- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 19 May 2014 16:13
- Hits: 3998
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ซื้อ/ถือเมื่อยืนเหนือ 1400 จุด”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : SNC (จาก Fully Valued เป็นซื้อ), PF (จาก ขาย เป็น Fully Valued)
• ภาพตลาดวันก่อน : SET Index ปิดปรับขึ้น 10.05 จุด มายัง 1405.26 มูลค่าซื้อขาย 4.5 หมื่นล้านบาท โดยมีการเข้าซื้อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีและเป็นชั้นนำในกลุ่มหลักต่างๆ กลุ่มที่ซื้อสุทธิเป็น สถาบันในประเทศ (ซื้อสุทธิ 3 พันล้านบาท) ส่วนต่างชาติและรายย่อยขายสุทธิ ส่วนพอร์ตบล.ซื้อสุทธิเล็กน้อย 280 ล้านบาท
• ปัจจัยและกลยุทธ์ : สัปดาห์นี้ติดตาม 1) ตัวเลข GDP ไตรมาส 1/57 ของไทยที่สภาพัฒน์ฯจะรายงานออกมาในวันนี้ ซึ่งตลาดประเมินว่าจะหดตัวประมาณ 1% และมีโอกาสสูงที่เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้เพียง 2-2.5% โดยสภาพัฒน์ฯจะประกาศการปรับลดคาดการณ์ในเร็วๆนี้, 2) สถานการณ์การเมือง ซึ่งประเมินกันว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยจะยุติในอีกไม่ช้านี้ แต่ไม่แน่นอนว่าจะจบแบบรุนแรงหรือไม่รุนแรง ซึ่งประเด็นนี้อาจทำให้ตลาดแกว่งตัว อย่างไรก็ตามคาดว่าจะไม่รุนแรงเพราะนักลงทุนหาจังหวะเข้าซื้อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีอยู่ เพราะหวังว่าเมื่อปัญหาการเมืองคลี่คลายสถานการณ์เศรษฐกิจและกำไรบจ.ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นในระยะต่อไป (มองข้าม Shot ไปยัง 2H57 และปี 58 เลย)
สำหรับความเสี่ยงทางการเมืองหลัก คือความยืดเยื้อ และ 3) ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศชั้นนำต่างๆ ทั้งสหรัฐ, ยูโรโซน, ญี่ปุ่น, อังกฤษ, จีน เป็นต้น ซึ่งในระยะสั้นมากเราให้น้ำหนักส่วนนี้เป็นNeutral เนื่องจากตัวเลขออกมาค่อนข้าง Mixed และเศรษฐกิจจีนในปีนี้เติบโตไม่มาก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของทางการจีนที่จะเน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพ จึงมีการปิดโรงงานที่มีคุณภาพต่ำเป็นจำนวนมาก แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีในระยะยาว รวมทั้งควบคุมปัญหาฟองสบู่สินทรัพย์อย่างใกล้ชิด กลยุทธ์โดยหลักเป็นการซื้อตามด้วยค่าบวก กลยุทธรอง คือ ซื้ออ่อนตัวแต่ไม่ต่ำกว่า 1400 จุด แนวต้านระยะสั้น 1410-1420, 1430 จุด โดยยังคงเน้นการลงทุนไปยังหุ้นปัจจัยพื้นฐานมั่นคง ฐานะการเงินดี ธุรกิจฟื้นตัวเร็ว และมีปันผล ซึ่งหุ้นพื้นฐานแนะนำซื้อลงทุนวันนี้เป็น AOT
Fundamental Pick
AOT แนะนำซื้อปิด 195.5 บาท ราคาพื้นฐาน 237 บาท
• กำไร 2Q57 ออกมาอ่อนตามคาดลดลง 18% y-o-y เป็น 3.7 พันล้านบาท เพราะผู้โดยสารต่างประเทศที่ลดลง 6% y-o-y ทำให้รายได้ในส่วนค่าธรรมเนียมผู้โดยสาร (PSC) ลดลงไป 5%ซึ่งรายได้ในส่วนนี้คิดเป็น 43% จากทั้งหมด แต่ยังถือว่าแข็งแกร่ง และเป็นไปตามที่เราและตลาดฯคาดไว้ก่อนหน้า เพราะแม้มีการชุมนุมในเขตกรุงเทพฯ แต่ธุรกิจการให้จอดเครื่องบิน(L&P) + 16% y-o-y รายได้จากสัมปทาน +10% y-o-y และจำนวนผู้โดยสารในประเทศ +12%y-o-y ก็ยังเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง แนวโน้มดีขึ้น หลังจากมีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินในปลาย เดือนมี.ค.57 ตัวเลขผู้โดยสารต่างประเทศเดือนเม.