- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 19 May 2014 15:58
- Hits: 4277
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Volatile : ลุ้น 1Q57 GDP และทางออกการเมืองไทย
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดคละ แม้วันศุกร์ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาปิดบวกจากยอดขายบ้านใหม่สูงกว่าคาด
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ : Thai รายงาน 1Q57F GDP คาดเติบโต +0.5% y-y(Vs 4q56 +0.6%) Japan: ยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักร มีค คาด+5%y-y (Vs -8.8%) PPI มี.ค. คาด -0.3%m-m (Vs -0.2%)
+วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติกลับมาขาย -2.01 พันลบ. (จากซื้อสะสม 2 วันรวม 791 ลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อ +3.11 พันลบ. (ซื้อสะสม 5 วัน รวม +7.35 พันลบ.)
-Weekly Fund Flow (ดูรายงาน) พบว่า เงินไหลเข้าตลาดหุ้นสูงถึง $11bn. Vs ตลาดพันธบัตร $6.7bn. และตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) มีแรงซื้อสูงถึง +$10.6bn. Vs EM +$458mn. ซึ่งถือเป็นปริมาณที่น้อยต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ตลาดหุ้นไทยมีแรงขายสุทธิ -$37.9mn. เพิ่มจากสัปดาห์ก่อนที่ -$19.5mn. (YTD -$172mn.)
-การเมือง แผนผ่าทางตันของ วุฒิสภา ซึ่งอาจกลายเป็นทางออกที่หลายฝ่ายในประเทศ ยอมรับได้ ทำให้ตลาดผิดหวังเพราะไม่มีกรอบเวลาชัดเจน ขณะที่กปปส เตรียมเดินหน้าตามแผนเผด็จศึก ปลายเดือนนี้
คาดดัชนีฯ วันนี้ ผันผวน แนวต้าน 1408/1415 จุด ลุ้นตัวเลขเศรษฐกิจไทยและทางออกผ่าทางตันการเมือง
กลยุทธ์: รายเดือน แนะนำ ทยอยขายลดพอร์ต (ถือเงินสด 60%) ส่วนระยะสั้น แนะนำ เล่นเก็งกำไรรายตัว BH TTCL (MSCI) BTS INTUCH BECL
(high yield) KTC EFORL KCE PSL CK (Upward Earnings) GOLD CPF GFPT MDX CPN
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 4.0%) ได้แก่ MDX GOLD CHO AJP SAT MJD AJD KBS BLA SMPC หุ้นที่ลงกว่า 3.0% ICHI EIC APCO SAWAD
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ SCB+399 CPF+321 BBL +295 PTT+254 KBANK+215 CPALL+199 ADVANC +196 ด้านขาย TRUE-253 BIGC-155 INTUCH-101
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 227 ADVANC 99 TRUE 90
Market Outlook
คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ มีโอกาสขึ้นทดสอบต้านเดิม 1423 จุด ลุ้นตัวเลข 1Q57F GDP ไทย การเมืองไทยมีทางออก และธนาคารกลางสหรัฐฯ จีน คงสัญญาณผ่อนคลายการเงิน แนะนำเก็งกำไร หุ้นมีข่าวดี BH TTCL(MSCI) BTS INTUCH BECL(high yield) KTC EFORL KCE PSL CK(Upward Earnings) GOLD CPF GFPT MDX CPN
เราคงแนะนำเก็งกำไรเมื่อราคาอ่อนตัว โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ระดับ 1380 จุด คาดดัชนีฯสัปดาห์นี้ มีโอกาสปรับขึ้นไปทดสอบแนวต้านเดิม 1423.39 จุด (ทำไว้เมื่อ 23 เมษายน) หากหลายปัจจัย มีพัฒนาไปในทางบวก และ 1450 จุดกรณีดีกว่าคาด ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องจับตาสัปดาห์นี้ ได้แก่
