WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
การกลับมาซื้อหุ้นไทยอีกครั้งของนักลงทุนต่างชาติ หลังเกิดการสะดุดปัญหาการเมืองในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา และราคาน้ำมันที่ยังฟื้นตัว น่าจะหนุนให้ดัชนีแกว่งตัวบวก ทำให้วันนี้ดัชนีมีโอกาสทดสอบแนวต้าน 1640-1645 จุด กลยุทธ์การลงทุนยังมุ่งเน้นรายหุ้นที่มีผลประกอบการเด่นในงวด 1Q61 ได้แก่ หุ้นวัสดุก่อสร้าง(SCC, SCCC, TPIPL) โรงพยาบาล (BDMS, BCH) และ พลังงาน/ปิโตรเคมี (PTTGC, TOP, IRPC) Top picks SCCC(FV@B269) และเพิ่ม PTTGC([email protected]) ราคาต่ำมาก ขณะที่ Dividend Yield 5.9% 
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …  SET Index ปรับขึ้นหนีแนวต้าน
วานนี้ SET Index แกว่งทรงตัวในช่วงเช้าและขึ้นแรงในช่วงบ่าย จนทำให้ปิดที่ระดับ 1639.67 จุด เพิ่มขึ้น 12.08 จุด (+0.74%) ด้วยมูลค่าการซื้อขายถึง 4.54 หมื่นล้านบาท จากประเด็นผลประกอบการงวด 1Q61 เด่นรายตัว โดยหุ้นกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มพลังงานอย่าง PTT(+1.06%) EA(+2.67%) GULF(+2.23%) กลุ่มขนส่งอย่าง AOT(+2.61%) PRM(+4.80%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง CPF(+4.00%) CPALL(0.98%) MAKRO(+1.94%)
แนวโน้มดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสแกว่งตัวบวกต่อ โดยจะทดสอบแนวต้าน 1640-1645 จุด โดยได้แรงหนุนจากต่างชาติที่กลับมาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง   หลังเกิดการสะดุดปัญหาการเมืองในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา น่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะขณะที่ต่างชาติขายหุ้นไทยนั้น ได้ซื้อตลาดหุ้นเพื่อนบ้านทุกแห่งนับจากต้นปีนี้  ยกเว้นขายสุทธิตลาดหุ้นไทยแห่งเดียว และราคาน้ำมันที่ยังคงฟื้นตัว น่าจะหนุนให้ดัชนีแกว่งตัวบวก ทำให้วันนี้ดัชนีมีโอกาสสอบแนวต้าน  1640-1645 จุด  และราคาน้ำมันดิบดูไบที่ยังฟื้นตัวต่อเนื่องจากสต็อกน้ำมันดิบที่ลดลง ดีต่อหุ้น PTTEP, PTT กลยุทธ์การลงทุนยังมุ่นเน้นรายหุ้นที่มีผลประกอบการเด่นในงวด 1Q61 ได้แก่ หุ้นวัสดุก่อสร้าง (SCC, SCCC, TPIPL) โรงพยาบาล (BDMS, BCH)  และปิโตรเคมี และโรงกลั่น (TOP, PTTGC, IRPC) 
หมดยุคผู้ผลิตไฟฟ้าทดแทน...PDP ใหม่ มุ่งโซลาร์ประชาชน+ซื้อราคาต่ำ  
ตามแผน PDP2018 ฉบับใหม่ที่ออกมาซึ่งครอบคลุมระยะเวลา 20 ปี ระหว่างปี 2561-2580 ได้กล่าวถืงพลังงานหมุนเวียน หรือโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน (ได้แก่ โซลาร์, ชีวมวล, พลังลม, ก๊าซชีวภาพ และขยะอุตสาหกรรม เป็นต้น) กำลังการผลิตรวม 20,766 เมกะวัตต์ คิดเป็น 37% ของกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากแผน PDP เดิมที่ 19,684 เมกะวัตต์ คิดเป็น 34% ของกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม แต่หากมาพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า กำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าโซลาร์ตามแผน PDP ฉบับใหม่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นมากเป็น 12,725 เมกะวัตต์ (คิดเป็นสัดส่วน 61% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวม) จาก 6,000 เมกะวัตต์ (คิดเป็นสัดส่วน 30% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวม) ในแผน PDP ฉบับเดิม 
