WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
SET Index ผันผวน แต่คาดว่ามีโอกาสทดสอบแนวต้าน 1670 จุด  และมีโอกาสแตะ1700 จุดเร็วๆ  นี้ เชื่อว่าตลาดซึมซับการเมือง  และเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง  รวมถึง Fed ต่อสภาคองเกรส ตอกย้ำการกลับมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย น่าจะหนุน Fund flow กลับมาเอเชีย กลยุทธ์เน้นรายหุ้นที่จ่ายเงินปันผลเด่นและใกล้ขึ้น XD (QH, LH, KKP, THANI, BBL, PTT, PTTEP) Top pick วันนี้เลือก LH(FV@B14) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% ก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD อีก 2 เดือนข้างหน้า
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index เปิดดิ่งกว่า 5 จุด
วานนี้ SET Index เปิดดิ่งลงกว่า 5 จุด และแกว่งตัวในกรอบแคบ (+5,-5) จุด ทำให้ปิดที่ระดับ 1663.56 จุด ลดลง 8.19 จุด (-0.49%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.3 หมื่นล้านบาท  แม้ปัจจัยต่างประเทศผ่อนคลายในประเด็น เจรจาการค้าสหรัฐ-จีน แต่มีแรงขายรับงบ Q4 รายหุ้น โดยกลุ่มที่กดดันตลาดคือ กลุ่มพลังงานอย่าง PTT PTTEP PTTGC IRPC และ GULF เป็นต้น อีกทั้งมีแรงขายรับงบ Q4  เช่น BEAUTY ที่กำไรหดตัวลงกว่า 69.1% yoy และกำไรปี 61 ทั้งปี ลดลง 19.3%  จึงทำให้ปิดที่ระดับ 6.95 บาท ลดลง 14.7%
ประเมินแนวต้านถัดไปของ SET Index อยู่ที่ 1680 จุด และยังคาดมีโอกาสทดสอบ 1700 จุดเร็วๆ  นี้ โดยเชื่อว่าตลาดฯ ซึมซับการเมือง หลังจากแฉลบออกนอกเส้นทางชั่วครู่ แต่ทุกอย่างกำลังเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง และสหรัฐยังตอกย้ำการกลับมา ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย น่าจะหนุน fund flow กลับมาภูมิภาคเอเชีย 
Fed ยืนยันการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย กดดันดอลลาร์อ่อนค่า  
วานนี้ประธาน Fed นายเจอโรม เพาเวลล์มีการแถลงประจำปีต่อสภาคองเกรส ใจความสำคัญคือ  ยังเย้นย้ำต่อการอดทนต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ล่าสุดอยู่ที่ 2.5% และปีนี้คาดว่าอาจจะขึ้นได้ไม่ถึง 1 ครั้ง     และพิจารณาถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการชะลอการลดงบดุล (Balance Sheet)  หลังจากได้เริ่มลดไปตั้งแต่ ต.ค. 2560 ด้วยการหยุด Reinvest ในพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยค้ำประกัน (Mortgage-Backed Securities) หลังจากแตะจุดสูงสุดที่ 4.49 ล้านล้านเหรียญ จนปัจจุบันที่ 4.07 ล้านล้านเหรียญ (ลดลงราว 9.2%) เนื่องจาก Fed เห็นสัญญาณที่แสดงถึงเศรษฐกิจชะลอตัว ล่าสุดวานนี้ ยอดเริ่มต้นสร้างบ้าน เดือน ธ.ค. ลดลง  11.2% mom อยู่ที่ 1.08 ล้านหลัง ต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี  สอดคล้องกับ ยอดขายบ้านใหม่ และบ้านมือสอง ที่ต่ำสุดในรอบ 1 ปี 3 เดือน และในรอบ 4 ปี และ PMI ภาคการผลิตแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี 1 เดือน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค. 2562 ที่ชะลอตัวเหลือ 1.6%yoy จาก 1.9% ในเดือน ธ.ค. 2561 (ต่ำสุดในรอบ 1 ปี 7 เดือน) 
 การกลับมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายสหรัฐ กดดัน Dollar index แกว่งทิศทางอ่อนค่า  บวกต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ ที่มีปัจจัยหนุนจากการลด supply สอดรับกับความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ชะลอลงจากสงครามการค้า ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่  64.8  เหรียญฯต่อบาร์เรล ใกล้เคียงสมมติฐานของ ASPS ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญ ในปี 2562 และคาดว่าจะสามารถฟื้นตัวยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ (และกำหนด 70 เหรียญฯ นับจากปี 2563 เป็นต้นไป) แนะนำซื้อ PTTEP(FV@B168) และ PTT(FV@B56)  
TMB+TCAP ผู้ถือหุ้น TCAP ถูก Dillute   
วานนี้ ทั้ง TMB และ TCAP แจ้งตลาดถึงความคืบหน้าของการควบรวมกิจการ สรุปดังนี้ 
1.    ซื้อเฉพาะธนาคารธนาคารชาติ  (TBANK) เท่านั้น ส่วนธุรกิจอื่นๆ ที่ TBANK ถืออยู่  คือ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจประกัน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ และ ธุรกิจลิสซิ่ง (THANI) ให้โอนกลับไปให้ผู้ถือหุ้นเดิมของ TBANK 2  รายคือ Scotia Netherlands Holdings B.V. (ถือหุ้น TBANK 48.99% ) และ บริษัททุนธนชาติ (50.96%) 
2.    TMB เป็นผู้ออกหุ้นใหม่  ที่หุ้นละ 2.4 บาท หรือ  1.1 เท่าของมูลคาตามบัญชีของ TMB (2.2) มูลค่าไม่เกิน 140,000 ล้านบาท  เพื่อไปแลกหุ้น TCAP    (คำนวณราคาหุ้น TBANK 1.1 เท่า PBV เช่นกัน  มูลค่าตามบัญชี 21.62 บาท 1.1 เท่าคือ 23.782 บาทต่อ) แต่นำหุ้นใหม่ ไปแลกซื้อหุ้น TCAP เพียง 70% ของ 140,000  ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 100,000  ล้านบาท (ที่เหลือ 40,000 ล้านบาท จะออกหุ้นกู้ แต่มิได้บอกว่าไปชำระให้กับใครอย่างไร)     และ วงเงินเพิ่มทุนใหม่ของ TMB จะไปแลกหุ้น TCAP  ถูกแบ่งเป็น 2  ส่วน (ผู้ถือหุ้นเดิมไม่ต้องเพิ่มเงิน)  โดยการประเมินเบื้องต้นโดยนักวิเคราะห์ ASPS ดังนี้คือ  
 
2.1.    PP  55,000  ล้านบาท นำหุ้น TBANK มาแลกเป็นหุ้น TMB ได้ 22,174 ล้านหุ้น   
2.2.    อีก 45,000 ล้านบาท เป็นหุ้น TMB  18,142.74 ล้านหุ้น  แบ่งเป็น 2 ส่วน  คือ 
2.2.1.    RO มูลค่า 21,753 ล้าบาท   หรือ เป็นหุ้น TMB 8,700.40  ล้านหุ้น  กำหนดอัตราการแลกหุ้น TBANK : TMB คือ 5 : 1   ราคาเดียวกัน
2.2.2.    PP    มูลค่า 23,246 ล้นบาท  หรือเป็นหุ้น TMB 9,372.34  ล้านหุ้น แยกเป็นส่วนที่นำไปแลกหุ้น TBANK  5154.78 ล้านหุ้น และ ขายให้กับ ING 42,17.55 ล้านหุ้น   
 
โดยรวมหุ้นใหม่ของ  TMB  ทั้งหมด คือ  40,317 ล้านหุ้น เมื่อรวมกับหุ้นเดิม 43852 ล้านบาท จะมีหุ้นทั้งหมด 84,169 ล้านหุ้น หรือมี dilution effect ราว 48% แต่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเดิม TBANK ที่แลกเป็นหุ้น TMB รวมกัน 36,099 ล้านหุ้น หรือ มีส่วนแบ่งใน TMB หลังเพิ่มทุน เพียง  42.9% ต่ำกว่าที่ประเมิน 60% (เดิมคาดว่าผู้ถือหุ้นเดิม TMB จะมีส่วนแบ่ง TMB หลังเพิ่มทุน 40%) ภายใต้สมมติฐานเดิมที่ ASPS กำหนดให้แลกหุ้นกันตรง ๆ  คือ  นำ 2 บริษัทมารวมกัน โดยใช้ PBV ที่เท่ากัน  ซึ่งถือว่าผิดไปจากที่คาดหมายมาก   ตรงข้ามฝั่งผู้ถือหุ้นเดิม TMB  กลับมีส่วนโดยรวมที่เพิ่มขึ้นกว่าคาด ทุกราย ทั้ง  ING Bank   คลัง และอื่นๆ  รายละเอียดดังตาราง 
โครงสร้างการถือหุ้นหลังเพิ่มทุน TMB (TMB+TCAP)
 
พัฒนาการทางการเมืองในช่วงนี้มี 2 เรื่องที่สำคัญ
