WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
  การปรับตัวลดลงแรงของตลาดหุ้นต่างประเทศ น่าจะกดดันให้ SET Index เช้านี้ปรับฐานลงไปอยู่ในโซนต่ำกว่า 1700 จุดอีกครั้งหนึ่ง ส่วนประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปนอกจากปัจจัยภายนอกเรื่องสงครามการค้าและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ในประเทศยังมีประเด็นเรื่องกองทุน LTF ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดฯ ที่จะหมดอายุการลดหย่อนภาษีในปี 2562 ว่าจะมีแนวทางลดผลกระทบอย่างไร กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นเกาะกระแสการลงทุนในประเทศ Top Picks CPALL(FV@B80) และ BGRIM(FV@32)
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. SET Index ฟื้น rebound แรงกว่า 25 จุด
  วานนี้ดัชนีหุ้นไทยเกิด Technical Rebound ฟื้นตัวได้แรง และอยู่ในแดนบวกตลอดทั้งวัน ก่อนจะปิดที่จุดสูงสุดของวัน 1,721.82 จุด เพิ่มขึ้น 24.90 จุด หรือ 1.47% มูลค่าซื้อขาย 4.69 หมื่นล้านบาท แรงหนุนหลักมาจากหุ้นพลังงาน PTTEP +2.7%, PTT +3.35% ตามด้วยกลุ่ม ธ.พ. ที่จะเริ่มรายงานงบเป็นกลุ่มแรกในสัปดาห์นี้-สัปดาห์หน้า สวนทางกับ CBG, HANA ที่มีแรงขายออกมา เช่นเดียวกับ AH หลังมีการเข้าลงทุนและปล่อยกู้ใน SGAH เพิ่ม ซึ่งวิเคราะห์ว่าไม่เป็นปัจจัยบวก เพราะผลประกอบการของ SGAH ในช่วงที่ผ่านมามีความผันผวนและยังมีสัญญาณเชิงลบในเรื่องกระแสเงินสด 
  สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่ามีโอกาสปรับลดลงหลุด 1700 จุดอีกครั้ง ด้วยปัจจัยกดดันหลายประการ เริ่มจาก sentiment เชิงลบจากตลาดหุ้นสหรัฐ, ราคาน้ำมันโลกที่ลดลง กดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน ยิ่งไปกว่านั้น วันนี้ PTT จะขึ้นเครื่องหมาย XD ที่ 0.80 บาท/หุ้น คาดมีผลกดดัน SET Index ราว 2.27 จุด รวมทั้งกระแสการไม่ต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับ LTF น่าจะเป็นปัจจัยลบต่อภาวะการลงทุนช่วงสั้น
 
ตลาดหุ้นสหรัฐลงแรง จากความกังวลเรื่องดอกเบี้ยฯ
  เมื่อวานนี้สหรัฐมีการรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งวัดต้นทุนสินค้าที่ผลิต เดือน ก.ย. ขยายตัว 2.6%yoy แม้ชะลอจาก  2.8% ในเดือน ส.ค.  แต่ดัชนี PPI พื้นฐานซึ่งไม่รวมหมวดอาหาร, พลังงานในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นสูง  0.4%  (สูงสุดในรอบ 8 เดือน)  และในวันนี้จะมีรายงานเงินเฟ้อสหรัฐ เดือน ก.ย.  ตลาดคาด  2.4%yoy  ชะลอตัวจาก 2.7%  เดือน ส.ค. แต่ยังสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่   2.25%  โดยยรวมเป็นปัจจัยหนุนให้ความคาดหวังว่า Fed ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยฯอีก 1 ครั้งปลายปีนี้ และปี 2562-2563 จะขึ้นอีก 3 ครั้งและ 2 ครั้งตามลำดับ  ทำให้ล่าสุด Bond Yield อายุ 10 ปีของสหรัฐยังอยู่ในระดับสูง ล่าสุด 3.17% ซึ่งยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ Fund Flow ยังไม่ไหลกลับ  หนุนค่าเงิน Dolllar น่าจะอยู่ในทิศทางแข็งค่าราว 3.8% แล้วนับตั้งแต่ต้นปี 
  ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ  ราคาน้ำมันดิบดูไบระยะสั้นปรับลงแรง  แต่ยังยืนเหนือ 80 เหรียญฯ จากความกังวลความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกจะชะลอลงจากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่เกิดขึ้นแล้ว สะท้อนจากต้นสัปดาห์  IMF  ปรับ GDP Growth ปี 2561 และ 2562 ลงเหลือ  3.7% เท่ากันทั้ง 2 ปี จากเดิม ที่คาดเฉลี่ย 3.9% และคืนนี้สำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐฯ (EIA) จะรายงานสต็อกน้ำมันดิบตลาดคาดเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ราว  1.5 ล้านบาร์เรล เนื่องจาก โรงกลั่นอยู่ในช่วงปิดซ่อมบำรุง  เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน (PTT, PTTEP) วันนี้
 
ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทยต่อเนื่องเป็นวันที่ 7
  วานนี้ตลาดหุ้นไต้หวันหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันชาติ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่าอีก 257 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ  เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 255 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 38 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7), ฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 30 วัน) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิสูงถึง 55 ล้านเหรียญ หรือ 1.81 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 4.71 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
 
LTF ขุมกำลังหลักของกองทุนฯ ที่มีผลต่อการขับเคลื่อน SET Index
  ท่ามกลางภาวะที่กระแส Fund Flow ยังไม่ไหลเข้า ทำให้ SET Index ในระยะนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงซื้อจากในประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันฯ เป็นหลัก สะท้อนได้จากค่า correlation ระหว่าง SET Index กับแรงซื้อสุทธิของนักลงทุนสถาบันฯ ช่วง ต.ค. 59 – ก.ย. 61 สูงถึง 0.77
  ล่าสุด มีประเด็นกดดันช่วงสั้นมาจากกระแสข่าวการไม่ต่ออายุลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งถือว่าค่อนข้างมีผลต่อเม็ดเงินลงทุนมากพอสมควร เนื่องจาก ในปีนี้สถาบันฯ ซื้อสุทธิหุ้นไทยไปแล้วกว่า 1.36 แสนล้านบาท (ytd) และตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน (เกือบ 5 ปี) ซื้อสุทธิมาแล้ว 3.81 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเม็ดเงินจาก LTF กว่า 1.76 แสนล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 46% ของยอดซื้อสุทธิทั้งหมด) และล่าสุดในเดือน ก.ย. มีกองทุน LTF ทั้งหมด 89 กองทุน และมูลค่าสินทรัพย์รวมสูงถึง 3.9 แสนล้านบาท จึงปฎิเสธไม่ได้เลยว่า LTF เป็นเม็ดเงินหลักในการซื้อสุทธิหุ้นไทยของสถาบันฯ และน่าจะกดดันแรงซื้อในตลาดหุ้นไทยหายไปเกือบครึ่ง และน่าจะมีผลทำให้ SET Index ปรับขึ้นได้ยากลำบาก อย่างไรก็ตามต้องรอดู แนวทางที่จะเข้ามาช่วยลดผลกระทบในซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการออกกองทุนประเภทใหม่มาทดแทน LTF การดูแลกองทุน LTF เดิมที่จะกลายเป็นกองทุนเปิด Equity Fund หลังปี 2562 ตลอดจนโอกาสที่จะเห็นการยืดเวลาการให้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับ LTF ต่อไป แต่ในเบื้องต้นต้องตีความผลจากข่าวนี้ในฐานะที่เป็นแรงกดดันต่อ SET Index
 
ให้น้ำหนักผลกำไร  3Q61 วันนี้ TISCO รายงานเป็นแห่งแรก
  สัปดาห์นี้ เข้าสู่การประกาศผลการดำเนินงาน 3Q61 เริ่มต้นที่กลุ่ม ธ.พ. นำโดย TISCO จะรายงานงบฯ เป็นแห่งแรกในวันนี้ โดยคาดกำไรสุทธิงวด 3Q61 อยู่ที่ 2.2 พันล้านบาท ลดลง 4.0%qoq (แต่เพิ่มขึ้น 4.4%yoy) คาดสินเชื่อสุทธิยังมีโอกาสอ่อนตัวลงจากการชำระคืนหนี้ในกลุ่ม SME และสินเชื่อที่อยู่อาศัย ขณะที่แรงกดดันจาก NIM น่าจะลดลงสูงสุดในไตรมาสนี้ ผลกระทบจากสินเชื่อ high yield ในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่ลดลงจากการขายพอร์ตสินเชื่อไปให้ SCBT ในช่วง 2Q-3Q61 รวมทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมฯ และรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว โดยรวม แม้ผ่านการปรับฐานราคาไประดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เห็นปัจจัยกระตุ้นให้ราคาหุ้นกลับมา outperform ได้ช่วงสั้น จึงยังคงแนะนำ switch
  ขณะที่ ธ.พ. ที่เหลือจะประกาศสัปดาห์หน้า  ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินว่า ธ.พ. 10  แห่ง ที่ศึกษามีกำไร 5.18 หมื่นล้านบาท ลดลง 3% QoQ (แต่เพิ่มขึ้น 9.2% yoy) จากการลดลงของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเป็นหลัก ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิกระเตื้องขึ้นตามสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป  แต่ประเด็นความเสี่ยงคือ NPL ของสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีแนวโน้มจะตกชั้นเป็นหนี้ที่มีปัญหา ซึ่งเป็นผลให้ ธปท. ออกหลักเกณฑ์ใหม่ควบคุม  มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 62 คาดแม้ทำให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยชะลอตัว แต่น่าจะทำให้คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น ยังคงชอบ BBL, TCAP
 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO14927

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!