WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
คาดวันนี้ SET ยังแกว่งตัวในกรอบ 1630-1650 จุด แม้ได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันฟื้นตัวในช่วง สั้น จากที่ OPEC เตรียมตัดลดกำลังการผลิตน้ำมัน แต่คาดว่ายังถูกหักล้าง Demand โลกที่ชะลอตัว ซึ่งคาดว่าสหรัฐจะขึ้นภาษีจีนรอบสุดท้ายต้นธ.ค. 2.67 แสนล้านเหรียญฯ กับสินค้าขั้นกลาง-ปลาย กดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลกอีกรอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลยุทธ์ยังเน้นสะสมหุ้น Domestic (ROBINS, CPALL, BJC) หรือหุ้นที่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดเช่นหุ้นสาธารณูปโภค (EASTW, TTW, GLOW) วันนี้ Top picks เลือก TTW([email protected]) ปันผลราว 5.5% และ EASTW([email protected]) ปันผลราว 4.2%
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ ….ค้าปลีก-อสังหาฯ ปรับตัวลงกดดัน SET Index 
วานนี้ SET Index แกว่งหลุดแนวรับ 1645 จุด และปรับตัวลงต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ก่อนจะปิดระดับต่ำสุดของวันที่ 1638.83 จุด  ลดลง 13.47 จุด (-0.82%) มูลค่าการซื้อขาย 4.42 หมื่นล้านบาท ตลาดฯ เผชิญแรงขายกลุ่มค้าปลีกกดดัน หลังหุ้น BJC ปรับฐานลงแรงเกือบ 10%  ผิดหวังจากผลกำไรจากการดำเนินงานปกติต่ำกว่าคาด  เพราะมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงกว่าคาด  และ CPALL มีแรงขายทำกำไร  หลังจากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์   และอีกกลุ่มที่ปรับฐานคือ กลุ่มพัฒนา ที่อยู่อาศัยนำลงโดย  SIRI AP ORI ปรับตัวลงแรง 9.5% 7.6% และ 11% ตามลำดับ น่าจะเป็นความกังวลกับการบังคับใช้ภาษีทรัพย์สินทรัพย์ (มาแทนภาษีโรงเรือน) ซึ่งได้ผ่าน สนช. พิจารณาวาระ 1  ไปเมื่อวานนี้ และวาระ 2-3  น่าจะผ่านการพิจารณาของ สนช. วันนี้   
แนวโน้ม SET Index วันนี้ น่าจะแกว่งตัวในทิศทางอ่อนลงในกรอบ 1630-1650  จุด  เชื่อว่ายังเป็นเรื่องความกังวลต่อการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐ ต่อ จีน ครั้งที่ 4 วงเงิน 2.67 แสนเหรียญฯ ซึ่งคาดว่าจะชัดเจนในต้นเดือน ธ.ค. นี้ และจะกดดันตลาดเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลกอีกรอบหนึ่ง   
 
ราคาน้ำมันฟื้นตัวช่วงสั้นเท่านั้น...Demand อ่อนแรงมีน้ำหนักมากขึ้น 
ราคาน้ำมันดิบโลกเริ่มฟื้นตัวช่วงสั้น  หลังจากลดลงต่อเนื่องราว 19% นับตั้งแต่ 3 ต.ค.61(จุดสูงสุดของปี) จนถึงปัจจุบัน ล่าสุด ราคาน้ำมันดูไบ อยู่ที่ 65.1 เหรียญฯ (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี หรือ ytd อยู่ที่  70.92 เหรียญฯ)  ทั้งนี้น่าจะเป็นผลจากประเทศในกลุ่ม OPEC แสดงความเห็นตรงกันว่า จะขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันที่จะสิ้นสุดปลายปีไปถึงปี 2562 พร้อมจะลดกำลังการผลิตในปีหน้าลงอีกราว 1.4 ล้านบาร์เรล/วัน  ซึ่งต้องติดตามวันที่ 6 ธ.ค การประชุม OPEC ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งมีน้ำหนักหักล้างการรายงานของสำนักงานด้านสารสนเทศการพลังงานสหรัฐ (EIA) สต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 8 สัปดาห์ราว 10.3 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่ตลาดคาด  3.2 ล้านบาร์เรล  เนื่องจากเป็นช่วงโรงกลั่นปิดซ่อมบำรุง  
 
