WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
1 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง 24 มี.ค. ตลาดน่าจะให้น้ำหนักกับเสถียรภาพรัฐบาล ภายหลังเลือกตั้งจะมีหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ดัชนีหุ้นไทยยังผันผวนในกรอบ 1620-1640 จุด กลยุทธ์การลงทุนยังมุ่งเน้นรายหุ้น กำไรเด่น 1Q62 (SCC, SCCC, BCH, PTTGC, TOP, IRPC) หรือ Turnaround (SAPPE, STPI, TTCL) Top picks เลือก  STPI([email protected]) และ SCCC(FV@B269)       
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …  SET Index ลงอย่างต่อเนิ่องตลอดวัน
วานนี้ SET Index ลงอย่างต่อเนื่องสลับกับแกว่งทรงตัวในแดนลบ จนทำให้ปิดที่ระดับ 1625.57 จุด ลดลง 10.31 จุด (-0.63%)  ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4.98 หมื่นล้านบาท มาจากประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งคาดว่าน่าจะรอความชัดเจนหลังเลือกตั้งโดยหุ้นกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มค้าปลีกอย่าง CPALL(-2.27%) MAKRO(-3.90%) ROBINS(-5.18%) กลุ่มขนส่งอย่าง AOT(-1.45%) BA(-2.48%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง KBANK(-1.82%) MINT(-2.55%) และ CPN(-1.03%)
คาดดัชนีหุ้นไทยยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ 1620-1640 จุด โดยตลาดน่าจะรอผลการเลือกตั้งหลัง 24 มี.ค. 2562 ซึ่งให้น้ำหนักกับหน้าตาของรัฐบาลใหม่ และเสถียรภาพในการบริหารงาน เพราะคะแนนเสียงน่าจะกระจัดกระจาย ภายใต้กติกาการเลือกตั้งใหม่ที่ส่งผลให้พรรคใหญ่ๆ อยู่ในฐานะเสียเปรียบ ยังกดดันให้ต่างชาติยังขายสุทธิตลาดหุ้นไทย กลยุทธ์การลงทุนยังมุ่งเน้นรายหุ้น กำไรเด่น 1Q62 วัสดุก่อสร้าง (SCC, SCCC, TPIPL) โรงพยาบาล (BDMS, BCH) และพลังงาน/ปิโตรเคมี (PTTGC, TOP, IRPC) หรือ Turnaround (SAPPE, STPI, TTCL) Top picks SCCC(FV@B269) และ STPI([email protected])    
ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ดอกเบี้ยโลกเข้าสู่วัฏจักรขาลง  
แม้สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ผ่อนคลายลง แต่การขึ้นภาษีนำเข้าในช่วง 2H61 ส่วนใหญ่ยังคงมีผลกระทบต่อการค้าโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวชัดเจนนับจาก 2H61 หลังผ่านจุดสูงสุดงวด 2Q61 (ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง อาทิ ดัชนี PMI ภาคการผลิตแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี 5 เดือน, ยอดขายบ้านใหม่ และบ้านมือสอง ต่ำสุดในรอบ 1 ปี 3 เดือน และต่ำสุดในรอบ 4 ปี)    และพบว่า PMI ภาคการผลิต และ PM ยอดสั่งซื่อเพื่อส่งออก ล่าสุด อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 จุด เป็นเดือนที่ 3 (ต่ำกว่า 50 จุดบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจซบเซา) และยอดขายรถยนต์ ล่าสุดเดือน ม.ค. หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8   
และส่งผลกระทบต่อคู้ค้าในแถบเอเชียของจีน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบ (Supply Chain) คือ ฮ่องกง (ราว 24%ของการค้าขายของจีน) ล่าสุด ยอดส่งออกหดตัวติดต่อกัน 3 เดือน , ญี่ปุ่น(ราว 19%) ส่งออกหดตัวติดต่อกัน 4 เดือน และล่าสุด Renesas ผู้ผลิตชิปยานยนต์รายใหญ่ของโลก สัญชาติญี่ปุ่น ประกาศ หยุดโรงงาน 13 แห่งชั่วคราวจากทั้งหมด 14 แห่งทั่งโลก เพื่อระบายสินค้าคงเหลือในสต็อก ผลจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง,  เกาหลีใต้(ราว 18%) ส่งออกหดตัวติดต่อกัน 3 เดือน เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ทำให้การใช้นโยบายการเงินทั่วโลกมีแนวโน้มผ่อนคลาย สะท้อนผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ)  สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงดอกเบี้ยฯ -0.1% และคงวงเงิน QQE  80 ล้านล้านเยนต่อปี เพราะเงินเฟ้อต่ำ (ม.ค. เพิ่ม 0.2%yoy(ต่ำสุด 1 ปี 3 เดือน) และจะยังคงดอกเบี้ยต่ำต่อไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสัปดาห์นี้การประชุมธนาคารกลางสำคัญของทั่วโลก น่าจะมีทิศทางเดียวกันคือ
