WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
วันนี้ตลาดน่าจะให้น้ำหนักการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ “ยุบพรรคไทยรักษาชาติหรือไม่” และความเสี่ยงต่อการปรับลด GDP โลก แม้สงครามการค้าเบาลง แต่ผลกระทบจากปี 2561   รวมถึงการปรับลดกำไรตลาด ทำให้ระยะสั้นดัชนียังคงแกว่งตัวลงในกรอบ 1620-1640 จุด กลยุทธ์เน้นหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด พร้อมมี upside และเงินปันผลสูง Top picks  BCH(FV@B21) และ LH([email protected])  
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ยังแกว่งตัวลง  
วานนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบแคบก่อนที่จะปรับตัวลงแรงในช่วงบ่าย จนทำให้ปิดที่ระดับ 1625.51 จุด ลดลง 13.49 จุด (-0.82%) ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 4.43 หมื่นล้านบาท  คาดว่ายังขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ บวกกับประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมือง จึงทำให้หลายกลุ่มฯ ปรับตัวลดลงกดดันตลาด โดยหลักๆ มาจากกลุ่มพลังงาน PTT(-2.05%) PTTEP(-0.82%), กลุ่มธ.พ. KBANK(-2.07%) BBL(-1.44%) KTB(-1.56%) และกลุ่มค้าปลีก CPALL(-1.29%) MAKRO(-1.32%) เป็นต้น
 วันนี้ตลาดน่าจะให้น้ำหนัก ผลตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ  “ยุบพรรคไทยรักษาชาติหรือไม่” และแม้ สงครามการค้าจะเบาลง แต่ After shock ยังมีทำให้ มีความเสี่ยงต่อการปรับลด GDP โลกยังมีอยู่ รวมถึงการปรับลดกำไรตลาด ทำให้ระยะสั้นดัชนียังคงแกว่งตัวลงในกรอบ 1620-1640 จุด กลยุทธ์เน้นหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด  2 กลุ่มคือ 1L2H( BCH QH  VGI EASTW SCCC DRT GFPT) บาส และ หุ้นปันผลสูง (AP, LH, QH, KKP, BBL)  เป็นต้น   
การปรับลด GDP โลกและไทย กดดันตลาดโดยตรง  
ความกังวลเศรษฐกิจโลกปี2562 ชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามการค้ายังคงมีอยู่และปัญหาการเมืองของประเทศในกลุ่มยุโรปทำให้เห็นการทยอยปรับลด GDP Growthของโลกลง โดยวานนี้องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) ได้ปรับลด GDP Growth  โลกปี 2562- 2563 เหลือ 3.3% และ 3.4% จากเดิมที่คาด 3.5% เท่ากันทั้งสองปี  หลังจากก่อนหน้าได้คาดการณ์สูงไป เมื่อเทียบกับ IMF ที่ได้นำร่องไปตั้งแต่ต้นปี เดือน ม.ค.  คือ ปรับลด GDP Growth ปี 2562 ลง 0.2% เหลือ 3.5% และปี 2563 ลง 0.1% เหลือ 3.6%   
เช่นเดียวกับไทย ปีนี้ การส่งออกที่ชะลอลงชัดเจน จากผลกระทบสงครามการค้า   และสหรัฐอาจจะตัดสิททางภาษีศุลกากร(GSP) กับไทยหลังจากที่ล่าสุด สหรัฐสิทธิไปแล้ว 2 ประเทศ คือ อินเดียและตุรกี มีผล พ.ค. และเงินบาทที่แข็งค่า    ทำให้หลายฝ่ายทยอยปรับลด  GDP Growth ของไทยปี 2562 ล่าสุด กกร. จะปรับประมาณการ GDP Growth ลงจากเดิม คาด  4-4.3%  ขณะที่ ASPS คาดยอดส่งออกโดยรวมในปี 2562 น่าจะทรงตัวจากปี 2561 ที่เติบโต 6.7% ในรูปดอลลาร์   ขณะที่นำเข้าจะ เติบโต  3%  ชะลอตัวจาก 13% เมื่อปี 2561 และเนื่องจากปรับลดสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนปี 2562  เหลือ 32 บาท/ดอลลาร์ จากเดิม 33 บาท/ดอลลาร์  ทำให้ส่งออก (หน่วยบาท) และนำเข้า ติดลบ 1.9% และติดลบ 0.1%  จากเดิม  0.4% และ 1.8% ตามลำดับ  ทำ ให้ GDP Growth ปี 2562 ลดลงจากเดิม 0.1% เหลือ 3.4% ชะลอลงจาก 4.1% ปี 2561 อ่านรายะเอียดเพิ่มเติมใน Econ Outlook 6 มี.ค.2562  
ราคาน้ำมันยังยืน 65 เหรียญฯ การตัดลด Demand ยังใกล้ Supply  
