- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 18 October 2018 19:16
- Hits: 6177
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีหุ้นไทยยังอยู่ภายใต้อิทธิพล 1700 จุด โดยยังมีแรงขายต่างชาติ สต็อกน้ำมันเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มชะลอตัวจากผลกระทบสงครามการค้า กดดันน้ำมันอ่อนตัวต่อเนื่อง และแรงขายรับงบ 3Q61 กลุ่ม ธ.พ.(TISCO, LHFG, TMB, TCAP) กลยุทธ์ให้เลือกรายหุ้นที่มี P/E ต่ำ และเงินปันผลสูง Top Picks GLOW([email protected]) และ SAT(FV@B27) ปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นขึ้น 7% สะท้อนคำสั่งซื้อใหม่จากสหรัฐ เป็นเวลา 8 ปี รับรู้ยอดขายปีละ 400 ล้านบาท เริ่มส่งมอบตั้งแต่ 4Q61 และเก็งกำไร KSL([email protected]) ราคาน้ำตาลทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือน จากปัญหาภัยแล้งในบราซิล แต่ยังไม่สะท้อนในราคาหุ้น
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. ดัชนีฯ ยังผันผวนต่ำกว่า 1700 จุด
วานนี้ SET Index เปิดตลาดฯ โดด 10 จุด แต่แรงขายช่วงท้ายตลาดกดดันดัชนีย่อตัวลงมาปิดที่ 1695.04 จุด ลดลง 2.83 จุด หรือ 0.17% มูลค่าการซื้อขาย 5.3 หมื่นล้านบาท โดยช่วงท้ายตลาดฯ มีแรงขายหุ้น TMB แม้ประกาศงบ 3Q61 ดีกว่าคาดมาก แต่เป็นการบันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุนใน บลจ.ทหารไทย 65% ตรงกันข้ามกับหุ้นใหญ่ในกลุ่มธนาคารปรับเพิ่มขึ้นคือ SCB KTB และ BBL และกลุ่มปิโตรฯ-โรงกลั่น PTTGC(+1.6%) TOP (+4%) และ DTAC บวก 6% แม้งบ 3Q61 จะพลิกกลับมาขาดทุน 921 ล้านบาท แต่น้อยกว่าคาด หลักๆเกิดจากผลกระทบการโอนสิทธิ์เสาสัมปทานกับ CAT แต่เชื่อว่าผลประกอบการผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว พร้อม Turnaround ปี 2562
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ยังคงผันผวนต่ำกว่า 1700 จุด โดยยังถูกกดดันจากต่างชาติที่ขายสุทธิต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบโลกที่อ่อนตัว จากสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มอ่อนตัว จากผลกระทบของสงครามการค้า และสุดท้ายแรงขายรับงบ 3Q61 ของธนาคารและมิใช่ธนาคารฯ
ราคาน้ำมันดิบแกว่งตัวลง สะท้อนความกังวลด้าน supply ลดลง
ราคาน้ำมันดิบโลกแกว่งตัวลง น่าจะเกิดจากความกังวลต่อปัญหาด้าน supply ลดลง หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบล่าสุด เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 สัปดาห์ (โดยเพิ่มขึ้น 6.49 ล้านบาร์เรล (เทียบกับคาดจะเพิ่ม 1.6 ล้านบาร์เรล) ผลจากโรงกลั่นอยู่ในช่วงปิดซ่อมบำรุงหลังผ่านพ้นพายุไมเคิล และเป็นช่วงนอกฤดูกาลขับขี่ ปัญหาด้าน Supply ถูกหักล้างจากการควบคุมการผลิตน้ำมันดิบโลกจนถึงสิ้นปี และ Supply ที่หายไปจากอิหร่านราววันละ 5-6 แสนบาร์เรลต่อวัน หลังสหรัฐคว่ำบาตรทางการค้าตั้งแต่ มิ.ย. (มีผลบังคับใช้ 4 พ.ย.) รวมถึงความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบียในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนักข่าวชาวซาอุฯ ที่เขียนวิพากวิจารณ์รัฐบาลซาอุฯ และได้ลี้ภัยไปสหรัฐแต่ได้หายสาบสูญ ซึ่งอาจเป็นประเด็นที่สหรัฐจะหันมาคว่ำบาตรการค้าซาอุฯอีกประเทศ (ซาอุฯ ผลิตน้ำมันราว 32.1% ของกำลังการผลิตทั้งใน OPEC)
ขณะด้านความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มชะลอจากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งสหรัฐเป็นบริโภคน้ำมันสูงสุดของโลกราว 24.9 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 25.5% ของการบริโภคน้ำมันทั่วโลก และจีนอันดับ 2 ราว 12.5 ล้านบาร์เรล/วัน หรือ 12.8% ซึ่งน่าจะทำให้ราคาน้ำมันดูไบยังคงแกว่งตัวในกรอบ 75-80 เหรียญฯ
ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันทั้ง PTTEP(FV’62@B 161) , PTT(FV@B54) ได้สะท้อนราคาน้ำมันที่สูงและแม้จะใช้ Fair Value หุ้นปี 2562 พบว่ามี upside จำกัด ยังคงแนะนำ Switch โดย ASPS คงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบปี 2562 70 เหรียญฯ และ 75 เหรียญฯ ในปี 2563 เป็นต้นไป
ราคาน้ำตาลทำ new high กังวลภัยแล้วในบราซิล ดีต่อ KSL, KBS, BRR
ราคาน้ำตาลดิบโลกล่าสุดอยู่ที่ 13.73 เซ็นต์/ปอนด์ ทำระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน ปรับเพิ่มขึ้น 3.6% จากวันก่อนหน้า และปรับเพิ่มขึ้นถึง 22.6% นับตั้งแต่ต้นเดือนต.ค. 61 เนื่องจากความกังวลปัญหา oversupply น้ำตาลในปี 2561/62 ลดลง จากเดิมที่ตลาดคาดว่าปริมาณน้ำตาลจะเกินดุลถึง 6 ล้านตันในปี 2561/62 สาเหตุหลักจากปัญหาภัยแล้งในบราซิลที่จะทำให้แนวโน้มผลผลิตอ้อยของบราซิลจะออกสู่ตลาดลดลง
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นถึง 21.4% นับตั้งแต่ต้นปี 2561 จนล่าสุดอยู่ที่ 78.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ทำให้ผู้ประกอบการอ้อยหันไปผลิตเอทานอลมากขึ้น รวมถึง ค่าเงินเรียลบราซิล/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นถึง 9.0% นับตั้งแต่ต้นเดือนต.ค. 61 มาที่ 3.69 เรียล/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าสุดในรอบ 5 เดือน ทำให้ผู้ส่งออกน้ำตาลจากบราซิลแปลงเป็นรายได้เป็นเงินเรียลได้ลดลงจากเดิม ซึ่งลดความจูงใจในการส่งออกน้ำตาลลดลงชั่วคราว ล้วนเป็นปัจจัยหนุนแนวโน้มราคาน้ำตาลดิบโลกปรับเพิ่มขึ้นในระยะสั้น
ล่าสุดบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทยได้ทำสัญญาขายน้ำตาลดิบล่วงหน้าสำหรับปี 2561/62 ไว้เพียง 2% ที่ราคาเฉลี่ย 12 เซ็นต์/ปอนด์ จึงจะได้ประโยชน์จากทิศทางราคาน้ำตาลที่ปรับสูงขึ้นในปี 2561/62 ซึ่งราคาน้ำตาลปัจจุบันยังสอดคล้องสมมติฐานราคาขายน้ำตาลดิบเฉลี่ยปี 2561/62 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 14 เซ็นต์/ปอนด์ จึงแนะนำเข้าเก็งกำไร KSL (FV’[email protected]) และหุ้นกลุ่มน้ำตาล ได้แก่ KTIS KBS และ BRR
ปรับมูลค่าหุ้น SAT ขึ้น 7% สะท้อนคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มปีละ 400 ล้านบาท
เพื่อสะท้อนข่าวบวกที่ SAT ได้รับคำสั่งซื้อใหม่จาก บริษัทชิ้นส่วนจากสหรัฐ (Tier -1) ให้ผลิตชิ้นส่วนเพลาข้างกระบะ 1.5 ตัน ( Axle Shaft) (Direct Export) ให้ผลิตนาน 7 ปี เริ่มส่งมอบตั้งแต่ 4Q61 ซึ่งคาดว่าจะรับรู้รายได้ในงวด 4Q61 70 ล้านบาท และในปี 2562 เป็นต้นไปปีละ 400 ล้านบาท จึงมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561-2562 ขึ้นราวปีละ 7% พร้อมกับเพิ่มมูลค่าหุ้นปี 2562 เป็น 29 บาท เพิ่มจากเดิม 7% (ปี 2562 อยู่ที่ 27 บาท อิง PER 12 เท่า)
ส่วนแนวโน้มงวด 3Q61 คาดว่ากำไรปกติ 3Q61 จะอยู่ราว 240-250 ล้านบาทเติบโตราว 9% yoy และ 34% qoq จุดเด่นที่สำคัญคือ มีฐานะ Net Cash 1,176 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่มีความกังวลภายใต้ภาวะดอกเบี้ยแนวโน้มขาขึ้น และยังมี Div Yield 5.2% จึงแนะนำซื้อลงทุน
ต่างชาติยังเดินหน้าขายหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 ด้วยมูลค่า 359 ล้านเหรียญ และยังเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ราว 35 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 ประเทศถูกขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 168 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 108 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), ฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 35 วัน) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 106 ล้านเหรียญ หรือ 3.43 พันล้านบาท
