WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
IMF ปรับลด GDP Growth โลกตามหลัง World Bank สะท้อนผลกระทบจากสงครามการค้าโลก แต่คาดตลาดหุ้นน่าจะซึมซับไปส่วนใหญ่แล้ว สะท้อนจากราคาน้ำมันดิบดูไบกลับมายืนเหนือ 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล รวมถึงแรงขายรับงบ 4Q61 ของกลุ่ม ธ.พ. น่าจะค่อยๆ ลดน้อยลง เพราะไม่มีรายการที่ผิดปกติไปจากที่คาดมากนัก ทำให้เชื่อว่า SET Index มีโอกาสฟื้นตัวต่อ ด้วยปัจจัยหนุนรายตัว โดยเฉพาะหุ้นปันผลสูง ซึ่งควรซื้อก่อนขึ้น XD 1-2 เดือน Top picks เลือก PTTEP(FV@B168) และ PTT(FV@B56)      
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ปิดตลาดแดนบวก รับต้นสัปดาห์
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ระหว่างวันปรับขึ้นไปถึงกว่า 12 จุด ก่อนจะอ่อนตัวลง แต่ยังสามารถปิดบวกได้ที่ระดับ 1588.38 จุด เพิ่มขึ้น 4.61 จุด (+0.29%) ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท แรงหนุนดัชนีส่วนใหญ่มาจากหุ้นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ ตามด้วยกลุ่มธ.พ. หลังรับรู้แรงขาย Sell on fact ไประดับหนึ่งแล้ว ขณะที่กลุ่มค้าปลีกได้แรงหนุนเพียง CPALL ตรงข้ามกลุ่ม ร.พ. ยังผันผวนในทิศทางลดลง ทั้งจากข่าวลบเฉพาะตัวของ BDMS และเกณฑ์ควบคุมค่ารักษาพยาบาลที่จะเข้า ครม. พิจารณาในวันนี้
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาด SET Index อาจจะผันผวน และแกว่งตัวในกรอบ 1580-1600 จุด  โดยคาดว่าปัจจัยภายนอกเริ่มผ่อนคลาย โดยเฉพาะสงครามการค้า หลังจากจีนประกาศพร้อมเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ เพื่อลดส่วนเกินดุลการค้าที่ได้จากสหรัฐ ถือเป็นประเด็นหลักที่หนุนราคาน้ำมันโลกดีดตัวแรง ส่วนแรงขายรับงบ กลุ่ม ธ.พ.  น่าจะเบาบางลง หลังจากมีการขายกันไปก่อนหน้า   
IMF ตัดลดการเติบโตเศรษฐกิจโลกลง ตามหลัง World Bank ที่ปรับไปก่อนหน้า
IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกลงนับเป็นครั้งแรกของปีนี้ หรือเป็นการปรับลดครั้งที่ 2 นับตั้งแต่มีสงครามการค้า กล่าวคือ ปรับลด GDP Growth โลกในปี 2562-2563 เหลือ 3.5% และ 3.6% (จากเดิมคาด 3.7%เท่ากันทั้ง 2 ปี) และสูงกว่า World bank ที่ได้ ปรับลดไปก่อนหน้า คือ 2562-2563 ที่ 2.9% ในปี 2562 และ 2.8%   2563
ประเทศที่ IMF ปรับลดลงหลักๆ คือ ฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะยุโรป กังวลปัญหาการเมืองหลายประเทศที่มีอยู่ นำโดยเยอรมันปรับลดปีนี้เหลือ 1.3% จากเดิม 1.9% แต่ยังคงปีหน้าที่ 1.6% , อิตาลีปรับปีนี้เหลือ 0.6% จากเดิม 1% แต่ยังคงปีหน้าที่ 0.9% และฝรั่งเศส ปรับปีนี้เหลือ 1.5% จากเดิม 1.6% แต่ยังคงปีหน้าที่ 1.6% ยกเว้นอังกฤษที่คงปีนี้ที่ 1.5% แต่ปีหน้าปรับเป็น 1.6% จากเดิม 1.5%  ขณะที่สหรัฐยังคงปี 2562-2563 ที่เดิม  2.5% และ 1.8%  และยกเว้นญี่ปุ่น ปรับเพิ่มปีนี้และปีหน้า 1.1% และ 0.5% จากเดิม 0.9% และ0.3% ตามลำดับ