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นราว  7.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าตลาดคาดที่ 1.2 ล้านบาร์เรล ผลจาการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นราว 14.9%wow  อยู่ที่ 7 ล้านบาร์เรล/วัน  เพื่อรองรับกำลังการผลิตน้ำมัน ล่าสุดอยู่ที่ 12ล้านบาร์เรล/วัน  (สูงสุดเป็นประวัติการณ์)  ขณะที่การตัดลด Supply ยังเป็นไปตามแผน สะท้อนจากกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศผลิตน้ำมัน OPEC เดือน ม.ค. ที่ลดลงราว  7.97 แสนบาร์เรล/วัน ถือว่ากำลังการผลิตที่ลดลง ใกล้เคียงกับข้อตกลงของผู้ผลิตทั้งกลุ่ม OPEC และ Non OPEC ที่ทำไว้ในเดือน ธ.ค.2561 ที่ตั้งเป้าจะตัดลดการผลิตจนถึง กลางปี 2562 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน (แบ่งเป็น OPEC ต้องลดลง 8 แสนบาร์เรล/วัน ขณะที่ Non OPEC ลดลง 4 แสนบาร์เรล/วัน) และกลุ่มประเทศ OPEC เสนอให้ขยายระยะเวลาตัดลดการผลิตออกไปสิ้นปี 2562 
การลด supply สอดรับกับความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ชะลอลงจากสงครามการค้า  โดยรวมทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัว  ล่าสุด อยู่ที่  65.61 เหรียญฯต่อบาร์เรลใกล้เคียงสมมติฐานของ ASPS ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญ ในปี 2562 แต่คาดว่าจะสามารถฟื้นตัวยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ (และกำหนด 70 เหรียญฯ นับจากปี 2563 เป็นต้นไป) ยังแนะนำสะสม PTTEP(FV@B168) และ PTT(FV@B56
SAWAD เข้าถือหุ้น BFIT เกิน 50% ทำให้รับรู้กำไรมากขึ้น 
SAWAD แจ้งตลาดจะซื้อหุ้นเพิ่มทุน BFIT ที่ต้องการเพิ่มเงินกองทุน (CAR ปัจจุบันอยู่ที่ 13%) เพื่อรองรับธุรกิจเชิงรุก โดย BFIT จะเพิ่มทุนจากปัจจุบัน 220.5 ล้านหุ้นที่ราคาพาร์ 5 บาท  โดยจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิม อัตราส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1.5 หุ้นใหม่ที่ราคา 18 บาท ปัจจุบัน  SAWAD ถือหุ้น BFIT   45.3% (99.97 ล้านหุ้น แต่มีอำนาจในการควบคุมทำให้ต้องทำงบการเงินรวม) หากเพิ่มทุนตามอัตราส่วนข้างต้น จะต้องใช้เงินเพิ่มทุน 5,950 ล้านบาท
พิจารณาแล้ว SAWAD น่าจะมีเงินทุนเพียงพอพิจารณาจากเงินสดในมือสิ้นปี 2561 2.4 พันล้านบาท  และ เงิน เพิ่มทุนด้วยวิธี PP ให้แก่ Cathay Trust พันธมิตรสัญชาติไต้หวัน  ราว   2.5-2.6 พันล้านบาท  แต่เนื่องจากต้องปล่อยสินเชื่อปีละ 8 พันล้านบาท เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายจึงคาดว่าอาจจะต้องกู้ยืมเพิ่มเติม ซึ่งพิจารณาจากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนที่ราว 1.2 เท่า ทำให้ SAWAD น่าจะปลอยภัยจากการเพิ่มทุน เพื่อให้สามารถลงทุนใน BFIT ได้ตามเป้าหมาย  
ทั้งนี้หากการเพิ่มทุนใน BFIT ครั้งนี้มีเฉพาะ SAWAD ที่ต้องเพิ่มทุนรายเดียว คาดว่าจะทำให้ SAWAD ถือหุ้นใน BFIT เพิ่มเป็น  53% และจะเพิ่มเป็น 78.2% หากเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนส่วนที่เหลือจากที่ผู้ถือหุ้นเดิม BFIT ไม่ใช้สิทธิทั้งหมด จะทำให้ SAWAD เก็บเกี่ยวผลกำไรจาก BFIT ได้เต็มที่ถือว่าดีต่อ SAWAD(FV@B54) จึงยังคงแนะนำซื้อ  
แนะนำ Switch GLOW สะท้อนการขายโรงไฟฟ้าให้ GPSC แล้ว 
ที่ประชุม กกพ. มีมติให้ GPSC ซื้อ GLOW ได้ หลังจากแก้ไขปัญหาลดการผู้ขาดของ GPSC  (โดย GLOW  ตกลงขายหุ้นโรงไฟฟ้า GLOW SPP1 (124 เมกะวัตต์) ให้กับ BGRIM เรียบร้อยแล้ว)  ซึ่งภายหลังการควบรวมจะส่งผลให้ GPSC มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวมาอยู่ที่ 4.8 พันเมกะวัตต์ (GPSC เข้าซื้อกำลังการผลิตส่วนที่เหลืออีก 2.8 พันเมกะวัตต์ หลังหักโครงการ GLOW SPP1) และกลายเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ 
ขั้นตอนต่อจากนี้ GPSC จะทำการซื้อหุ้นจากผู้ขายคือ Engie Global Developments B.V จำนวน 69.11% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ GLOW และที่เหลือจะทำ Tender ในราคาเดียวกัน ด้วยราคาที่ต่ำกว่า 94.89 บาท/หุ้น (96.5 บาท/หุ้น หักปันผลจาก GLOW งวด 1Q61 เท่ากับ 1.608 บาท/หุ้น) ที่เป็นราคาเดิมเพราะไม่มีโรงไฟฟ้า GLOW SPP1
