- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 26 October 2018 22:33
- Hits: 7454
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีหุ้นไทยดีดตัว เป็นการฟื้นตัวสัญญาณทางเทคนิค และแรงซื้อ LTF ที่มักเข้ามาในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี แต่คาดว่าความผันผวนยังมีอยู่และน่าจะติดแนวต้าน 1655-1665 จุด เพราะยังมีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกทั้งสงครามการค้า และเงินทุนไหลออก กลยุทธ์ในภาวะตลาดหุ้นขาลง แนะนำหุ้นอิงเศรษฐกิจในประเทศ กลุ่มสาธารณูปโภค (GLOW, EGCO, RATCH, EASTW, TTW) การบริโภคในประเทศ (ADVANC, SAT, CPALL, BJC) และนิคมอุตสาหกรรมรวมถึงก่อสร้าง (WHA, STEC) Top Picks GLOW([email protected]) และ WHA([email protected]) เติบโตตามความคืบหน้าของการลงทุนใน EEC
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ ….SET Index รีบาวด์กลับมาปิดบวก
วานนี้ SET Index แกว่งตัวผันผวน หลังจากเปิดตลาดร่วงลง 18 จุด และแกว่งตัวลงหลุดแนวรับ 1600 จุด ก่อนจะพลิกกลับขึ้นมาปิดตลาดฯ ที่ 1644.33 จุด เพิ่มขึ้น 20.96 จุด หรือ 1.29% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้การฟื้นตัวของดัชนีฯ หลังจากได้ปรับตัวลง 74 จุด ในช่วง 5 วันที่ผ่านมา โดยเป็นการฟื้นตัวของหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานฯ ทั้ง PTT (+2.06%) PTTGC (+2.4%) IVL(+1.4%) และ PTTEP(+2.6%) หลังประกาศงบ 3Q61 ทำกำไร 1.04 หมื่นล้านบาท +189.7% qoq แต่หลักๆ มาจากบันทึกรายการพิเศษ ส่วนกำไรปกติปรับตัวลดลง 9.4% qoq จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด ตามมาด้วยหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. และค้าปลีก เป็นต้น
แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยยังตัวน่าจะมีกรอบจำกัด โดยมีแนวต้านแรกคือ 1655-1665 จุด แม้จะยังมีปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่อง แต่ได้แรงหนุนจากการซื้อกองทุน LTF ซึ่งเม็ดเงินส่วนใหญ่จะไหลเข้ามาในช่วงไตรมาสุดท้ายของปี คิดเป็นราว 67.8% ของเม็ดเงินที่ซื้อทั้งปีที่ราว 6.5 หมื่นล้านบาท (ของปี 2560)
ECB ยังคงใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ ปัญหายังมีทั้งภายในและภายนอก
ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) เมื่อวานนี้ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0%(ตั้งแต่มี.ค. 2559) และมาตรการ QE จะสิ้นสุดสิ้นปีนี้ คือ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านยูโร/เดือน ระยะเวลา 3 เดือน ต.ค. - ธ.ค. 2561 โดยปัจจัยที่ให้น้ำหนักคือ ความเสี่ยงทั้งภายใน อาทิ การเจรจา Brexit ที่ยังไม่บรรลุข้อตกลง และความไม่แน่นอนทางการเมืองอิตาลี หลังยุโรปปฎิเสธอนุมัติงบประมาณขาดดุลของอิตาลี และความเสี่ยงภายนอกคือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มชะลอตัว สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการผลิตของยุโรปเดือน ต.ค. ชะลอตัวต่อเนื่อง 8 เดือนเหลือ 52.1 จุดระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี และล่าสุด IMF ได้ปรับลด GDP Growth ยุโรปปี 2561 เหลือ 2.0% จากเดิม 2.2% แต่ยังคงปี 2562 ที่ 1.9% รวมถึงปรับลดปริมาณการค้าโลก เหลือ 4.2% ในปี 2561 จากเดิม 4.8% ส่วนในปี 2562 เหลือ 4% จากเดิม 4.5%