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าความต้องการใช้น้ำมันโลก มีแนวโน้มชะลอลงจากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐ-จีนยังมีน้ำหนักมากกว่า สะท้อนจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโลกสำคัญอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยเฉพาะผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก คือ สหรัฐ รองลงมาคือ จีน , ญี่ปุ่น,  อินเดีย, รัสเซีย 
 
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันในระยาวมีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ 65-60 เหรียญฯ ขณะที่ สมมติฐานของ ASPS  ปี 2562  ประเมินไว้ที่  65 เหรียญฯ และ  70 เหรียญฯ  ตั้งแต่ปี  2563  เป็นต้นไป แม้ราคาหุ้นน้ำมันจะปรับตัวลดลง แต่ upside จำกัด จึงยังแนะนำ “switch” ทั้ง PTTEP (FV@B148) และ PTT (FV@B56)   
 
ฟิลิปปินส์ & อินโดนีเซียขึ้นดอกเบี้ย..สกัดเงินเฟ้อและเงินทุนไหลออก
ประเทศในกลุ่ม TIP โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในปี 2561 มิใช่แต่ต้องการสกัดกั้นเงินเฟ้อเท่านั้น แต่เพื่อสกัดเงินทุนเงินทุนไหลออก เพราะทั้ง 2 ประเทศเผชิญกับขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ส่งออก-นำเข้า-ดุลบริการ (ท่องเที่ยว  ขนส่งทางอากาศ และ ผลตอบแทนจากเงินลงทุน และเงินบริจาค) ต่อเนื่องมาหลายปี  อีกทั้งยังมีหนี้สินต่างประเทศ   ขณะที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศน้อย จึงอาจเผชิญกับการชำระค่าสินค้าบริการ และ หนี้สินในอนาคต 
ดุลการค้า และบัญชีเดินสะพัดของฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
    ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 4.75% ซึ่งนับเป็นการขึ้นครั้งที่ 5  ในปีนี้  เพราะเงินเฟ้อฟิลิปปินส์พุ่งขึ้นสูงที่ 6.7%yoy ในเดือน ต.ค. สูงสุดในรอบ 9 ปี เกินเป้าหมายที่ BSP ตั้งไว้ราว 3±1%   ขณะที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดราว  1% ของ GDP  (ขาดทุนติดต่อเป็นปีที่ 2)  ขณะที่แม้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสามารถชำระค่านำเข้าได้ 9.6 เดือน  แต่ทุนสำรองที่มีสามารถชำระหนี้ต่างประเทศได้พอดี   
 
ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 6 ของปีนี้ 0.25% เป็น 6.0% นับเป็นประเทศที่ขึ้นดอกเบี้ยมากที่สุดในเอเชีย เนื่องจากค่าเงินรูเปียห์อินโดนีเซียที่อ่อนค่า 10.45% ตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. 2561 เพราะ Fund flow ไหลออก กดดันให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นล่าสุดเดือน ส.ค. ขยายตัว 3.16% จาก 2.88% ในเดือน ก.ย. อินโดนีเซียถือว่าเผชิญกับขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องนาน 7 ปี ราว 1.7% ของ GDP  ขณะที่แม้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสามารถชำระค่านำเข้าได้ 9.6 เดือน  แต่ทุนสำรองที่มีสามารถชำระหนี้ต่างประเทศได้น้อยมากเพียง 0.4% ของหนี้ต่างประเทศ     
Fund Flow ตลาดหุ้น ถูกกดดันจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในหลายประเทศ
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่า 16 ล้านเหรียญ แต่มีแรงซื้อกลับมาถึง 2 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถุกสลับมาซื้อสุทธิ 95 ล้านเหรียญ (หลังขายสุทธิในวันก่อนหน้า) และอินโดนีเซีย 93 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 162 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วย ฟิลิปปินส์ 4 แสนเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 41 ล้านเหรียญ หรือ 1.35 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 1.53 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
แรงกดดัน Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นและตราสารหนี้ไทยยังมี จากการที่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้เป็นครั้งที่ 5 และ 6 ตามลำดับ หนุนให้ Bond Yield 10 ปี ของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ขยับขึ้นมาต่อเนื่องและล่าสุดอยู่ในระดับสูงถึง 8.03% และ 7.17% ตามลำดับ ด้วยผลตอบแทนที่สูง บวกกับความผันผวนของตลาดหุ้น น่าจะจูงใจให้เงินทุนไหลเข้าตลาดการเงินของทั้ง 2 ประเทศมากขึ้น 
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
 