1) 1Q57F GDP อาจเติบโตไม่แย่กว่า Consensus คาด 0.3-0.5%y-y (เราคาด +0.6%y-y -1.9%q-q) แต่คาดว่า ผลกระทบต่อข่าวจะมีจำกัด เพราะเศรษฐกิจจะดีหรือแย่ ขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งหลังปีนี้จะฟืนตัวได้มากหรือน้อยกว่าที่คาดการณ์ อิงการสามารถมีรัฐบาลจัดการได้ภายในปีนี้หรือไม่ (เราคาดปีนี้เติบโต 2.7% และมีความเสี่ยงลดลงมาที่ 2% จากแนวโน้มเลือกตั้งสำเร็จ อาจเลื่อนออกไปเป็นปลายปีหรือต้นปีหน้า)
2) การเมืองมีทางออกที่ปราศจากเหตุรุนแรง - ตลาดกำลังรอลุ้น แผนผ่าทางตันของ วุฒิสภา ซึ่งอาจกลายเป็นทางออกที่หลายฝ่ายในประเทศ ยอมรับได้ เพราะดำเนินการได้โดยที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้วันศุกร์ที่ผ่านมา แผนแก้ไขฯ ดังกล่าว อาจจะไม่เร็วอย่างที่ กปปส. คาด เนื่องจากต้องรอการยอมรับจากทางฝ่ายรัฐบาล แต่แผนดังกล่าวยังคงเป็นเหตุผลที่ดีสำหรับการหนุนดัชนีตลาดฯ (จับตา ท่าทีและกระแสตอบรับจาก กปปส. พรรคเพื่อไทย นปช ฯลฯ)
3) ธนาคารกลางโลกส่วนใหญ่ คงนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (Extra Loosen Monetary Policy)ช่วยหนุนกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย ไหลกลับเข้ามาตลาดหุ้นเกิดใหม่ (เป็นบวกต่อ ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นเกิดใหม่เอเชีย หลังทิศทางค่าเงินสกุลเอเชียไม่อ่อนค่ามากเทียบดอลล์สหรัฐฯ และ Attractive Valuation ของบจ.) จับตา รายงานผลประชุมเฟดที่ผ่านมา ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางจีน (จีนเพิ่งประกาศอัดฉีดสภาพคล่อง4.4หมื่นล้านหยวนเข้าสู่ระบบสัปดาห์ก่อน จากดูดออก 6 หมื่นล้านหยวน) ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไปในทางตรงกันข้าม ดัชนีฯ อาจปรับตัวลดลงไปที่ระดับ 1380 จุดหากหลายปัจจัยดังกล่าวออกมาในเชิงลบและแย่กว่าคาดการณ์ โดยเฉพาะความเสี่ยงการเมืองที่อาจเกิดเหตุความรุนแรง
หุ้นแนะนำสัปดาห์นี้ :
1.หุ้นปันผลดี (ยิลด์สูงกว่า 4%) BTS INTUCH BECL
2.หุ้นที่มีประเด็นบวกระยะสั้น TTCL BH (MSCI) KTC EFORL KCE PSL CK (ปรับประมาณการกำไรดีขึ้นสูงสุดรอบ1เดือน) GOLD (กำไรครั้งแรกรอบ 15 ไตรมาส) UV(พลิกเป็นกำไร และคาดกำไร 2Q57F ต่อเนื่องจากบันทึกกำไรโอนโครงการ Park Venture the Ecoplex เข้ากองทุนอสังหาฯมูลค่ากว่า 5 พันลบ CPF (กำไร 1Q57 ฟื้นตัวดีกว่าคาดและต่อเนื่องใน 2Q) GFPT(เข้าสู่ช่วง High Season) MDX (ปี57 กำไรเติบโตดีจากเริ่มรับรู้โครงการโรงไฟฟ้าที่หินปูน 2 ขนาด 350 MW เต็มปีและอาจมีกำไรจากการขายที่ดินให้ญี่ปุ่น 2.1 พันลบ.ใน3Q57) CPN (2Q57F คาดกำไรดีขึ้น q—q จากเปิดสาขาสมุย 28 มี.ค. พื้นที่ 2.7หมื่นตรม มีอัตราจอง 87% และค่าเช่า Central World สู่ระดับปกติหลังให้ส่วนลดช่วง 2เดือนแรกปีนี้ และบันทึกกำไรโอนเซ็นทรัลพลาซ่า เชียวใหม่เข้า CPNRF กำไร 5 พันลบ.)
