- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 26 September 2014 16:08
- Hits: 2032
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ยิ่งใกล้ 1600 ยิ่งผันผวน จึงยิ่งต้องระวังเริ่มแกว่งลงลึก ดังนั้นเน้นขาย!!
กลยุทธ์ : SET ยิ่งเข้าใกล้ระดับดัชนีเป้าหมายแถว 1600 จุดก็ยิ่งผันผวนมากขึ้น ดังนั้นถึงแม้ว่าจะยังมีลุ้นโอกาสสูงกว่าเล็กน้อยได้ แต่เรามองว่าความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่จะน่าสนใจเข้าเทรดดิ้ง และต้องระวังตลาดเริ่มเข้าสู่รอบปรับตัวลงในระดับ 100-200 จุดในช่วงท้ายเดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า จึงยังแนะนำให้เน้นเป็นรอบขายลดพอร์ตต่อไปเช่นเดิม
หุ้นเด่นทางเทคนิค : ERW, AGE, CENTEL(buy back)
แนวโน้ม : SET ยังขยับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ทั้งระดับสูงสุดในระหว่างวัน และระดับดัชนีปิด แต่ขณะเดียวกันยิ่งเข้าใกล้ระดับดัชนีเป้าหมายบริเวณ 1600 จุดก็ยิ่งมีแรงขายกดดันให้เกิดการแกว่งตัวผันผวนบ่อยครั้งขึ้น ทำให้ FSS ยังมองว่ามีความเสี่ยงสูงเกินไปที่จะเข้าซื้อเทรดดิ้ง และยังต้องระวังรอบปรับตัวลงลึกที่เราคาดว่าอาจจะเริ่มปรับตัวลงจริงจังในช่วงท้ายของเดือนนี้หรืออย่างช้าต้นเดือนหน้า เราจึงยังแนะนำให้เน้นเป็นการทยอยขายลดพอร์ตต่อเนื่องมากกว่า (โดยเฉพาะในจังหวะตลาดบวก) ขณะที่เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับตัวลงแรงพอควรยิ่งกดดันมากขึ้นอีก หลังตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปปิดเป็นลบค่อนข้างมาก จากยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐที่ร่วงลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ซึ่งทำให้ตลาดวิตกเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของภาคการผลิตสหรัฐ นอกจากนี้แรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในรัสเซียก็ยังมีอยู่ ทำให้ SET ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการแกว่งตัวลงต่อเนื่องมากขึ้นอีก ดังนั้นแม้ว่าตลาดหุ้นไทยอาจจะยังมีจังหวะแกว่งตัวรีบาวด์กลับขึ้นได้หลังการปรับตัวลงในระหว่างวัน แต่เรามองว่าความเสี่ยงสูงเกินไปไม่เหมาะกับการเข้าเทรดดิ้งมากนัก
แนวรับ 1590-1586 , 1583-1580 จุด แนวต้าน 1595-1598 , 1600-1605 จุด
Fund Flow วานนี้ยังไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคเป็นวันที่ 12 ติดต่อกัน ในปริมาณที่เบาบาง ส่วนใหญ่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวัน US$197.8 ล้าน เกาหลีใต้ US$149.3 ล้าน อินโดนีเชีย US$46.2 ล้าน และเวียดนาม US$18.7 ล้าน แต่ซื้อไทย US$74.4 ล้าน และฟิลิปปินส์ US$7.5 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้อ่อนค่าเล็กน้อย Flow น่าจะยังไหลออกแต่เบาบาง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) KAMART ถูกกว่า BEAUTY เราคาดกำไรสุทธิ 3 