ย.57 เป็น -5.9% ฟื้นตัวขึ้นจากเดือนมี.ค. และก.พ.57 ที่เป็น -10.1% และ -8.3% ตามลำดับ เราได้ปรับสมมุติฐานผู้โดยสารต่างประเทศให้การเติบโตน้อยลงเป็น 2% จากเดิมที่ 7% ส่งผลให้คาดการณ์กำไรสุทธิปีนี้ลดลง 7% จากคาดการณ์เดิมเป็น 12 พันล้านบาท แต่การเติบโตของกำไรหลักปีนี้ยังสูงที่ 23% ราคาพื้นฐานที่ปรับใหม่เท่ากับ 237.00 บาท (วิธี DCF) ซึ่งยังยังมี Upside น่าสนใจ 21% จึงคงคำแนะนำซื้อทั้งนี้ปัจจัยที่จะเป็น Catalyst ในระยะสั้น คือ ปัญหาการเมืองยุติ โดยเชื่อว่าธุรกิจของ AOT จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ส่วนปัจจัยหนุนระยะยาว ได้แก่ การเปิด AEC และการขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟสที่ 2
ปัจจัยต่างประเทศและโภคภัณฑ์
+/- สหรัฐ : ตัวเลขเริ่มก่อสร้างบ้านเม.ย.ดีขึ้น แต่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต้นเม.ย.แย่กว่าคาด
+ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านของสหรัฐประจำเดือนเม.ย.ปรับตัวเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายในระดับ 13.2% แตะที่ 1.07 ล้านยูนิต ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 975,000 และการอนุญาตก่อสร้างปรับตัวขึ้น 8% จากเดือนก่อนหน้านี้ แตะที่ 1.08 ล้านยูนิต ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2551 และสูงกว่าคาดการณ์ที่ 1.01 ล้านยูนิต
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนพ.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนลดลงสู่ระดับ81.8 จากระดับ 84.1 ในเดือนเม.ย. ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะที่ 84.5
• ตลาดหุ้นสหรัฐบวกเล็กน้อย
• ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 44.50 จุด หรือ 0.27% ปิดที่ 16,491.31 จุด ดัชนีS&P 500 บวก 7.01 จุด หรือ 0.37% ปิดที่ 1,877.86 ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 21.30 จุด หรือ0.52% ปิดที่ 4,090.59 นำโดยหุ้นขนาดกลาง-เล็ก
+ สัญญาน้ำมันดิบปรับขึ้น
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวขึ้น 52 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 102.02ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 66 เซนต์หรือ 0.6% ปิดที่ 109.75 ดอลลาร์/บาร์เรล ปัจจัยหนุนราคาน้ำมันดิบในระยะสั้น คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความวุ่นวายทางการเมืองในยูเครน
• สัญญาทองคำ COMEX ทรงตัว...จับตารัฐบาลใหม่ของอินเดียว่าจะผ่อนคลายเรื่องนำเข้าทองคำหรือไม่
• สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ขยับลง 20 เซนต์หรือ 0.02% ปิดที่ 1,293.40 ดอลลาร์/ออนซ์ นักลงทุนกำลังติดตามความเคลื่อนไหวของพรรคร่วมฝ่ายค้านซึ่งใช้ชื่อว่า "พันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ" (National Democratic Allianceหรือ NDA) หลังจากที่สามารถกวาดชัยชนะในการเลือกตั้งอินเดีย โดยนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งเชื่อว่าอินเดียอาจผ่อนคลายการควบคุมการนำเข้าทองคำ แต่ปัจจัยดังกล่าวยังไม่ส่งผลต่อการซื้อขายทองคำในตลาดเมื่อวันศุกร
ปัจจัยในประเทศและหลักทรัพย์
• เศรษฐกิจไทย : วันนี้ (19 พ.ค.) สภาพัฒน์ฯจะรายงาน GDP 1Q57
