- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 12 March 2019 16:31
- Hits: 1458
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยน่าจะยังขาดความเชื่อมั่น แม้เลือกตั้งยังเดินหน้าตามกำหนด มีการใช้จ่ายเม็ดเงินระหว่างหาเสียง แต่การปรับลด EPS ตลาดปี 2562 ลงจากเดิม 6% เหลือ 105.42 บาทต่อหุ้น ทำให้ตลาดหุ้นไทยมี upside จำกัด ทำให้แกว่งตัวช่วงสั้นในกรอบ 1623-1640 จุด กลยุทธ์การลงทุนเลือกหุ้นเด่นเป็นรายหุ้น Top picks BJC(FV@B61), LH(@B13.6)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ปิดลบเล็กน้อย
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงเช้า และค่อยๆ ลดช่วงบวกลง ด้วยแรงกดดันหลักจากกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTT -0.53%, TOP -2.11%, GPSC -3.28%, SPRC -3.60% รวมถึงหุ้นรายตัว PSH เกิด Dilution effect จากการขึ้นเครื่องหมาย XD อย่างไรก็ตาม ดัชนียังถูกจำกัดด้วยแรงประคองจากทั้งกลุ่ม ICT และค้าปลีก ทำให้ภาพรวมวันนี้ปิดลบเพียงเล็กน้อยที่ระดับ 1,627.43 จุด ลดลง 2.69 จุด (-0.17%) ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง 3.09 หมื่นล้านบาท
คาดว่าดัชนียังแกว่งตัวในกรอบ 1620-1640 จุด ตลาดน่าจะยังแรงหนุนโดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศที่น่าจะให้ความสนใจต่อการเมืองหลังเลือกตั้ง และการปรับลดำไรตลาดปี 2562 ลง 6% ทำให้ดัชนีหุ้นไทยมี Upside จำกัด กลยุทธ์การลงทุนเลือกรายหุ้นที่เข้าข่ายผลกำไรเด่นรายตัว หรือหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด 2 กลุ่มคือ 1L2H (BCH QH VGI EASTW SCCC DRT GFPT) และหุ้นปันผลสูง (AP, LH, QH, KKP, BBL) เป็นต้น และหุ้นค้าปลีกที่ได้ประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า
ราคาน้ำมันยังฟื้นตัว OPEC เตรียมควบคุมกำลังผลิต
ราคาน้ำมันดิบดูไบยังคงแกว่งตัวขึ้นและสามารถยืนเหนือ 66 เหรียญฯ ซึ่งน่าจะมีแรงหนุนจากการตัด Supply ยังเป็นไปตามแผน สะท้อนจากกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศผลิตน้ำมัน OPEC เดือน ก.พ.ที่ลดลงราว 9 แสนบาร์เรล/วันจากเดือน ธ.ค. ถือว่ากำลังการผลิตที่ลดลง ใกล้เคียงกับข้อตกลง( OPEC และ Non OPEC ทำสัญญาล่าสุด ธ.ค. 2561 จะตัดลดการผลิตถึง กลางปี 2562 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็น OPEC ตัดลด 8 แสนบาร์เรล/วัน) ขณะที่ Non OPEC ลดลง 4 แสนบาร์เรล/วัน)
ล่าสุด ซาอุดิอาระเบีย เปิดเผยกำลังการผลิต ปัจจุบันลดลงเหลือ 10.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน (หรือราว 33.1% ของกำลังการผลิตทั้งหมดของOPEC) และมีแนวโน้มจะลดลงให้ต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรล/วัน พร้อมเสนอให้กลุ่มประเทศ OPEC ขยายระยะเวลาตัดลดการผลิตออกไปสิ้นปี 2562 ซึ่งกำหนดการประชุม OPEC ครั้งย่อย วันที่ 17-18 เม.ย. และครั้งใหญ่ 25-26 มิ.ย.
