- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 25 October 2018 19:02
- Hits: 4724
บล.ฟินันเซียไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ >> Stay in Dividend and Defensive Play//Short-Term Speculate on Rebound
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงตั้งแต่ช่วงเช้าลงมาทดสอบระดับ 1,640 จุดตามคาดก่อนที่จะไหลลงแรงต่อในช่วงบ่ายและทำให้ปิดลบถึง 35 จุด ณ สิ้นวัน โดยยังถูกดดันจากความกังวลในตลาดจากหลายหลายประเด็น ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิในตลาดหุ้นต่ออีก 4 พันลบ. (และ Short ใน Index Futures สูงกว่า 1.1 หมื่นสัญญา) ขณะที่สถาบันในประเทศพลิกมาขายสุทธิ 917 ลบ.เช่นกัน
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index มีโอกาสลงไปทดสอบบริเวณ 1,585-1,600 จุดอีกครั้งจากบรรยากาศการลงทุนที่ยังไม่สดใสหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯยังร่วงแรงวานนี้ โดยยังกังวลกับประเด็นเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและนักลงทุนยังอยู่ในสถานะ Risk-Off อย่างไรก็ตามการที่ SET Index ปรับตัวลง 5 วันติดต่อกันราว 4.4% ทำให้ Valuation อยู่ในโซนไม่แพง และทางเทคนิคเริ่มเข้าเขต Oversold ทำให้เราเชื่อว่ามีโอกาสที่จะเกิดการรีบาวด์ระยะสั้น
กลยุทธ์ : ยังเน้นพักเงินในหุ้น Dividend และ Defensive//เก็งกำไรระยะสั้นหวังการรีบาวด์
หุ้นเด่นเดือนต.ค. : BDMS, CPALL, CPN, MINT, PTTGC
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$739ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$336ล้าน ขณะที่ไหลออกจากไทย US$121ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคกลับสินทรัพย์ปลอดภัยหลังตลาดมีความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐต่อการเก็บภาษีนำเข้า
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> KKP <<
แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 81 บาท
แนวโน้มกำไร 4Q18 จะเติบโตดีจากธุรกิจ IB ซึ่งมีการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ทั้ง TFFIF, OSP และ รพ.พระราม 9 เราคงประมาณการกำไรปีนี้ที่ 6.2 พันลบ. +8% Y-Y และปีหน้าคาด 6.4 พันลบ. +4% Y-Y
คาดปันผลสม่ำเสมอปีละ 7% และเป็นหุ้นที่ Underperform กลุ่มแบงก์อยู่ 5% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ความเสี่ยงขาลงค่อนข้างจำกัด
ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) ภาคการผลิตทั่วโลกชะลอ Flash PMI ภาคการผลิตงวด ต.ค. 18 ของยูโรโซนร่วงเหลือ 52.7 จาก 54.1 เพราะคำสั่งซื้อสินค้าใหม่เพื่อการส่งออกยังลดลง ซึ่งเป็นผลจาก Trade War โดยทั้งเยอรมันและฝรั่งเศสต่างทรุดหนักเมื่อเทียบกับต่าเฉลี่ยทั้ง 3Q18 นั่นหมายถึง 3Q18 GDP ของยูโรโซนมีโอกาสชะลอตัวต่อเนื่องจาก 2.1% Y-Y ใน 2Q18 มีเพียงสหรัฐฯและญี่ปุ่นที่ Flash PMI มีการขยายตัว โดยญี่ปุ่นได้แรงหนุนจากการเร่งบริโภคก่อนขึ้น VAT ในปีหน้า ส่วนสหรัฐฯได้แรงหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งตัวเลข PMI ของจีนที่จะเปิดเผยกลางสัปดาห์หน้า เดาได้ไม่ยากว่าจะอ่อนตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และจะต่ำกว่าระดับ 50 ที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจชะลอตัว หุ้นเอเชียจึงยังมีโอกาสถูกกดดันอีกรอบ
(0) Valuation ของ SET เริ่มไม่แพง การทรุดตัวลงของ SET ใน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ทำให้ PE2018-19 ลดลงเหลือเพียง 14-15 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ย้อนหลังที่ 16 เท่า และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม TIPs ที่ 18 เท่า ขณะที่ EPS Growth ที่ 8-10% ต่อปี ทำได้ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย ส่วนยอดขายสะสมของนักลงทุนต่างชาติใกล้เคียงกลางปี 2005 ทำให้ Downside การปรับลงในเชิงปัจจัยพื้นฐานจึงเริ่มจำกัด