ตามด้วยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแล้ว ที่ปรับลดลงหลัก ๆ คือ ตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันหลักของโลก โดยรวมปรับลดปีนี้เหลือ 2.4% จากเดิม 2.7% และปีหน้าคงที่ 3%  โดยหลักๆ มาจากการปรับลด ซาอุดิอาระเบีย ในปีนี้เหลือ 1.8% จากเดิม 2.4% และปีหน้าคงที่  2.1%  
ส่วนเอเชียปรับลดลงเล็กน้อย โดยยังคงจีน ปี 2562-2563 ที่เดิม 6.2% เท่ากันทั้ง 2 ปี ยกเว้นกลุ่มอาเซียน 5 (อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย,เวียดนาม และไทย) ปรับลดลงเล็กน้อยคือ ปีนี้เหลือ 5.1% จากเดิม 5.2% และปีหน้าคงที่ 5.2%
รวมทั้งปรับลดปริมาณการค้าโลก (world trade volume) ขณะที่ปริมาณการค้าโลก (World trade volume) ปรับลงในปี 2563 เหลือ 4% จากเดิม 4.1% และยังคงปี 2562 ที่ 4% (เทียบกับ World bank  คาดไว้ที่ 3.5% ในปี 2562 และ 3.4% ในปี 2563) โดยรวมเชื่อว่าการปรับลด GDP Growth ของ IMF  เป็นไปทิศทางเดียวกับ World bank ที่ทำไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ม.ค. และเป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ผลกระทบไปแล้ว    
มูลค่าการค้าไทยยังลดลงใน ธ.ค. ผลกระทบจากสงครามการค้าโลก
ยอดการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือน ธ.ค. หดตัวเป็นเดือนที่ 2 จากผลกระทบของสงครามการค้า  คือ ยอดส่งออก(รูปดอลลาร์) หดตัว 2 ราว 1.72%yoy ที่ 1.94 หมื่นล้านเหรียญ (หน่วยบาทหดตัว 1.3%) ตลาดส่งออกหลักๆ ชะลอตัว  คือ จีน (อันดับ 1 ราว 12.6% ของตลาดส่งออกทั้งหมด) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ราว 7.3% จากหดตัว 8.9% เดือน พ.ย. และตลาดอื่นๆ ชะลอตัวเช่นกันคือ  ฮ่องกง หดตัว 4% นับเป็นการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4,  ออสเตรเลียหดตัว 8.3%  หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่สหรัฐ (ตลาดส่งออกอันดับ 2 ราว 11.4%) ขยายตัวเล็กน้อย  0.5% จาก 11.8% ในเดือน พ.ย.  จากการส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ(ส่งออกอันดับ 1)   
และพิจารณาสินค้าส่งออกสำคัญหดตัว อาทิ ยางพาราหดตัวติดต่อกัน 13 เดือนราว 32%, แผงวงจรไฟฟ้าหดตัวเดือนที่ 5 ราว 4.5%, คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ราว 16.9%, ขณะที่รถยนต์และส่วนประกอบ (สินค้าส่งออกอันดับ 1 ราว 11.3%) กลับมาขยายตัวเล็กน้อยราว 0.5% จากที่หดตัว 3 เดือนก่อนหน้า ด้านการนำเข้า(รูปดอลลาร์) พลิกกลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบราว 2 ปี  8.15% (หน่วยบาทหดตัว  7.7%)  หลักๆ เป็นผลจากการนำเข้า น้ำมันดิบ และวัตถุดิบเพื่อการส่งออก เช่น เคมีภัณฑ์, เหล็ก ที่ชะลอลง 
โดยรวมยอดส่งออกเฉลี่ยปี 2561 เติบโต 6.7% (ใกล้เคียงกับ ASPS คาดส่งออกปี 2561ที่ 7% ในปี 2561) และจะเติบโตเพียง 0.5% ในปี 2562 จากกระทบจากสงครามการค้าโลก ขณะที่ยอดนำเข้าเติบโตราว 12.7% ในปี 2562  (ASPS คาด  11% และชะลอเหลือ 3% ในปี 2562)  ซึ่งถือว่าตลาดน่าจะรับรู้ไปแล้ว    
