- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 11 March 2019 20:50
- Hits: 2635
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรปี 2562 ลงจากเดิมที่คาด EPS ที่ 112.2 บาทต่อหุ้น เหลือ 105.42 บาทต่อหุ้น เพื่อสะท้อนผลกระทบจาก พ.ร.บ.แรงงานฉบับแก้ไข การปรับสมมุติฐานค่าเงินบาทจาก 33 บาท/ดอลล่าร์ เหลือ 32 บาท รวมถึงการปรับข้อมูลของแต่ละบริษัทให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้เป้าหมาย SET Index ซึ่งถูกกำหนดค่า PER 16 เท่า ลดลงมาอยู่ที่ 1687 ทำให้มี Upside ที่จำกัดมาก แนะนำเลือกหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูงอย่าง LH(FV@ B13.6) และหุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือน BJC(FV@B61)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index แกว่งทรงตัวตลอดวัน
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index แกว่งทรงตัวตลอดวัน จนทำให้ปิดที่ระดับ 1630.12 จุด ลดลง 3.09 จุด (-0.19%) ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางเพียง 3.43 หมื่นล้านบาท เพราะมีปัจจัยกังวลจากเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวร่วมกับสมครามการค้า (สหรัฐฯ-จีน) ที่ยังไม่มีกำหนดการเรื่องเวลาที่ชัดเจน โดยหุ้นกลุ่มที่กดดันตลาดคือกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯอย่าง PTT(-0.52%) PTTEP(-1.22%) PTTGC(-1.44%) ,กลุ่มสื่อสารอย่าง INTUCH(-1.81%) JAS(-1.77%) รวมถึงหุ้นรายตัว CPN(-1.01%) CPALL(-0.32%) และ ROBINS(-3.10%)
แนวโน้มดัชนีหุ้นไทยในวันนี้คาดว่ายังแกว่งตัวในกรอบ 1620-1640 จุด ความสนใจหลักยังอยู่ในเรื่องพัฒนาการของสงครามการค้า แต่เนื่องจากได้ถูกสะท้อนเข้ามาในราคาหุ้นแล้วระดับหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักมีไม่มากนัก แต่น้ำหนักน่าจะมาอยู่ที่เรื่องแนวโน้มผลประกอบการปี 2562 ของบริษัทจดทะเบียนได้ถูกปรับลดประมาณการลง ส่งผลทำให้ Upside ของตลาดหุ้นไทยอยู่ในกระทบที่จำกัด กลยุทธ์เน้นหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด 2 กลุ่มคือ 1L2H (BCH QH VGI EASTW SCCC DRT GFPT) และหุ้นปันผลสูง (AP, LH, QH, KKP, BBL) เป็นต้น และหุ้นค้าปลีกที่ได้ประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า
การจ้างงานสหรัฐและส่งออกจีน ก.พ. ชะลอตัว จากผลสงครามการค้า
ผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ สะท้อนจากปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝั่งสหรัฐมีการรายงานตัวเลขแรงงานคือ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นเพียง 2 หมื่นราย ต่ำสุดในรอบ 2 ปี และน้อยกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.8 แสนราย ทำให้อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกัน อยู่ที่ 3.8% สอดคล้องกับก่อนหน้า คือ ยอดค้าปลีก ต่ำสุดในรอบ 2 ปี 5 เดือน และ PMI ภาคการผลิตต่ำสุดในรอบ 1 ปี 3 เดือน เช่นเดียวกับฝั่งจีน คือ รายงานยอดส่งออกในเดือน ก.พ. หดตัว 20%yoy (หดตัวมากที่สุดในรอบ 3 ปี และมากกว่าตลาดคาดหดตัว 5%) จากตลาดส่งออกไปสหรัฐที่ชะลอลงจากสงครามการค้า เนื่องจากปัจจุบัน สหรัฐยังคงจัดเก็บภาษีนำเข้า 2 รอบแรกวงเงินรวม 5 หมื่นล้านเหรียญ อัตราภาษี 25% และรอบที่ 3 วงเงิน 2 แสนล้านเหรียญ อัตราภาษี 10%
โดยรวมผลกระทบที่ทั้ง 2 ฝั่งได้รับแล้ว เชื่อว่าจะเป็นแรงผลักดันให้เห็นการประนีประนอมต่อกันมากขึ้นในการเจรจาเพื่อยุติสงครามการค้า โดยที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการเชิงบวกในการเจรจาต่อเนื่อง คือ สหรัฐยืดระยะเวลาการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน รอบ 3 ออกไป โดยตลาดให้น้ำหนักการประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐ-จีน วันที่ 27 มี.ค. เชื่อว่าจะผ่อนคลายขึ้น และตลาดได้รับรู้ประเด็นสงครามการค้าได้ผ่านจุดเลวร้ายสุดไปแล้ว
