- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 09 October 2018 21:28
- Hits: 7747
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ติดตาม CPI สหรัฐ-ประกาศงบแบงค์”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้– SET Index ปรับลงต่อถึง – 24.30 จุด ปิดที่ 1696.22 จุด นับว่าได้ปรับลงลึกทะลุระดับ 1700 จุดมาอย่างง่ายดาย และถือว่าปรับลงมากกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน ยกเว้นจีนที่ปรับลงมาก เพราะเพิ่งเปิดหลังหยุดไปหลายวัน มูลค่าการซื้อขายสูงขึ้นเป็น 59.6 พันล้านบาท ปัจจัยลบคืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี พุ่งสูงสุดในรอบ 7 ปีทีเดียว และปรับขึ้นต่อเนื่อง บาทอ่อน มีเงินไหลออก ดัชนีความกลัว (VIX) ก็สูงขึ้นมาก หุ้นกลุ่มหลักปรับตัวลงถ้วนหน้าโดยเฉพาะ IVL, BEAUTY และ EA ด้านผู้ซื้อสุทธิรายเดียวเป็น นักลงทุนทั่วไป 6.3 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิคือ สถาบัน 3.1 พันล้านบาท ต่างประเทศ 2.6 พันล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.6 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้นคาดว่า SET ยังไม่สดใสเช่นเดิม แรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปียังเพิ่มต่อเนื่อง ติดตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐฯที่จะประกาศวันพฤหัส ดัชนีความกลัว (VIX) ก็สูงขึ้นมากอีกเป็น 15.69 จุด ราคาน้ำมันปรับลด สิ่งที่ดีขึ้นบ้างคือ เงินบาทกลับมาแข็งค่าเล็กน้อย ติดตามผลกำไรกลุ่มแบงค์ ซึ่ง DBSVTH คาดว่าเป็น 43.1 พันล้านบาท (+5.9% y-o-y,-6.8% q-o-q) ถือว่าปานกลาง ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้แกว่งแคบๆเป็นลบ ดาวโจนส์ล่วงหน้า -38 จุด ณ 8.10 น. น้ำมันล่วงหน้าปรับลง มาตรการคุมเข้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังกระทบต่อหลักทรัพย์กลุ่มสถาบันการเงินและอสังหาฯ ข้อดีคือแม้ปัญหา EM ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล เศรษฐกิจ ต.ค.แนวโน้มแข็งแกร่ง ด้านการเลือกตั้งตามโรดแมป มีกิจกรรมคึกคักขึ้น สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านมีผลกับราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ บาทอ่อนส่งผลดีต่อหุ้นส่งออก หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1690-1710 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดัชนีฯปรับลงแนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวได้
Update หุ้นเด่น: DIF – เป็นหลุมหลบภัยที่ดี ยามตลาดหุ้นผันผวน และธุรกิจเช่าโครงข่ายไม่แปรไปตามปัจจัยต่างประเทศซึ่งเป็นลบในขณะนี้ คงคำแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 16.20 บาททั้งนี้กระแสเงินสดของกองทุนมีความเสี่ยงน้อยลงหลังซื้อสินทรัพย์เข้ากองทุนรอบที่สอง หลังเพิ่มทุนสำเร็จแล้ว กระแสเงินสดของกองทุนมั่นคงมากขึ้น - อายุเฉลี่ยของกองทุนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 21 ปี จากเดิมเฉลี่ยราว 12 ปี เป็นหลักทรัพย์ให้อัตราผลตอบแทนปันผลที่สูง ปีนี้และปีหน้าเป็น 6.9% และ 7.0% ตามลำดับ ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 8%
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1705-1710 แนวรับ 1690-1680
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ BAY,MBK,SCN,BH หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ BH หุ้นที่หลุด List TCAP, SOLAR, IVL, BBL, RCI, BJCHI, GUNKUL, PTL, THG หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ ไม่มี
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+/- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์เพิ่ม แต่ Nasdaq ปรับลด
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,486.78 จุด เพิ่มขึ้น 39.73 จุด หรือ +0.15% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,884.43 จุด ลดลง 1.14 จุด หรือ -0.04% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,735.95 จุด ลดลง 52.50 จุด หรือ -0.67%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (8 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มสินค้าผู้บริโภคและกลุ่มสาธารณูปโภคซึ่งเป็นหุ้นที่สามารถต้านทานวัฏจักรทางเศรษฐกิจ (defensive stocks) อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 จากแรงฉุดของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี อันเนื่องมาจากความกังวลที่ว่าเศรษฐกิจจีนกำลังได้รับผลกระทบจากการทำสงครามการค้ากับสหรัฐ หลังจากที่ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR)
