- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 19 October 2018 17:47
- Hits: 3807
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ความกังวลต่อการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ หนุนดอลลาร์แข็งค่า กดดันน้ำมันและเงินทุนไหลออก ขณะที่ยังเผชิญกับแรงขายรับงบ 3Q61 ทำให้คาด SET จะแกว่งตัวลงทดสอบแนวรับ 1675 จุด กลยุทธ์เน้นรายหุ้น Top Picks GLOW([email protected]) และ SAT(FV@B29) ปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นขึ้น 7% หลังได้คำสั่งซื้อใหม่จากสหรัฐนาน 8 ปีๆ ละ 400 ล้านบาท ทยอยส่งมอบตั้งแต่ 4Q61 และเต็มปีนับจากปี 2562 และเก็งกำไร KSL([email protected]) ราคาน้ำตาลทำสถิติสูงสุดรอบ 8 เดือน กังวล supply ที่จะหายไปจากปัญหาภัยแล้งในบราซิล ขณะที่ยังไม่สะท้อนในราคาหุ้น
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. แรงขายท้ายตลาดฯ กดดัชนีลงต่ออีก 12 จุด
วานนี้ SET Index แกว่งตัวในแดนลบและร่วงแรงช่วงท้ายตลาดฯ ปิดที่ 1682.91 จุด ลดลง 12.13 จุด หรือ 0.72% มูลค่าการซื้อขาย 4.6 หมื่นล้านบาท ตลาดฯ ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามาหนุนดัชนีฯ แรงกดดันหลักๆ มาจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นกดดันราคาน้ำดิบโลกร่วงเกือบ 3% หุ้นกลุ่มพลังงานอย่าง PTTEP ราคาร่วง 2% ขณะที่หุ้นปิโตรฯ-โรงกลั่น (IVL PTTGC IRPC TOP) อ่อนตัวปิดตลาดแดนลบ นอกจากนี้มีแรงขายหุ้นกลุ่มสื่อ-บันเทิง WORK RS MONO หลังคาดผลประกอบ 3Q61 อ่อนตัว ส่วนรายหุ้นอย่าง OSP ที่เพิ่งเข้าตลาดฯ (17 ต.ค.) ปิด 25.5 บาท (-6.4%) และ BEAUTY ร่วง 7%
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ยังคงอ่อนตัว โดยยังให้น้ำหนักต่อเงินทุนไหลออก ตราบที่สหรัฐยังขึ้นดอกเบี้ย เพื่อจำกัดเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง และราคาน้ำมันดิบโลกที่อ่อนตัว จากสต็อกน้ำมันที่เพิ่มต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 รวมถึงความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มอ่อนตัว จากผลกระทบของสงครามการค้า และสุดท้ายแรงขายรับงบ 3Q61 ของธนาคารและมิใช่ธนาคารฯ
ดอลลาร์แข็งค่า กดดันน้ำมัน ยกเว้นน้ำตาลยังขึ้นต่อเพราะความกังวล Oversupply ลดลง
ตลาดกลับมาให้น้ำหนักกับการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐอีกครั้ง หลังการรายงาน Fed Minutes ครั้งหลังสุดเมื่อวานนี้ บ่งชี้ว่าสหรัฐยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้ง ปลายปีนี้และ 3 ครั้งปีหน้า และอีก 2 ครั้ง ปี 2563 ช่วยหนุน Dollar index แข็งค่าอีกครั้งแต่ค่อยเป็นค่อยไป และเป็นที่สังเกตว่าค่าเงินที่ยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ มีเพียงบางสกุล คือ เงินหยวน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ขณะที่ค่าเงินเอเซียอื่น ๆ เริ่มทรงตัวหลังจากที่อ่อนค่ามานาน ตรงกันข้ามกับสกุลยูโรและปอนด์ ที่กลับมาอ่อนค่าน่าจะเป็นเพราะที่ผ่านมาแกว่งตัวในทิศทางแข็งค่า รวมถึงมีความกังวลทางการเมืองในอิตาลี และความไม่แน่นอนของการเจรจา Brexit เพิ่มขึ้น
Dollar index ที่แข็งค่า บวกกับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ชัดเจนขึ้น กดดันราคาน้ำมันอ่อนตัวลง ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบ 77-74 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันทั้ง PTTEP(FV’62@B 161) , PTT(FV@B54) ได้สะท้อนราคาน้ำมันที่สูง เพราะแม้จะใช้ Fair Value หุ้นปี 2562 พบว่ามี upside จำกัด จึงยังคงแนะนำ Switch ทั้งคู่ ( ASPS ใช้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบปี 2561 ที่ 65 เหรียญฯ และปี 2562 ที่ 70 เหรียญฯ และ 75 เหรียญฯ ในปี 2563 เป็นต้นไป)
ตรงข้ามราคาน้ำตาลโลก ล่าสุดอยู่ที่ 13.87 เซ็นต์/ปอนด์ ทำระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน ปรับเพิ่มขึ้นถึง 23.8% นับตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. 61 เพราะกังวลต่อปัญหาในแหล่งผลิตที่บราซิลเกิดภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตในช่วงการผลิตเก็บเกี่ยว/หีบอ้อยลดลง มีผลต่อปริมาณผลิตออกสู่ตลาดลดลง รวมถึง ค่าเงินเรียลบราซิล/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นถึง 8.1% นับตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. 61 มาที่ 3.72 เรียล/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าสุดในรอบ 5 เดือน ทำให้รายได้ผู้ส่งออกน้ำตาลเมื่อแปลงเป็นสกุลเรียลลดลง ลดแรงจูงใจในการส่งออก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ปัญหา oversupply น้ำตาลในปี 2561/62 คาดว่าจะสูงถึง 6 ล้านตันในปี 2561/62 ผ่อนคลายลง หนุนแนวโน้มราคาน้ำตาลดิบโลกปรับเพิ่มขึ้น สถานการณ์นี้ดีต่อผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลไทยทุกรายคือ KTIS, KBS, BRR แม้ในทางปฏิบัติจะมีการตกลงราคาขายล่วงหน้าไปแล้ว แต่ยังหนุนส่วนที่ขาย spot เลือก KSL (FV’[email protected]) Top pick
