- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 01 March 2019 13:59
- Hits: 3155
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“เจรจาเกาหลีเหนือไม่ราบรื่น กลับมากังวลเจรจาการค้า”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -11.79 จุด ปิดที่ 1653.49 จุด มูลค่าการซื้อขายปานกลางที่ 54 พันล้านบาท ดัชนีบ้านเราสอดคล้องกับภูมิภาคแถบนี้ที่แกว่งตัวลง ดัชนีฯได้รับปัจจัยลบจากการกลับมากังวลสงครามการค้าจีน-สหรัฐที่ตัวแทนการค้าสหรัฐระบุจีนต้องดำเนินการปรับปรุงอีกหลายด้าน มีสงครามการค้าอินเดีย-ปากีสถาน การเจรจาสหรัฐ-เกาหลีไม่คืบหน้าและเงินบาทกลับมาอ่อนค่า สำหรับผู้ขายสุทธิรายเดียวเป็น ต่างชาติ 4.2 พันลบ. ด้านผู้ซื้อสุทธิคือ รายย่อย 3.3 พันลบ.พอร์ตโบรกเกอร์ 0.7 พันลบ. และสถาบัน 0.2 พันลบ. ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาด SET มีลักษณะ Sideways ในเชิงปรับลง การเจรจาสหรัฐ-เกาหลีเหนือไม่คืบหน้า และกลับมากังวลสงครามการค้าจีน-สหรัฐ เงินบาทกลับมาอ่อนค่าเหมือนกับจะมีเงินไหลออก และบอนด์ยิลด์สหรัฐกลับมาเพิ่ม
# ปัจจัยบวกที่มีอยู่บ้างคือ ดาวโจนส์ล่วงหน้าเป็นบวก ราคาน้ำมัน WTI ปรับขึ้นต่อ ยังคงต้องติดตามปัจจัยการเมือง หลังศาลเลื่อนการตัดสินไป 7 มี.ค.62 รวมทั้งผลประกอบการไตรมาส 4/61- ตลอดปี 61 และการประกาศจ่ายปันผล ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้เปิดมา Mix
# กลยุทธ์ คือ หาก SET ปรับขึ้น เก็งกำไรรอบสั้นแนวต้านเป็น 1660-1670 จุด แต่หากมีแรงขายต่อ แนวรับเป็น 1635,1630 จุด ด้านการซื้อลงทุนระยะกลาง ทยอยสะสม ส่วนดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 ยังเป็น 1780 จุด (+0.5 SD) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรปี 61-62 ที่ +8%/+6% ตามลำดับ แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น Top Pick ในงวด 1Q62 คือ AOT,BBL,CPALL,HANA,PTT และ WHA
# หุ้นเด่น AAV : ระยะนี้มีการเก็งกำไร AAV ในประเด็นสนใจเข้าซื้อ NOK ขณะที่ NOK ก็ยอมรับต้องการผู้ร่วมทุนมาเสริมแกร่ง หากในที่สุด AAV ซื้อ NOK จริงก็จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายคือ AAV จะครองส่วนแบ่งตลาดใน Low Cost Airline ใหญ่สุดในไทยด้วยส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% มีอำนาจในการนำการตลาดช่วยลดการแข่งขันที่รุนแรง และจะทำให้เกิด Economy of scales ได้ เพราะบริษัทมีฝูงบินราว 60 ลำ และ NOK มีอยู่ราว 25 ลำ แต่ทางด้านปัจจัยพื้นฐานแนะนำเพียง ถือ สำหรับ AAV
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบ {“ปิดลบแรง”ใต้“SMA10วัน”เล็กน้อย (โดยยัง“ติด”แนวต้าน และยังถูกกดดันด้วย“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่ง”แบบ“เริ่ม”ให้น้ำหนักกับการลง แต่ “ค่าบวก” จะช่วยรักษาภาพของการรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1660 (หรือ 1670) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1650” (แนวรับย่อย “1635 – 1630 / 1620” จุด)}
สำ หรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ DCC,PTG,OSP,TQM หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ PYLON,UNIQ,MINT, PSL หุ้นที่หลุด List คือRATCH,HANA,AMATA,IRPC,BH,TASCO,SPALI,AOT หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ WORK,BAFS
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Flash Note : AMATA (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 26.00)
ANAN (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 4.90)
CK (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 30.00)
HANA (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 40.75)
MODERN (ถือ -ราคาพื้นฐาน Under Review)
MTC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 63.00)
ROJNA (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 6.12)
Turnover List Watch : DDD ติด Trading Alert ส่วน SISB คาดติด Cash Balance
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สหรัฐ-เกาหลีเหนือ: การเจรจาไม่คืบหน้า
# การประชุมสุดยอดครั้งที่ 2 ระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ และนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงฮานอยของเวียดนาม ได้ปิดฉากลงโดยทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำข้อตกลงใดๆร่วมกัน นอกจากนี้ การประชุมยังจบลงเร็วกว่ากำหนดการเดิมที่วางไว้ และไม่มีการออกแถลงการณ์ร่วมของผู้นำทั้งสองฝ่ายเช่นกัน
# ปธน.ทรัมป์ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมที่กรุงฮานอยเมื่อวานนี้ว่า นายคิมต้องการให้สหรัฐยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีเหนือทั้งหมด แต่สหรัฐยังไม่สามารถทำได้ในขณะนี้ พร้อมระบุว่า แม้เกาหลีเหนือเต็มใจที่จะดำเนินการในหลายประเด็น แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่สหรัฐต้องการ ด้วยเหตุนี้ สหรัฐจึงเห็นว่ายังไม่เหมาะสมที่จะมีการลงนามข้อตกลงใดๆร่วมกับเกาหลีเหนือในการประชุมสุดยอดครั้งนี้
- สหรัฐ: กังวลผลประกอบการ
# ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่นักวิเคราะห์ในวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่า ผลประกอบการในไตรมาส 1/2562 ของบริษัทจดทะเบียนจะปรับตัวลงราว 1.1% ซึ่งสวนทางกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ผลประกอบการไตรมาส 1 จะเพิ่มขึ้น5.3%
- สหรัฐ : ความไม่แน่นอนสงครามการค้ากลับมาอีก
# ความไม่แน่นอนของการทำข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐและจีนยังเพิ่มแรงกดดันให้กับตลาด หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐได้ออกมาส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกัน โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐกล่าวว่า การที่สหรัฐและจีนจะบรรลุข้อตกลงการค้าอย่างถาวรได้นั้น จีนจะต้องดำเนินการมากกว่าแค่เพียงซื้อสินค้าจากสหรัฐมากขึ้น ขณะที่เมื่อวานนี้ นายแลร์รี่ คุดโลว์ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาวกล่าวว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนกำลังดำเนินไปด้วยดี โดยมีความคืบหน้าอย่างมากในสัปดาห์ที่แล้ว
-/+ สหรัฐ: ตัวเลขเศรษฐกิจมีความผันผวนสูง
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1สำหรับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2561 โดยระบุว่ามีการขยายตัว2.6% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.3%
# กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ225,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ด้านนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ระดับ 220,000รายในสัปดาห์ที่แล้ว
- ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับลง วิตกสงครามการค้า
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,916.00 จุด ลดลง 69.16 จุด หรือ -0.27% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,784.49 จุด ลดลง 7.89 จุด หรือ -0.28% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,532.53 จุด ลดลง 21.98 จุด หรือ -0.29%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (28 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อผลการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำสหรัฐและเกาหลีเหนือที่ปิดฉากลงโดยไม่มีการทำข้อตกลงใดๆ รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และความไม่แน่นอนของการทำข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยความวิตกกังวลในเรื่องเหล่านี้ได้บดบังปัจจัยบวกจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐที่ขยายตัวได้ดีเกินคาดในไตรมาส 4/2561
+/- ภาวะตลาดน้ำมัน : WTI ปรับขึ้น สต็อคสหรัฐร่วงลง แต่ Brent ปรับลง
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 28 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 57.22 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 36 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 66.03 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (28 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ร่วงลงในสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดตลาดปรับตัวลง หลังจากทางการจีนเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตชะลอตัวลงในเดือนก.พ.
+ ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ปรับลง หลัง GDP สหรัฐดีกว่าคาด
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 5.10 ดอลลาร์ หรือ 0.39% ปิดที่1,316.10 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (28 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ขยายตัวได้ดีเกินคาดในไตรมาส4/2561
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐประกาศสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ม.ค., รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนม.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.พ.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+ เศรษฐกิจไทย : เศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค.62 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค.62 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ โดยเครื่องชี้การบริโภค ภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องในทุกหมวดการใช้จ่าย เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์และยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวจากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน
-ธปท.ยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจจะเติบโตชะลอลงจากปีก่อน
# ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจจะเติบโตชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากปัจจัยต่างประเทศมีเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ ธปท.ได้ประเมินไว้บ้างแล้ว โดยในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งต่อไปในเดือน มี.ค.62 จะนำปัจจัยต่างๆ มาพิจารณาทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้อีกครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ กนง.จะประเมินสถานการณ์เป็นระยะ
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]