WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
 
อาจมีรีบาวด์ แต่ปัจจัยต่างประเทศยังไม่สดใส
 
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวันศุกร์– SET Index ปิดตลาด -15.00 จุด ที่ 1667.91 จุด ถือว่าปรับลงมากกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าการซื้อขายสูงขึ้นเป็น 62.3 พันล้านบาท ดัชนีฯได้รับผลกระทบจากต่างประเทศคือ ดาวโจนส์ปรับลงแรง กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย ราคาน้ำมันลด ความขัดแย้งสหรัฐ-ซาอุ สหรัฐ-จีน ปัญหางบประมาณอิตาลี บาทอ่อนเล็กน้อยดัชนีความกลัวเพิ่ม และ SCB-KBANK รายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงมากกว่าตลาดฯคาด เป็น -17% และ -12% ตามลำดับ GDP จีน 3Q61 ต่ำกว่า q-o-q ด้าน SONIC เพิ่งเข้าตลาดฯวันศุกร์ต่ำจอง 5.6% ด้านผู้ขายสุทธิรายเดียวเป็น ต่างประเทศ 6.2 พันล้านบาท ส่วนผู้ซื้อสุทธิคือ นักลงทุนทั่วไป 3.7 พันล้าน สถาบัน 1.5 พันล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ 1.0 พันล้านบาท
  แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ปรับตัวลงมาเร็ว หลังผ่าน 1,700 จุด จึงอาจมีการรีบาวด์ทางเทคนิคได้ และปัจจัยต่างประเทศที่ดีคือ ดาวโจนส์รีบาวด์ ราคาน้ำมันขึ้น บอนด์ยิลด์ 10 ปีและดัชนีความกลัว (VIX) ลดลงเล็กน้อย แต่ยังวางใจไม่ได้ เพราะปัจจัยลบเดิมๆยังค้างคา เช่น ต่างชาติขายหนัก เฟดขึ้นดอกเบี้ย ความขัดแย้งสหรัฐ-ซาอุ สหรัฐ-จีนปัญหางบประมาณอิตาลี บาทอ่อนเล็กน้อย ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ปรับลง สำหรับดาวโจนส์ล่วงหน้า -106 จุด ณ 8.03 น. น้ำมันล่วงหน้า Mix หลังประกาศงบแบงค์ จะเริ่มกลุ่มอุตสาหกรรม SCC ประมาณ 24 ต.ค.61 ส่วนมาตรการคุมเข้มสินเชื่อที่อยู่อาศัย Hearing วันนี้วันสุดท้าย ติดตาม ธปท.จะผ่อนคลายบ้างไหม ข้อดีคือ จะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ปแม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล เศรษฐกิจ ต.ค.แนวโน้มแข็งแกร่งสำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป และกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทยกลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1660-1690 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดังนั้นดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวได้
  Update หุ้นเด่น: DTAC – ในที่สุด DTAC ตัดสินใจเข้าประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ซึ่งเป็นรายเดียว และคาดว่าจะประมูลชนะ ดังนั้นจึงถือว่าหมดเรื่องค้างคาการดำเนินธุรกิจในระยะสั้นแล้ว และกลับเข้าสู่ธุรกิจในภาวะปกติ ด้านการประกาศกำไรหลักในงวด 3Q61 ที่ 24 ล้านบาท ถือว่าดีกว่าที่เราคาด แม้ได้รายงานเป็นขาดทุนสุทธิ 921 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากรายการพิเศษเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากข้อถกเถียงกับ CAT ในเรื่องการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐาน 49.50 บาท ด้วยวิธี DCF ราคาปิดยังมีส่วนเพิ่มได้อีก 9.4%
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆ ก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1670-1680/1690 แนวรับ 1660-1650 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1660
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+/- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับขึ้น แต่ S&P 500 และ Nasdaq ปรับลง
  # ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 64.89 จุด หรือ 0.26% ปิดที่ 25,444.34 จุด ดัชนี S&P 500 ขยับลง 1.00 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 2,767.78 จุด ดัชนี Nasdaq ลดลง 36.11 จุด หรือ 0.48% ปิดที่ 7,449.03 จุด
  # ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ (19 ต.ค.) ขานรับผลประกอบการที่สดใสของบริษัทจดทะเบียน ขณะที่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับตัวลง
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับขึ้น ดอลลาร์อ่อนค่า และจีนต้องการเพิ่ม
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 47 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 69.12 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปิดท้ายสัปดาห์ร่วงลง 3.1%
  # สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือน ธ.ค. บวก 49 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 79.78 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปิดท้ายสัปดาห์ปรับตัวลง 0.8%
  # สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (19 ต.ค.) โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าความต้องการน้ำมันจากจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่อันดับสองของโลกนั้น เพิ่มสูงขึ้น
• ทองคำ : ปรับลง หันไปหาตลาดหุ้น
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 1.4 ดอลลาร์ หรือ 0.11% ปิดที่ 1,228.70 ดอลลาร์/ออนซ์
  # สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ (19 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนได้ขายทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น หลังดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้
+ ยอดขายบ้านมืองสอง และสต็อกบ้านลดลง
  # สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองในเดือนก.ย.ปรับตัวลดลง 3.4% จากเดือนส.ค. แตะระดับ 5.15 ล้านยูนิต เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.ของปีก่อนหน้าแล้ว ยอดขายบ้านมือสองลดลง 4.1%
  # นักเศรษฐศาสตร์จาก NAR เปิดเผยว่า สาเหตุของการปรับตัวลดลงของยอดขายบ้านมือสองทั่วสหรัฐนั้น มาจากการที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาบ้านที่สูงขึ้น โดยราคาเฉลี่ยของบ้านเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบรายปี สู่ระดับ 258,100 ดอลลาร์ในเดือนก.ย.
  # สต็อกบ้านในตลาดอยู่ที่ระดับ 1.88 ล้านยูนิตในเดือนก.ย. ลดลงจากระดับ 1.91 ล้านยูนิตเมื่อเดือนส.ค. แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก.ย.ของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 1.86 ล้านยูนิต เมื่อพิจารณายอดขายบ้านและสต็อกบ้านในตลาด พบว่าผู้ขายบ้านต้องใช้เวลา 4.4 เดือนในการขายบ้านจนหมดสต็อกในตลาด เพิ่มขึ้นจากระดับ 4.3 เดือนเมื่อเดือนส.ค. และยังเพิ่มขึ้นจากระดับ 4.2 เดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
-ปัจจัยต่างประเทศเป็นลบ ความขัดแย้งสหรัฐกับซาอุ สหรัฐกับจีน และงบประมาณของอิตาลี
  # นักลงทุนจับตาความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย กรณีการหายตัวไปของนายจามาล คาช็อกกีนักข่าวซาอุดีอาระเบีย
  # นักลงทุนเริ่มกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอีกครั้ง ระบุว่า จีนทำการค้าอย่างไม่ยุติธรรม และขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย
  # สถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลียังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อตลาด หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกมาเตือนรัฐบาลอิตาลีในเรื่องการขาดดุลงบประมาณ
- รายงานการประชุมเฟด จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
  # รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 25-26 ก.ย. ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
  # CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐพบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสมากกว่า 80.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค.นี้
 