ปีข้างหน้าโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20% ต่อปี (มากกว่ากลุ่มเครื่องสำอางที่โต 10-15% ต่อปี) ราคาปัจจุบันคิดเป็น PE15 เพียง 20 เท่า ต่ำกว่า BEAUTY ที่ 31 เท่าและค่าเฉลี่ยกลุ่มค้าปลีกที่ 26 เท่า ทั้งยังมี Upside เพิ่มเติมอีกหลายประเด็น อาทิ (1) เป็นไปได้ว่าจะนำคลังสินค้าและที่ดินไปหาประโยชน์เพิ่ม เช่น กอง REIT และ (2) การตั้งสำรองด้อยค่าธุรกิจรถ NGV และโทรศัพท์พื้นฐานน่าจะสิ้นสุดในปี 2015 ซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิจะเริ่มสะท้อนภาพจริงมากขึ้น (3) เจาะตลาด Modern Trade ปรับรูปลักษณ์เพื่อเจาะตลาดกลาง-บนที่มีกำลังซื้อสูงหลังประสบความสำเร็จในการขายสินค้า 4 รายการใน 7-11 ทุกสาขา (และมีอีก 20-30 ตัวที่กำลังทดลองขายใน 60 สาขา) (4) มีแผนเจาะตลาดต่างประเทศทั้งจีน เวียดนามและพม่าที่กำลังเติบโตแรง ซื้อ เป้าปี 15 เบื้องต้นคาดไว้ที่ 9 บาท (DCF)
(0) BBL เมื่อวานนี้ราคาร่วงลงหลังมีกระแสข่าว MSCI ปรับลดน้ำหนัก BBL & BBL-F เนื่องจาก Thai NVDR ถือหุ้น BBL ถึงเต็มเพดาน ที่ 35% โดยคาดว่าการปรับลดน้ำหนักจะมีผลวันที่ 29 ก.ย. 2014 ทั้งนี้ใน website ของ MSCI ยังไม่มีประกาศเรื่องนี้ และกำลังรอคำยืนยันจากธนาคาร ก่อนหน้านี้ MSCI ได้มีการปรับลดน้ำหนักการลงทุนใน BBL และ BBL-F แล้วตั้งแต่ 28 ก.พ. 2014 ซึ่งมีผลต่อราคาหุ้นลดลงราว 2.2% ในช่วงดังกล่าว ราคาที่ร่วงลงมาเมื่อวันนี้ที่ราว 2.3% น่าจะตอบรับข่าวไปพอสมควรแล้ว ขณะที่การปรับลดน้ำหนักไม่มีผลต่อปัจจัยพื้นฐานซึ่งยังแข็งแกร่ง โดยแนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อมีโมเมนตัมที่ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง อีกทั้ง BBL ยังเป็นธนาคารที่จะได้รับประโยชน์จากการกลับมาของวัฏจักรการลงทุนในปี 2015 ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์แข็งแกร่งมากจาก NPL ต่ำ และมี Coverage ratio สูงที่สุดในระบบธนาคาร คงคำแนะนำ ซื้อ เป้า 243 บาท
(-) ราคาน้ำมันดิบร่วงใน 3Q14 จะฉุดกำไรกลุ่มโรงกลั่นชะลอตัว Q-Q : ในช่วง 3QTD ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับลงกว่า $14/บาร์เรล มาอยู่ที่ $96/บาร์เรล จะส่งผลกลุ่มโรงกลั่นจะมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันใน 3Q14 พลิกจากกำไรใน 2Q14 และ 3Q13 ขณะที่ค่าการกลั่นใน 3Q14 ยังอ่อนแอ ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงาน 3Q14 ลดลงทั้ง Q-Q และ Y-Y แม้ราคาหุ้นในกลุ่มโรงกลั่นจะ Underperform ตั้งแต่ต้นปีแต่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวในระยะสั้นจากปัญหา Oversupply และดอลลาร์แข็งค่ากดดันราคาน้ำมันดิบและค่าการกลั่น ดังนั้นหุ้นในกลุ่มนึ้จึงยังไม่น่าสนใจในการลงทุนในช่วงนี้จนกว่าราคาน้ำมันดิบจะฟื้นตัวและประกาศผลประกอบการ 3Q14 ปลายเดือนต.ค นี้ แนะนำ ซื้อ IRPC (เป้า 4 บาท), ถือ TOP (เป้า 57) และ PTTGC (เป้า 64.50 บาท) และ ขาย BCP (เป้า 33 บาท)