• สภาพัฒน์ฯ จะรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1/57 ของไทย ซึ่งคาดว่าจะติดลบประมาณ1%YoY โดยหลักมาจากการบริโภคและการลงทุนที่หดตัว ขณะที่ภาคส่งออกยังฟื้นตัวช้า ส่วนโมเมนตัมไตรมาส 2/57 ยังไม่ดีนัก แม้ว่าภาคท่องเที่ยวและส่งออกจะกระเตื้องขึ้น แต่การบริโภคและการลงทุนอ่อนแอลงไปอีก
- เศรษฐกิจไทย : สภาพัฒนฯจะปรับลดคาดการณ์ GDP Growth ปีนี้เป็น 2.0-2.5%(เดิม 3.0-4.0%)
- สภาพัฒน์ฯจะปรับลดคาดการณ์ GDP Growth ของไทยปี 57 ลงอีกรอบ โดยคาดว่าจะเป็น2.0-2.5% จากเดิม 3.0-4.0% เนื่องจากปัญหาการเมืองยืดเยื้อทำให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว รวมทั้งการจัดทำงบประมาณปี 58 ล่าช้า ยังผลให้การลงทุนภาครัฐจะถูกเลื่อนออกไปด้วย สำหรับปัจจัยที่ผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คือ การส่งออก ซึ่งทางสภาพัฒน์ฯ คาดว่าจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 5%
• กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : แม้มีความเสี่ยงด้าน NPL เพิ่มตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาแต่ยังมีเสถียรภาพดี อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่ความสามารถในการทำกำไรจะอ่อนลงใน2Q57 แนะนำเลือกซื้อลงทุน หุ้นเด่น คือ
• นายอานุภาพ คูวินิชกุล ผู้อำนวยอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/57 สินเชื่อขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็น 9.8%YoY จาก 11% ในไตรมาส 4/56(สูงสุดอยู่ที่ 15% ในปี 54) คุณภาพสินเชื่อมีแนวโน้มด้อยลง ระดับ NPL เพิ่มเป็น 2.8 แสนล้านบาท โดยหลักมาจากสินเชื่ออุปโภค & บริโภค และสินเชื่อ SME สัดส่วน Gross NPL และ NetKBANK และ BBL NPL ขึ้นมาเป็น 2.3% และ 1.1% ของสินเชื่อรวม ตามลำดับ แต่ธนาคารพาณิชย์ยังมีเงินสำรองเพียงพอรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ณ สิ้นไตรมาส 1/57 มีสำรองสะสมต่อ NPLเท่ากับ 169.8% และเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง โดยเงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับสูง โดยอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงทรงตัวที่ 12.6% ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงลดลงเล็กน้อยเป็น 15.5% เนื่องจากการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิและการทยอยลดนับตราสารหนี้ที่คุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์ Basel III
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : แม้ว่าใน 1Q57 ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะออกมาดี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีความต้องการใช้สินเชื่อที่คาบเกี่ยวต่อเนื่องมาจากปีก่อน รวมทั้งใน 4Q56 หลายธนาคารมีการตั้งสำรองค่าเผื่อฯไปมาก จึงตั้งน้อยลงใน 1Q57 แต่ภาวะเศรษฐกิจและปัญหาการเมืองลากยาวมาถึง 2Q57 ทำให้ความต้องการใช้สินเชื่อมีโอกาสชะลอตัวลงหลังจบโครงการเดิมไปแล้วใน 3 เดือนแรกของปีนี้ ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ที่ใช้หลักความระมัดระวังก็จะต้องตั้งสำรองค่าเผื่อฯเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่มากขึ้นใน 2Q57
