- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 14 January 2019 15:26
- Hits: 1015
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังไม่สามารถยืนเหนือ 1600 จุด อาจมีอุปสรรคจากหุ้นรายตัว โดยเฉพาะเข้าสู่ช่วงประกาศงบ 4Q61 ขอวกลุ่ม ธ.พ. อาจมีแรงขายรับงบช่วงสั้น แต่จะมีการประกาศจ่ายเงินปันผลตามมา จึงแนะนำสะสมหุ้น High Dividend Yield Top picks เลือก QH([email protected]) เงินปันผลกว่า 8% และราคาหุ้น Laggard ตามด้วย BDMS(FV@B30) ราคาหุ้นสะท้อนข่าวร้ายเรื่องการควบคุมค่ายาและเวชภัณฑ์ ขณะที่งวด 1Q62 บันทึกกำไรจากการขาย RAM หนุนกำไรทั้งปี All time high
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET กลับมาทดสอบ 1600 จุด
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index กลับมาแกว่งในแดนบวกได้ตลอดทั้งวัน และปิดที่ 1597.04 จุด เพิ่มขึ้น 9.41 จุด (+0.59%) มูลค่าการซื้อขาย 4.49 แม้โดยภาพรวมปัจจัยกดดันจากภายนอกประเทศเริ่มผ่อนคลาย ทำให้ดัชนีฯ กลับขึ้นมาทดสอบแนวต้าน 1600 จุด อีกครั้ง แต่ด้วยปัจจัยลบเฉพาะกลุ่มฯ (ร.พ. และ ICT) ที่ยังมีอยู่ ทำให้นักลงทุนสลับเข้ามาในกลุ่มที่ยังไม่มีปัจจัยลบกดดันตลาดฯ เช่นกลุ่มค้าปลีก ซึ่งหุ้นในกลุ่มฯส่วนใหญ่ปิดตลาดแดนบวก(CPALL, BJC, HMPRO) ตามด้วยกลุ่มพลังงาน PTT, PTTEP ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวเหนือ60เหรียญฯและหุ้นกลุ่มปันผลเด่นอย่างอสังหาฯ
แนวโน้มดัชนีวันนี้ น่าจะคงซื้อขายต่ำกว่า 1600 จุด จากแรงกดดันหุ้นรายกลุ่มและรายตัว นับจากหุ้นโรงพยาบาล และ ICT และ กลุ่มโรงกลั่น-ปิโตรเคมี ที่อาจจะเผชิญกับ Stock losses ในงวด 4Q61 ซึ่งมีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับหุ้นปิโตรเลี่ยมที่ยังฟื้นตัวต่อตามทิศทางของราคาน้ำมัน
เงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัว ทำให้โอกาสขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด
สหรัฐรายงานเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 1.9% yoy ต่ำสุดในรอบ 1 ปี 4 เดือน และชะลอตัว จาก 2.2% เดือน พ.ย. ถือว่าเงินเฟ้อชะลอตัวต่อเนื่อง จากจุดสูงสุดที่ 2.9% ในเดือน ก.ค. ทั้งนี้เงินเฟ้อที่ชะลอลงเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำ จากผลกระทบของสงครามการค้า และราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง ทำให้เชื่อว่าการใช้นโยบายการเงินตึงตัวของสหรัฐ (Fed) มีโอกาสผ่อนคลายมากขึ้น ตอกย้ำจากปลายสัปดาห์ประธาน Fed นาย เจอโรม เพาเวลล์ ได้กล่าวกล่าวสุนทรพจน์ ที่ The Economic Club of Washington, D.C. แสดงท่าทีจะปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงิน หากมีความจำเป็นเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอลง เห็นได้จากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการผลิต อาทิ PMI ภาคการผลิต เดือน ธ.ค. ทำจุดต่ำสุดในรอบ 2 ปี จึงเป็นไปได้ที่ Fed อาจชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปี 2562 ตามกรอบเดิมที่คาดว่าจะขึ้นเพียง 2 ครั้งจากการประชุมทั้งหมด 8 ครั้งในปีนี้ (ลดลงจากที่เคยประเมินไว้ 3 ครั้ง) และอาจจะต้องลดดอกเบี้ยฯในปลายปี 2562