ดอกเบี้ยขาขึ้น…กดดัน Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นทั้งภูมิภาค
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 13 ด้วยมูลค่า 371 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิ 139 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 13) รองลงมาคือเกาหลีใต้ 132 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 3 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 36 วัน), อินโดนีเซีย 5 แสนเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) และไทยขายสุทธิ 97 ล้านเหรียญ หรือ 3.15 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 12 วัน มีมูลค่ารวมสูงถึง 4.40 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 603 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 6 วัน)
แรงกดดัน Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคยังมี หลัง Fed ยืนยันว่ามีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ด้วยวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นนี้ หนุนให้ผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับขึ้นตาม เช่น วานนี้ Bond Yield 2 ปี สหรัฐขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ 2.907% ขณะที่ Bond Yield 10 ปี สหรัฐ เคยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ 3.25% (ณ 9 ต.ค. 61) ด้วยผลตอบแทนที่จูงใจกดดันต่างชาติลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนสูง และหันไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง ตราสารหนี้แทน เช่นเดียวกับทางตลาดการเงินของไทยที่ปีนี้ ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิหุ้นไทยแล้วกว่า 2.52 แสนล้านบาท แต่กลับโยกเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว (T > 1ปี) สูงถึง 1.95 แสนล้านบาท (ytd) มากกว่าปีก่อนที่มียอดซื้อสุทธิรวมทั้งปี 1.67 แสนล้านบาท
ประกาศงบ 3Q61 หุ้น ธ.พ. เพิ่มเติม BBL, SCB คาดยังมีแรงขายระยะสั้น
จนถึงวานนี้ กลุ่ม ธ.พ. รายงานงบฯ 3Q61 ไปแล้ว 7 แห่ง โดย ธ.พ. ที่ประกาศงบฯ ไปก่อนหน้านี้ และมีผลประกอบการดีกว่าคาด คือ TISCO และ TMB แต่ก็เป็นผลมาจากกำไรพิเศษจากการขายเงินลงทุนเป็นหลัก ส่วน TCAP, BAY และ LHFG ต่ำกว่าคาด ขณะที่วานนี้มีการประกาศงบฯ ของ 2 ธ.พ. ใหญ่ คือ
BBL กำไรสุทธิต่ำกว่าคาดเล็กน้อย 4% โดยลดลง 1.8%qoq (แต่เพิ่มขึ้น 10.6%yoy) ปัจจัยกดดันหลักมาจากค่าธรรมเนียมที่ลดลงของ bancassurance และที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อ ส่วนรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิยังเติบโตสูงกว่าคาด แม้ภาพรวมสินเชื่อจะหดตัว เพราะมีการชำระคืนหนี้ของสินเชื่อรายใหญ่ และการลดลงของสินเชื่อกิจการต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีจะเห็นสินเชื่อกลับมาเติบโตได้มากขึ้น (ช่วงฤดูกาล) จึงยังคงแนะนำซื้อ และปรับไปใช้ Fair value ปี 2562 เท่ากับ 233 บาท
ส่วน SCB กำไรสุทธิตามคาด ลดลง 5.4%qoq และ 3.7%yoy โดยมีการบันทึกกำไรจากธุรกรรมเพื่อค้าและ Fx รวมถึงกำไรจากการซื้อขายเงินลงทุน ขณะที่ธุรกิจหลักชะลอตัว ทั้งในส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลงจากธุรกรรม online, ธุรกรรม bancassurance และธุรกรรม corporate finance รวมทั้งธุรกิจประกันภัย ตรงข้ามกับค่าใช้จ่ายดำเนินงานและการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ทางด้านคุณภาพสินทรัพย์ สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวม แม้จะทรงตัวที่ 2.80% แต่มีการจัดชั้นลูกหนี้รายใหญ่รายหนึ่งในกลุ่มเหมืองแร่ลงเป็น NPL (กันสำรองเต็มจำนวนแล้ว) อย่างไรก็ตาม ผลจากการกันสำรองหนี้ฯ เชิงรุก ด้วยการตัดหนี้สูญและขาย NPL ต่อเนื่องอีกรวมกว่า 5 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มขึ้นในงวดนี้ ส่งผลให้ NPL coverage ratio ลดลงมาที่ 142.5% จาก 143.5% เมื่อ 2Q61 โดยรวมแล้ว กำไรสุทธิ 9M61คิดเป็น 79% ของประมาณการฯ ทั้งปี 2561 อย่างไรก็ตามคาด 4Q61 กำไรฯ จะอ่อนตัวลง จากค่าใช้จ่ายดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายตามฤดูกาล ประกอบกับรายได้ค่าธรรมเนียมลดลง รวมถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังไม่เสถียร ลดทอนความน่าสนใจเข้าลงทุน แม้จะปรับไปใช้ Fair Value ปี 2562 ที่ 147.80 บาท แต่ upside ยังไม่จูงใจ จึงยังคงคำแนะนำ switch ไป BBL(FV@B233) และ KBANK(FV@B252)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO15227