ตลอดทั้งเดือน ต.ค. นี้ ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยติดต่อกัน 11 วันทำการ ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 4.08 หมื่นล้านบาท ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิหุ้นไทยตลอด 6 วันที่ผ่านมา ด้วยมูลค่ารวม 2.03 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะวานนี้สถาบันฯซื้อสุทธิกว่า 4.04 พันล้านบาท แรงซื้อของสถาบันฯที่เข้ามามาก น่าจะเกิดจากการซื้อขายหุ้น OSP ที่วานนี้มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดในตลาดฯ ถึง 1.4 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 27% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมด) โดยวานนี้เป็นการซื้อ-ขายผ่านบิ๊กล็อตสูงถึง 3.38 พันล้านบาท
เข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบ 3Q61 มีแรงขายรายหุ้น
สัปดาห์นี้ยังอยู่ในช่วงของการประกาศผลประกอบการ 3Q18 ในกลุ่ม ธ.พ ซึ่งอาจจะทำให้มีแรงขายรับงบหุ้น ธ.พ. ในระยะนี้ ดังเช่นที่เห็นในหุ้น TISCO แม้กำไรสุทธิดีกว่าคาด แต่ราคาหุ้นปรับลดลง ส่วน LHFG กำไรสุทธิต่ำกว่าคาด ราคาหุ้นค่อนข้างทรงตัว
เช่นเดียวกับ TMB วานนี้ราคาหุ้นปรับลงแรง 3.4% แม้รายงานกำไรสุทธิ 3Q61 ออกมาดีกว่าคาด เติบโตถึง 176.1% qoq และ 179.2% yoy แต่มาจากกำไรจากการขายเงินลงทุน บลจ.ทหารไทย ขณะที่ธุรกิจหลักยังค่อนข้างอ่อนแอ เพราะสินเชื่อที่ขยายตัวเป็นสินเชื่อ low yield ส่งผลต่อ NIM ต่ำกว่าคาดมาก รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมฯ หดตัวต่อเนื่อง แม้ว่าฝ่ายวิจัยเพิ่มประมาณการฯ ปี 2561 ขึ้น 9.8% จากเดิม (สะท้อนกำไรพิเศษข้างต้น) แต่ลดประมาณการฯ ปี 2562 ลง 13.3% จากเดิม (สะท้อนการปรับลด NIM และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ) ส่งผลให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 12.3% yoy แต่ปี 2562 หดตัวลง 15.1% yoy จึงยังแนะนำ switch โดยปรับไปใช้ Fair Value ปี 2562 ที่ 2.43 บาท
ส่วน TCAP ที่รายงานงบฯ หลังตลาดฯ ปิด ปรากฏว่ากำไรต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ลดลง 8.8% qoq (แต่เพิ่มขึ้น 4.6% yoy) แรงกดดันมาจากค่าใช้จ่ายภาษีฯ ในอัตราเป็นปกติ (หลังหมดสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ TBANK) รวมทั้งรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจากฐานสูงใน 2Q61 แต่ธุรกิจหลักยังเติบโตได้ตามสินเชื่อสุทธิที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจหลักทรัพย์และประกันฯ โดยรวมกำไรสุทธิ 9M61 เพิ่มขึ้น 14.9% yoy คิดเป็น 74% ของประมาณการทั้งปี ส่วนแนวโน้ม 4Q61 และปี 2562 น่าจะเห็นการกลับมาเติบโตได้ต่อเนื่องและสูงกว่า 3Q61 ด้วยแรงผลักดันของสินเชื่อ high yield มากขึ้น และยังมีการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เข้มงวดมากขึ้น อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังถูกมาก จึงยังคงแนะนำซื้อ และปรับไปใช้ Fair Value ปี 2562 เท่ากับ 69.90 บาท พร้อมคาดหวังปันผลปีละ 4-5% p.a.
ส่วนที่มิใช่ธนาคารที่ประกาศแล้ว คือ DTAC ผลประกอบการ 3Q61 พลิกมาขาดทุน แต่น้อยกว่าคาด และน่าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ และ การที่ DTAC มีแผนเข้าร่วม ประมูลคลื่น 900 MHz น่าจะทำให้มีคลื่นมากพอที่จะแข่งขันกับผู้ประกอบการอีก 2 ราย ขณะที่ล่าสุดได้ลงทุนโครงข่าย 4G บนคลื่น 2300 Mhz ไปแล้ว 6.4 พันสถานี น่าจะมากพอที่จะรองรับลูกค้า 4G ซึ่งทดแทนแทนคลื่น 1800 Mhz ที่ต้องคืนให้รัฐหลังหมดสัมปทาน (ส่วนคลื่น 1800 5 Mhz ที่ประมูลกลับมาใช้รองรับลูกค้า 2G ) ยังแนะนำซื้อ โดยให้มูลค่าพื้นฐานปี 2562 อิง DCF (WACC 9.9%, growth 1.5%) จะอยู่ที่ 60 บาท
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO15171