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+/• สัปดาห์นี้ติดตาม การทำ Hearing เกณฑ์สินเชื่อเของ ธปท.เสร็จ และ SCC ประกาศงบ 3Q61
  # วันที่ 22 ต.ค.61 จะสิ้นสุดการรับฟังความเห็น (Hearing) เกี่ยวกับเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มที่อยู่อาศัย (LTV) ตลาดฯและผู้ประกอบการต่างติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่าจะผ่อนเกณฑ์บางอย่างหรือไม่ เช่น ครอบคลุมถึงบ้านหลังที่สาม เพิ่มขึ้นจากหลังที่สอง และผ่อนระยะเวลาการเริ่มใช้จาก 1 ม.ค.62 ให้เลื่อนออกไป เพื่อมีเวลาในการเตรียมตัวเพิ่มมากขึ้น หากมี ก็อาจจะส่งผลดีต่อหลักทรัพย์กลุ่มที่อยู่อาศัย ซึ่งราคาหุ้นปรับลงมารับข่าวไปพอควรแล้ว
  # คาดว่า SCC จะประกาศงบการเงินประมาณ 24 ต.ค.61 และพลอยจะทำให้ทราบแนวโน้มธุรกิจ ที่ SCC ไปลงทุนด้วย เช่น กระดาษ เยื่อกระดาษ และธุรกิจเชิงพาณิชย์ (Commerce) เป็นต้น
+ คาดเศรษฐกิจ 3Q61 ยังสดใสที่ 4.3% และทั้งปี 61 เร่งตัวขึ้นมา 4.5%
  # ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/61 จะขยายตัวที่ 4.3% และตลอดทั้งปี 61 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ 4.5% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวได้ 3.9% ทั้งนี้ เป็นผลจากแรงส่งของการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยได้รับผลดีจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
+ คะแนนประเมิน CG บจ. ไทยปี 2561 ทำสถิติสูงสุด สะท้อนการปรับตัวตามกระแส CG โลก
  # ผลสำรวจคะแนน CGR ประจำปี 2561 ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทย 657 บริษัท ซึ่งจัดทำโดยสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ภายใต้การสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก และทำสถิติสูงสุดที่ 81 เปอร์เซ็นต์ โดยพบว่า ปีนี้ บจ. ไทยให้ความสำคัญมากขึ้นกับการแสดงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแนวโน้มของการกำกับดูแลกิจการในระดับสากล
 
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO15291

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!