- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 15 November 2018 23:57
- Hits: 1151
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“อาจมีรีบาวด์ ตามราคาน้ำมัน”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : LH (จากซื้อเป็น Fully Valued)
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปิดตลาด -7.48 จุด มายืนที่ 1652.30 จุด จากยอดต่ำสุดของวันที่ 1646.24 จุด สอดคล้องกับตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่เป็นลบ มูลค่าการซื้อขายปานกลางเป็น 44.9 พันล้านบาท ดัชนีฯกลับมาปรับลง ถ่วงโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังราคาน้ำมันในตลาดโลกดิ่งลงแรง การประชุม กนง.แม้ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยตามคาด แต่เสียงโหวตก็แตกมากขึ้น กลับมากังวลการปรับขึ้นดอกเบี้ย ส่วนปัจจัยลบต่างประเทศเดิมๆก็ยังรบกวน ด้านผู้ซื้อสุทธิเป็น นักลงทุนทั่วไป 1.5 พันล้านบาท และบัญชีหลักทรัพย์ 0.8 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิคือ ต่างชาติ 1.7 พันล้านบาท และสถาบัน 0.6 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีโอกาสจะรีบาวด์ ล่าสุดราคาน้ำมันกลับมาฟื้นตัวเล็กน้อย หลังมีข่าวโอเปกจะประชุมลดกำลังการผลิต บาทแข็งค่าขึ้น หลังดอลลาร์อ่อนเทียบปอนด์ ที่ Brexit ราบรื่น บอนด์ยิลด์ 10 ปีอ่อนลงเป็น 3.1287% แต่ก็ยังมีแรงกดดันจากดาวโจนส์ปรับลงต่อ 200 จุด ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ MIx ดัชนีความกลัว (VIX) เพิ่มเป็น 21.25 จุด ด้านดาวโจนส์ล่วงหน้า +33 จุด ณ 8:00 น. หากรีบาวด์ได้ แนวต้านถัดไปคือ 1660-1665 แต่หากถูกขายแนวรับถัดไปคือ 1640-1630 ด้านปัจจัยในประเทศ ประชุมกนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่เสียงโหวตแตกมากขึ้น แต่เราไม่คาดว่าจะรีบขึ้นดอกเบี้ย การเมืองเรื่องเลือกตั้งมีไทม์ไลน์ออกมา แต่เป็นไปตามคาด ส่วนปัจจัยลบเดิมๆยังค้างคา จึงคงต้องระวังการลงทุน เช่น แรงขายจากต่างชาติ กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ส่วนตัวเลขส่งออกไทย ก.ย.พลิกลดลง 5.2% ก็ยังสร้างความวิตกเพิ่มขึ้นรอดู ต.ค.61 นักท่องเที่ยวจีนมาไทยน้อยลง ข้อดีคือ จะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ป แม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วง ธ.ค.) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป และกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดังนั้นดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวเมื่ออ่อนตัว ตามปัจจัยต่างประเทศที่ยังกดดัน
Update หุ้นเด่น: SEAFCO – กำไรหลัก 3Q61 แข็งแกร่งตามคาด 105 ล้านบาท (+157% y-o-y, +13% q-o-q) ทำสถิติสูงสุดใหม่มีผลจากรายได้ก่อสร้างเติบโตดี บริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอัตราภาษีเงินได้ต่ำ จ่ายปันผลงวด 3Q61 อีก 0.05 บาท XD 27 พ.ย.61 จ่าย 12 ธ.ค.61งานในมืออยู่ในระดับสูง สร้างรายได้ในอนาคต และมีโอกาสได้งานก่อสร้างขนาดใหญ่ปีหน้าอีก แนะนำ ซื้อ คาดกำไรหลักปีนี้และปีหน้าทำสถิติสูงสุดใหม่ ราคาพื้นฐานเลื่อนไปใช้ปี 62 เป็น 11.79 บาท มีส่วนเพิ่มได้อีก 21%
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบเล็กๆ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1665-1670 แนวรับ 1645-1630 จุด
ด้านหุ้นที่คาดว่ามีสัญญาณบวกทางเทคนิค มีโอกาสทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ TCAP,SCC,CPN,GLOW,AOT,HMPRO,GFPT,AAV ที่ยังอยู่ใน List คือ BLA หุ้นที่หลุด List
คือ RCI,KTB,GULF,EPCO ส่วนที่หาจังหวะ Take Profit คือ –ไม่มี- นักกลยุทธ์&นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ลดลง ผลจากหุ้นแอปเปิลและแบงค์ร่วง
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,080.50 จุด ลดลง 205.99 จุด หรือ -0.81% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,701.58 จุด ลดลง 20.60 จุด หรือ -0.76% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,136.39 จุด ลดลง 64.48 จุด หรือ -0.90%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 200 จุดเมื่อคืนนี้ (14 พ.ย.) หลังจากราคาหุ้นแอปเปิลดิ่งลงอย่างหนัก อันเนื่องมาจากความกังวลที่ว่า แอปเปิลอาจประสบปัญหายอดขาย iPhone ที่ตกต่ำในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร ท่ามกลางความวิตกกังวลที่ว่า การที่พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐนั้น จะนำไปสู่การใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อภาคธนาคาร
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ฟื้นตัว โอเปกเตรียมลดกำลังการผลิต
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 56 เซนต์ หรือ 1.01% ปิดที่ 56.25 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 65 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 66.12 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 พ.ย.) หลังจากมีรายงานว่า ชาติสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) สนับสนุนให้มีการปรับลดการผลิตน้ำมันในการประชุมในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ เพื่อสร้างความสมดุลในตลาดน้ำมัน ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้
• ทองคำ : ปรับขึ้น ดอลลาร์อ่อนค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 8.7 ดอลลาร์ หรือ 0.7% ปิดที่1,210.1 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 พ.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากมีรายงานว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลงเมื่อเทียบรายปี
- ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ ต.ค.เพิ่มขึ้น
# กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ดีดตัวขึ้น 0.3% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนก.ย. หากเทียบรายปี ดัชนี CPI พุ่งขึ้น 2.5% ในเดือนต.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือนก.ย.