*ระยะเดือน (ดูรายงาน Monthly เดือนพค) ถือเงินสด 60% ของพอร์ต เน้นเลือกลงทุนหุ้นปันผลสูง มีประเด็นบวก แนะนำลงทุน BTS INTUCH (Dividend Play) GFPT PSL BANPU IVL (Global play) STPI TTCL JAS RS (ประเด็นบวกระยะสั้น)
ทางเทคนิค สัญญาณขายจะเกิดขึ้น หากดัชนีฯในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ ไม่สามารถผ่านแนวต้านหลักเดิม 1423 จุดขึ้นไปได้ เพราะจะทำให้เกิดการฟอร์มตัวเป็นรูปแบบขาลง Double Top กรอบ 1425-1380 จุด ซึ่งจะทำให้มีการอ่อนตัวลงมาที่ 1380 จุดและ 1335 จุดตามลำดับ ส่วนกรณีดีกว่าคาด ขึ้นแรงต่อเนื่อง คาดจะมีแนวต้านหลักที่ 1450 จุดและ 1480-1490 จุดตามลำดับ
สัปดาห์ที่ผ่านมา: ตลาดหุ้นฺฮ่องกง ปรับขึ้นสูงสุดหลังจากทางการจีนเริ่มออกมาตรการผ่อนคลาย ผ่านการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินเป็นสัปดาห์แรก ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลงสูงสุด จากค่าเงินเยนที่แข็งค่าเทียบดอลล์สหรัฐฯ และวิตกเศรษฐกิจ 2Q57F ชะลอตัว
ทิศทางค่าเงิน- สกุลยูโรถูกขายเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน จำนวน -8.1 พันล้านยูโร เป็นสะสม -$2.5bn. เป็นสถานะขายสุทธิครั้งแรก นับตั้งแต่ 11 กพ อันเป็นผลจากแนวโน้มอีซีบีเตรียมออกมาตรการผ่อนคลายการเงินในเร็วๆนี้ ส่งผลค่าเงิน USD มีแรงซื้อสุทธิ +$7.5bn เป็นสะสม +$1.4bn ขณะที่สกุลเอเชียส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเทียบสกุลดอลล์ โดยเฉพาะ JPY จากแรงซื้อพันธบัตรที่มีผลตอบแทนสูง
กลุ่มอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นสูงสุดคือ อาหาร และขึ้นน้อยสุดคือวัสดุก่อสร้าง : กลุ่มอาหาร (CPF) ปรับขึ้นดีสุดในสัปดาห์ อิงรายงานผลกำไรบจ.ที่ดีกว่าคาด ขณะที่กลุ่ม ICT ธนาคารฯ ยังคงได้ประโยชน์จากแรงซื้อต่อเนื่องของนักลงทุนสถาบันฯ (5 วันซื้อสะสม 7.35 พันลบ.) ส่วนต่างชาติ ขาย-2.53 พันลบ.ในสัปดาห์ก่อน
ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: ทางออกการเมืองอาจจะไม่เสร็จสิ้นในเร็วๆนี้ หลังแผนวุฒิไม่แสดงกรอบเวลาแก้ไขชัดเจน ส่งผลโอกาสเกิดเหตุรุนแรงยังมีความเป็นไปได้ จากแผนสุดท้ายของ กปปส.
ประเด็นการเมือง (Update):
“สุเทพ” เปิดแผนสุดท้ายยึดคืนอำนาจให้ประชาชน เสนอที่ประชุม กปปส. ทั่วประเทศเห็นชอบวันเสาร์ที่ผ่านมา เตรียมเชิญอดีตปลัดกระทรวง-ผู้ว่าฯ หารือแบ่งงาน ปลุกข้าราชการแข็งข้อระบอบทักษิณ ยื่นคำขาด 24 รมต. รักษาการยื่นใบลาออกต่อประชาชน ขีดเส้นรู้แพ้-ชนะภายใน 26 พ.ค. หากแพ้พร้อมมอบตัววันรุ่งขึ้น นายสุเทพ กล่าวต่อว่า การแถลงของนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานวุฒิสภาเมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่ผ่านมา ก็ยืนยันชัดเจนว่าสมาชิกวุฒิสภามีอำนาจและหน้าที่เลือกนายกฯ คนใหม่ แต่ประเด็นปัญหา คือ บ้านเมืองไม่มีนายกฯ และรัฐบาล นานไปยิ่งเสียหายต่อประเทศเท่านั้น ดังนั้น ต้องดำเนินการให้มีนายกฯโดยเร็ว จึงเกิดคำถามว่าโดยเร็วเมื่อไหร่ และทำอย่างไร
นปช. ยกระดับชุมนุม 17-19 พ.ค. ค้านตั้งนายกฯคนนอก,พท.ยื่นอสส.ให้ระงับกระทำการ
