- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 16 October 2018 20:31
- Hits: 8102
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“สหรัฐ-ซาอุตึงเครียด แต่ตลาดเพื่อนบ้านรีบาวด์”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวันศุกร์– SET Index ปิดตลาดปรับตัวขึ้นได้ +13.27 จุด ปิดที่ 1696.16 จุด เทียบกับยอดสูงสุดของวันที่ 1699.60 จุด และถือว่าปรับขึ้นสอดคล้องกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านที่รีบาวด์กันถ้วนหน้า แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางเป็น 39.7 พันล้านบาท ปัจจัยบวกคือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีปรับตัวลดลง หลังตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ก.ย.ออกมาต่ำกว่าคาด และเงินบาทกลับมาแข็งค่า ลดความกังวลเงินไหลออก แม้ปัจจัยต่างประเทศรุมเร้า ด้านผู้ซื้อสุทธิรายเดียวเป็น สถาบัน 4.7 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิคือ ต่างประเทศ 3.7 พันล้านบาท พอร์ตโบรกเกอร์ 0.5 พันล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป 0.5 พันล้านบาท จุดที่น่าสังเกตคือ สถาบันซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีโอกาสรีบาวด์ต่อได้ เพราะราคาน้ำมันปรับขึ้น ซึ่งมีข่าวสถานการณ์สหรัฐ-ซาอุตึงเครียดขึ้น ดอลลาร์อ่อนค่า หลังตัวเลขค้าปลีกและขาดดุลการค้าออกมาอ่อน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ทยอยลดลง ด้านปัจจัยลบคือ ติดตามสถานการณ์ สหรัฐ-ซาอุจะบานปลายหรือไม่ ดัชนีค่าความกลัว VIX ยังเพิ่มขึ้นเข้าหาตลาดทองคำ ปัจจัยลบเดิมๆคือ กังวลสงครามการค้าสหรัฐ-จีนทวีขึ้น และ IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก สหรัฐ และจีน เช้านี้สิ่งที่ดีคือ ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านรีบาวด์ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +52 จุด ณ 8.02 น. น้ำมันล่วงหน้าปรับขึ้น ส่วนมาตรการคุมเข้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยวานนี้มี Hearing ติดตาม ธปท.จะผ่อนคลายบ้างไหม ข้อดีคือแม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล เศรษฐกิจ ต.ค.แนวโน้มแข็งแกร่ง ด้านการเลือกตั้งตามโรดแมป มีกิจกรรมคึกคักขึ้น สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตาม คือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้ คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1670-1720 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวได้
Update หุ้นเด่น: SYNEX – เป็นผู้นำในการจัดจำหน่ายสินค้าไอทีและมือถือ ขณะที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุดดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น จุดเด่นคือ อัตราการเติบโตกำไรที่สูง ปีนี้และปีหน้าเทียบ y-o-y เป็น 19.5% และ 21.0% ตามลำดับ ประเมินมูลค่าตามพื้นฐานเท่ากับ 18.73 บาท/หุ้น โดยอ้างอิงกับ P/E ปี 2562 ที่ 16 เท่า ที่เป็นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี โดยระดับราคาปิดให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล 3.7% ในปีนี้และ 4.3% ในปีหน้า
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นบวกเล็กๆ แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1700-1710/1720 แนวรับ 1670-1660 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1690
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ KTB,MTC,PTTEP,JKN,GFPT,BH หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ STA หุ้นที่หลุด List SCC,TISCO หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ STEC,SYNEX,AOT
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง สหรัฐ-ซาอุตึงเครียดขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจอ่อน
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,250.55 จุด ลดลง 89.44 จุด หรือ -0.35% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,430.74 จุด ลดลง 66.15 จุด หรือ -0.88% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,750.79 จุด ลดลง 16.34 จุด หรือ -0.59%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) หลังจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงอย่างหนัก ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทเทคโนโลยีในกลุ่ม FAANG เฟซบุ๊ก แอปเปิล อเมซอน เน็ตฟลิกซ์ และอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล) นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ และสถานการณ์การเมืองที่ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับขึ้น สหรัฐ-ซาอุตึงเครียดขึ้น
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 44 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 71.78 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 35 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 80.78 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย จากกรณีการหายตัวไปอย่างลึกลับของนักข่าวชาวซาอุฯ อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน จากรายงานของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ซึ่งระบุว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง
• ทองคำ : เพิ่มขึ้น สหรัฐ-ซาอุตึงเครียดขึ้น
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 8.3 ดอลลาร์ หรือ 0.68% ปิดที่ 1230.30 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย ยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
