WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
ใกล้สิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้น สหรัฐเริ่มใช้นโยบายการเงินอ่อนตัว ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ-ไทยลดจำกัดเงินทุนไหลออก และแม้ยังกังวลการเมือง แต่ช่วงสั้นตลาดน่าจะได้อานิสงค์บวก สถิติเลือกตั้ง 4/5 ครั้งหลังสุด ให้ผลตอบแทนเป็นบวก 1-2 วันก่อน-หลัง ทำให้ดัชนีติดแนวต้าน 1640 จุด กลยุทธ์เลือกหุ้นที่มีกำไรเด่น 1Q62 (SCCC, BCH, PTTGC, TOP, IRPC) Turnaround (SAPPE, TTCL) และได้ประโยชน์ราคาข้าวและมันสำปะหลังฟื้นตัว หนุน DCC([email protected]) เลือกเป็น Top pick และยังชอบ PTTEP(FV@B168) ฟื้นตัวตามราคาน้ำมันที่ใกล้ 70 เหรียญฯ            
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …  SET Index แกว่งทรงตัวในกรอบ 5 จุดตลอดวัน
วานนี้ SET Index แกว่งทรงตัวอยู่ในกรอบ 5 จุดตลอดวัน จนทำให้ปิดที่ระดับ 1627.62 จุด ลดลง 2.47 จุด (-0.15%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 3.64 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มพลังงานอย่าง PTT(-0.52%) PTTGC(-1.47%) PTG(-2.88%) กลุ่ม ธ.พ. อย่าง BAY(-1.32%) KKP(-1.07%) แต่ได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่อย่าง BDMS(+1.71%) KTC(+4.62%) และ CPALL(+0.66%)
ใกล้สิ้นสุดการขึ้นดอกเบี้ยโลก หลังสหรัฐหันมาใช้นโยบายการเงินอ่อนตัว และเอเซียกำลังเดินหน้าในลักษณะเดียวกัน ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ-ไทย ลดลง จำกัดเงินทุนไหลออก และแม้การเมืองยังกังวลต่อเสถียรภาพรัฐใหม่ แต่ในช่วงสั้นน่าจะหนุนตลาด หากพิจารณาสถิติการเลือกตั้ง 4/5 ครั้งหลังสุด พบว่าก่อน-หลังเลือกตั้ง 1-2 วัน ตลาดหุ้นจะตอบรับด้านบวก ดัชนีจึงน่าจะแกว่งตัวในกรอบ  1620-1640 จุด  กลยุทธ์การลงทุนเลือกรายหุ้นที่มี  กำไรเด่น 1Q62 (SCC, SCCC, BCH, PTTGC, TOP, IRPC) หุ้น Turnaround (SAPPE, STPI, TTCL) หรือเติบโตจากเศรษฐกิจในประเทศ (DCC, DRT, M) Top Pick เลือก  DCC([email protected]) ได้อานิสงค์จากราคาข้าวและมันสำปะหลังที่ดีขึ้น หนุนกำลังซื้อใน ตจว. และ  PTTEP(FV@B168) ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน           
ดอกเบี้ยโลกเข้าสู่วงจรขาลง
ผลการประชุม Fed วานนี้ได้ข้อสรุป คือ คงดอกเบี้ยนโยบายที่  2.5%  เพราะกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว จากสงครามการค้า  พร้อมปรับลด GDP Growth ปี  2562-2563 ลงเหลือ 2.1%  และ 1.9% จากเดิม  2.3% และ 2% ตามลำดับ และอัตราการว่างงานคาดเพิ่มขึ้น คือปี 2562-2563  เป็น 3.7% และ 3.8%  จากเดิม  3.5% และ 3.6%  โดย Fed ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย และจะ ไม่ขึ้นดอกเบี้ย จากเคยเดิม 2 ครั้ง  
โดยรวมเชื่อว่าวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นสหรัฐคาดว่าจะสิ้นสุดลง กดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ชะลอการแข็งค่า หรือน่าจะมีทิศอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลักของโลก โดยเฉพาะยูโร ปอนด์ และ เยน  และ ฝั่งเอเชียมีแนวโน้มใช้นโยบายผ่อนคลายเช่นกัน  อาทิ  จีนลดอัตราเงินสดสำรอง(RRR) ไป 2 ครั้งรวม 1% เหลือ 13.5% และ อินเดียที่ลดดอกเบี้ยไปเมื่อ ก.พ. 2562 0.25% เหลือ 6.25%  ทำให้ค่าเงินเอเชียที่แกว่งตัวในกรอบแคบๆ หลังจากที่แข็งค่านับจากปลายปี 2561 เช่น เงินบาท, เปโซ, รูเปียะห์, รูปี  และ หยวน เป็นต้น   