19-20 มี.ค. 62  Fed ตลาดคาดคงดอกเบี้ยที่ 2.5% หลังจากขึ้นดอกเบี้ย 9 ครั้งรวม 2.25% เป็น  2.5% และเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 2562  1.5% ต่ำสุดในรอบ 2 ปี 7 เดือน และอาจไม่เห็นการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือปีนี้     
และ 21 มี.ค. ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE)  ตลาดคาดคงดอกเบี้ยที่ 0.75% เพราะเงินเฟ้อชะลอตัว เหลือ 1.8% เดือน ม.ค. 2562  ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี รวมถึงเผชิญปัญหา Brexit ที่ล่าช้า 
ส่วนเอเชีย เริ่มจากไทย 20 มี.ค. ประชุม กนง. ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยที่ 1.75% หลังปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 1 ครั้ง 0.25% เมื่อปลายปี 2561 เพราะเงินเฟ้อที่ต่ำ (ก.พ. 2562 ขยายตัว 0.73%)  และการส่งออกที่ชะลอตัว อาจทำให้ กนง.ยืนดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือ  
และ  21 มี.ค. ประชุมธนาคารกลาง 2  แห่งคือ อินโดนีเซีย (BI) คาดยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 6.0% เพราะเงินเฟ้อเดือน ก.พ. คาดไว้ 2.57% ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย และฟิลิปปินส์ (BSP) คาดคงดอกเบี้ยที่ 4.75% เพราะเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลง คือ  ก.พ. 3.8% ชะลอจาก 6.7% ช่วง ก.ย. – ต.ค. 2561  ใกล้เคียงเงินเฟ้อเป้าหมาย  
ด้วยเหตุนี้จะทำให้แนวโน้มค่าเงินโลกกลับมาผันผวน โดยค่าเงินเอเชียอาจกลับมาแกว่งตัวในกรอบแคบ หลังจากที่แข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา 
ภาพการเมืองหลังการเลือกตั้ง อาจกลายเป็นแรงกดดัน
การเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค. 2562 ที่กำลังจะเกิดขึ้น จากการสำรวจพบว่าจะมีประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 51.74 ล้านคน และถูกคาดหมายว่าจะมีจำนวนผู้ที่ออกมาใช้สิทธิ ไม่น้อยกว่า 75% หรือ ไม่น้อยกว่า 38.80 ล้านคน ขณะที่ ส.ส. ทั้งหมดจะมีจำนวน 500 คน (แยกเป็นบัญชีรายชื่อ 150 คน และ ระบบเขต 350 คน) เท่ากับว่า ส.ส. 1 คน จะต้องมีคะแนนเสียงสนับสนุนประมาณ 77,603 คน และด้วยระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม คาดว่าจะเห็นการกระจายตัวของ ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ เข้าไปสู่พรรคการเมืองขนาดกลาง และ เล็กมากขึ้น ส่วน ส.ส. ระบบเขต จะยังกระจุกตัวอยู่ในพรรคการเมืองขนาดใหญ่ 3 พรรค ได้แก่ พรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ และ พลังประชารัฐ โดยประเมินว่าทั้ง 3 พรรคใหญ่ น่าจะมีจำนวน ส.ส. ทั้งระบบบัญชีรายชื่อ และ ระบบเขตรวมกันราว 350 – 400 เสียง (ส่วนใหญ่เป็นระบบเขต)
โค้งสุดท้ายของการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562 ปรากฎสัญญาณหลายประการที่อาจสร้างความกังวลต่อภาพของการเมืองหลังการเลือกตั้ง ที่สำคัญได้แก่ การประกาศจุดยืนของพรรคการเมืองใหญ่ อย่างประชาธิปัตย์ ว่าจะไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี  ขณะที่ พรรคเพื่อไทยก็ประกาศไม่ร่วมรัฐบาล กับทั้ง ประชาธิปัตย์ และ พลังประชารัฐ การที่พรรคการเมืองที่คาดว่าจะได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็น 3 อันดับแรก  ต่างแสดงถึงท่าที่การเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลโดยที่จะไม่มีการร่วมมือระหว่างกัน ทำให้โอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพในการบริหารประเทศมีความเป็นไปค่อนข้างยาก  และ  อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาได้ ซึ่งถือเป็น Dead Lock ทางการเมือง 
