WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
“ปัจจัยต่างประเทศไม่สดใส น้ำมันสู่ภาวะหมี”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : SYNTEC (จาก Fully Valued เป็นถือ)
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวันศุกร์ – SET Index ปิดตลาด -13.21 จุด ที่ 1668.52 จุด หลังทำยอดต่ำสุดที่ 1664.85 จุดทีเดียว ถือว่าปรับลงสอดคล้องกับตลาดหุ้นในภูมิภาคมูลค่าการซื้อขายเบาบางเป็น 34.8 พันล้านบาท SET ปัจจับลบมาจากเฟดมีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ย ธ.ค.61 บอนด์ยิลด์ 10 ปี เพิ่มขึ้น ธปท.เผยการปรับเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ แต่ก็ช่วยตลาดฯไม่ได้มากนัก หุ้นกลุ่มหลักกลับมาปรับลง ด้านผู้ซื้อสุทธิเป็น นักลงทุนทั่วไป 3.5 พันล้านบาท และบัญชีหลักทรัพย์ 0.5 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิคือสถาบัน 2.2 พันล้านบาท และต่างชาติ 1.8 พันล้านบาท
 
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ยังไม่สดใส ไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆเข้ามา ระยะนี้ทางเทคนิคคาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1650-1690 จุด ปัจจัยต่างประเทศเป็นลบกังวลเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดาวโจนส์ปรับลง ราคาน้ำมันที่ปรับลงต่อเนื่อง ส่งสัญญาณเศรษฐกิจโลกชะลอตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้แกว่งลบ ดัชนีความกลัว VIX ปรับขึ้น บาทอ่อนเงินไหลออก ส่วนปัจจัยบวกที่พอมีบ้างคือ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +49 จุด ณ 8:26 น. บอนด์ยิลด์ 10 ปี ลดลงเป็น 3.1838% ด้านปัจจัยในประเทศ ประชุม กนง. 14 พ.ย.61 คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การเมืองเรื่องเลือกตั้งมีไทม์ไลน์ออกมา แต่เป็นไปตามคาด ส่วนปัจจัยลบเดิมๆยังค้างคา จึงคงต้องระวังการลงทุน เช่น แรงขายจากต่างชาติ กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ส่วนตัวเลขส่งออกไทย ก.ย.พลิกลดลง 5.2% ก็ยังสร้างความวิตกเพิ่มขึ้น รอดู ต.ค.61 นักท่องเที่ยวจีนมาไทยน้อยลง ข้อดีคือ จะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ป แม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วง ธ.ค.) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป และกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61เติบโตเฉลี่ย 10% ดังนั้นดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวเมื่ออ่อนตัว ตามปัจจัยต่างประเทศที่ยังกดดัน
 
Update หุ้นเด่น: TU – คาดว่าแนวโน้มธุรกิจทูน่าจะมีการฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง หลังราคาต้นทุนวัตถุดิบลดลง จึงบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น และมีการต่อรองปรับราคาขายแล้ว ด้านธุรกิจแซลมอนหลังตัดขายบางส่วนจะให้อัตรากำไรที่สูงขึ้น แต่ 4Q61 มีความเสี่ยงที่จะบันทึกค่าใช้จ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงาน 300 คนที่เลิกโรงงานแซลมอนไป แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐานไปใช้ประมาณการปี 62 แทนปี 61ได้ที่ 19.70 บาท ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 9.5% และคาดการณ์อัตราผลตอบแทนปันผลปีนี้และปีหน้าที่ 3.2%/3.5% ตามลำดับการวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบเล็กๆ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1675-1680 แนวรับ - แนวตัดขาดทุน คือ ต่ำกว่า 1660 จุด
 
ด้านหุ้นทำ New High เข้ามาใหม่ คาดว่าเป็น KTB,RCI,SENA,GULF,BLA,TU หุ้นยังอยู่ใน List คือ RCI,BEM หุ้นหลุด List คือ SVI,TOP,PTTGC,CBG,HANA,ESSO,VNT,TVOและหุ้นหาจังหวะขายทำกำไร AOT,SEAFCO,GGC 
นักกลยุทธ์&นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
 