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง การแทรกแซงอิหร่านผ่อนคลายลง
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง 5 เซนต์ หรือประมาณ 0.09% ปิดที่ 74.29 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 25 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 83.91 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (8 ต.ค.) หลังจากมีรายงานว่า คณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังพิจารณาผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรให้กับบางประเทศที่นำเข้าน้ำมันจากอิหร่านขณะที่นักลงทุนจับตาพายุเฮอร์ริเคน "ไมเคิล" ซึ่งคาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่งตะวันออกของอ่าวเม็กซิโกในวันนี้
• ทองคำ : ปรับลงแรง เนื่องจากดอลลาร์แข็ง
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 17 ดอลลาร์ หรือ 1.41% ปิดที่ 1,188.6 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (8 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีที่พุ่งขึ้นเมื่อไม่นานมานี้
-ติตดามตัวเลข CPI ประกาศพฤหัสนี้ มีผลกับ Bond Yiedl และการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
# นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ (CPI) เดือนก.ย.ของสหรัฐในวันพฤหัสบดี ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI เดือนก.ย.จะเพิ่มขึ้น 0.2% โดยหากตัวเลข CPI ดีดตัวขึ้นมากกว่าระดับ 0.2% ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ก็จะเป็นปัจจัยหนุนการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
+/- แม้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรอ่อนกว่าคาด แต่เป็นปัจจัยพายุฟลอเรนซ์
# ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 134,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง โดยกระทรวงแรงงานระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่พายุเฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์ซึ่งพัดถล่มรัฐนอร์ธและเซาธ์แคโรไลนาในเดือนก.ย. เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขการจ้างงานลดลงในบางภาคอุตสาหกรรม
# คริส โลว์ นักวิเคราะห์จากบริษัทเอฟทีเอ็น ไฟแนนเชียลกล่าวว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย.ขยายตัวน้อยกว่าคาดในเดือนก.ย. แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศออกมา
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ย.,จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, อัตราเงินเฟ้อเดือนก.ย., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนต.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+/- ติดตามประกาศผลประกอบการ 3Q61 เริ่มจากกลุ่มสถาบันการเงิน สัปดาห์นี้
# คาดการณ์กำไรสุทธิกลุ่มธนาคาร 3Q61 เป็น 43.1 พันล้านบาท (+5.9% y-o-y,-6.8% q-o-q)
# สาเหตุที่เติบโตได้ y-o-y เพราะความต้องการสินเชื่อมาก และการตั้งสำรองปรับลดลง แต่ขณะเดียวกัน รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ได้แก่ค่าธรรมเนียมกลับปรับลดลง รวมทั้งต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น
# ในงวด 3Q61 คาดว่าหลักทรัพย์ที่มีกำไรสุทธิดีสุดคือ BBL ส่วนกำไรจากการดำเนินงานดีสุดคือ KKP
# คงจัดลำดับให้ BBL และ KKP เป็น Top Pick ในหลักทรัพย์หมวดธนาคาร
+ ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนจาก FETCO ต.ค.61 เพิ่มขึ้นมากในเกณฑ์ร้อนแรง
# สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Invester Confidence Index) ประจำเดือน ต.ค.61 ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (ธ.ค.61) เพิ่มขึ้นมากในเกณฑ์ร้อนแรง (Bullish) เป็นเดือนแรกในรอบ 7 เดือน โดยเพิ่มขึ้น 12.01% มาอยู่ที่ระดับ 120.60
+ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬายังไปได้ดีพอควร
# ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวภายหลังการแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลกรายการ Moto GP สนามที่ 15 PTT Thailand Grand Prix 2018 ระหว่างวันที่ 5 - 7 ตุลาคม 2561 ณ จังหวัดบุรีรัมย์ว่า ในช่วงระยะเวลา 3 วัน ของการแข่งขันมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 205,000 คน โดยสามารถสร้างรายได้รวมประมาณ 3,100 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO14817