นอกจากนี้ยังอาจมีบางประเด็นที่ต้องติดตามต่อเนื่องไปหลังการเลือกตั้ง ได้แก่การตีความเรื่องคุณสมบัติ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามกฎหมายว่าสามารถอยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลเพื่อเสนอชื่อให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หรือไม่ โดยน่าจะมีผลการพิจารณาออกมาหลังการเลือกตั้ง ประเด็นดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงทางการเมืองที่ถูกมองถึง และสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง และอาจหมายถึงโอกาสที่จะเห็น Fund Flow ไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นไทย มีความเป็นไปได้น้อยลง
ต่างชาติยังขายหุ้นไทย สวนทางตลาดอื่นๆ ในภูมิภาค
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่า 64 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิถึง 3 ประเทศ เริ่มจากไต้หวันซื้อสุทธิ 247 ล้านเหรียญ (สลับมาซื้อสุทธิเป็นวันที่แรก) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 34 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และอินโดนีเซีย 28 ล้านเหรียญ (สลับมาซื้อสุทธิเป็นวันที่แรก) ส่วนตลาดหุ้นอีก 2 ประเทศกลับมาขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 171 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันแรก) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 74 ล้านเหรียญ หรือ 2.35 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 787 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วัน)
แต่หากพิจารณาผ่าน NVDR ในตลาดหุ้นไทย พบว่า แม้มีหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทที่ถูก Short Sale หนักนับตั้งแต่ต้นปี 2562 แต่ต่างชาติเริ่มสลับมาซื้อสุทธิบ้าง อาทิ PTT ถูกซื้อสุทธิผ่า NVDR ในวันศุกร์ที่ผ่านมา 749 ล้านบาท ตามมาด้วย KBANK 168 ล้านบาท, PTTEP 160 ล้านบาท รวมถึง PTTGC ที่ถูก Short Sale หนักสุดในปีนี้ จนราคาหุ้นล่าสุดมีค่า PBV62F เพียง 0.96 เท่า (ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี) ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อย 62 ล้านบาท
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
 
ตลาดผันผวนกลยุทธ์การลงทุนเน้น 4 themes  
สัปดาห์นี้ให้น้ำหนักไปที่การเมืองในประเทศ โดยประเด็นหลักจะถูกมองไปที่รัฐบาลใหม่ ว่าจะมีเสถียรภาพในการบริหารมากน้อยเพียงใด เพื่อรอดูพัฒนาการของสถานการณ์ SET Index จึงมีโอกาสผันผวนค่อนข้างสูง กลยุทธ์การลงทุนแนะนำเลือกเป็นรายหุ้นใน 4 Theme คือ
1.หุ้นที่มีผันผวนน้อยกว่าตลาด (1L2H) โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด  และ 2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562 ดังตาราง
หุ้นผันผวนต่ำ (1L2H) 
 
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
 
2. หุ้น Domestic Play 
•    กลุ่มรับเหมา-วัสดุก่อสร้าง รวมถึงกลุ่มนิคมฯ ได้ประโยชน์จากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน: STEC ([email protected]), SEAFCO (FV@ ก่อน XD 12.40 บาท หลัง XD 11.30 บาท), SCCC (FV@B269), AMATA ([email protected]), WHA ([email protected])  
•    กลุ่มธ.พ. จากการขยายตัวของสินเชื่อ: BBL (FV@B227), KBANK (FV@B246
•    กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของพรรคการเมือง ที่มุ่งเน้นผู้มีรายได้น้อย และเกษตรกร: BJC (FV@B61), M (FV@B84),  SAWAD (FV@B54), MTC([email protected]), JMT ([email protected])
 
3. หุ้นที่มีผลกำไรโดดเด่นใน 1Q62 และมี upside มากกว่า 10%: กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTT(FV@B56), PTTGC(FV@B79) หุ้นโรงไฟฟ้า-พลังงานทดแทน BPP([email protected]) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCCC(FV@B269), TPIPL([email protected]) กลุ่มโรงพยาบาล BDMS(FV@B30), BCH(FV@B21) กลุ่มเกษตร-อาหาร CPF(FV @B31.50), TFG(FV @B4.50) ปิดท้ายด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ PSH ([email protected]), QH ([email protected]) และ CPN ([email protected]) **สามารถรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Market Talk วันที่ 13-14 มี.ค.62 และในบทวิเคราะห์รายหุ้น**
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!