แต่ทั้งนี้กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าโซลาร์ที่ 12,725 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โซลาร์บนหลังคาภาคประชาชน 10,000 เมกะวัตต์ และโซลาร์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 2,725 เมกะวัตต์ ไม่มีในส่วนของโซลาร์ฟาร์มบนภาคพื้นดินของภาคเอกชนเช่นในอดีตอีกเลย เน้นเพียงโซลาร์รูฟท็อปของภาคประชาชนครัวเรือน และโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำซึ่งจะเน้นตามเขื่อนต่างๆตามที่กฟผ.ศึกษาไว้เป็นหลัก จึงเป็นมุมมองเชิงลบต่อผู้ประกอบการโซลาร์ภาคพื้นดิน ทำให้ต้องมีการปรับตัวหันไปเป็นผู้รับเหมาติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในภาคประชาชนแทน
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่ายังมีรายละเอียดหลายประเด็นในเงื่อนไขการรับซื้อที่อาจทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนโซลาร์รูฟท็อปอยู่ในระดับต่ำกว่าโซลาร์ฟาร์มภาคพื้นดิน อาทิ อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย  ซึ่งต่ำกว่าอัตรารับซื้อโซลาร์ภาคพื้นดินล่าสุดที่ 2-3 บาทต่อหน่วย  และต่ำกว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ราว 2-3 บาทต่อหน่วยเช่นกัน นอกจากนี้ในส่วนของของกำลังการผลิตต่อครัวเรือนที่จะรับซื้อต้องน้อยกว่า 10 กิโลวัตต์/มิเตอร์ครัวเรือน และรวมทั้งโครงการไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ ทำให้อาจจะไม่จูงใจผู้ประกอบการกลุ่มโรงไฟฟ้าโซลาร์มากนัก
Stock น้ำมันลด หนุนราคาน้ำมันและ PTTEP, PTT  
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ล่าสุด พลิกกลับมาลดลงราว 3.86 ล้านบาร์เรล ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 2.65 ล้านบาร์เรล ผลจากความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น เห็นได้จากอัตราการกลั่นน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 87% จาก 86.6% ในสัปดาห์ก่อนหน้า  ขณะที่การตัดลด Supply ยังเป็นไปตามแผน และมีแนวโน้มที่จะยืดระยะเวลาการตัด supply ออกไปจากแผนเดิมที่กำหนดไว้กลางปี 2562 (ตามข้อตกลง OPEC และ Non OPEC  ทำสัญญาล่าสุด ธ.ค. 2561 จะตัดลดการผลิตถึงกลางปี 2562 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็น OPEC ตัดลด 8 แสนบาร์เรล/วัน)  ขณะที่ Non OPEC  ลดลง 4 แสนบาร์เรล/วัน) 
การลด supply สอดรับกับความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ชะลอลงจากสงครามการค้า โดยรวมทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัว  ล่าสุด อยู่ที่  67.15 เหรียญฯต่อบาร์เรลใกล้เคียงสมมติฐานของ ASPS ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญ ในปี 2562 แต่คาดว่าจะสามารถฟื้นตัวยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ (และกำหนด 70 เหรียญฯ นับจากปี 2563 เป็นต้นไป) ดีต่อ PTTEP(FV@B168) , PTT(FV@B56) และ PTTGC(FV@B79) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q62 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวด 4Q61 หนุนหลักจากการการบันทึกกำไรจากสต็อกน้ำมัน
