที่ CK มีอยู่เพียง 4.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 9 ปี การได้งานครั้งนี้ของ CK รวมถึงโอกาสในการพัฒนาที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะสถานีมักกะสันบนพื้นที่ 150 ไร่ ที่จะเกิดโครงการเชิงพาณิชย์ แบบ Complex มูลค่างานน่าจะอยู่ที่ราว 5.0-6.0 หมื่นล้านบาท น่าจะเพิ่ม backlog ให้ CK แตะ 1 แสนล้านบาทได้ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ยังมิได้รวมโครงการที่ยังต้องติดตามต่อคือ ทางด่วนดาวคะนอง-พระราม3, งาน O&M มอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง, ศูนย์การแพทย์ขอนแก่น 4.3 และศูนย์การแพทย์จุฬา
และเมื่อบวกกับส่วนแบ่งกำไรและเงินปันผลจากบริษัทย่อย 3 แห่ง (TTW, CKP, BEM) จะช่วยหนุนทิศทางธุรกิจดูดีขึ้นมากในปีนี้ ขณะที่ราคาหุ้น CK upside จากมูลค่าพื้นฐาน 34 บาท ราว 37% ชอบ CK มากกว่า ITD
ขายชอร์ตผ่าน NVDR วันแรก กดดัน Fund Flow ไหลออกหุ้นไทยเล็กน้อย
วานนี้ตลาดหุ้นไต้หวันหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวัน “Children Day” แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 6 ด้วยมูลค่ารวม 267 ล้านเหรียญ แต่ซื้อสุทธิเพียง 2 ประเทศ คือเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 233 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) และอินโดนีเซีย 51 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 2 ตลาดขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ ขายสุทธิ 4 ล้านเหรียญ (หลังจากถูกซื้อสุทธิติดต่อกัน 10 วัน) และไทยขายสุทธิเพียง 13 ล้านเหรียญ หรือ 415 ล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิเป็นวันแรก 681 ล้านบาท
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ความเสี่ยงการเมือง เน้นหุ้น Global มากขึ้น
แม้ปัจจัยภายนอกผ่อนคลาย โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบโลกที่ฟื้นตัวจนใกล้ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล ถือว่าดีกว่าความคาดหมายเพราะปัญหาสงครามการค้าโลก จีน-สหรัฐ ได้ลดลงและน่าจะพักรบไปอีกนาน และวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นได้สิ้นสุดลง หลังสหรัฐเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และเงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็ว และเช่นเดียวกับเอเชีย พบว่าหลายประเทศได้ลดเบี้ยแล้ว คือ อินเดียที่ปีนี้ ลดดอกเบี้ยนโยบาย 2 รอบ และจีนที่ลด RRR ลง 2 ครั้ง รวม 1% เหลือ 13.5% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งน่าจะทำให้เชื่อว่าโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในไทยในปีนี้ลดน้อยงลง
แต่อย่างไรก็ตาม กลับมีปัจจัยถ่วงจากปัญหาการเมืองในประเทศ ที่คาดหมายว่าการจัดตั้งรัฐบาลน่าจะล่าช้า และถือเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจในประเทศให้ต่ำกว่าที่ ASPS ประเมินไว้ที่ 3.4% (กำหนดให้ Export ทรงตัวจากปี 2561 แต่การเติบโตจะมาจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศ) รวมถึงในเดือน เม.ย. มีบริษัทจดทะเบียนราว 63 บริษัท ที่ขึ้นเครื่องหมาย XD (กดดัน SET ประมาณ 9 จุด) อาจจะสร้างแรงกดดันให้ SET Index เกิดความผันผวนมากขึ้น ฝ่ายวิจัยจึงประเมินกรอบการลงทุนไว้ที่ 1640-1660 จุด
กลยุทธ์ลงทุนให้ปรับน้ำหนักการลงทุนในสอดคล้องกับปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้เน้นการลงทุนในหุ้นที่อิงเศรษฐกิจภายนอกมากขึ้น (Global) จากเดิมที่เคยให้น้ำหนักอิงกับการบริโภคและการลงทุนในประเทศ (Domestic) มากกว่า รายละเอียด
1. หุ้น Global Play ที่เกี่ยวกับราคาสินค้าภัณฑ์ (น้ำมัน) และได้ประโยชน์จาก Stock Gain ในงวด 1Q62 ดังตาราง ชอบ PTT(FV@B56), PTTEP(FV@B178) และ PTTGC (FV@B79)
2. หุ้นเกษตร-อาหาร ที่ได้ประโยชน์จากการที่ EU เพิ่มโควตานำเข้าไก่จากไทย และราคาเนื้อสัตว์ในประเทศทยอยฟื้นตัวในปี 2562 ได้แก่ GFPT ([email protected]) TFG ([email protected]) และ CPF ([email protected])
3. หุ้นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่เติบโตตามการพัฒนา EEC คือ CK([email protected]) ตามที่ได้กล่าวข้างต้นถึงโอกาสจะได้งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจะเพิ่ม Backlog และความสามรถรับรู้รายได้ในระยะยาว และ EASTW([email protected]) นอกจากได้ประโยชน์จากการขายน้ำดิบแก่ผู้ประกอบการภาคตะวันออกแล้ว ปี 2562 ยังเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ เร็วกว่าทุกปี ทำให้ปริมาณฝนตกทั่วประเทศลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 30 ปี (คาดว่าเดือน มี.ค.-เม.ย. 62 ฝนตกต่ำกว่าค่าปกติราว 10-20%) จะทำให้ปริมาณการขายน้ำดิบสูงขึ้นกว่าสมมติฐาน (คาดปริมาณขายน้ำดิบเติบโต 3.2%YoY) และมี Div Yield สูงราว 4.2% และยังมี Upside 18.42%
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