นปช.เตรียมยกระดับการชุมนุมใหญ่ ช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. เพื่อต่อต้านการเสนอนายกรัฐมนตรีคนกลาง เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศ ตามที่มีข่าวระบุว่า กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)กำลังดำเนินการอยู่ เพราะถือว่าเป็นการเสนอที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะทำให้เกิดวิกฤตครั้งใหญ่ตามมา กกต.นัดรัฐบาลหารือสัปดาห์นี้กรณีเลื่อนวันเลือกตั้ง,แนวโน้มไปกลางส.ค. กกต.กล่าวย้ำว่าไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 20 ก.ค.57 ตามที่เคยกำหนดไว้ได้ โดยจะ หารือกับรัฐบาลในสัปดาห์หน้า ว่าจะเลื่อนการเลือกตั้งไปเป็นวันใด ซึ่งดูแนวโน้มแล้วจะต้อง เลื่อนไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์จากกำหนดเดิม หรือ ภายในกลางเดือนส.ค.นี้
กอ.รมน. แจงแถลงการณ์ผบ.ทบ.เป็นคำเตือน,หากจลาจลอาจใช้กฎอัยการศึก-ไม่รัฐประหาร
กอ.รมน.กล่าวถึงแถลงการณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ที่ระบุว่าจะนำทหารออกมาปฏิบัติการเต็มรูปแบบ หากสถานการณ์รุนแรงถึงขั้นจลาจล นั้น ถือเป็นการแจ้งเตือนอย่างเป็นขั้นตอน ไม่เกี่ยวกับการรัฐประหาร
อภิสิทธิ์ แนะคุณสมบัติ3ข้อ'นายกฯเฉพาะกาล' 1.เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย 2.ไม่ควรสังกัดหรือเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง และน่าจะประกาศด้วยว่าจะไม่ลงเลือกตั้ง 3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความเชื่อที่จะนำพาประเทศเข้าสู่การปฏิรูป และกลับสู่ระบบการเลือกตั้ง
2. Fund flow: เงินทุนไหลกลับเข้ากองทุนหุ้นโลก แต่กองทุนไทยยังถูกขาย
Recommendation : แนะนำ หลักทรัพย์ที่ถูกเพิมคำนวณในดัชนี MSCI Thailand รอบใหม่ BH (Global Standard Index) BJCHI TTCL (Small Cap Index) และหลักทรัพย์ที่มีปันผลสูงกว่า4% รายได้มั่นคง BTS INTUCH ADVANC TTW BECL
ตลาดหุ้นไทยมีแรงขายสุทธิ -$37.9mn.เพิ่มจากสัปดาห์ก่อนที่ -$19.5mn (YTD -$172mn)กองทุนเอเชียโดยรวมยังเป็นการซื้อสลับขายในหลายประเทศ ด้านกองทุนไทย ถูกไถ่ถอนต่ออีก -$64mn ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6 (รวม -$134mn) หากนับจากต้นปี 2013 กองทุนไทย ถูกไถ่ถอนสะสม -$107mn แย่สุดในกลุ่ม TIP
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (8-14 พ.ค. 57) เงินทุนยังคงไหลเข้า DM > EM
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนโลกยังคงไหลเข้าตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร โดยมีเงินไหลเข้าตลาดหุ้นสูงถึง $11bn. Vs ไหลเข้าตลาดพันธบัตร $6.7bn.และตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) มีแรงซื้อสูงถึง +$10.6bn สูงกว่าที่ถูกไถ่ถอนไปในสัปดาห์ก่อนหน้าที่ -$7.6bn โดยเป็นการไหลเข้าสูงสุดในกองทุนอเมริกาเหนือที่ +$6.4bn. ยุโรป มีแรงซื้อต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 46 จำนวน +$1.9bn. (แต่สะสมคิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของแรงขาย $170bn. ที่เกิดขึ้นระหว่างกลางปี 50-กลางปี 56) สหรัฐฯมีแรงซื้อ +$9.7bn
ส่วนกองทุนในตลาดเกิดใหม่ (EM) มีเงินไหลเข้าเล็กน้อยที่ +$458mn ซึ่งถือเป็นปริมาณที่น้อยต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 (จากที่ขายในสัปดาห์ก่อนที่ –$707mn) โดยเป็นการซื้อกองทุนในภูมิภาคยกเว้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่ถูกไถ่ถอนต่อเนื่องอีก -$286mn.