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของยุโรป ล่าสุดเดือน ก.ย. ขยายตัว 2.1%yoy สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% ทำให้เชื่อว่ามิอาจจะหนีวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นได้ แต่อาจจะค่อยเป็นค่อยไป โดย ECB คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดคือราวช่วง 2Q62
การขึ้นดอกเบี้ยช้า กดดันให้เงินยูโรอ่อนตัวต่อเนื่อง ตรงข้ามกับ Dollar index ที่แข็งค่าตามการใช้นโยบายดอกเบี้ยตึงตัวคือ ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดย Fed กำหนดแผนการขึ้นอีก 1 ครั้งภายในสิ้นปีนี้และ 3 ครั้งปีหน้า และอีก 2 ครั้ง ปี 2563 ซึ่งส่งผลให้ดอกเบี้ยฯสหรัฐสิ้นปี 2562-2563 อยู่ที่ราว 3.25% และ 3.75% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed จะเป็นไปตามแผนหรือไม่ ขึ้นกับผลกระทบจากสงครามการค้าจะรุนแรง จนทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวแรงและเร็วกว่าคาดหรือไม่ ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นสหรัฐในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า
สถาบันฯยังเป็นอัศวินพยุงตลาดหุ้นไทย
วานนี้ตลาดหุ้นโลกบางแห่ง รวมถึงไทยรีบาวด์ หลังปรับตัวลดลงตลอดทั้งเดือน ต.ค. อย่างไรก็ตาม Fund Flow ยังไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 18 อีก 671 ล้านเหรียญ และเป็นการขายเกือบทุกประเทศ ยกเว้นอินโดนีเซียกลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 7.5 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 5 วัน) ที่เหลือขายทุกตลาด คือ ไต้หวันขายสุทธิ 309 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 18) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 224 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9), ฟิลิปปินส์ 21 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 40 วัน) และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิเป็นวันที่ 16 อีก 125 ล้านเหรียญ หรือ 4.1 พันล้านบาท ทำให้ยอดขายสุทธิสะสมของต่างชาติในปี 61 ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 2.67 แสนล้านบาท (ytd)
การฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยแรง ติดลบ 26.97 จุด แล้วฟื้นขึ้นเร็วในช่วงบ่ายมาปิดบวก 20.96 จุด (ไป-กลับราว 48 จุด) ส่วนหนึ่งนอกจากปัจจัยทางเทคนิคที่เข้าเขตขายมากเกินไปแล้ว ยังมีแรงหนุนจาก เม็ดเงิน LTF- RMF สะท้อนจากสถาบันฯมีสถานะซื้อสุทธิสูงถึง 4.4 พันล้านบาท และมีโอกาสจะซื้อสุทธิต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพราะจากสถิติในอดีต บ่งชี้ว่า นักลงทุนมักซื้อ LTF ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีเสมอ คิดเป็นสัดส่วน 67.8% (ต.ค. 8%, พ.ย. 12.7% และ ธ.ค. 47%) ของเม็ดเงินที่ซื้อทั้งปี หากเปรียบเทียบกับปี 2560 ที่มียอดซื้อทั้งปี 6.45 หมื่นล้านบาท น่าจะมีเม็ดเงิน LTF เข้ามาหนุนตลาดฯ 4Q61 ราว 4.37 หมื่นล้านบาท
ตลาดหุ้นโลกยังผันผวนถึง 4Q61 ตามวัฏจักรเศรษฐกิจโลก
ดังที่กล่าวแล้วเมื่อวานนี้ถึงเศรษฐกิจสหรัฐที่กำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ตามแรงกดดันเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ย ประกอบกับผลกระทบจากสงครามการค้า ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อจีนเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อสหรัฐ เช่นกัน ซึ่งน่าจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะชะลอตัวมากกว่าคาด ขณะที่การประกาศผลประกอบการ 3Q61 ของบริษัทฯ ในตลาดหุ้น