ผลกระทบที่ตามมาคือ Dollar index จะกลับมามีทิศทางอ่อนค่า หลังจากที่แข็งค่าต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา และในทางตรงกันข้ามทำให้ค่าเงินเอเซียแข็งค่า รวมถึงหนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ และน้ำมันดิบ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดูไบ แม้ช่วงสั้นราคาน้ำมันจะแกว่งตัวลง แต่ระยะกลางยาวเชื่อว่าอยู่ในกรอบ 60-65 เหรียญฯ สอดคล้องกับสมมติฐานของ ASPS แนะนำสะสม PTTEP(FV@B168)
ที่มา : Bloomberg
BDMS บันทึกกำไรขายหุ้น RAM ใน 1Q62 แนะนำสะสมลงทุน
วันศุกร์ BDMS แจ้งตลาด ถือการขายหุ้น RAM ที่ถือทั้งหมด 38.24% คิดตามราคาตลาดมูลค่า 12,847.59 ล้านบาท ให้กับกลุ่มนักลงทุนและกลุ่มผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ของ RAM ซึ่ง BDMS จะบันทึกกำไรสุทธิจากค่าใช้จ่ายและภาษีราว 4.7 พันล้านบาทในงวด 1Q62 (บันทึกตามส่วนได้เสียหรือ Equity Method) ซึ่งจะหนุนกำไรปี 2562 ทำสถิติสูงสุดใหม่ (All time high) ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ คาดว่า BDMS จะนำเงินสดรับที่ได้ราว 1 หมี่นล้านบาท (สุทธิหลังหักภาษี) ส่วนใหญ่ไปชำระหนี้เงินกู้ยืมและไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพที่จะครบกำหนด ก.ย. 2562 ซึ่งส่งผลให้ดอกเบี้ยลดลงปีละ 200 ล้านบาท ซึ่งส่วนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง จะช่วยชดเชย ส่วนแบ่งกำไรจาก RAM ก็เคยบันทึกตามส่วนได้เสียในงบกำไรสุทธิเฉลี่ยราวปีละ 500 ล้านบาท ด้วยเช่นกัน ได้บางส่วน โดยรวมการทำรายการข้างต้นอาจจะทำให้กำไรสุทธิปี 2562 เพิ่มขึ้นจากเดิม แต่จะลดลงในปี 2563 เป็นต้นไปปีละ 2% แต่คาดว่าไม่กระทบต่อ Fair Value ซึ่งอิง DCF ที่ 30 บาท ขณะที่ราคาหุ้นได้ลดลงสะท้อนข่าวการควบคุมค่ายาและเวชภัณฑ์ ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อ BDMS น้อย เพราะเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีความสามารถในการรักษาโรคซับซ้อน และยังมีความได้เปรียบด้านต้นทุน ทำให้เกิดประหยัดต่อขนาด (อ่านรายละเอียดใน Equity Talk เช้านี้)
เข้าช่วงฤดูกาลประกาศงบฯ คาดกำไร 4Q61 ธ.พ. หดตัว QoQ
สัปดาห์นี้จะเข้าสู่การรายงานผลการดำเนินงานงวด 4Q61 ซึ่งเริ่มต้นที่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยวันนี้เริ่มที่ TISCO และถัดจากนั้นคือ TMB SCB KBANK KTB BBL เป็นต้น ฝ่ายวิจัยประเมินกำไรสุทธิรวมของ 10 ธ.พ. ที่ฝ่ายวิจัยศึกษาจะอยู่ที่ 4.58 หมื่นล้านบาท หดตัว 16.6% qoq แต่เพิ่มขึ้น 10.2% yoy แม้คาดรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมฯ จะเติบโตสูงขึ้นในช่วงฤดูกาล แต่ค่าใช้จ่ายดำเนินงานก็เพิ่มสูงขึ้นตามฤดูกาลเช่นกัน อีกทั้งไม่มีการบันทึกรายได้พิเศษของ TMB ในงวดนี้ โดยคาดว่า KKP จะมีกำไรสุทธิเติบโต 44.3%yoy สูงสุดในกลุ่มฯ ซึ่งมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ IPO 3 ดีลใหญ่ ส่วน TMB หดตัว 18.7%yoy
คาดการณ์กำไรสุทธิงวด 4Q61 ของธ.พ. 10 แห่งที่ศึกษา
โดยรวม ให้คงน้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด คาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 9.9%yoy และเติบโต 5.1%yoy ในปี 2562 ทั้งนี้ เชื่อว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น และทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เข้าสู่ขาขึ้นจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อทิศทางการเติบโตของสินเชื่อและผลการดำเนินงาน แนะนำ BBL(FV@B233), KBANK(FV@B251)
ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค
วันศุกร์ที่ผ่านมา Fund Flow เริ่มไหลกลับมาในตลาดหุ้นเอเชียมากขึ้น สังเกตได้จากต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าสูงถึง 404 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 157 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 155 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นกลุ่ม TIP คือ อินโดนิเซียถูกซื้อสุทธิ 58 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10), ฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิ 30 ล้านเหรียญ หรือ 956 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 517 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 882 ล้านบาท แม้เป็นขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (T<1) 207 ล้านบาท แต่ซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (T>1) 1.1 พันล้านบาท ด้วยแรงซื้อทั้งตราสารหนี้และหุ้นไทยของต่างชาติ เป็นส่วนหนึ่งที่หนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่า และยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
หลังประกาศงบ 4Q61 ตามด้วยการจ่ายเงินปันผล ชอบ QH... Div yield สูงกว่า 8%
ผ่านเข้าสู่ปีใหม่ 2562 SET Index ฟื้นตัวได้แล้วกว่า 2.1%ytd โดยกลุ่มที่ปรับขึ้นนำตลาดฯ ได้แก่ กลุ่มพลังงาน ปรับขึ้นกว่า 5.6%ytd ตามทิศทางราคาน้ำมันโลกที่ฟื้นตัวแรง นำโดย PTTEP และ PTT ถัดมาเป็นกลุ่มขนส่ง หลักๆ มาจาก AOT ที่ได้กระแสท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว ถัดมา คือ กลุ่มค้าปลีก เพิ่มขึ้น 3.6%ytd ได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการบริโภค ดัน CPALL และ ROBINS ปรับขึ้นโดดเด่น ส่วนกลุ่มส่งออกอาหาร ปรับขึ้นได้ 3.0% จากประเด็นบวกเฉพาะตัวทั้ง TU, GFPT และ CPF
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายกลุ่มฯ ที่ยังปรับขึ้นน้อยกว่าตลาดฯ อาทิ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มส่งออกชิ้นส่วนฯ กลุ่มอสังหาฯ กลุ่มรับเหมาฯ กลุ่ม ธ.พ. รวมทั้งกลุ่มฯ ที่เผชิญกับปัจจัยลบเฉพาะตัว กดดันให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีติดลบ อย่างเช่น กลุ่ม ICT และกลุ่มโรงพยาบาล เป็นต้น
ผลตอบแทน SET Index และรายกลุ่มฯ ตั้งแต่ต้นปี 2562
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์นี้จะเข้าสู่การประกาศงบฯ ปี 2561 ของกลุ่ม ธ.พ. อีกทั้ง SET Index ในช่วงนี้กำลังขึ้นทดสอบแนวต้าน 1600 จุด ทำให้มีโอกาสที่จะได้เห็นทั้งแรงเก็งกำไร และการเกิด Sell on Fact สร้างความผันผวนให้กับตลาดฯ ขึ้นได้
ฝ่ายวิจัยจึงคัดกรองหุ้น โดยเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ผลประกอบการฯ ปีนี้เติบโต มี Upside เปิดกว้าง หรือปรับขึ้นน้อยกว่าตลาด อีกทั้งยังมี Dividend Yield สูง ได้รายชื่อหุ้นดังตารางด้านล่าง โดยแนะนำ QH ที่ให้ Div yield สูงกว่า 8%
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์