แรงขายรับงบ 4Q61 กลุ่มธ.พ. ลดน้อยลง กำไรปกติตามคาด 
เย็นวานนี้ มี ธ.พ. รายงานงบฯ 4Q61 ออกมาเพิ่มเติม คือ KTB กำไรสุทธิลดลง 21.5%qoq แต่ยังสอดคล้องกับประมาณการฯ ของ ASPS ทั้งนี้ผลกำไรที่ลดลงมาจากค่าใช้จ่ายเป็นหลัก (ทั้งค่าใช้จ่ายทางการตลาด, ค่าใช้จ่ายพนักงาน, ค่าใช้จ่ายอาคารสถานที่และอุปกรณ์)  ทำให้ cost to income ratio  เพิ่มขึ้นจาก 44.1% ใน 3Q61 เป็น 49.5% นอกจากนี้ยังเห็นการลดลงของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เช่น FX และการสำรองหนี้ที่มีปัญหาเพิ่มขึ้น (Credit cost) จึงนำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไรปี 2562 และ 2563 ลงจากเดิม 15.4% และ 12.2% ซึ่งภายใต้ประมาณการใหม่ปี 2562  จะหดตัวเล็กน้อยจากปี  2561 แต่จะกลับมาเติบโตราว5.4% ในปี 2563 ได้ Fair Value ปี 2562 ใหม่คือ 20.15 บาท ลดลงจากเดิม 22.10 บาท ตามวิธี GGM  ที่ PBV 0.87 เท่า จากเดิม 0.95 เท่า โดยปรับลด ROE จากเดิม 9.5% เหลือ 9%  ยังแนะนำ Switch
ตามมาด้วย  TCAP รายงานกำไรสุทธิสูงกว่าคาด เติบโต 8.0% qoq (4.4% yoy) หนุนจากทั้งธุรกิจหลักสินเชื่อรายย่อยและการบันทึกกำไรจากการขายทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ในด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังไม่มีประเด็นน่ากังวล นอกจากนี้ ยังพบการลดระดับของ credit cost อย่างมีนัยฯ จากการโอนกลับค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ส่วนเกิน เนื่องจากเชื่อว่าเพียงพอรองรับหลักเกณฑ์ IFRS 9 แล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานปี 2561 ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลงเล็กน้อย โดยปี 2562 จะเติบโตราว 2.5% (จากการเน้นธุรกิจสินเชื่อรายย่อยกลุ่มเช่าซื้อรถยนต์ และกลุ่มสินเชื่อ high yield) และ 9.5% ในปี 2563 ภายใต้ประมาณการใหม่ ได้ Fair Value ปี 2562 ที่ 60 บาท (เดิม 69.90 บาท) ตามวิธี GGM ภายใต้ ROE ระยะยาว  11% (เดิม 12.5%) โดยมี PBV ปี 2562 เพียง 0.9 เท่า พร้อมคาดปันผลปี 2561-62 กว่า 5% p.a. (ปีละ 2 ครั้ง) จึงยังคงแนะนำซื้อ 
และ TMB กำไรสุทธิลดลงอย่างมีนัยฯ ถึง 69.6% qoq และ 24.6% yoy เกิดจากการลดลงของกำไรจากการขายเงินลงทุนที่บันทึกเข้ามาอย่างมีนัยฯ ใน 3Q61 จากการขายเงินลงทุนใน บลจ.ทหารไทย ขณะที่ในงวด 4Q61 แทบไม่ปรากฎรายการดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สูงกว่าคาด ส่งผลให้ cost to income ratio ดีดตัวขึ้นมาที่ 53.3% จาก 20.4% ใน 3Q61ส่วนด้านคุณภาพสินทรัพย์ แม้ธนาคารฯ ได้ดำเนินการตัดหนี้สูญเพิ่มเติม และเพิ่มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ กลับยังพบ NPL เพิ่มขึ้นมาที่ 2.76% จาก 2.69% ณ สิ้น 3Q61 ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการฯ ปี 2562-63 ทำให้ไม่เห็นแรงจูงใจให้เข้าลงทุน คงแนะนำให้ switch