การลด supply สอดรับกับความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ชะลอลงจากสงครามการค้า โดยรวมทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัว ล่าสุด อยู่ที่ 66.2 เหรียญฯต่อบาร์เรลใกล้เคียงสมมติฐานของ ASPS ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญ ในปี 2562 แต่คาดว่าจะสามารถฟื้นตัวยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ (และกำหนด 70 เหรียญฯ นับจากปี 2563 เป็นต้นไป) ยังแนะนำสะสม PTTEP(FV@B168) และ PTT(FV@B56)
3 ความหวัง หนุน Fund Flow ไหลกลับในระยะถัดไป
แม้วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค 567 ล้านเหรียญ (ขายต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) โดยไทยถูกต่างชาติขายสุทธิอีก 10 ล้านเหรียญ หรือ 320 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 11 วัน ด้วยมูลค่ารวม 1.46 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 297 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน)
อย่างไรก็ตามยังพอเห็นแสงแห่งความหวังจากการที่ Fund Flow มีโอกาสไหลกลับจาก 3 ประเด็นด้วยกัน คือ
1. ในช่วงท้ายของปี 2561 ความกังวลประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ กดดันให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างตราสารหนี้สหรัฐฯ ปริมาณมากตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา จนกดดัน Bond Yield 10 ปีสหรัฐฯ ลดลงมาจาก 3.24% จนล่าสุด (ณ 11 มี.ค. 62) เหลือเพียง 2.64% (ลดลง 60 bps.) ด้วยล่าสุด Bond Yield ที่อยู่ในระดับต่ำ แถมยังถูกกดดันต่อเนื่องจากการที่สหรัฐอาจไม่ปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในปีนี้ (จากที่คาดว่าจะขึ้นถึง 2 ครั้ง) น่าจะหนุนให้ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น
2. Gap หรือส่วนต่างระหว่าง Bond Yield 10 ปี สหรัฐ และไทยลดลงมาก จากห่างกันถึง 44 bps. (ณ 11 พ.ย. 61) จนล่าสุดเหลือเพียง 9 bps. (ณ 11 มี.ค. 62) น่าจะช่วยป้องกัน Fund Flow ไหลออกจากไทยกลับไปยังสหรัฐ
Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ vs. ไทย
ที่มา: Bloomberg, ฝ่ายวิจัยฯ ASPS
3. ที่สำคัญเป็นที่สังเกตว่าตลอด 1 ปีกว่าๆ ที่ผ่านมา มีอยู่ 2 ครั้งที่ส่วนต่างระหว่าง Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ และไทยแคบลงเหลือไม่ถึง 10 bps. และหลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงทั้ง 2 ครั้ง โดยครั้งแรก คือ วันที่ 8 ก.ค. ส่วนต่าง Bond Yield 10 ปี เหลือ 3 bps. หลังจากนั้นราว 3 สัปดาห์ SET Index เพิ่มขึ้นกว่า 6.6% และครั้งที่สอง วันที่ 26 ส.ค. ส่วนต่าง Bond Yield 10 ปี เหลือ 6 bps. หลังจากนั้นราว 1 เดือน SET Index เพิ่มขึ้นกว่า 3.3% และล่าสุด ส่วนต่างระหว่าง Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ และไทยเหลือเพียง 8 bps. (ณ 11 มี.ค. 62) เชื่อว่าน่าจะหุ้นให้ Fund Flow ไหลกลับรวมถึงผลักดันให้ SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป (ดังภาพทางด้านล่าง)
SET Index vs. ผลต่างระหว่าง Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ กับไทย
ที่มา: Bloomberg, SET, ฝ่ายวิจัยฯ ASPS
กลยุทธ์เน้นรายหุ้น กำไรเด่น/ผันผวนน้อย/ปันผลสูง
แม้จะเดินทางไปสู่การเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 แต่ตลาดยังขาดความเชื่อมั่น และน่าจะมองข้ามไปถึงหลังเลือกตั้ง กับเสถียรภาพทางการเมือง และผลจากการปรับลดกำไรตลาดดังที่นำเสนอไปเมื่อวานทำให้ ดัชนีมี upside จำกัด กลยุทธ์การลงทุนเน้นรายหุ้นที่มีผลกำไรเด่น หรือหุ้นที่เข้าคุณสมบัติผันผวนน้อยใน 2 กลุ่มคือ
1. อิงการบริโภคในประเทศที่ได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายภาครัฐ ตามนโยบายช่วยรากหญ้า ทั้งรัฐบาลปัจจุบันและรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากการหาเสียง ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก ซึ่งปัจจุบัน หุ้นที่ Laggard และมี upside สูงในกลุ่มคือ BJC ตามด้วยหุ้นที่เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อผู้มีรายได้น้อยผ่านการปล่อยสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ได้แก่ SAWAD, MTC หรือบริษัทที่ซื้อหนี้มาบริหาร เช่น JMT
2. หุ้นผันผวนต่ำ แยกเป็นหุ้นที่มีคุณสมบัติ 1L2H โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด และ 2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562 แม้ระยะสั้นราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงตามสภาวะตลาดที่ไม่ดี แต่แนวโน้มกำไรที่ยังมีโอกาสโตได้ดี จะคอยช่วยพยุงและหนุนราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นได้ในระยะถัดไป โดยฝ่ายวิจัยฯคัดเลือกหุ้นผันผวนต่ำ ตามกลยุทธ์ดังกล่าวได้ 7 บริษัท ดังตารางทางด้านล่าง
หุ้นผันผวนต่ำ บวกกับมี Upside และการเติบโตที่ดี
ที่มา : SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
3. หุ้นปันผลเด่นที่ยังไม่ขึ้นเครื่องหมาย XD ดังตารางทางด้านล่าง
หุ้นปันผลเด่นที่ยังไม่ขึ้นเครื่องหมาย XD
**ผลตอบแทนเฉลี่ยก่อนขึ้น XD คิดคำนวณตั้งแต่วันนี้ ถึงวันขึ้น XD
ที่มา : SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์