และผลการประชุม กนง. วานนี้ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% เพราะกังวลว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามการค้า หลังจากส่งออกไทยหดตัวติดต่อกัน  3 เดือน  ทำให้มีการปรับลด GDP Growth  ปี 2562 เหลือ 3.8% จากเดิม  4% ( ASPS คาด GDP Growth ปี 2562 ที่ 3.4% โดยสมมติฐานที่ต่างกันเฉพาะยอด  ส่งออก(ในรูปดอลลาร์)  กล่าวคือ  กนง. คาดเหลือ 3% จากเดิม 3.8%  เทียบกับ ASPS คาด 0.5%   ขณะสมมติฐานอื่นใกล้เคียงกัน คือ การบริโภคครัวเรือนคาด  3.9% , การบริโภคของรัฐ 2.4%  และการลงทุนรวม 3.5%   โดยรวมทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจที่ชะลอลง และ เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มต่ำ ล่าสุดเดือน ก.พ. 2562 ขยายตัว 0.73% และสภาพคล่องในระบบยังสูง ล่าสุด ม.ค. 2562 อยู่ที่ 4.22 แสนล้านบาท คาดว่าปีนี้ กนง. มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยยากขึ้น หรือไม่ขึ้น หลังจากได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 1 ครั้ง 0.25% เป็น 1.75% เมื่อปลายปี 2561
ราคาน้ำมันดูไบใกล้แตะ 70 เหรียญฯ สต็อกน้ำมันลดลงกว่าคาด  
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ล่าสุด ลดลงติดต่อเป็นสัปดาหที่ 2 ราว 9.5 ล้านบาร์เรล ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 3.09 แสนบาร์เรล ผลจากมีการส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ สะท้อนจากอัตราการกลั่นน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 87.8% จาก 87% ในสัปดาห์ก่อนหน้า  ขณะที่การตัดลด Supply ยังเป็นไปตามแผน และมีแนวโน้มที่จะยืดระยะเวลาการตัด supply ออกไปจากแผนเดิมที่กำหนดไว้กลางปี 2562 (ตามข้อตกลง OPEC และ Non OPEC  ทำสัญญาล่าสุด ธ.ค. 2561 จะตัดลดการผลิตถึงกลางปี 2562 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็น OPEC ตัดลด 8 แสนบาร์เรล/วัน)  ขณะที่ Non OPEC  ลดลง 4 แสนบาร์เรล/วัน) 
การลด supply สอดรับกับความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ชะลอลงจากสงครามการค้า  ประกอบกับ  Dollar index ชะลอการแข็งค่าโดยอ่อนค่า 1.8% ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มี.ค. หรืออ่อนค่า 0.53% นับตั้งแต่ต้นปี โดยรวมหนุนให้ราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัวขึ้น   ล่าสุด อยู่ที่  67.72 เหรียญฯต่อบาร์เรลใกล้เคียงสมมติฐานของ ASPS ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญ ในปี 2562 และคาดว่าจะสามารถฟื้นตัวยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ (และกำหนด 70 เหรียญฯ นับจากปี 2563 เป็นต้นไป) ดีต่อ PTTEP(FV@B168) , PTT(FV@B56) และ PTTGC(FV@B79
ราคาข้าวและมันสำปะหลังที่ดีต่อเนื่อง บวกต่อ DCC
แม้ภาวะเศรษฐกิจในประเทศคาดจะชะลอตัวจากปี 2561 เหลือ 3.8% ในปี 2562 เนื่องจาก การส่งออกชะลอตัวจากผลกระทบของสงครามการค้า  การเติบโตหลักจะมาจากแรงหนุนจากมาตรการลงทุนสาธารณูปโภคภาครัฐ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายปี ซึ่งมีส่วนกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนเป็นลูกโซ่   