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง กังวลเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย น้ำมันตก
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 201.92 จุด หรือ 0.77% ปิดที่ 25,989.30 จุด ดัชนี S&P 500 อ่อนตัวลง 25.82จุด หรือ 0.92% ปิดที่ 2,781.01 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 123.98 จุด หรือ 1.65% ปิดที่ 7,406.90 จุด
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ (9 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการทรุดตัวของราคาน้ำมันจะเป็นการบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ตลาดยังวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
 
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง เข้าสู่ภาวะหมี
# สัญญานํ้ามันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 48 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 60.19 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 47 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 70.18 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 10 เมื่อวันศุกร์ (9 พ.ย.) ซึ่งถือว่าลดลงต่อเนื่องยาวนานที่สุดในรอบ 34 ปี ขณะที่ตลาดน้ำมันสหรัฐเข้าสู่ "ภาวะหมี" ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาดและอุปสงค์น้ำมันที่หดตัวลง
 
• ทองคำ : ปรับลง ดอลลาร์แข็งค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 16.50 ดอลลาร์ หรือ 1.35% ปิดที่1,208.60 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (9 พ.ย.) เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ โดยดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจะลดความน่าดึงดูดของทองคำ เพราะทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น
 
- กังวลเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง
# คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 2.00-2.25% ในการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นอกจากนี้ เฟดยังได้ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. หลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. มิ.ย. และก.ย. ซึ่งจะส่งผลให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 4 ครั้งในปีนี้ ส่วนในปีหน้า เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง และอีก 1 ครั้งในปี 2563
 
+/- ตัวเลขเศรษฐกิจออกมา ส่งสัญญาณ Mix
# กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของราคาอาหารและพลังงาน
# ด้านผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 98.3 ในเดือนพ.ย.แต่ยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 98.0 หลังจากแตะระดับ 98.6 ในเดือนต.ค. ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 101.4 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี
 
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นหุ้น-อุตสาหกรรม
+ ธปท.ปรับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ผ่อนคลายมากขึ้น ให้เวลาปรับตัว ลดเก็งกำไร
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมาประกอบการพิจารณา โดยจะเริ่มใช้เกณฑ์ใหม่กับสัญญากู้ซื้อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.62 เป็นต้นไป โดยจะยกเว้นกรณีที่มีสัญญาจะซื้อจะขายก่อนวันที่ 15 ต.ค.61 เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยหรือผ่อนดาวน์อยู่ก่อนแล้ว จากก่อนหน้าที่ธปท.คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค.62
 
• คาด กนง.คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 14 พ.ย.61 นี้
# คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมในวันที่ 14พฤศจิกายน 2561 รวมถึงการประชุมรอบสุดท้ายในเดือนธันวาคม แม้ว่าคณะกรรมการบางท่านจะเริ่มส่งสัญญาณถึงความพร้อมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินของไทย แต่คงต้องยอมรับว่าโอกาสที่ กนง. จะปรับขึ้นนโยบายการเงินในปีนี้คงมีไม่มาก หลังจากที่ภาคเศรษฐกิจต่างประเทศของไทย ทั้งการท่องเที่ยวและการส่งออกมีสัญญาณอ่อนแรงลงพร้อมกัน
 
+ ดัชนีสถานการณ์ทางธุรกิจ มีการฟื้นตัวอย่างอ่อนๆ แต่ระยะปานกลางและระยะยาวยังไปได้ดี
# ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีสถานการณ์ทางธุรกิจ มีการฟื้นตัวอย่างอ่อนๆ แต่ระยะปานกลางและระยะยาวยังไปได้ดี ซึ่งหากสถานการณ์เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา ก็เชื่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ SMEs จะสามารถฟื้นกลับมาในอัตราเร่งได้ตามปกติ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงกลางปี62
 
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!