Fund Flow มีโอกาสไหลเข้าไทย เหมือนตลาดเพื่อนบ้าน 
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 261 ล้านเหรียญ แต่มีตลาดหุ้นที่ถูกขายอยู่ 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 51 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆอีก 3 ประเทศถูกซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 250 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 55 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเป็นวันแรก 9 ล้านเหรียญ หรือ 290 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 12 วัน มีมูลค่ารวม 1.57 หมื่นล้านบาท) และมีการเปิด Long SET50 Futures เป็นวันที่ 2 อีก 4708 สัญญา
ปี 2562 นี้ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่าสูงถึง 8.4 พันล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิหนักในปี 2561 กว่า 3.15 หมื่นล้านเหรียญ) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิ 204 ล้านเหรียญ หรือ 6.64 พันล้านบาท เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง อย่างไรก็ตามแรงขายลดลงมากเมื่อเทียบกับปี 2561 ทั้งปี ที่ถูกขายสุทธิสูงถึง 2.87 แสนล้านบาท และที่สำคัญเริ่มเห็นปัจจัยบวกหลายๆ อย่างที่น่าจะหนุนให้ Fund Flow กลับมาไหลเข้าตลาดหุ้นไทย ทั้งสถานะการถือครองหุ้นไทยจากต่างชาติโดยตรงที่อยู่ในระดับต่ำ 22.66% (เฉลี่ยตั้งแต่ปี 47 อยู่ที่ 27.3%)  และผลตอบแทนจากตราสารหนี้สหรัฐที่อยู่ในระดับต่ำ 2.61% ซึ่งใกล้เคียงกับตราสารหนี้ไทย 2.56%  น่าจะเป็นเกาะป้องกัน Fund Flow ไหลออก
ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวล ผนวกกับเดินหน้าเข้าการเลือกตั้ง น่าจะช่วยดึง Fund Flow ไหลกลับมาตลาดหุ้นไทยได้ในระยะถัดไป เหมือนกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค   
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
กลยุทธ์การลงทุน เลือกรายหุ้นที่มีผลกำไรเด่น 
ภายใต้ตลาดผันผวน กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำให้เลือกลงทุนเป็นรายหุ้น นอกจากหุ้นปันผลเด่น และหุ้นที่มีสมบัติผันผวนน้อยกว่าตลาดและ upside สูง (1L2H) ดังที่นำเสนอตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีหุ้นที่ผลกำไรโดดเด่นใน 1Q62  โดยวานนี้ได้พูดถึงกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี-โรงกลั่น  วัสดุก่อสร้าง   และโรงพยาบาล  วันนี้เพิ่มหุ้นรายตัวที่มีกำไรเติบโตดีใน 1Q62 ดังนี้  
กลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานทดแทน เริ่มจาก
GUNKUL([email protected]): คาดกำไรปกติงวด 1Q62 จะเติบโตจาก 4Q61 จากทั้งโรงไฟฟ้าโซลาร์และพลังลมที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล, ค่า Ft สูงขึ้น รวมถึงรับรู้โรงไฟฟ้าโซลาร์ญี่ปุ่น Sendai และ Kimitsu ที่คาดจะ COD ในงวดนี้ 
BCPG([email protected]): คาดกำไรปกติงวด 1Q62 จะฟื้นตัวจากงวด 4Q61 โรงไฟฟ้าโซลาร์ทั้งในไทยและญี่ปุ่นผลิตไฟฟ้าได้สูงขึ้นตามฤดูกาล และปัจจัยบวกจากค่า Ft ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