-/+ เกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-ซาอุ จากการหายตัวของนักข่าว
# มีสถานการณ์ความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบียได้สร้างความกังวลให้กับตลาด เช่นกัน โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐให้สัมภาษณ์ในรายการ "60 นาที" ทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส เกี่ยวกับกรณีที่นายจามาล คาช็อกกี ผู้สื่อข่าวชาวซาอุดีอาระเบียหายตัวอย่างลึกลับหลังเข้าไปติดต่อธุระที่สถานกงสุลซาอุดีอาระเบียในนครอิสตันบูล เมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยผู้นำสหรัฐประกาศว่า สหรัฐจะใช้มาตรการลงโทษสถานหนัก หากผลการสืบสวนพบว่าซาอุดีอาระเบียมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้ไม่ว่าจะในทางใดก็ตาม
# ทางด้านซาอุดีอาระเบียลั่นพร้อมตอบโต้สหรัฐด้วยมาตรการที่รุนแรงกว่า พร้อมย้ำเตือนว่า ซาอุฯ ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจน้ำมันนั้น มีบทบาทสำคัญและทรงประสิทธิภาพในเศรษฐกิจโลก
# ผลกระทบ: แม้ทำให้เกิดความกังวลกับผลกระทบด้านตลาดเงินและตลาดทุนโลกที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น จะส่งผลดีกับหุ้นกลุ่มพลังงานในระยะสั้น
+ตัวเลขค้าปลีกสหรัฐ ก.ย.61 ต่ำกว่าคาด
# มีข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนก.ย.ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงอย่างมากของยอดขายที่ร้านอาหารและบาร์ แม้ยอดขายรถยนต์จะดีดตัวขึ้นก็ตาม
+ ยอดขาดดุลการค้าสหรัฐ สูงสุดตั้งแต่ปี 55
# ทางด้านกระทรวงการคลังสหรัฐรายงานว่า รัฐบาลสหรัฐมียอดขาดดุลงบประมาณในปีงบฯ 2561 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 30 ก.ย. เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 7.99 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 โดยรายจ่ายของรัฐบาลพุ่งขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า ขณะที่รายรับของรัฐบาลขยายตัวเพียง 0.4%
+ ดอลลาร์อ่อนค่า ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาอ่อนแอ
# ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนก.ย.
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศออกมา
# นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย. และดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนต.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ส่วนในวันพรุ่งนี้ สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ย. และคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) จะเปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 25-26 ก.ย.
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+ เลื่อนยาวภาษีที่ดิน รมช.คลังยอมรับไม่คืบหน้า
# รมช.คลังยอมรับภาษีที่ดินไม่คืบหน้า กระทบนายทุน-ฐานเสียง โยนรัฐบาลหน้าตัดสินใจ การพิจารณาใน สนช.ไม่มีความคืบหน้า
# ส่งผลดีต่อหลักทรัพย์ในหมวดที่อยู่อาศัย ทำให้ภาระการสะสมที่ดินไว้เป็นแลนด์แบ็งค์ เพื่อรอพัฒนาไม่เพิ่มขึ้น
• ธปท.รายงานตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศ 5 ต.ค.61 ลดลงเล็กน้อย
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศ วันที่ 5 ต.ค.61 อยู่ที่ 203.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวันที่ 28 ก.ย.61 ที่ 204.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิของไทย วันที่ 5 ต.ค.61 อยู่ที่ 32.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับวันที่ 28 ก.ย.61 ซึ่งอยู่ที่ 31.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินบาทวันที่ 5 ต.ค.61 อยู่ที่ 6,666.4 พันล้านบาท จาก 6,620.7 พันล้านบาท เมื่อวันที่ 28 ก.ย.61
+/- ติดตามประกาศผลประกอบการ 3Q61 เริ่มจากกลุ่มสถาบันการเงิน สัปดาห์นี้
# คาดการณ์กำไรสุทธิกลุ่มธนาคาร 3Q61 เป็น 43.1 พันล้านบาท (+5.9% y-o-y,-6.8% q-o-q)
# สาเหตุที่เติบโตได้ y-o-y เพราะความต้องการสินเชื่อมาก และการตั้งสำรองปรับลดลง แต่ขณะเดียวกัน รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ได้แก่ค่าธรรมเนียมกลับปรับลดลง รวมทั้งต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น
# ในงวด 3Q61 คาดว่าหลักทรัพย์ที่มีกำไรสุทธิดีสุดคือ BBL ส่วนกำไรจากการดำเนินงานดีสุดคือ KKP
# คงจัดลำดับให้ BBL และ KKP เป็น Top Pick ในหลักทรัพย์หมวดธนาคาร
+ ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้น
# ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.2 เนื่องจากครัวเรือนมีจากมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกและราคาอาหารนอกบ้านที่ในเดือน ก.ย.61 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนอีกร้อยละ 2.17 และร้อยละ 0.70 ตามลำดับ
-ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 2/61 ขยับขึ้น
# ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 2/61 ขยับขึ้นมาที่ 12.34 ล้านล้านบาท (เติบโต 5.7% YoY) โดยหนี้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่น่าจะเป็นผลมาจากการเร่งตัวขึ้นของยอดคงค้างสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งหากนับเฉพาะการขยับขึ้นยอดคงค้างสินเชื่อบ้านจะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 38% ของยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างไตรมาส 2
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO15063