1.    เรื่องคดีความเกี่ยวกับพรรคการเมือง โดยวันนี้ (27 ก.พ.62) ศาลรัฐธรรมนูญจะนัดหมายคู่ความในกรณีที่ กกต. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งเป็นการนัดหมายในครั้งแรกหลังจากที่ศาลฯรับพิจารณาคำร้อง และให้พรรคไทยรักษาชาติส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ทั้งนี้ต้องติดตามว่าแนวทางในการพิจารณาของศาลฯ จะเป็นอย่างไร จะมีการไต่สวนพยานหรือไม่ และจะมีผลการวินิจฉัยออกมาเมื่อใด แต่ในเบื้องต้นฝ่ายวิจัยประเมินว่า น่าจะมีผลการวินิจฉัยออกมาในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562  อีกกรณีหนึ่งเป็นการที่ อัยการ มีการนัดหมาย หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และกรรมการบริหารพรรคอีก 2 คน เข้าพบ ในกรณีการจัดรายการ “คืนวันศุกร์ให้ประชาชน” ผ่าน Facebook Live เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2561 ทั้งนี้ประเด็นติดตามมีอยู่ว่า กรณีดังกล่าวจะถูกนำขึ้นฟ้องร้องในชั้นศาลหรือไม่ และยิ่งไปกว่านั้นจะมีข้อหาที่อาจนำไปสู่การยุบพรรค หรือตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคหรือไม่
2.    กระบวนการคัดเลือก ส.ว. กระบวนการได้ดำเนินมาถึงช่วงปลายทาง โดยที่ กกต. ได้ส่งรายชื่อของ ส.ว. 200 คน ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกกันภายในกลุ่มเองให้กับ คสช. แล้ว โดยในส่วนนี้ คสช. จะเลือกให้เหลือ 50 คน อีกส่วนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา ส.ว. ซึ่ง วานนี้ได้มีการแต่งตั้งให้ พล.อ. ประวิทย์ วงศ์สุวรรณ เป็นประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว โดยคณะกรรมการชุดนี้จะสรรหา รายชื่อบุคคล 400 คน  เพื่อนำเสนอต่อ คสช. ให้เลือก 194 เป็น ส.ว. ภายในวันที่ 9 มี.ค. 2561 นอกจากนี้จะมีอีก 6 คน เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง (ผู้นำเหล่าทัพต่างๆ) ทั้งนี้ รายชื่อ ส.ว. ทั้งหมด 250 คน จะถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 3 วัน หลัง กกต. ประกาศรับรองรายชื่อ ส.ส. ครบ 95% ความสนใจของ ส.ว. ในชุดนี้อยู่ที่การมีส่วนร่วมในการลงคะแนนโหวตเลือก นายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมรัฐสภาฯ
พัฒนาการของสถานการณ์ทางการเมืองทั้ง 2 เรื่อง โดยภาพรวมถือว่ายังไม่มีผลทำให้กรอบเวลาทางการเมือง ทั้งในส่วนของการเลือกตั้ง และการได้มาซึ่งรัฐบาลใหม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นแม้อาจมีความร้อนแรงอยู่บ้าง ก็น่าจะเป็น Sentiment ที่เข้ามากระทบต่อ SET Index ในระยะสั้นเท่านั้น
กำไร 4Q61 ไม่มีกลุ่มไหนโตทั้ง QoQ และ YoY
เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการรายงานงบฯ โดยวานนี้  IVL รายงานกำไรสุทธิ 4Q61 เท่ากับ 2.35 พันล้านบาท ลดลงถึง 76.6%qoq ตามคาด กดดันหลักจากค่าใช้จ่ายพิเศษที่เพิ่มขึ้นจากการบันทึกขาดทุนจากสินค้าคงเหลือ ขณะที่กำไรปกติลดลง 56.2%qoq อยู่ที่ 3.8 พันล้านบาท ผลมาจาก spread เฉลี่ยปรับตัวลดลงอย่างมีนัยฯ แต่โดยรวมกำไรสุทธิ และกำไรปกติปี 2561 เท่ากับ 2.6 และ 2.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.7%yoy และ 52.8%yoy ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานงวด 1Q62 น่าจะฟื้นตัวจากงวด 4Q61 หนุนจากการกลับมา re-stock เพื่อเตรียมรับช่วง high season ในไตรมาส 2 ของทุกปี และรับรู้โครงการที่เพิ่มซื้อกิจการมาในช่วงปลายปีเต็มที่ทั้งไตรมาส นอกจากนี้คาดจะไม่มีการบันทึกขาดทุนจากสินค้าคงเหลืออย่างมีนัยฯ เช่นที่เกิดขึ้นในงวด 4Q61 แต่อย่างไรก็ตามภาพรวมปีนี้ คาด spread ยังคงทรงตัวในระดับต่ำ จากเศรษฐกิจที่ยังไม่สดใสโดยเฉพาะจากจีน จึงน่าจะเห็นกำไรปกติในปี 2562 จะทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2561 ด้วยราคาที่มี Upside จำกัด และเงินปันผลที่ไม่จูงใจนัก (ปันผล 0.35 บาท/หุ้น คิดเป็น Div Yield รายไตรมาสเพียง 0.7%)  จึงคงแนะนำ switch