BPP([email protected]): คาดกำไรปกติงวด 1Q62 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมีนัยฯจาก 4Q61 จากส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วมที่จะเพิ่มสูงขึ้นมาก เพราะไม่มี Shut down โรงไฟฟ้าในงวดนี้ นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากช่วงฤดูกาลของความต้องการใช้ไฟฟ้าและไอน้ำในจีน และรับรู้โรงไฟฟ้าโซลาร์ญี่ปุ่น Nari Aizu เต็มไตรมาส
กลุ่มเกษตร-อาหาร  โดยเฉพาะผู้ส่งออกอาหารแช่แข็ง เริ่มจาก
CPF(FV @B31.50): คาดกำไรปกติ 1Q62 จะฟื้นตัวจากงวด 4Q61 จากแนวโน้มการบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และราคาหมูและไก่ในประเทศฟื้นตัวชัดเจน ช่วยหักล้างผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ไปได้
TFG(FV @B4.50): คาดผลการดำเนินงานงวด 1Q62 พลิกเป็นกำไรเมื่อเทียบกับงวด 4Q61 หนุนด้วยราคาไก่เป็นและหมูในประเทศฟื้นตัวเช่นกัน
กลุ่ม ICT   
น่าจะมีเฉพาะ DTAC(FV @B57.00): คาดงวด 1Q62 จะพลิกเป็นกำไรสุทธิ จากฐานต่ำในปี 2561 (ยุติข้อพิพาททางกฎหมายกับ CAT) และต้นทุนที่จะลดลงจากผลบวกของการให้บริการใบอนุญาตเป็นไตรมาสแรก
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ภาพรวมกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย แม้จะมีแรงกดดันจากธ.พ.ที่จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ และมาตราการ LTV ใหม่ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่มาตรการ ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ (1 เม.ย. 2562) คาดจะมีการเร่งขายและโอนฯ โดยเฉพาะบ้านพร้อมอยู่ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าประมาณ 8.3 หมื่นล้านบาท (12 บริษัทใน Coverage) ทำให้กำไรกลุ่มฯ 1Q62 น่าจะเติบโตสูงเมื่อเทียบ 1Q61 ส่วนภาพรวมผลประกอบการทั้งปี 2562 จะถูกขับเคลื่อนด้วย Backlog ณ สิ้นปี 2561 มีมูลค่ารวม 3.3 แสนล้านบาท ซึ่งจะโอนฯ ปี 2562 ราว 1.5 แสนล้านบาท (เป็น JV ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท) หุ้นที่คาดว่า 1Q62 จะโตโดดเด่นคือ 
ANAN ([email protected]) มี Backlog 3.12 พันล้านบาท ส่วนที่จะโอนในปี 2562 คิดเป็น 48% ของเป้าหมายโอนฯ ปี 2562 
SPALI ([email protected]) มี Backlog 1.34 หมื่นล้านบาท ส่วนที่จะโอนในปี 2562 คิดเป็น 47% ของเป้าหมายโอนฯ ปีนี้
PSH ([email protected]) Backlog 3.2 หมื่นล้านบาท ส่วนที่จะโอนในปี 2562 คิดเป็น 46% ของเป้าหมายโอนฯ ปีนี้
SC ([email protected]) มี Backlog 6.5 พันล้านบาท ส่วนที่จะโอนในปีนี้ คิดเป็น 39% ของเป้าหมายโอนฯ
QH ([email protected]) มี Backlog รอโอนฯ 2.6 พันล้านบาท ส่วนที่จะโอนในปีนี้ คิดเป็น 18% ของเป้าหมายโอนฯ
หุ้น CPN ([email protected]) คาด1Q62 เติบโตต่อเนื่องจากงวด 4Q61 เพราะจะรับรู้รายได้เต็มไตรมาสมากขึ้นจากศูนย์ฯ ภูเก็ตฟลอเรสต้า อีกทั้งยังหนุนจากอัตราการเช่าศูนย์ที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดศูนย์ฯ ใหม่ I-City มาเลเซีย และการปรับปรุงเซ็นทรัลเวิลด์ที่เสร็จสมบูรณ์ในงวดนี้ นอกจากนี้ยังรับรู้กำไรพิเศษจากขายหุ้น DTC รวม 34 ล้านบาท (สัดส่วน 0.3% ของกำไรปกติทั้งปี)
กลุ่มขนส่ง
กำไรกลุ่มฯ งวด 1Q62 จะเติบโตได้สูงสุดของปี หนุนจากฤดูกาลท่องเที่ยว ประโยชน์จากต้นน้ำมันที่ลดลงและค่าเงินบาทแข็งค่าหนุนต่อ AAV(FV @B4.70), THAI (FV @B9.00)
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!