ด้านแหล่งเงินทุน GPSC จะใช้เงินลงทุน (Source of Fund) รวมทั้งสิ้นไม่เกิน  1.4 แสนล้านบาท เช่นเดิม โดยจะกู้ยืมระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี จากกลุ่ม PTT ไม่เกิน 3.5 หมื่นล้านบาท และที่เหลือกู้ยืมจากสถาบันการเงิน   ระยะสั้นอาจจะทำให้  D/E ของ GPSC  สูงขึ้นชั่วคราวเกือบ 4 เท่า จาก 0.52 เท่า ณ สิ้นปี 2561 ซึ่งเกิน Debt Covenant ที่กำหนดไว้ที่ 2.5 เท่า แต่ผู้บริหารชี้แจงว่าสามารถเกินกว่ากำหนดเป็นการชั่วคราวได้ เพราะหลังจากนั้นจะมีการปรับแผนโครงสร้างการเงินใหม่ โดยจะออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 6.8 หมื่นล้านบาท พร้อมทั้งเพิ่มทุนวงเงินไม่เกิน 7.4 หมื่นล้านบาท เพื่อคืนเงินกู้ระยะสั้นข้างต้น และ D/E Ratio จะปรับตัวลดลงเหลือราว 1 เท่า
หากรวมการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวเข้ามาในประมาณการของ GPSC เบื้องต้นคาดจะทำให้มูลค่าพื้นฐานเพิ่มขึ้นราว 6.5 บาท/หุ้น เป็น 73.5 บาท (ก่อนรวมอยู่ที่ 67 บาท/หุ้น) คงคำแนะนำซื้อ ขณะที่ GLOW ปรับลดคำแนะนำเป็น Switch มูลค่าพื้นฐานสิ้นปี 2562 อยู่ที่ 93 บาท ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นจน upside จำกัด 
ต่างชาติเดือนหน้าขายหุ้นไทย 8 วันติด มูลค่าเกิน 1 หมื่นล้านบาท
แม้วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 225 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย 292 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน), ไต้หวัน 72 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน), และฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ(ขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศ ต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ 62 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และ ไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 81 ล้านเหรียญ หรือราว 2.60 พันล้านบาท ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 859 ล้านบาท
ปัจจัยภายในประเทศยังคลุมเครืออยู่ขณะนี้ กดดันให้ Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยติดต่อกัน 8 วัน ด้วยมูลค่ากว่า 1.32 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ยอดซื้อขายสุทธิในปี 62 ติดลบ 4.45 พันล้านบาท รวมถึงต่างชาติยังขาย Short สัญญา SET50 Futures ติดต่อกัน 5 วัน สูงถึง 3.46 หมื่นสัญญา ผนวกกับมีการขายสุทธิตราสารหนี้ไทยแล้วกว่า 2.49 หมื่นล้านบาท (ytd)
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
กลยุทธ์เน้นหุ้น Defensive Stock 1L2H หรือหุ้นปันผลสูง  
ความผิดหวังต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในงวด 4Q61 บวกกับความไม่แน่นอนทางการเมือง กดดันตลาดหุ้นไทยให้เผชิญกับแรงขายจากต่างชาติที่มีมาตลอด 8 วันติด ด้วยมูลค่ารวม 1.32 หมื่นล้านบาท กดดัน SET Index ปรับตัวลงตลอดสัปดาห์กว่า 40 จุด หรือ 2.4% มาอยู่ที่ 1625.51 จุด และปัจจุบันตลาดหุ้นไทยยังถูกห้อมล้อมด้วยหลายปัจจัยเสี่ยง
ดังนั้นการเลือกหุ้นควรพิถีพิถันเน้นลงทุนในหุ้น Defensive โดยฝ่ายวิจัยคัดสรรมาให้ 2 กลยุทธ์ด้วยกัน คือ 
1.    หุ้นผันผวนต่ำ คัดเลือกโดยใช้กลยุทธ์ 1L2H โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำ หากตลาดปรับฐานแรง หุ้นดังกล่าวยังมีโอกาสปรับตัวลงได้น้อยกว่าตลาด ผนวกกับกลยุทธ์ 2H คือ High Upside และ High Growth62F คือ แม้ระยะสั้นราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงตามสภาวะตลาดที่ไม่ดี แต่แนวโน้มกำไรที่ยังมีโอกาสโตได้ดี จะคอยช่วยพยุง และหนุนราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นได้ในระยะถัดไป โดยฝ่ายวิจัยฯคัดเลือกหุ้นผันผวนต่ำ ตามกลยุทธ์ดังกล่าวได้ 7 บริษัท ดังตารางทางด้านล่าง
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!