ทั้งนี้ ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ได้ตอบรับผลประกอบการ 1Q57 การปรับลดเป้าหมายอัตราการเติบโตของสินเชื่อปีนี้ของแต่ละธนาคาร การชะลอตัวของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย(ค่าธรรมเนียมต่างๆ กำไรจากการลงทุน และรายได้ค่าเบี้ยประกัน) รวมทั้งแนวโน้มการตั้งสำรองค่าเผื่อฯ ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นใน 2Q57 แต่อาจจะยังสะท้อนปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลงทุนที่มีโอกาสชะลอตัวยาวนานกว่าที่เคยประเมินไว้ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐที่ถูกกระทบจากการทำงบประมาณรายจ่ายปี 58 ล่าช้า เนื่องจากปัญหาการเมืองในเชิงกลยุทธ์การลงทุนจึงเป็นการ Selective Buy โดยหุ้นกลุ่มแบงค์ที่เราชอบ คือ KBANK(เนื่องจากมีการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตสินเชื่อและแหล่งรายได้ดี พึ่งพิงโครงการภาครัฐไม่มาก มีความคล่องตัวในการบริหารงาน & ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจได้เร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 210 บาท) และ BBL (มีความมั่นคงสูง มีสำรองค่าเผื่อฯ ต่อ NPL สูงที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์, ปรับกลยุทธ์ด้านธุรกิจรายย่อยและเริ่มเห็นผล และ Valuation จูงใจ โดยซื้อขายที่ P/BV ต่ำเพียง 1.2 เท่า ขณะที่เฉลี่ยของกลุ่มเท่ากับ1.8 เท่า แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 228 บาท)
สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง-เล็กที่เน้นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เช่น TCAP, TISCO, KKPยังอยู่ในช่วงซบเซาไปถึงสิ้นปี 57 เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องใช้เวลาในการสร้างสมดุลระหว่างดีมานด์กับซับพลายอีกประมาณ 6-9 เดือน ดังนั้นตวามน่าสนใจลงุทนระยะสั้นจึงไม่มาก
• การเมือง : 19-26 พ.ค.57...เป็นช่วงเวลาที่การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างคู่ขัดแย้งหลักจะรุนแรงขึ้น
• นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานวุฒิสภา และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี มีนัดพบปะหารือเพื่อหาทางออกให้กับประเทศในวันนี้ (19 พ.ค.57) แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะมีความคืบหน้าหรือไม่
• แกนนำกลุ่มนปช.ประสานกับแกนนำนปช.ระดับภูมิภาคนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 17-19 พ.ค.เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านการจัดตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้ง 20 ก.ค.นี้ ทางแกนนำกลุ่มนปช.เห็นว่า มีโอกาสที่จะถูกเลื่อนออกไปเพราะยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องการหารือระหว่างกกต.กับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี
• แกนนำกลุ่มกปปส.นัดหารือกับหลายองค์กรรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการทวงคืนอำนาจอธิบไตยโดยประชาชนอย่างสันติวิธี รวมทั้งให้มวลชนแบ่งสายไปเจรจากับรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงให้ลาออก และในวันที่ 22 พ.ค.57 จะจัดประชุมกับอดีตหัวหน้าหน่วยราชการต่างๆเพื่อหารือแนวทางปรับปรุงการแก้ปัญหาประเทศ โดยวันที่ 22-25 พ.ค.จะระดมมวลชนออกมาร่วมชุมนุมและเคลื่อนพลไปตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ และแกนนำกลุ่มกปปส.ประกาศเส้นตายของการต่อสู้ไว้เป็นวันที่ 26 พ.ค.57
• การเมือง : เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป (RNN)เสนอ แนวทางออกของประเทศให้กับว่าที่ประธานวุฒิสภาและประธานก.ก.ต.
• เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป (RNN-Reform Now Network) ประกอบด้วยนพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์,นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และนางปรีดา คงแป้น ยื่นข้อเสนอที่ได้จากการจัดเวทีความคิดเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 5 "เดินหน้าผ่าทางตันวิกฤตประเทศไทย" ให้นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา และนายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการหาทางออกให้ประเทศ โดยแนวทางแก้ปัญหาที่เสนอประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ
1. มีการเลือกตั้งตามกำหนดที่กกต.ได้หารือกับรัฐบาลไว้ก่อนหน้านี้ คือ 20 ก.ค.57ซึ่งแนวทางนี้จะถูกคัดค้านอย่างหนักตามที่ทางกปปส.ประกาศจุดยืนไว้ ในขณะที่ได้รับการสนับสนุนจากนปช. ดังนั้นจึงมีโอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่สงบ นำไปสู่การปะทะระหว่างมวลชนทั้งสองฝ่าย (ข้อดี คือ มีการเลือกตั้งเร็ว แต่ข้อเสีย คือ ไม่แน่นอนว่าการเลือกตั้งจะสงบ หรือจะเป็นโมฆะอีกหรือไม่ และจะมีการปฏิรูปหลังเลือกตั้งหรือไม่)
2. เลื่อนวันเลือกตั้งออกไปและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในช่วงเวลาประมาณ 4-5เดือนนับจากนี้ (ช่วง ส.ค.-ก.ย.57) เพื่อให้มีเวลาเพียงพอเรื่องการอำนวยให้เกิดการเลือกตั้งที่เที่ยงธรรมและยุติธรรม และมีเวลาในการจัดเตรียมแผนปฏิรูปหลังเลือกตั้ง รวมถึงการทำกระบวนการ "ออกเสียงประชามติ" ในบางเรื่องที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ระหว่างคู่ขัดแย้งทางการเมือง เช่น เรื่องรูปแบบองค์กรหรือกลไกเพื่อดำเนินการปฏิรูป เป็นต้น ซึ่งตามกฎหมายการออกเสียงประชามติ ต้องมีการประกาศล่วงหน้าก่อนวันออกเสียงประชามติอย่างน้อย 90 วันโดยรัฐบาลใหม่ที่เข้ามามีหน้าที่หลักเรื่องการปฏิรูปประเทศซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี หลังจากนั้นก็ต้องยุบสภา เพื่อเข้าสู่การเลือกตั้งใหม่อีกรอบ (ข้อดี คือ มีเวลาเตรียมการเพื่อลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ก็ต้องทำสัตยาบัน/สัญญาประชาคมร่วมกันของพรรคการเมืองว่ารัฐบาลจะไม่ครองอำนาจยาว โดยมีหน้าที่หลัก คือ การเข้ามาปฏิรูปประเทศเท่านั้นข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง 2 ครั้ง)
3. เลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจนกว่าการจัดกระบวนการปฏิรูปในเรื่องสำคัญมีความก้าวหน้า เช่น การปฎิรูปเรื่องเข้าสู่อำนาจทางการเมือง (การเลือกตั้ง) การออกแบบสถาบันการเมืองใหม่ (รัฐสภา, พรรคการเมือง) การกำกับควบคุมการใช้อำนาจ และการตรวจสอบการใช้อำนาจทางการเมือง เป็นต้น (ข้อดี คือ มีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งครั้งเดียว ข้อเสีย คือการไม่มีสภาผู้แทนราษฎรทำให้การแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายมีข้อจำกัด และกรอบเวลาที่จะเลือกตั้งไม่ชัดเจน)
ทางกลุ่ม RNN ได้เสนอว่า ทางเลือกที่ 2 น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ความสำเร็จของทางเลือกที่ 2 จะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีการดำเนินการทั้งสามเรื่องควบคู่กันไป ได้แก่ 1) การกำหนดวันเลือกตั้งที่มีระยะเวลาเพียงพอและการปฏิรูปการบริหารจัดการเลือกตั้ง 2) การออกแบบกำหนดกลไกการปฏิรูปในระยะกลาง-ยาว และ 3) การคลายปมความขัดแย้งทางการเมือง (ทั้งสองฝ่ายร่วมกันถอยเพื่อเจรจาหาทางออก)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]