นโยบายเศรษฐกิจของทุกพรรค ดีต่อหุ้นค้าปลีก BJC
เศรษฐกิจไทยปี 2562 ASPS คาด GDP Growth ขยายตัว 3.4% ชะลอจาก 4.1% ในปี 2561 โดยเชื่อว่าปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคครัวเรือน ที่คาดว่ายังคงได้ประโยชน์จากมาตการกระตุ้นต่างๆของภาครัฐ เช่น บัตรสวัสดิการที่ให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้มีรายได้น้อย 300-500 บาท/เดือน ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 จนถึง 30 ก.ย. 2562 รวมถึงในปีนี้ ไทยจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. 2562 ซึ่งคาดว่าการบริโภคจะเป็นปัจจัยหนุนอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองใหญ่ๆทุกพรรคที่มีจุดร่วมเหมือนกัน คือ มุ่งไปที่การอัดฉีดเงิน และช่วยเหลือและดูแลเกษตรกร และผู้มีรายได้น้อยเป็นสำคัญ เช่น
• พรรคประชาธิปัตย์ มุ่งเน้นผู้มีรายได้น้อย อาทิ นโยบายประกันรายได้แรงงาน 1.2 แสนบาท/ปี, นโยบายเกิดปั๊บรับแสน และช่วยเหลือภาคเกษตร โดยประกันราคาสินค้า 3 ชนิดคือ ข้าว, ยาง และปาล์ม
• พรรคเพื่อไทย ให้ความสำคัญกับการเพิ่มสิทธิประโยชน์ 30 บาทรักษาทุกโรค รักษาได้ทุกโรงพยาบาล และช่วยเกษตรกร โดยเฉพาะผู้ปลูกข้าว เกวียนละ 5 พันบาท ไม่เกิน 15 เกวียนต่อครัวเรือน
• พรรรคพลังประชารัฐ เน้นต่อยอดโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ครอบคลุมมากขึ้น ,มารดาประชารัฐ อาทิ ตั้งครรภ์รับเดือนละ 3000 บาท, ให้เงินค่าคลอด 1 หมื่นบาท และมาตการภาษี เช่นภาษีนักศึกษาจบใหม่
• พรรคอนาคตใหม่ ให้เงินช่วยเหลือการเลี้ยงดูบุตร และเยาวชน, เพิ่มงบบัตร 30 บาท และด้านการเกษตร เน้นการปรับโครงสร้างหนี้ เช่นนโยบายปลดหนี้เกษตรกร อ่านเพิ่มเติมใน Econ Outlook 6 มี.ค.
คาดว่ากำลังซื้อที่ได้แรงหนุนจากนโยบายต่างๆข้างต้น เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อธุรกิจค้าปลีก หากพิจารณายอดขายสาขา สถิติในอดีตพบว่า ช่วง 1-2 ไตรมาส ก่อนและหลังการเลือกตั้ง SSSG มักจะปรับตัวขึ้น เช่น การเลือกตั้งงวด 4Q50 พบว่า ช่วง 3Q50 SSSG อยู่ที่ 0.3% และเพิ่มเป็น 1.3% และ 4.1% ในงวด 4Q50 และ 1Q51 ตามลำดับ และการเลือกตั้งงวด 3Q54 พบว่า งวด 2Q54 มี SSSG อยู่ที่ 6% และเพิ่มมาเป็น 9.3% ในช่วง 3Q54 และ 4.8% ใน 4Q54 ทำให้ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า SSSG กลุ่มค้าปลีก ปี 2562 จะปรับตัวดีขึ้นเป็น 2.5% จาก 1.3% ในปี 2561 โดยรวมเชื่อว่าจะดีต่อ หุ้นค้าปลีก Top Pick เลือก BJC(FV@B61) เพราะราคาที่ยัง Laggard กลุ่ม และยังมีธุรกิจที่มั่นคง หลากหลาย รองรับการเติบโตในระยะยาว
โอกาสสะสมหุ้นพื้นฐานดี ที่ถูก Short Sale หนัก
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายขึ้น ทั้ง DW และ Block Trade หนุนให้นักลงทุนเข้าไปใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือช่วยในการลงทุน กดดันให้ตลาดหุ้นผันผวนยิ่งขึ้น โดยมูลค่าการช็อตในแต่ละปีสูงขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากในปี 2562 นี้ (ช่วงเวลาเกือบ 2 เดือนครึ่ง) นักลงทุนช็อตเซล (Short Sale เป็นการขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีในครอบครอง) หุ้นไทยไปแล้วกว่า 7.3 หมื่นล้านบาท (ytd) (คิดเป็นสัดส่วน 26% ของปี 2561) และปี 2561มีมูลค่า 2.81 แสนล้านบาท และปี 2560 ที่ 1.71 แสนล้านบาท
โดย 10 หุ้นที่ถูก Short Sale มากที่สุดในปี 2562 (ytd) มีดังนี้
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
อย่างไรก็ตามหากสังเกตหุ้นที่ถูกช็อตมากสุด 10 อันดับแรก ฝ่ายวิจัยฯ Coverage อยู่ 7 บริษัท และแนะนำ ”ซื้อ” และมี Upside เกิน 10% อยู่ 5 บริษัท คือ PTTGC, KBANK, PTTEP, BH และ ADVANC ดังนั้นเชื่อว่าหากราคาหุ้นปรับฐานลงจนมี Upside เปิดกว้าง ถือเป็นโอกาสในการเข้าสะสม และด้วยพื้นฐานแข็งแกร่งจึงมีโอกาสสูงที่ราคาหุ้นจะฟื้นกลับมาจากการ Cover Short