3. การประกาศผลประกอบการ 1Q57F ของบจ. หดตัว -16.7%yoy
เราคำนวณผลกำไรของบจ. ที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/57 หดตัว -16.7% yoy แต่เติบโต 25.2% qoq หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่เติบโตดีสุดคือกลุ่มอิเล็กโทรนิกส์ อาหาร และ ICT ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่หดตัวมากสุดได้แก่กลุ่มขนส่ง ก่อสร้างและมีเดีย
4. จีดีพีไทย ไตรมาส 1/57 (ประกาศวันที่ 19 พ.ค. นี้) เราคาด 0.6% yoy แต่อาจมี downside จากที่คาด
ธปท.คาดจีดีพีไตรมาส1/57หดตัว
ธปท. เผยจากข้อมูลเศรษฐกิจ พบว่าขณะนี้สถานการณ์ทางการเมืองมีความไม่แน่นอนสูงและยืดเยื้อมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจไตรมาส 1/2557 จะติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4/2556 ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมเงินต่างประเทศของรัฐบาลและเอกชนเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ได้อยู่ในภาวะช็อกตลาด หลังจากที่ค่าประกันความเสี่ยงของไทยได้ปรับขึ้นเล็กน้อยมายู่ที่ 124.5 ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 จากระดับ 123 ในวันที่ 10 เมษายน 2557 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีค่าประกันความเสี่ยงลดลง อาทิ มาเลเซียลดลงมาอยู่ที่ 93.5 จาก 97 ซึ่งสะท้อนว่าตลาดการเงินคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
เราคาดจีดีพีไตรมาส 1/57 โต 0.6%yoy หดตัว -1.9% qoq
เราได้สร้างดัชนี KTZGI ซึ่งเป็นดัชนีพ้องเศรษฐกิจ จากการหาความสัมพันธ์ของดัชนีการบริโภคภาคเอกชน,ดัชนีภาคการผลิต, ยอดสินเชื่อ, การส่งออกและการนำเข้า และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ กับตัวเลขจีดีพี โดยทั้งหมดชี้ถึงการขยายตัวได้เล็กน้อยของจีดีพีในไตรมาส 1/57 yoy ที่ 1.4% แต่ด้วยความอ่อนแอของเศรษฐกิจเช่นในภาคการลงทุนเราจึงคงประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ไว้ที่ +0.6% yoy - 1.9% qoq
5.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ :
Highligt อยู่ที่ วันพุธ จับตารายงานผลประชุม BOJ Meeting และผลประชุมเฟดที่ผ่านมา แต่คาดว่าไม่มี Surprise ใดๆต่อตลาด และวันพฤหัสฯ จับตา China HSBC Mfg PMI พค คาดย่อตัวลดลงเล็กน้อยเป็น 48 (Vs 48.1) เช่นเดียวกันกับ EU Mfg PMI พคลดลงเป็น 52.8 (Vs 53.4)
วันจันทร์ : Thai รายงาน 1Q57F GDP คาดเติบโต +0.5%y-y(Vs 4q56 +0.6%) Japan: ยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักร มีค คาด+5%y-y (Vs -8.8%) PPI มีค คาด -0.3%m-m(Vs -0.2%)
วันอังคาร: Germany PPI เมย คาด 0%m-m (Vs -0.3%) Australia รายงานผลประชุมธนาคารกลางที่ผ่านมา Singapore: 1Q57F GDP ครั้งที่ 2 คาดเพิ่มขึ้นเป็น 5.4%y-y (Vs 5.1%)
วันพุธ: Japan ส่งออกเมย คาด +4.8%y-y (Vs 1.8%) ดุลการค้า คาดขาดดุล 646 พันล้านเยน (Vs -1.44 ล้านล้านเยน) และผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น USA: รายงานผลประชุมเฟดที่ผ่านมา
วันพฤหัสฯ: China: HSBC PMI พ.ค. คาด 48.3 (Vs 48.1) USA: Markit MFG PMI พ.ค. คาด 55.5 (Vs55.4) ยอดขายบ้านเดิม เม.ย. คาด +2%m-m (Vs -0.2%) Japan: PMI Mfg มี.ค. คาด 50.5 (Vs 49.4) EU: Mfg PMI พ.ค. คาด 53.2(Vs 53.4) Service PMI พ.ค. คาด 53.1 UK:1Q57F GDP 0.8%q-q เท่าเดิม
วันศุกร์ : USA: ยอดขายบ้านใหม่ เม.ย. คาด +11.3%m-m (Vs -14.5%) Germany 1Q57F GDP คาด 0.8% q-q IFO Business Climate พ.ค. คาด 111 (Vs 111.2)
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
อินโดฯ เผยยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้น 4.5% ในเดือน เม.ย. สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซีย (Gaikindo) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของอินโดนีเซียในเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวกว่าในเดือน มี.ค. ทั้งนี้ ยอดขายเพิ่มขึ้น 4.5% ในเดือนเม.ย. เทียบกับที่พุ่งขึ้น 17.8% ในเดือน มี.ค. ขณะที่ยอดขายของโตโยต้า มอเตอร์, ไดฮัทสุ มอเตอร์ และซูซูกิ มอเตอร์เพิ่มขึ้นมากที่สุดอย่างไรก็ดี ยอดขายร่วงลง 5.5% เมื่อเทียบรายเดือน เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือน มี.ค.