(0) SCC กำไรสุทธิ 3Q18 อยู่ที่ 9,473 ลบ. (-24% Q-Q , -20% Y-Y) ต่ำกว่าคาดจากการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ หากหักรายการดังกล่าวออกไป กำไรปกติใกล้เคียงเราและตลาดคาด ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างฟื้นตัวจากงาน Megaproject ของภาครัฐ ส่วนกำไรของธุรกิจปิโตรเคมีปรับตัวลงจากต้นทุน Naphtha ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแนวโน้มข้างหน้ายังไม่สดใส เพราะ Naphtha ยังขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ อีกทั้ง ความต้องการจากจีนอาจลดลงตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นตอนนี้คิดเป็น PE2019 เพียง 11 เท่า และให้ปันผลสูง 5% ต่อปี เราจึงยังแนะนำซื้อลงทุน ราคาเป้าหมาย 500 บาท โดยแนะนำให้ชะลอการลงทุนใน IRPC เพราะสายปิโตรเคมีจะถูกกดดันเหมือนกัน ส่วน PTTGC อาจถูกกดดันน้อยกว่า
(0) DELTA คาดกำไรสุทธิ 3Q18 อยู่ที่ 1,631 ลบ. (+17.3% Q-Q, +15.8% Y-Y) จาก High Season และปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบคลี่คลาย แต่คาดกำไรจะแผ่วลงใน 4Q18 ตามปัจจัยฤดูกาล เรายังคาดกำไรสุทธิปี 2018–19 โต 10.1% Y-Y อยู่ที่ 5,429 ลบ. และ 12% Y-Y อยู่ที่ 6,079 ลบ. ปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2019 ที่ 82 บาท เรายังมองพื้นฐานของ DELTA ดูดีทั้งในแง่การเติบโตอย่างสม่ำเสมอ และความสามารถทำกำไรที่บริหารได้ดี โดยบริษัทตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ทะลุระดับ US$2 พันล้าน ภายใน 3-5 ปี จากปัจจุบันที่ราว US$1.5 พันล้าน ทั้งนี้แม้เรายังแนะนำซื้อ แต่เชื่อว่าราคาหุ้นยังถูกกดดันจากประเด็น Tender Offer จาก Delta Taiwan ที่ราคา 71 บาท จนกว่าจะเห็นความชัดเจน
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
25 ต.ค.- ยูโรโซน: ประชุม ECB
- เกาหลีใต้: 3Q18 GDP
26 ต.ค.- สหรัฐฯ: 3Q18 GDP
31 ต.ค. -1 พ.ย.- จีน: PMI ภาคการผลิต
4 พ.ย.- สหรัฐฯ: เริ่มมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านอย่างสมบูรณ์แบบ
6 พ.ย.- สหรัฐฯ: เลือกตั้งกลางเทอม
(-) ตลาดหุ้นดาวโจนส์สหรัฐปรับตัวลง จากความกังวลเรื่องผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่อาจจะถึงจุดสูงสุดแล้ว รวมไปถึงความกังวลในด้านต้นทุนจากดอกเบี้ยที่เพิ่มและตลาดแรงงานที่ตึงตัว
(-) ตลาดหุ้นยุโรปยังคงปรับตัวลง หลังตัวเลขเศรษฐกิจยังอ่อนแอ และปัญหางบประมาณของอิตาลี
(-) ตลาดเอเชียเช้านี้ปรับตัวลง จาก Sentiment เชิงลบจากฝั่งสหรัฐ
(+) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.92 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 0.39 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 66.82ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสต็อคน้ำมันสำเร็จรูปของสหรัฐปรับตัวลงมากกว่าที่คาด
(+) ค่าการกลั่นสิงคโปร์พลิกกลับขึ้นมาแรง หลังปรับตัวลงหนักในช่วงก่อนหน้า ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 5.31 ดอลลาร์/บาร์เรล
() ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ลดลง 5.70 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1231.1 ดอลลาร์/ออนซ์
Contact person : Jitra Amornthum Register : 014530
Tel: 02-646-9966
www.fnsyrus.com
FB : FINNANSIA SYRUS SECURITIES LINE : @fnsyrus
OO15401