LTF อาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบ แต่ยังมีส่วนหนุนตลาดระยะกลาง-ยาว 
ความกังวลว่าจะมีต่ออายุการลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2562 น่าจะคลายความกังวลลง หลังจากรัฐบาลแสดงความเห็นสนับสนุนให้มี LTF ต่ออาจจะปรับยืดระยะเวลาจากปัจจัยที่ต้องถือครองนาน 7 ปีปฏิทิน 
 
ทางฝั่งสภาตลาดทุนมีแนวคิดให้  มีการจัดตั้งกองทุนใหม่ทดแทน  แต่ให้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด 20% ของเงินลงทุน แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท และต้องลงทุนขั้นต่ำ 10 ปี (เดิม หลังปี 2559 เป็น 7 ปีปฏิทิน) โดยเม็ดเงินที่ได้จากการซื้อกองทุนแบบใหม่นี้ 50% ของเงินลงทุน จะนำไปลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ได้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) และในหุ้นที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (THSI Index จำนวน 79 บริษัท) 
การยกเลิก  LTF คาดว่าจะกระทบต่อตลาดหุ้น  เนื่องจากเม็ดเงินจากกองทุน LTF ถือเป็นแรงซื้อหลักของนักลงทุนสถาบันฯที่นำไปลงทุนในตลาดหุ้นไทย คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3.78 แสนล้านบาท (ณ เดือน ก.ค. 2561) จากกองทุนรวมหุ้นทั้งประเทศมีมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด 1.49 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 25.4%
 
เปรียบเทียบมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหุ้นทั้งหมดในประเทศกับกองทุน LTF
 
ที่มา: AIMC, SEC, ฝ่ายวิจัย ASPS
และหากพิจารณาเฉพาะกองทุน LTF ที่ครบกำหนดขายได้ในปี 2562 โดยปรับมูลค่าตามราคาตลาดฯ แล้ว พบว่า สูงถึง 2.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็น
    เงินลงทุนในกองทุน LTF ปี 2558 ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2562 จำนวน 7.9 หมื่นล้านบาท และน่าจะพร้อมขายได้ในปี 2562 เนื่องจากมีต้นทุนเฉลี่ยต่ำกว่า SET Index ณ ปัจจุบันอยู่มาก โดยมีต้นทุนเฉลี่ยราว 1,367 จุด
    เงินลงทุนในกองทุน LTF ตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2557 ที่ครบกำหนด แต่ยังไม่ถูกไถ่ถอนอีกกว่า 1.42 แสนล้านบาท 
เม็ดเงิน LTF ที่มีสถานะไถ่ถอนคืนได้ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป
 
ที่มา: AIMC, SEC, ฝ่ายวิจัย ASPS
แต่หากมีการจัดตั้งกองทุนใหม่เพื่อมาทดแทนกองทุน LTF ที่จะหมดอายุในปี 2562 นี้ เชื่อว่าน่าจะหนุนให้ราคาหุ้นในดัชนี THSI Index มีโอกาสตอบรับในเชิงบวก อาทิ KBANK, ADVANC, CPF, BGRIM, CPALL, AMATA,PTT, PTTEP และ EASTW เป็นต้น
  
 
 
 
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!