ตัวเลขภาคที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ สดใส กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผย ตัวเลขการเริ่มต้นก่อสร้างบ้านพุ่งขึ้น 13.2 % สู่ 1.07 ล้านยูนิตต่อปีในเดือนเม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2013 ทางด้านตัวเลขการอนุญาติก่อสร้างบ้านพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี โดยพุ่งขึ้น 8.0 % สู่ 1.08 ล้านยูนิตต่อปีในเดือน เม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2008
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดฟื้นตัว หลังลดลง 2 วัน จากรายงานยอดขายบ้านใหม่ ดีกว่าคาด
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาปิดบวก หลังลดลง 2 วัน โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 44.50 จุดหรือ 0.27% สู่ระดับ 16,491.31 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่มขึ้น 7.01 จุดหรือ 0.37% สู่ระดับ 1,877.86 จุด และ Nasdaq ปิดเพิ่ม 21.30 จุด หรือ 0.52% สู่ระดับ 4,090.59 จุด จากรายงานเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของยอดขายบ้านใหม่ เม.ย. เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ พ.ย. ปีก่อน +13.2%เป็น 1.07 ล้านหน่วย และพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 และผลกำไรบจ ที่ดีกว่าคาด โดย 93% ของบจที่คำนวณในดัชนี S&P 500 รายงานงบการเงินแล้ว พบว่า 69% ดีกว่าคาด และ 22% แย่กว่าคาด
+/- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดคละ วิตกเศรษฐกิจ
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ FTSE กลับมาปิดบวก 14.92 จุด หรือ 0.22% สู่ 6,855.81 จุด ดัชนี CAC40 กลับมาปิดบวก 11.35 จุด หรือ 0.26% สู่ 4,456.28 จุด และ DAX ปิดร่วงต่อ 26.95 จุด หรือ – 0.28% สู่ 9,629.10 จุด เป็นผลจากวิตกเศรษฐกิจชะลอตัว และการเกิดภาวะเงินฝืด นำลงโดยกลุ่มโลหะ ร่วงลงกว่า 2%
+ ราคาน้ำมันดิบ ปิดเพิ่ม จากข่าวลิเบีย เพิ่มการส่งออกน้ำมันได้จำกัด
วันพุธ Brent ส่งมอบกค. ปรับขึ้น 0.60 ดอลลาร์ สู่ 109.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบมิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.50 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 102.02 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล หลังมีข่าวหลุ่มขุดเจาะน้ำมันหลายแห่งของลิเบีย ยังไม่สามารถเปิดทำการ ทำให้ส่งออกได้เพียง 2 แสนบาร์เรล จากเป้า 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และข่าวรัฐมนตรีสหรัฐฯ จอห์น เคอรี่ เตือนรัสเซีย อาจเจอแซงก์ชั่นเพิ่ม หากขัดขวางการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน 25 พค
-ราคาทองคำ ปิดลดลงเล็กน้อย หลังสหรัฐฯรายงานเศรษฐกิจเติบโตดี
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาดลดลงเล็กน้อย 0.20 ดอลล์ หรือ -0.02% สู่ 1,293.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากข่าวรายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ดีขึ้น หลั้งยอดขายบ้านใหม่ เมย เติบโตกว่า 13%m-m
+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดบวกวันที่ 3 หลังร่วง 4 วัน
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้น 6 จุด หรือ 0.59% เป็น 1027 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270