- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 19 December 2018 15:46
- Hits: 1371
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“รู้ผล กนง.วันนี้ น้ำมันดิ่งแรง”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : NWR (จาก Fully Valued เป็นซื้อ)
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ปรับลดถึง -18.29 จุด ปิดที่ 1583.19 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางที่ 42.5 พันล้านบาท ดัชนีฯปิดกลับมาต่ำกว่า 1600 จุดแล้วSET ถูกฉุดจากปัจจัยต่างประเทศที่ไม่สดใส กังวลเศรษฐกิจโลก หลังสหรัฐฯ จีนและยุโรปประกาศตัวเลขออกมาแย่ลง อีกทั้งขายลดความเสี่ยงจากการอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และ กนง. นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 3.3 พันล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ และบัญชีหลักทรัพย์ซื้อสุทธิเล็กน้อย ส่วนสถาบันขายสุทธิหนักถึง3.9 พันล้านบาท สำหรับแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาดว่า SET จะผันผวนแปรไปตามผลการประชุม กนง.วันนี้ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ หากปรับขึ้นอาจจะเป็นลบช่วงแรก แต่อาจรีบาวด์กลับมาได้เพราะรับข่าวไปก่อนหน้าพอควรแล้ว มีทิศทางชัดเจน แต่หากไม่ปรับขึ้นรอบนี้จะเป็นบวก ส่วนการที่ราคาน้ำมันปรับลงแรง จะฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานโดยเฉพาะPTTEP ซึ่งเป็นต้นน้ำ ส่วนผลของเฟดจะทราบหลัง SET ปิดตลาดฯแล้ว หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย คาดว่าจะเป็นที่รับรู้ไปแล้ว
# ปัจจัยบวกที่พอมีบ้างคือ ดาวโจนส์ และดาวโจนส์ล่วงหน้ากลับมาเป็นบวก เป็นที่น่าสังเกตว่าบอนด์ยิลด์ 10 ปี กลับปรับลง ในช่วงเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งผิดปกติ แต่เป็นเพราะกังวลเศรษฐกิจโลก ข้อดีคือ เงินไหลออกน้อยลง ส่วนดัชนีความกลัว (Vix) ยังปรับขึ้นอยู่
# หุ้นเด่นเดือนธ.ค.61 เน้นไปยังหุ้นขนาดใหญ่ (Big Cap) ที่กองทุนในและต่างประเทศให้ความสนใจ หาจังหวะลงทุนได้แก่ ADVANC, AEONTS, BBL, KKP,TISCO, BEM, CPALL, PTTEP, TOP และหุ้นที่ราคาอ่อนลงมากแต่กำไรยังเติบโตดีในปี 62 คือ GOLD, SVI SET เป้าหมาย SET ปี 62 เป็น 1,780 จุด ใช้ประมาณการ EPS เติบโตปี 61 เป็น 8% และปี 62 ที่ 6% ประเมินด้วย P/E Median+0.5 SD
# หุ้นเด่น: KBANK:- ในเบื้องต้นเราประเมินว่าการเติบโตของกำไรก่อนสำรองค่าเผื่อฯ (Pre-provision earnings) งวด 4Q61 และปี 62 ของ KBANK จะเติบโตYoY ไม่มาก (ประเมินไว้ราว 3-5%YoY) แม้ว่าสินเชื่อจะโตได้ 5-7% แต่รายได้ค่าธรรมเนียมชะลอตัวหลังยกเลิกค่าโอนผ่านระบบดิจิตอล เงินลงทุนและค่าใช้จ่ายด้านระบบไอทียังสูง รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายด้านการตลาดเพื่อขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนการบริหาร NPL ในปี 62 แทนการขายออกไป คาดว่าจะช่วยให้ NIM อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งได้ เชิงกลยุทธ์ แนะนำทยอยซื้อสะสม โดยให้ราคาพื้นฐาน 1 ปีไว้ที่ 270 บาท
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นภาพตลาดเป็นลบต่อ ซื้อใหม่เน้นค่าบวกทั้งราคาหุ้นและดัชนี แนวต้านระยะสั้น 1600-1610, 1620 จุด, แนวรับคือ 1580,1570, 1560
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ AH หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ EGCO,SPALI หุ้นที่หลุด List -ไม่มี- หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ GULF,GLOW
นักกลยุทธ์&นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Company Guide : NWR (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 1.06)
In The News : ข่าวเด่น
Turnover List Watch : ติดตาม ECF, ECF-W2, ECF-W3 ติด Cash Balance
New Listing : STI
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดน้ำมัน : ราคาน้ำมันดิ่งแรง กังวลน้ำมันล้นตลาด เศรษฐกิจโลกชะลอ ลดอุปสงค์ในอนาคต
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค. ร่วงลง 3.64 ดอลลาร์ หรือ 7.3% ปิดที่ 46.24 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.พ. ดิ่งลง 3.35 ดอลลาร์ หรือ 5.6% ปิดที่ 56.26 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 7% เมื่อคืนนี้ (18 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด รวมทั้งกังวลว่าเศรษฐกิจทั่วโลกที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงนั้น อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้
• เฟด : ทรัมป์ออกมากดดันเฟด
# ทางด้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ออกมากดดันเฟดอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อวานนี้ ปธน.ทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า "ผมหวังว่าเจ้าหน้าที่เฟดจะอ่านบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ก่อนที่พวกเขาจะทำผิดพลาดอีกครั้งหนึ่งและอย่าได้ทำให้ตลาดขาดสภาพคล่องมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ขอให้เข้าใจความรู้สึกของตลาด อย่าได้ดำเนินการตามตัวเลขที่ไม่มีความหมาย ขอให้โชคดี"
- เฟด: คาดประกาศขึ้นดอกเบี้ย 19 ธ.ค.61
# นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะรู้ผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟดซึ่งจะเริ่มเปิดฉากขึ้นในวันอังคารที่ 18ธ.ค. และเสร็จสิ้นในวันพุธที่ 19 ธ.ค.ตามเวลาสหรัฐ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 4 สำหรับปีนี้
+ ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปิดบวก หุ้นเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมหนุน
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,675.64 จุด เพิ่มขึ้น 82.66 จุด หรือ +0.35% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,546.16 จุด เพิ่มขึ้น 0.22 จุด หรือ +0.01% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,783.91 จุด เพิ่มขึ้น 30.18 จุด หรือ +0.45%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (18 ธ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งนำโดยหุ้นโบอิ้งที่พุ่งขึ้นกว่า 3% ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดีดตัวขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นในกลุ่ม FAANG (เฟซบุ๊กแอปเปิล อเมซอน เน็ตฟลิกซ์ และอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล) อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลหลังจากที่ปรึกษาทำเนียบขาวได้ออกมาขู่ว่าจะปล่อยให้มีการปิดหน่วยงานบางส่วนของรัฐบาล หรือชัตดาวน์ หากสภาคองเกรสไม่ผ่านงบประมาณการสร้างกำแพงกั้นพรมแดนเม็กซิโก นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะรู้ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ
-สหรัฐ: ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นสวนตลาด
# กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นสวนทางคาดการณ์ในเดือนพ.ย. โดยเพิ่มขึ้น 3.2%เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 1.256 ล้านยูนิต จากระดับ 1.217 ล้านยูนิตในเดือนต.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านจะลดลงสู่ระดับ 1.225 ล้านยูนิตในเดือนพ.ย.
• ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ปรับขึ้น ดอลลาร์อ่อนค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 1.80 ดอลลาร์ หรือ 0.14% ปิดที่1,253.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.ปีนี้
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (18 ธ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินเยน ก่อนที่ตลาดจะรู้ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธที่ 19 ธ.ค.ตามเวลาสหรัฐ
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ย., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ย., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3 (ประมาณการครั้งสุดท้าย), รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนพ.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ปัจจัยในประเทศ
• KBANK: ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย แม้ กนง.ปรับขึ้น
# กสิกรไทยลั่นยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย ห่วงเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบ ลุ้นผลประชุม กนง.วันนี้
+ หลักทรัพย์กลุ่มพาณิชย์: ได้ประโยชน์จาก มติครม. คืน VAT
# ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และการนำส่งข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเป็นการกระตุ้นการใช้จ่าย ในระหว่างวันที่ 1-15 ก.พ.62 ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตชำระค่าสินค้า วงเงินไม่เกิน 20,000 บาท จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 5% หรือคิดเป็นเม็ดเงินไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขบัตรประชาชน
+/• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวในไตรมาส 4/61 เท่ากับ 100 :
# สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวในไตรมาส4/61 เท่ากับ 100 ซึ่งเป็นระดับปกติ โดยปรับเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำกว่าปกติในไตรมาส 2/61 ที่ระดับ 94 และไตรมาส 3/61ที่ระดับ 96
+ ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือน พ.ย.61 เพิ่มจาก ต.ค.61
# ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือน พ.ย.61อยู่ที่ระดับ 48.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 48.0 ในเดือนต.ค.61 ปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวก ได้แก่ การใช้จ่ายและการลงทุนต้นปีงบประมาณของภาครัฐบาล, การเติบโตอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยวในปลายปี, การนำเข้า-ส่งออกยังส่งสัญญาณการเติบโต, การจ้างงานในอุตสาหกรรมบริการช่วง High season และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลในเชิงลบ เช่น ปัญหาความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3, การปรับตัวลดลงของการลงทุนภาคเอกชน, การลดลงของภาคการค้าชายแดน, ปัญหาความผันผวนของค่าเงินบาท
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]