S&P500 จนถึงวานนี้ มีบริษัทฯ รายงานงบไปแล้วราว 50% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ปรากฏว่ากำไรเติบโต 24%yoy ซึ่งกว่า 82% งบฯ ดีกว่าคาด ไม่ว่าจะเป็นทั้งกลุ่มสถาบันการเงิน เช่น JPMorgan Chase & Co., Citigroup, Bank of America, Morgan Stanley, Goldman Sachs, American Express เป็นต้น เช่นเดียวกับกลุ่มเทคโนโลยี งบฯ ดีกว่าคาดหลายแห่งเช่นกัน อาทิ Microsoft, Twitter, Intel Amazon.com, Alphabet Inc. อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาพรวมงวด 3Q61 กำไรน่าจะเติบโตราว 21%yoy ชะลอลงหลังจาก ทำสถิติสูงสุดในงวด 2Q61 ที่ 26%yoy ส่วน 4Q61คาดอ่อนตัวลงต่อ ทำให้ทั้งปี 2561 ยังเติบโตได้กว่า 20%yoy แต่จะชะลอตัวในปี 2562 เหลือ 10%yoy เนื่องมาจากฐานที่สูง และผลกระทบจากสงครามการค้าเต็มปี โดยรวมจึงเชื่อว่า ตลาดหุ้นสหรัฐ น่าจะได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว สะท้อนจากการเติบโตของกำไรตลาดหุ้นสหรัฐ (S&P500) ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงดังกล่าว
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเข้าสู่การรายงานงบฯ 3Q61 ของภาค real sector ซึ่งสัปดาห์นี้มีบริษัทที่ประกาศออกมาแล้วคือ SCC กำไรต่ำกว่าคาด ลดลง 20%YoY เพราะการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ หากไม่นับรายการดังกล่าวยังใกล้เคียงที่คาดไว้ โดยธุรกิจปิโตรเคมีกำไรหดตัวจาก Spread ผลิตภัณฑ์หลักที่แคบลง ส่วนธุรกิจซีเมนต์ดีขึ้นตามยอดขาย และธุรกิจ Packaging กำไรเติบโตจากราคาขายสูงขึ้นและการลดต้นทุน ทำให้กำไร 9M61 คิดเป็น 72% จากประมาณการทั้งปี จึงยังคงประมาณการฯ และคำแนะนำซื้อ Fair Value 515 บาท Div. Yield ราว 4.2% p.a.
ตามด้วย PTTEP กำไรปกติลดลง 9.4%qoq ผลจากค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้น และค่าตัดจำหน่าย เพิ่มขึ้นจากโครงการบงกชที่มีการลงทุนเพิ่ม แต่หากพิจารณากำไรสุทธิพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 189.7%qoq เพราะได้ผลประโยชน์ทางภาษีจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น รวมถึงการบันทึกขาดทุน Fx ลดลง แม้จะมีการบันทึกขาดทุนจากการขายสินทรัพย์โครงการมอนทารา แต่อย่างไรก็ตาม แม้ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลงจนเริ่มมี upside จาก FV สิ้นปี 62 ที่ 161 บาท แต่ความเสี่ยงจาก demand โลกที่ชะลอตัว และ supply ที่ทยอยเพิ่มขึ้น จึงยังไม่ใช่จังหวะเข้าซื้อเพื่อการลงทุนระยะยาว
โดยภาพรวม คาดกำไรตลาด 3Q61 จะอยู่ที่ราว 2.5 แสนล้านบาท ลดลง QoQ (2Q61 มีกำไร 2.60 แสนล้านบาท) แต่เพิ่ม YoY (3Q60 อยู่ที่ 2.13 แสนล้านบาท) และเมื่อรวมกับกำไรสุทธิ 1H61 ที่ 5.5 แสนล้านบาท คาดว่ากำไรตลาดฯ 9M61 จะอยู่ที่ราว 8 แสนล้านบาท คิดเป็น 75% ของประมาณการฯ ทั้งปีที่ 1.07 ล้านล้านบาท ทำให้ทั้งปี 2561 จะเติบโต 10.3% แต่จะลดเหลือ 6.9% ในปี 2562 และแม้ทำให้ P/E ตลาดหุ้นไทยปี 2562 ลดลงเหลือ 14 เท่า จาก 15 เท่าปีนี้ แต่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน และคาดว่าต่างชาติจะยังไม่กลับมา จนกว่าสัญญานการขึ้นดอกเบี้ยฯ จะสิ้นสุดลง ซึ่งน่าจะอีกสักระยะหนึ่ง
กลยุทธ์เน้น Domestic Play : BJC, CPALL, WHA
ท่ามกลางการปรับฐานของตลาดฯ กลยุทธ์การลงทุนจึงควรเลือกหุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ควบคู่กับหุ้นปันผลสูง ดังตารางด้านล่าง
นักวิเคราะห์ :
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO15476