นอกจากราคาสินค้าเกษตรในหมวดอาหาร เช่น ข้าวและมันสำปะหลัง ฟื้นตัวต่อเนื่องใน 2 ปีก่อนหน้า  กล่าวคือ ราคาข้าว (ข้าวหอมมะลิ 105)  ปรับตัวขึ้นเฉลี่ยตันละ 11,433 บาท ในปี 2560  (เพิ่ม 30% จากปี 2559)  เป็น 15,199 บาท ในปี 2561 (เพิ่ม 33% จากปี 2560)  และ  15,203 บาท  ใน 1Q62  เพิ่มขึ้น 15% จาก 2Q61 ตามมาด้วยราคามันปะหลัง เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย กก. ละ 1.52 บาท ในปี 2560 เป็น 2.25 บาท ในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้น  48% และเฉลี่ยในช่วง 1Q62 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.4% จาก  2.15 บาท ในงวด 1Q61  เป็น 2.18 บาท  ช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับเกษตรกรบางกลุ่มสะท้อนยอดใช้กระเบื้องปูพื้น-บุผนังของประเทศ ปี 2561 เติบโตขึ้น 2.1%YoY นับเป็นการเติบโตครั้งแรกในรอบ 6 ปี  และคาดว่าจะต่อเนื่องในปี  2562 ซึ่งทำให้  DCC มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีก 10% เป็น 87 ล้าน ตรม./ปี รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น   
นอกจากนี้ แผนการปรับโมเดลธุรกิจใหม่ด้วยการพัฒนา Outlet ปัจจุบันที่มีอยู่ 199 สาขา ขึ้นเป็นศูนย์รวมวัสดุก่อสร้าง โดยตั้งเป้าให้มี 20 สาขาภายในปี 2566 จะทำให้ช่วยเพิ่มรายได้จากค่าเช่าพื้นที่  สูงถึง 300 ล้านบาท/ปี    ฝ่ายวิจัยประเมินว่า DCC จะมีกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ย 13.4% ต่อปี ในช่วง 3 ปีข้างหน้า และกำหนด Fair value ด้วยวิธี DDM ให้ราคาเหมาะสม 2.80 บาท เทียบเท่า PER 18.7 เท่า มี Upside 29.5% พร้อมคาดหวัง Dividend Yield ได้อีก 5.2%
Bond Yield สหรัฐลงต่ำกว่าไทย ช่วยเป็นเกราะป้องกันเงินทุนไหลออก
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย 22 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เนื่องจากมีตลาดหุ้น 2 ประเทศที่ยังถูกซื้อสุทธิ คือ ไต้หวัน 128 ล้านเหรียญ (สลับมาซื้อสุทธิเป็นวันแรก) และอินโดนีเซีย 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่วนตลาดหุ้นอีก 3 ประเทศถูกขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 105 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 44 ล้านเหรียญ หรือ 1.41 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.43 พันล้านบาท
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
ในคืนที่ผ่านมา Fed ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% และมีแนวโน้มว่ายังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ กดดันให้ค่าเงินสหรัฐอ่อนค่า รวมถึง Bond Yield 10 ปีสหรัฐปรับตัวลงแรงถึง 10 bps. มาอยู่ที่ 2.53% (ต่ำสุดในรอบ 14 เดือน) อีกทั้งยังต่ำกว่า Bond Yield 10 ปีของไทยที่ 2.58% อยู่ 5 bps. ซึ่งในอดีตปี 2561 Bond Yield 10 ปีสหรัฐเคยขึ้นไปสูงถึง 3.24% (ณ 11 พ.ย. 61) และสูงกว่า Bond Yield 10 ปี ของไทยถึง 44 bps. ด้วย Gap หรือส่วนต่างที่ลดลงมาจนติดลบ ถือเป็นเกราะป้องกัน Fund Flow ไหลออกจากไทยเป็นอย่างดี ประกอบกับผลตอบแทนจากตราสารหนี้ที่อยู่ในระดับต่ำ น่าจะดึงเม็ดเงินกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น 
Bond Yield 10 ปี ของไทย vs. สหรัฐ
 
กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ตลาดผันผวน เน้น 5 themes  
ภาวะที่ยังรอคอยความชัดเจนของสถานการณ์การเมืองในประเทศ โดยเฉพาะเสถียรภาพรัฐบาลใหม่จะเป็นเช่นไร ทำให้รูปแบบการลงทุนเป็นไปอย่างระมัดระวังมากขึ้น ดังนั้น ฝ่ายวิจัยจึงยังคงกลยุทธ์การลงทุนเดิม คือ เน้นเลือกเป็นรายหุ้นใน  5 Theme (ดังกล่าวด้านล่าง) และวันนี้ขอเพิ่มหุ้น DCC ซึ่งมีคุณสมบัติ 1L2H เข้ามาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการลงทุน ราคาเหมาะสม อยู่ที่ 2.80 บาท มี Upside 29.5% พร้อมผลตอบแทนจากเงินปันผลอีก 5.20% 
1.หุ้นที่มีผันผวนน้อยกว่าตลาด (1L2H) โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด  และ 2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562 
 
 
หุ้นผันผวนต่ำ (1L2H) 
 
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
 
2. หุ้น Domestic Play 
•    กลุ่มรับเหมา-วัสดุก่อสร้าง รวมถึงกลุ่มนิคมฯ ได้ประโยชน์จากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน: STEC ([email protected]), SEAFCO (FV@ ก่อน XD 12.40 บาท หลัง XD 11.30 บาท), SCCC (FV@B269), AMATA ([email protected]), WHA ([email protected]), DRT([email protected])  
•    กลุ่มธ.พ. จากการขยายตัวของสินเชื่อ: BBL (FV@B227), KBANK (FV@B246
•    กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของพรรคการเมือง ที่มุ่งเน้นผู้มีรายได้น้อย และเกษตรกร: BJC (FV@B61), M (FV@B84),  SAWAD (FV@B54), MTC([email protected]), JMT ([email protected])
3. หุ้นที่มีผลกำไรโดดเด่นใน 1Q62 และมี upside มากกว่า 10%: กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTT(FV@B56), PTTGC(FV@B79) หุ้นโรงไฟฟ้า-พลังงานทดแทน BPP([email protected]) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCCC(FV@B269), TPIPL([email protected]) กลุ่มโรงพยาบาล BDMS(FV@B30), BCH(FV@B21) กลุ่มเกษตร-อาหาร CPF(FV @B31.50), TFG(FV @B4.50) ปิดท้ายด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ PSH ([email protected]), QH ([email protected]) และ CPN ([email protected]) **สามารถรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Market Talk วันที่ 13-14 มี.ค.62 และในบทวิเคราะห์รายหุ้น**
 
4.หุ้น Turnaround ในปี 2562 ดังตาราง
 
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
และ 5. หุ้น Global ที่อิงตามราคาน้ำมันดิบโลก: ราคาน้ำมันฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากจุดต่ำสุด (ปลาย ธ.ค 61) สอดรับกับการลด supply ตามความต้องการใช้น้ำมันที่ชะลอตัว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าราคาหุ้น PTT PTTEP PTTGC ยังไม่ได้ตอบรับปัจจัยบวกเท่าที่ควร มิหน่ำซ้ำยังมีแรงชอร์ตเซล (Short Sale เป็นการขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีในครอบครอง โดยเป็นการยืมหุ้นมาเพื่อขาย แต่ในที่สุดต้องซื้อหุ้นกลับเมื่อราคาต่ำ เพื่อคืนแก่ผู้ให้ยืม) ออกมาต่อเนื่อง(ytd) จึงเชื่อว่าหากราคาหุ้นปรับฐานลงจนมี Upside เปิดกว้าง และด้วยพื้นฐานแข็งแกร่งจึงมีโอกาสสูงที่ราคาหุ้นจะฟื้นกลับมาจากการ Cover Short
 
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!