ทั้งนี้ ภาพรวมกำไรสุทธิงวด 4Q61 ของ 10 ธ.พ. ที่ฝ่ายวิจัยศึกษา ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 4.21 หมื่นล้านบาท ลดลงถึง 23.4%qoq และเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย 1.1%yoy สาเหตุหลักของการลดลงของกำไรสุทธิในงวดนี้เป็นไปตามที่ฝ่ายวิจัยเสนอไปวานนี้ คือ ค่าใช้จ่ายพิเศษ อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายพนักงาน จากปรับเพิ่มค่าชดเชยกรณีพนักงานเกษียณและเลิกจ้างสำหรับพนักงานที่มีอายุงานเกิน 20 ปีขึ้นไป (BBL, KTB, KKP) ค่าใช้จ่ายอาคารสถานที่และอุปกรณ์ (KTB, KKP) การปรับมูลค่าทรัพย์สินรอการขาย (KKP) กำไรจากการขายเงินลงทุนลดง (TMB) รวมทั้งค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น (SCB, KTB) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาที่กำไรปกติ ในแต่ละ ธ.พ. ยังถือว่าเป็นไปตามคาด โดยเฉพาะ BBL รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ สอดคล้องกับสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม และค่าธรรมเนียมฯ เติบโตสูงตามคาด ส่วนคุณภาพสินทรัพย์ยังไม่น่ากังวล, เช่นเดียวกับ KBANK ธุรกิจหลักยังดีเช่นกัน และคุณภาพสินทรัพย์ยังคงควบคุมได้ ยกเว้น SCB ยังน่ากังวลในส่วนของคุณภาพสินทรัพย์จากการเพิ่มขึ้นของ NPL
โดยรวม เชื่อว่าตลาดฯ น่าจะรับรู้แรงขาย Sell on fact ของกลุ่ม ธ.พ. ไปมากแล้ว และน่าจะค่อยๆ ฟื้นตัว ไปตามทิศทางธุรกิจจะเติบโตตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและโครงการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน ยังเลือก BBL (FV@B227) และ KBANK (FV@B251) เป็น top picks กลุ่ม
ภาพรวมต่างชาติยังซื้อหุ้นในภูมิภาค แม้สลับมาขายไทยเล็กน้อย
วานนี้ต่างชาติเดินหน้าซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่ารวม 260 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 51 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9) ตามมาด้วยไต้หวัน 214 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3), อินโดนีเซีย 32 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 16) และฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ยกเว้นไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 36 ล้านเหรียญ หรือ 1.14 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยติดต่อกันมาแล้วกว่า 7 วัน และมีมูลค่ารวม 1.09 หมื่นล้านบาท และสถาบันในประเทศสลับมาซื้อสุทธิ 2.86 พันล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติซื้อสุทธิด้วยมูลค่า 238 ล้านบาท แม้เป็นขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (T<1) 1.34 พันล้านบาท แต่ซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (T>1) 1.6 พันล้านบาท หนุนให้ในปี 2562 ต่างชาติซื้อตราสารหนี้ไทยแล้ว 6.93 พันล้านบาท (ytd)
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!