ตามด้วย SPALI งวด 4Q61 กำไรปกติ 2.4 พันล้านบาท (+43% yoy,+97% qoq) หลักๆ มาจากรายได้ขายอสังหาฯ เติบโต ส่วนทั้งปี 2561 กำไรปกติอยู่ที่ 5.77 พันล้านบาท เติบโต 6% yoy และดีกว่าคาด 5.3% เกิดจากค่าใช้จ่ายบริหารต่ำกว่าคาด ขณะที่ยอดโอนฯ ยัง เติบโตได้ดี สำหรับแนวโน้มปี 2562 คาดกำไรขยายตัวต่อ 8% yoy ที่ 6.2 พันล้านบาท โดยมี Backlog รองรับแล้ว 47% ที่เหลือมาจากการเปิดขายแนวราบใหม่ และสต๊อกสินค้าคอนโดฯ พร้อมขายโอนฯ จึงยังคงคำแนะนำซื้อ ประกาศจ่ายปันผล 2H61 หุ้นละ 0.60 บาท XD 12 มี.ค. 2562
จนถึงค่ำวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบแล้วกว่า 353 บริษัท คิดเป็น 82% ของ Market Cap. รวม กำไรสุทธิรวม 1.44 แสนล้านบาท หากเทียบกับ 4Q60 เฉพาะบริษัทที่ประกาศงบแล้ว พบว่าลดลงถึง 37.3%yoy และเทียบกับ 3Q61 (เฉพาะบริษัทที่ประกาศงบแล้ว)  กำไรสุทธิลดลงถึง 39.4%qoq  ซึ่งผลประกอบการรวมของตลาดฯ ที่ต่ำกว่าคาด  มีความเป็นไปได้เมื่อประกาศครบ 100% แล้ว กำไรสุทธิรวมจะต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 2.5-2.6 แสนล้านบาท โดยทุกๆ 1 หมื่นล้านบาทที่ต่ำกว่าคาดจะมีผลต่อ EPS ราว 1 บาท/หุ้น ทั้งนี้ EPS รวมในปี 2561 ตามประมาณการของฝ่ายวิจัยคาดว่าจะอยู่ที่ราว 108 บาท/หุ้น ซึ่งอาจลงมาอยู่ที่ประมาณ 103 – 105 บาท/หุ้น ขณะที่ในปี 2562 อยู่ในระหว่างการทบทวนประมาณการ ซึ่งอาจปรับลดลงจาก EPS เดิมที่ 112.2 บาท/หุ้น ลงเล็กน้อย
หลากหลายปัจจัยยังสนับสนุนให้ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ด้วยมูลค่า 224 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวัน 195 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7), อินโดนีเซีย 25 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ 23 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อย คือ เกาหลีใต้ 7 แสนเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)  และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 20 ล้านเหรียญ หรือ 620 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 266 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า)
หากพิจารณาเฉพาะตลาดหุ้นไทย พบว่า ในช่วงกลางเดือน ก.พ. แม้ตลาดหุ้นไทยจะเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเมือง กดดันต่างชาติขายสุทธิออกมากว่า 1.05 หมื่นล้านบาท (วันที่ 8 - 18 ก.พ. 62) อย่างไรก็ตามภาพรวม Fund Flow ณ ปัจจุบัน ต่างชาติเริ่มมีการสลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยบ้าง รวมถึงการที่ Fed กลับมาส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน ที่ดีขึ้น ช่วยหนุนให้ Fund Flow ไหลตลาดหุ้นในภูมิภาค โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทย ที่ยังมี Valuation ที่ถูกไม่แพ้ตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค และกำลังเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง จึงมีโอกาสสูงที่ Fund Flow ไหลกลับเข้ามามากว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!