+ การเจรจาการค้าสหรัฐกับจีน นอกรอบ G20 มีความหวังทางบวกมากขึ้น
# นายแลร์รี่ คุดโลว์ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลสหรัฐและจีนกำลังเจรจากันในทุกระดับ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงนอกรอบการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรสของอาร์เจนตินาในปลายเดือนนี้
+ ปอนด์ ยูโรกลับมาแข็งค่า Brexit ดูดีขึ้น ดอลลาร์อ่อนค่า
# เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14พ.ย.) หลังจากคณะรัฐมนตรีอังกฤษได้ลงมติอนุมัติร่างข้อตกลงว่าด้วยการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป(Brexit)
• ตัวเลขเศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศสัปดาห์นี้
# นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนต.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนพ.ย.จากเฟดนิวยอร์ก, ดัชนีการผลิตเดือนพ.ย.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ย. และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นหุ้น-อุตสาหกรรม
-/• กนง.ยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่เสียงโหวตที่แตกมากขึ้น กังวลไทยขึ้นดอกเบี้ยเร็ว
# คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% นับเป็นการตรึงดอกเบี้ยครั้งที่ 28 ภายหลังการลงมติอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ 4 ต่อ 3 โดยมีกรรมการ 3 ท่านเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าสู่ระดับ 32.90 ต่อดอลลาร์ และจะมีการประชุมครั้งต่อไป 19 ธ.ค.61
# คณะกรรมการ กนง. มองว่า ความเสี่ยงจากผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และจีน อาจมีมากกว่าที่คาด ขณะที่แรงส่งของอุปสงค์ในประเทศได้ช่วยบรรเทาผลกระทบของความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัว โดยคณะกรรมการเห็นว่า ผลกระทบต่อภาคส่งออกของไทยน่าจะเป็นเพียงชั่วคราว ในด้านแรงกดดันด้านราคา อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีความเสี่ยงที่จะปรับลงตามความผันผวนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด
# ผลกระทบ: ฝ่ายวิจัยฯ DBSVTH เห็นว่า กนง.ยังจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ เนื่องจากภาวการณ์ชะลอลงของการส่งออก และการท่องเที่ยวของไทย อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันยังไม่ถึงกับน่าเป็นห่วง อย่างไรก็ต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจในระยะต่อไป
-/• PTT มองราคาน้ำมันร่วงอาจกระทบผลงานกลุ่มธุรกิจขั้นต้น แต่ข้อดีคือ ทำกำไรในรอบ 9M61 ไว้ดีพอควร
# นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ ดูไบ ในช่วงนี้จนถึงปลายปีนี้น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 60-70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบร่วงลงแรงเมื่อคืนที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอาจจะส่งต่อผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจต้นน้ำ อย่างบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ที่จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงโดยตรง แต่เชื่อว่าภาพรวมทั้งปีนี้จะไม่ได้กระทบมากนัก เพราะในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้กลุ่ม ปตท.นับว่าสามารถทำผลการดำเนินงานได้ดี
# ผลกระทบ: ฝ่ายวิจัยฯ DBSVTH เห็นว่า ราคาน้ำมันที่ปรับลงแรง จะทำให้หลักทรัพย์กลุ่มพลังงานมีความเสี่ยงที่จะเกิดขาดทุนจากสต็อค (Inventory Losses) ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบ Brent อยู่ที่ราว 66 เหรียฐต่อบาร์เรล แต่ ณ สิ้น 3Q61 อยู่ที่ 83 เหรียฐต่อบาร์เรล ต่างจาก 2Q61 ที่อยู่ในภาวะที่มีกำไร ส่วน PTTEP ก็จะได้รับผลลบโดยตรงมากกว่ากลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี ซึ่งขึ้นกับอุปสงค์เป็นสำคัญกว่า ในความเป็นจริงก็มีผู้ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันต่ำ ได้แก่อุตสาหกรรมและขนส่ง แต่ก็มี Market Cap น้อยในตลาดหลักทรัพย์ไทยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ก็จะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
+/• สบน. ชี้แจงการดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค
# การดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือเรียกได้ว่า เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government : G to G) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟและการคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยรัฐบาลจีนจะสนับสนุนเรื่องต่างๆ
# ในส่วนของการกู้เงินจากรัฐบาลจีน ปัจจุบันยังไม่มีการตกลงและผูกพันสัญญาใดๆ และยังคงอยู่ระหว่างการเจรจาร่างสัญญาเงินกู้และเงื่อนไขเงินกู้ของรัฐบาลจีน
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]