(-) JAS ก.ล.ต. ให้แก้งบฯ ปี 2013 และ 2Q14 ให้บันทึกหนี้สิน สะท้อนคำพิพากษาของศาลฎีกาไม่เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการในอดีต หากรวมหนี้ 4 แบงก์ยื่นฟ้อง 1.64 พันล้านบาทและดอกเบี้ยสะสม 10 ปี จะทำให้อัตราส่วน D/E สิ้นงวดปี 2013 และ 2Q14 เพิ่มเป็น 1.1 เท่า จากเดิม 0.8 เท่า แต่ต้องรอดูรายละเอียดงบฯ ปรับปรุง ภายในวันที่ 27 ต.ค.นี้ อีกครั้ง เรายังคงแนะนำ หลีกเลี่ยง/ขาย นอกจากนี้ Jas ยังมีความเสี่ยงในคดีที่ TT&T ยื่นฟ้องศาลให้บ.ย่อยของ JAS ขายหุ้นที่ถืออยู่ใน TTTBB คืนแก่ผู้ถือหุ้น TT&T 70% ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการไต่สวนของศาล ทั้งนี้ตลท.จะขึ้นเครื่องหมาย SP, NP JAS ในวันนี้ ให้ผู้ถือหุ้นศึกษาข้อมูล และเปิดให้ซื้อขายอีกครั้งในวันจันทร์
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาดิ่งลงแรงสุดในรอบเกือบ 2 เดือนโดยลดลงกว่า 250 จุดโดยนักลงทุนกังวลหลังมีข้อเสนอในรัสเซียให้ยึดสินทรัพย์ของชาวต่างชาติ รวมถึงแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้น Apple Inc จากกระแสตอบรับเรื่องคุณภาพของ iPhone 6 ที่ไม่ดี
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดในแดนลบค่อนข้างแรงเช่นกันหลัง BoE ส่งสัญญาณว่าใกล้จะถึงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากปัจจุบันที่เป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวร่วงลงในแดนลบตามตลาดหุ้นภูมิภาคจากบรรยากาศการลงทุนที่ค่อนข้างเป็นลบ
ค่าเงินบาทขยับอ่อนตัวลงเล็กน้อยแต่ภาพรวมยังแกว่งตัวออกด้านข้าง ล่าสุดปรับตัวในกรอบ 32.16-32.32 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ย. ลดลง 0.27 ดอลลาร์/บาร์เรล มาปิดที่ 92.53 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาอ่อนแอ แต่การปรับลงเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากสต๊อกน้ามันดิบลดลง
ราคาทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 2.40 ดอลลาร์/ออนซ์ มาปิดที่ 1,221.90 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรงและตัวเลขเศรษฐกิจออกมาซบเซา ทำให้นักลงทุนเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
26 ก.ย. - สหรัฐ: 2Q14 GDP (ตัวเลขสุดท้าย) ตลาดคาดจะปรับขึ้นเป็น 4.5%จาก 4.2%Q-Q,
27 ก.ย. - ตะวันออกกลาง : ประชุม OPEC คาดจะลดกำลังผลิต
29 ก.ย. - สหรัฐ: Pending home sales (ส.ค.)
- ธปท. ทบทวนประมาณการจีดีพีและเป้าส่งออกใหม่
30 ก.ย. - สหรัฐ: Consumer Confidence (ก.ย)
- EU: CPI (ก.ย.)
- ไทย: สศค. ตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ส.ค (นำเข้า/ส่งออก, ดุลการค้า)
1 ต.ค. - สหรัฐ: ISM Manufacturing (ก.ย)
- EU: CPI (ก.ย.)
- ไทย: CPI Y-Y (ก.ย)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Research Dept. Tel: 02-646-9967, 02-646-9852