ปรับลดประมาณการฯ ปี 2562 เป้าดัชนี 1687 จุด
ผลประกอบการงวด 4Q61 ของบริษัทจดทะเบียน ที่ออกมาหดตัวสูงถึง 39.1%qoq และ 40.5%yoy ส่วนใหญ่เป็นผลจากรายการพิเศษที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว อาทิ การขาดทุนสต๊อกน้ำมัน การตั้งสำรองความเสียหายจากโครงกการขนาดใหญ่ของ TTCL และค่าใช้จ่ายเพื่อยุติข้อพิพาททางกฎหมายของทั้ง DTAC, TRUE ทำให้ภาพรวมกำไรสุทธิตลาดฯ ทั้งปี 2561 อยู่ที่ 9.73 แสนล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) 97.89 บาท ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมี EPS ที่ 108.58 บาท และเป็นผลให้ EPS Growth ปี 2561 ติดลบ 0.96% YoY
สำหรับปี 2562 หลังนักวิเคราะห์ได้รับข้อมูลจากการทำ Company Visit และการเข้าร่วม Analyst Meeging ได้ทำการปรับประมาณการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ รวมถึงสะท้อนผลกระทบจากการที่ บริษัทจดทะเบียนต้องตั้งสำรองรายการผลประโยชน์พนักงานตาม พ.ร.บ. แรงงานฉบับแก้ไข คิดเป็นค่าใช้ราว 2.8 หมื่นล้านบาท ,การปรับลดสมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยมาอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์ฯ (เดิม 33 บาทต่อดอลลาร์ฯ) และการปรับปรุงรายการ Stock Gain/ Loss ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลทำให้ประมาณการ EPS ปี 2562 ลดลงจากเดิมที่คาด 112.19 บาท/หุ้น ลงมาอยู่ที่ 105.42 บาท เติบโต 7.7%yoy และบนสมมติฐานว่าตลาดหุ้นไทยควรซื้อขายบนค่า PER เหมาะสมบริเวณ 16 เท่า ทำให้เป้าหมายปี 2562 ของ SET Index ปรับลดลงมาที่ 1687 จุด หรือมี Upside จำกัดลง 3.5%
กลยุทธ์เน้นหุ้นที่มีคุณสมบัติ 1L2H และ/หรือหุ้นปันผลสูง
คาดว่าก่อนเดินทางไปสู่การเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ตลาดหุ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ จะผันผวนแต่น่าจะยืนในกรอบ 1630-1670 จุด ตราบที่ยังไม่มีแรงหนุนจากต่างชาติ กลยุทธ์การลงทุนแนะนำหุ้นที่เข้าคุณสมบัติ
1. อิงการบริโภคในประเทศที่ได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายภาครัฐ ตามนโยบายช่วยรากหญ้า ทั้งรัฐบาลปัจจุบันและรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากการหาเสียง ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก ซึ่งปัจจุบัน หุ้นที่ Laggard และมี upside สูงในกลุ่มคือ BJC ตามด้วยหุ้นที่เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อผู้มีรายได้น้อยผ่านการปล่อยสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ได้แก่ SAWAD, MTC หรือบริษัทที่ซื้อหนี้มาบริหาร เช่น JMT
2. หุ้นผันผวนต่ำ แยกเป็นหุ้นที่มีคุณสมบัติ 1L2H โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด และ 2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562 แม้ระยะสั้นราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงตามสภาวะตลาดที่ไม่ดี แต่แนวโน้มกำไรที่ยังมีโอกาสโตได้ดี จะคอยช่วยพยุงและหนุนราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นได้ในระยะถัดไป โดยฝ่ายวิจัยฯคัดเลือกหุ้นผันผวนต่ำ ตามกลยุทธ์ดังกล่าวได้ 7 บริษัท ดังตารางทางด้านล่าง
หุ้นผันผวนต่ำ บวกกับมี Upside และการเติบโตที่ดี
ที่มา : SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
3. หุ้นปันผลเด่นที่ยังไม่ขึ้นเครื่องหมาย XD ดังตารางทางด้านล่าง
หุ้นปันผลเด่นที่ยังไม่ขึ้นเครื่องหมาย XD
**ผลตอบแทนเฉลี่ยก่อนขึ้น XD คิดคำนวณตั้งแต่วันนี้ ถึงวันขึ้น XD
ที่มา : SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์